พบผลลัพธ์ทั้งหมด 292 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6628/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ครอบครองรถยนต์จากการประมาทเลินเล่อ และข้อยกเว้นการสละสิทธิไล่เบี้ยตามกรมธรรม์ประกันภัย
จำเลยรับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันไว้จากผู้เอาประกันภัยเพื่อรับจ้างติดตั้งหลังคาไฟเบอร์กล๊าส จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องดูแลรักษารถยนต์มิให้สูญหายเพื่อจะได้คืนรถยนต์ให้ผู้ว่าจ้าง เมื่อรถยนต์สูญหายไปในระหว่างที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยเนื่องจากลูกจ้างของจำเลยประมาทเลินเล่อ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปแล้ว
โจทก์ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิจาก ส.ผู้เอาประกันภัยฟ้องจำเลยผู้กระทำละเมิดทำให้รถยนต์ที่ ส.เอาประกันภัยไว้กับโจทก์สูญหายไป เมื่อ ส.มีสิทธิฟ้องจำเลยโดยมิต้องทวงถามก่อน โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิจาก ส. จึงฟ้องจำเลยได้โดยไม่ต้องทวงถามจำเลยก่อน
จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่ต้องรับผิดตามเงื่อนไขท้ายกรมธรรม์ประกันภัย แต่ศาลอุทธรณ์มิได้ยกขึ้นวินิจฉัย เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1)ประกอบมาตรา 247 แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยเอง โดยไม่ย้อนสำนวน
ข้อตกลงตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ว่า ในกรณีที่มีความเสียหายหรือสูญหายเกิดขึ้นต่อรถยนต์ เมื่อบุคคลอื่นเป็นผู้ใช้รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย บริษัทสละสิทธิในการไล่เบี้ยจากผู้ใช้รถยนต์นั้น หมายถึงบุคคลผู้ใช้รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยให้นำรถยนต์ไปใช้อย่างยานพาหนะ แต่จำเลยครอบครองรถยนต์เนื่องจากรับจ้าง ส.ผู้เอาประกันภัยติดตั้งหลังคาไฟเบอร์กล๊าส จึงไม่ใช่ผู้นำรถยนต์ไปใช้อย่างยานพาหนะ กรณีไม่ต้องตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อดังกล่าวที่ถือว่าโจทก์สละสิทธิไล่เบี้ย
โจทก์ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิจาก ส.ผู้เอาประกันภัยฟ้องจำเลยผู้กระทำละเมิดทำให้รถยนต์ที่ ส.เอาประกันภัยไว้กับโจทก์สูญหายไป เมื่อ ส.มีสิทธิฟ้องจำเลยโดยมิต้องทวงถามก่อน โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิจาก ส. จึงฟ้องจำเลยได้โดยไม่ต้องทวงถามจำเลยก่อน
จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่ต้องรับผิดตามเงื่อนไขท้ายกรมธรรม์ประกันภัย แต่ศาลอุทธรณ์มิได้ยกขึ้นวินิจฉัย เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1)ประกอบมาตรา 247 แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยเอง โดยไม่ย้อนสำนวน
ข้อตกลงตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ว่า ในกรณีที่มีความเสียหายหรือสูญหายเกิดขึ้นต่อรถยนต์ เมื่อบุคคลอื่นเป็นผู้ใช้รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย บริษัทสละสิทธิในการไล่เบี้ยจากผู้ใช้รถยนต์นั้น หมายถึงบุคคลผู้ใช้รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยให้นำรถยนต์ไปใช้อย่างยานพาหนะ แต่จำเลยครอบครองรถยนต์เนื่องจากรับจ้าง ส.ผู้เอาประกันภัยติดตั้งหลังคาไฟเบอร์กล๊าส จึงไม่ใช่ผู้นำรถยนต์ไปใช้อย่างยานพาหนะ กรณีไม่ต้องตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อดังกล่าวที่ถือว่าโจทก์สละสิทธิไล่เบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6628/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับจ้างดูแลรักษารถยนต์ที่สูญหายจากการประมาทของลูกจ้าง และข้อยกเว้นการสละสิทธิไล่เบี้ยในกรมธรรม์ประกันภัย
จำเลยรับรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้จากผู้เอาประกันภัยเพื่อรับจ้างติดตั้งหลังคาไฟเบอร์กล๊าสจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องดูแลรักษารถยนต์มิให้สูญหายเพื่อจะได้คืนรถยนต์ให้ผู้ว่าจ้างเมื่อรถยนต์สูญหายไปในระหว่างที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยเนื่องจากลูกจ้างของจำเลยประมาทเลินเล่อจำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปแล้ว โจทก์ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิจากส.ผู้เอาประกันภัยฟ้องจำเลยผู้กระทำละเมิดทำให้รถยนต์ที่ส.เอาประกันภัยไว้กับโจทก์สูญหายไปเมื่อส.มีสิทธิฟ้องจำเลยโดยมิต้องทวงถามก่อนโจทก์ผู้รับช่วงสิทธิจากส.จึงฟ้องจำเลยได้โดยไม่ต้องทวงถามจำเลยก่อน จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดตามเงื่อนไขท้ายกรมธรรม์ประกันภัยแต่ศาลอุทธรณ์มิได้ยกขึ้นวินิจฉัยเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา243(1)ประกอบมาตรา247แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยเองโดยไม่ย้อนสำนวน ข้อตกลงตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ว่าในกรณีที่มีความเสียหายหรือสูญหายเกิดขึ้นต่อรถยนต์เมื่อบุคคลอื่นเป็นผู้ใช้รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยบริษัทสละสิทธิในการไล่เบี้ยจากผู้ใช้รถยนต์นั้นหมายถึงบุคคลผู้ใช้รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยให้นำรถยนต์ไปใช้อย่างยานพาหนะแต่จำเลยครอบครองรถยนต์เนื่องจากรับจ้างส.ผู้เอาประกันภัยติดตั้งหลังคาไฟเบอร์กล๊าสจึงไม่ใช่ผู้นำรถยนต์ไปใช้อย่างยานพาหนะกรณีไม่ต้องตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อดังกล่าวที่ถือว่าโจทก์สละสิทธิไล่เบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5813/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลและการย้อนสำนวนเพื่อวินิจฉัยข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลจังหวัดนครราชสีมาซึ่งเป็นศาลชั้นต้นโดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยกู้เงินโจทก์ 50,000 บาท ตามหนังสือสัญญากู้เงินเอกสารท้ายฟ้องหมาย 2 ซึ่งระบุว่า ทำที่ 395 - 399 ถนนมิตรภาพ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เมื่อเอกสารท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องข้อเท็จจริงฟังได้ในเบื้องต้นว่า โจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นโดยโจทก์อ้างว่ามูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลชั้นต้น จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าสัญญามิได้ทำขึ้นที่บ้านเลขที่ดังกล่าว มูลคดีมิได้เกิดขึ้นในเขตศาลชั้นต้น และชั้นพิจารณาจำเลยที่ 1 นำสืบว่าเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารปลอม ฉะนั้นเมื่อโจทก์อ้างว่ามูลคดีเกิดในเขตศาลชั้นต้นและตามข้อเท็จจริงในสำนวนไม่ปรากฏว่าข้ออ้างของโจทก์ไม่เป็นความจริง ศาลจังหวัดนครราชสีมาจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ แม้จำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลจังหวัดสีคิ้วก็ตาม
ชั้นอุทธรณ์ จำเลยอุทธรณ์ด้วยว่า จำเลยไม่ได้กู้เงินจากโจทก์ สัญญากู้เอกสารหมาย จ.2 เป็นเอกสารปลอม โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 เพียง 5 ปี ซึ่งอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวบางข้อเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง และศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัย แต่คดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247
ชั้นอุทธรณ์ จำเลยอุทธรณ์ด้วยว่า จำเลยไม่ได้กู้เงินจากโจทก์ สัญญากู้เอกสารหมาย จ.2 เป็นเอกสารปลอม โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 เพียง 5 ปี ซึ่งอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวบางข้อเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง และศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัย แต่คดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5434/2538 เวอร์ชัน 6 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์และฎีกาในข้อเท็จจริง: เงื่อนไขการรับรองและการเพิกถอนคำสั่งที่ไม่ชอบ
คดีผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 มีราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท และต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ผู้ร้องที่ 1 และที่ 3ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่าคดีผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 มีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจึงมีหน้าที่พิจารณาเพียงว่า มีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้หรือไม่เท่านั้น
การที่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คดีนี้ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ จึงไม่จำต้องรับรองและมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของผู้ร้องทั้งสามจึงเป็นการสั่งคดีในส่วนของผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 โดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดีถือไม่ได้ว่าผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่งแล้ว และแม้ต่อมาในชั้นฎีกาผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 ยื่นคำร้องร่วมกับผู้ร้องที่ 2 ต่อศาลชั้นต้นขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่าคดีมีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้ และผู้พิพากษาที่นั่ง-พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า รับรองว่าคดีมีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้และมีคำสั่งรับฎีกาของผู้ร้องทั้งสามก็ตาม ก็เป็นการสั่งคดีในส่วนของผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 โดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบเช่นกัน ผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 จึงไม่มีสิทธิที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้ และศาลฎีกามีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้เพิกถอนคำสั่งและการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบเสียได้ ตามป.วิ.พ.มาตรา 243 (1) และมาตรา 27 ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247ศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่เกี่ยวกับผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 และเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่ว่า "คดีนี้ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ จึงไม่จำต้องรับรอง" และให้ยกคำสั่งรับอุทธรณ์ของผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 เสีย ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณา-คดีในศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้องของผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 ว่าจะรับรองหรือไม่แล้วดำเนินการต่อไป กับให้ยกฎีกาของผู้ร้องที่ 1 และที่ 3
การที่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คดีนี้ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ จึงไม่จำต้องรับรองและมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของผู้ร้องทั้งสามจึงเป็นการสั่งคดีในส่วนของผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 โดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดีถือไม่ได้ว่าผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่งแล้ว และแม้ต่อมาในชั้นฎีกาผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 ยื่นคำร้องร่วมกับผู้ร้องที่ 2 ต่อศาลชั้นต้นขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่าคดีมีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้ และผู้พิพากษาที่นั่ง-พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า รับรองว่าคดีมีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้และมีคำสั่งรับฎีกาของผู้ร้องทั้งสามก็ตาม ก็เป็นการสั่งคดีในส่วนของผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 โดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบเช่นกัน ผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 จึงไม่มีสิทธิที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้ และศาลฎีกามีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้เพิกถอนคำสั่งและการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบเสียได้ ตามป.วิ.พ.มาตรา 243 (1) และมาตรา 27 ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247ศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่เกี่ยวกับผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 และเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่ว่า "คดีนี้ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ จึงไม่จำต้องรับรอง" และให้ยกคำสั่งรับอุทธรณ์ของผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 เสีย ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณา-คดีในศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้องของผู้ร้องที่ 1 และที่ 3 ว่าจะรับรองหรือไม่แล้วดำเนินการต่อไป กับให้ยกฎีกาของผู้ร้องที่ 1 และที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4947/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตสิทธิอุทธรณ์-ฎีกาคำสั่งอายัดชั่วคราวก่อนพิพากษา และความสัมพันธ์ของคำฟ้อง-ฟ้องแย้ง
ที่จำเลยทั้งสามฎีกาว่า คดีมีเหตุอันสมควรที่จะให้ถอนหมายอายัดที่ศาลได้ออกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 258 ในกรณีฉุกเฉินตามคำขอของโจทก์นั้น คดีนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดสิทธิเรียกร้องเงินที่จำเลยที่ 1 มีต่อบริษัท อ. ไม่ใช่สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 2 และที่ 3ในฐานะส่วนตัว จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่มีส่วนได้เสียในคำสั่งดังกล่าว จำเลยที่ 2 และที่ 3 ย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ถอนหมายอายัดและไม่ได้ถูกกระทบกระเทือนจากคำสั่งยกคำร้องขอให้ถอนหมายอายัด จำเลยที่ 2 และที่ 3 จีงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว จำเลยที่ 2 ก็ชอบที่จะฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ว่าตนมีสิทธิยื่นคำร้องขอถอนหมายอายัด จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอถอนหมายอายัด แต่จำเลยที่ 2 ก็มิได้ฎีกา คดีจึงฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ว่า จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอถอนหมายอายัดปัญหาตามฎีกาข้างต้นในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ส่วนจำเลยที่ 3 ปรากฏว่า จำเลยที่ 3 ไม่ได้ร่วมยื่นคำร้องขอให้ถอนหมายอายัดด้วย คงมีแต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เท่านั้นเป็นผู้ยื่นคำร้องขอให้ถอนหมายอายัดเมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้องของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ขอให้ถอนหมายอายัด จำเลยที่ 3ย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์เนื่องจากมิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาตามลำดับชั้นศาล การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 เป็นการไม่ชอบ จำเลยที่ 3ไม่มีสิทธิฎีกาต่อมา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาจำเลยที่ 2 และที่ 3
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้อายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1ชั่วคราวก่อนพิพากษาโดยฉุกเฉิน โดยวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์มีเหตุเพียงพอกรณีมีเหตุฉุกเฉิน จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่ง เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ยื่นอุทธรณ์ คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงถึงที่สุด ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่าข้ออ้างของโจทก์ไม่มีเหตุเพียงพอจึงเป็นการโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ยุติไปแล้ว ทั้งไม่ใช่เหตุที่จะนำมาพิจารณาคำร้องของจำเลยที่ 1 ที่ขอให้ถอนหมายอายัดชั่วคราวในกรณีฉุกเฉินได้
ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ตั้งสิทธิเรียกร้องจากมูลละเมิดกล่าวหาว่า โจทก์ร้องขอให้ศาลนำวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษามาใช้บังคับโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อกลั่นแกล้งจำเลยที่ 1 ให้ได้รับความเสียหาย มิได้เกี่ยวข้องกับคำฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องเรียกค่าสินค้าที่จำเลยทั้งสามซื้อเชื่อสินค้าไปจากโจทก์แล้วไม่ชำระราคา ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 เช่นนี้จึงเป็นคนละเรื่องกับคำฟ้องของโจทก์ ไม่เกี่ยวข้องกันพอที่จะนำมารวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้อายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1ชั่วคราวก่อนพิพากษาโดยฉุกเฉิน โดยวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์มีเหตุเพียงพอกรณีมีเหตุฉุกเฉิน จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่ง เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ยื่นอุทธรณ์ คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงถึงที่สุด ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่าข้ออ้างของโจทก์ไม่มีเหตุเพียงพอจึงเป็นการโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ยุติไปแล้ว ทั้งไม่ใช่เหตุที่จะนำมาพิจารณาคำร้องของจำเลยที่ 1 ที่ขอให้ถอนหมายอายัดชั่วคราวในกรณีฉุกเฉินได้
ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ตั้งสิทธิเรียกร้องจากมูลละเมิดกล่าวหาว่า โจทก์ร้องขอให้ศาลนำวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษามาใช้บังคับโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อกลั่นแกล้งจำเลยที่ 1 ให้ได้รับความเสียหาย มิได้เกี่ยวข้องกับคำฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องเรียกค่าสินค้าที่จำเลยทั้งสามซื้อเชื่อสินค้าไปจากโจทก์แล้วไม่ชำระราคา ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 เช่นนี้จึงเป็นคนละเรื่องกับคำฟ้องของโจทก์ ไม่เกี่ยวข้องกันพอที่จะนำมารวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4947/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดสิทธิเรียกร้องชั่วคราวก่อนพิพากษา, สิทธิในการอุทธรณ์, และฟ้องแย้งที่ไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม
ที่จำเลยทั้งสามฎีกาว่าคดีมีเหตุอันสมควรที่จะให้ถอนหมายอายัดที่ศาลได้ออกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา258ในกรณีฉุกเฉินตามคำขอของโจทก์นั้นคดีนี้เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค2วินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดสิทธิเรียกร้องเงินที่จำเลยที่1มีต่อบริษัท อ. ไม่ใช่สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่2และที่3ในฐานะส่วนตัวจำเลยที่2และที่3จึงไม่มีส่วนได้เสียในคำสั่งดังกล่าวจำเลยที่2และที่3ย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ถอนหมายอายัดและไม่ได้ถูกกระทบกระเทือนจากคำสั่งยกคำร้องขอให้ถอนหมายอายัดจำเลยที่2และที่3จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวจำเลยที่2ก็ชอบที่จะฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค2ว่าตนมีสิทธิยื่นคำร้องขอถอนหมายอายัดจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอถอนหมายอายัดแต่จำเลยที่2ก็มิได้ฎีกาคดีจึงฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค2ว่าจำเลยที่2ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอถอนหมายอายัดปัญหาตามฎีกาข้างต้นในส่วนของจำเลยที่2จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยส่วนจำเลยที่3ปรากฏว่าจำเลยที่3ไม่ได้ร่วมยืนคำร้องขอให้ถอนหมายอายัดด้วยคงมีแต่จำเลยที่1และที่2เท่านั้นเป็นผู้ยื่นคำร้องขอให้ถอนหมายอายัดเมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้องของจำเลยที่1และที่2ที่ขอให้ถอนหมายอายัดจำเลยที่3ย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์เนื่องจากมิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาตามลำดับชั้นศาลการที่ศาลอุทธรณ์ภาค2วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่3เป็นการไม่ชอบจำเลยที่3ไม่มีสิทธิฎีกาต่อมาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาจำเลยที่2และที่3 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้อายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่1ชั่วคราวก่อนพิพากษาโดยฉุกเฉินโดยวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์มีเหตุเพียงพอกรณีมีเหตุฉุกเฉินจำเลยที่1ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งเมื่อจำเลยที่1ไม่ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงถึงที่สุดฎีกาของจำเลยที่1ที่ว่าข้ออ้างของโจทก์ไม่มีเหตุเพียงพอจึงเป็นการโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ยุติไปแล้วทั้งไม่ใช่เหตุที่จะนำมาพิจารณาคำร้องของจำเลยที่1ที่ขอให้ถอนหมายอายัดชั่วคราวในกรณีฉุกเฉินได้ ฟ้องแย้งของจำเลยที่1ตั้งสิทธิเรียกร้องจากมูลละเมิดกล่าวหาว่าโจทก์ร้องขอให้ศาลนำวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษามาใช้บังคับโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อกลั่นแกล้งจำเลยที่1ให้ได้รับความเสียหายมิได้เกี่ยวข้องกับคำฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องเรียกค่าสินค้าที่จำเลยทั้งสามซื้อเชื่อสินค้าไปจากโจทก์แล้วไม่ชำระราคาฟ้องแย้งของจำเลยที่1เช่นนี้จึงเป็นคนละเรื่องกับคำฟ้องของโจทก์ไม่เกี่ยวข้องกันพอที่จะนำมารวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4764/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้าต้องระบุการกระทำต่อเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 108 และศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนแต่ปรากฎตามคำฟ้องว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำการปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรตามมาตรา108 ดังกล่าว คงบรรยายฟ้องว่า จำเลยมีน้ำมันหล่อลื่นที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมตามมาตรา 108 ไว้เพื่อจำหน่ายและเสนอจำหน่ายอันเป็นความผิดตามมาตรา 110 ซึ่งมีระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 108 เท่านั้น กรณีจึงไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 108 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ได้ ศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4764/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเครื่องหมายการค้าและน้ำมันเชื้อเพลิง: ศาลแก้ไขคำพิพากษาข้อหาปลอมเครื่องหมายการค้าเนื่องจากคำฟ้องไม่ชัดเจน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2534มาตรา108และศาลอุทธรณ์ภาค3พิพากษายืนแต่ปรากฎตามคำฟ้องว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้กระทำการปลอมเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรตามมาตรา108ดังกล่าวคงบรรยายฟ้องว่าจำเลยมีน้ำมันหล่อลื่นที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมตามมาตรา108ไว้เพื่อจำหน่ายและเสนอจำหน่ายอันเป็นความผิดตามมาตรา110ซึ่งมีระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา108เท่านั้นกรณีจึงไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา108แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2534ได้ศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4740/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้รับจำนองในการขอรับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่ถูกยึด แม้มิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
บทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา289วรรคแรกไม่มีข้อจำกัดสิทธิของผู้รับจำนองว่าจะต้องฟ้องร้องบังคับก่อนหรือจะต้องเป็นเจ้าหนี้จำนองตามคำพิพากษาจึงจะขอรับชำระหนี้ได้ทั้งไม่มีบทบัญญัติใดระบุว่าโจทก์และผู้รับจำนองจะต้องเป็นบุคคลฐานะเดียวกันไม่ได้หากผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาโดยมีที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้จำนองเป็นประกันผู้ร้องย่อมอาศัยอำนาจแห่งการจำนองขอให้ศาลขายที่ดินโดยปลอดจำนองเพื่อนำเงินที่ขายได้ชำระหนี้แก่ผู้ร้องก่อนเจ้าหนี้อื่นได้ แม้ประเด็นว่าจำเลยได้จดทะเบียนที่ดินโฉนดเลขที่45816จำนองต่อผู้ร้องหรือไม่ศาลอุทธรณ์จะมิได้วินิจฉัยไว้แต่เมื่อคู่ความได้สืบพยานในประเด็นนี้เสร็จแล้วศาลฎีกาย่อมเห็นสมควรวินิจฉัยไปทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3459/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะ 'บริวาร' ผู้เช่าตึกแถว: สัญญาโอนสิทธิการเช่าทำให้มีฐานะเป็นบริวารของผู้อ้างสิทธิเดิม
ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีให้โจทก์และบริวารออกไปจากตึกแถวพิพาท เมื่อผู้ร้องอ้างว่า ผู้ร้องมิใช่บริวารของโจทก์ แต่จำเลยคัดค้านว่าผู้ร้องเป็นบริวารของโจทก์ คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทจะต้องวินิจฉัยว่า ผู้ร้องเป็นบริวารของโจทก์หรือไม่ ซึ่งการที่จะวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยปกติศาลชั้นต้นจะต้องทำการไต่สวนโดยเปิดโอกาสให้คู่กรณีนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อสนับสนุนข้ออ้างและข้อคัดค้านของตนแล้วจึงจะวินิจฉัยชี้ขาด แต่คดีนี้ผู้ร้องมิได้มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยการที่ผู้ร้องเข้าครอบครองอ้างสิทธิในตึกแถวพิพาทก็โดยอาศัยสิทธิตามสัญญาโอนสิทธิการเช่าระหว่างผู้ร้องกับโจทก์ จึงต้องถือว่าผู้ร้องเป็นบริวารของโจทก์ ดังนั้นแม้จะทำการไต่สวนและฟังข้อเท็จจริงได้ตามคำร้อง ก็คงต้องฟังว่าผู้ร้องเป็นบริวารของโจทก์อยู่นั่นเอง ศาลชอบที่สั่งงดการไต่สวนเสียได้
เมื่อศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในปัญหาที่ว่า ที่ศาลชั้นต้นงดไต่สวนคำร้องของผู้ร้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งเป็นปัญหาตามอุทธรณ์ของผู้ร้องโดยตรงแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจยกปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นวินิจฉัยว่า การที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องโดยผู้พิพากษานายเดียวเป็นผู้ลงนามในคำสั่งนั้น เป็นการไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 23 เนื่องจากคำสั่งดังกล่าวมีลักษณะเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของผู้พิพากษานายเดียวที่จะออกคำสั่งได้ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 21 (2)อันเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น โดยให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่ให้มีผู้พิพากษาครบองค์คณะได้
เมื่อศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในปัญหาที่ว่า ที่ศาลชั้นต้นงดไต่สวนคำร้องของผู้ร้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งเป็นปัญหาตามอุทธรณ์ของผู้ร้องโดยตรงแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจยกปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นวินิจฉัยว่า การที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องโดยผู้พิพากษานายเดียวเป็นผู้ลงนามในคำสั่งนั้น เป็นการไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 23 เนื่องจากคำสั่งดังกล่าวมีลักษณะเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของผู้พิพากษานายเดียวที่จะออกคำสั่งได้ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 21 (2)อันเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น โดยให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่ให้มีผู้พิพากษาครบองค์คณะได้