คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 243 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 292 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1352/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์: การคำนวณระยะเวลาครอบครองที่ถูกต้องตามวันถึงแก่กรรมของผู้ถือกรรมสิทธิ์เดิม
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าบิดาผู้ร้องถึงแก่กรรมเมื่อวันที่22กันยายน2528เมื่อนับถึงวันยื่นคำร้องขอวันที่27สิงหาคม2535จึงยังไม่ครบ10ปีผู้ร้องจึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382แสดงว่าหากนับจากวันที่บิดาผู้ร้องถึงแก่กรรมถึงวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นเวลาครบ10ปีคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จะเปลี่ยนไปเมื่อปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ฟังพยานหลักฐานในสำนวนผิดพลาดเพราะความจริงบิดาผู้ร้องถึงแก่กรรมเมื่อวันที่16สิงหาคม2516เป็นเวลาก่อนที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอประมาณ19ปีไม่ใช่วันที่22กันยายน2528อันเป็นผลให้คำวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายคลาดเคลื่อนไปศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนละเมิดสิทธิบัตร และความรับผิดของกรรมการในฐานะส่วนตัว
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ในคดีนี้ว่าร่วมกันผลิตม่านเหล็กบังตาตามสิทธิบัตรของโจทก์ และร่วมกันขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรของโจทก์ เป็นละเมิดต่อโจทก์ ดังนี้ เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โดยที่คดีก่อนกับคดีนี้มีประเด็นอย่างเดียวกันว่า จำเลยได้ร่วมกันผลิตและขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งม่าน-เหล็กบังตา อันเป็นการกระทำเทียมหรือเลียนแบบละเมิดสิทธิบัตรของโจทก์หรือไม่แม้คดีนี้โจทก์จะมีคำขอเพิ่มเติมโดยเรียกค่าเสียหายมาด้วย แต่มูลคดีที่โจทก์ฟ้องก็เป็นเรื่องเดียวกัน มีประเด็นเกี่ยวข้องกันโดยตรง จำเลยผลิตและขายม่านบังตาก่อนเกิดเหตุและตลอดมา การที่จำเลยต้องหยุดการผลิตเนื่องจากถูกโจทก์แจ้งความกล่าวหาว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดทางอาญาและเจ้าพนักงานตำรวจได้ยกเครื่องจักรไป ต่อมาเมื่อได้รับคืนเครื่องจักรที่ยึดจำเลยก็ได้ใช้เครื่องผลิตม่านบังตาตามปกติต่อมา ต้องถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำต่อเนื่องกัน จะถือว่าขาดตอนแล้วและเริ่มนับใหม่หาได้ไม่ ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 เป็นฟ้องซ้อน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173วรรคสอง (1) และกรณีที่จะเป็นฟ้องซ้อน นอกจากคดีจะต้องมีประเด็นอย่างเดียวกันแล้ว จำเลยยังจะต้องเป็นจำเลยที่ถูกฟ้องในคดีก่อนด้วย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 3 ที่ 4 เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1ร่วมกับจำเลยที่ 1 และจำเลยอื่นกระทำละเมิดต่อสิทธิบัตรของโจทก์ แม้จะมิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 3 ที่ 4 กระทำในฐานะส่วนตัวก็หาใช่ว่าจะไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว เพราะหากฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ เมื่อศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 3และที่ 4 ร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ และโจทก์เสียหายเพียงใดศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและพิพากษาตามลำดับชั้นศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1), 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนสิทธิบัตร: คดีมีประเด็นเดียวกัน จำเลยซ้ำ และความรับผิดของกรรมการ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่1ที่2ที่5และที่6ในคดีนี้ว่าร่วมกันผลิตม่านเหล็กบังตาตามสิทธิบัตรของโจทก์และร่วมกันขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรของโจทก์เป็นละเมิดต่อโจทก์ดังนี้เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยที่คดีก่อนกับคดีนี้มีประเด็นอย่างเดียวกันว่าจำเลยได้ร่วมกันผลิตและขายหรือไม่มีไว้เพื่อขายซึ่งม่านเหล็กบังตาอันเป็นการกระทำเทียมหรือเลียนแบบละเมิดสิทธิ์บัตรของโจทก์หรือไม่แม้คดีนี้โจทก์จะมีคำขอเพิ่มเติมโดยเรียกค่าเสียหายมาด้วยแต่มูลคดีที่โจทก์ฟ้องก็เป็นเรื่องเดียวกันมีประเด็นเกี่ยวข้องกันโดยตรงจำเลยผลิตและขายม่านบังตาก่อนเกิดเหตุและตลอดมาการที่จำเลยต้องหยุดการผลิตเนื่องจากถูกโจทก์แจ้งความกล่าวหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดทางอาญาและเจ้าพนักงานตำรวจได้ยกเครื่องจักรไปต่อมาเมื่อได้รับคืนเครื่องจักรที่ยึดจำเลยก็ได้ใช้เครื่องผลิตม่านบังตาตามปกติต่อมาต้องถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำต่อเนื่องกัน จะถือว่าขาดตอนแล้วและเริ่มนับใหม่หาได้ไม่ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่1ที่2ที่5และที่6เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสอง(1)และกรณีที่จะเป็นฟ้องซ้อนนอกจากคดีจะต้องมีประเด็นอย่างเดียวกันแล้วจำเลยยังจะต้องเป็นจำเลยที่ถูกฟ้องในคดีก่อนด้วย โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่3ที่4เป็นกรรมการของจำเลยที่1ร่วมกับจำเลยที่1และจำเลยอื่นกระทำละเมิดต่อสิทธิบัตรของโจทก์แม้จะมิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่3ที่4กระทำในฐานะส่วนตัวก็หาใช่ว่าจะไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวเพราะหากฟังได้ว่าจำเลยที่3และที่4ร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์เมื่อศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัยว่าจำเลยที่3และที่4ร่วมกันทำ ละเมิดต่อโจทก์หรือไม่และโจทก์เสียหายเพียงใดศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและพิพากษาตามลำดับชั้นศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา243(1),247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนชื่อจากน.ส.3ก. กรณีสิทธิร่วม และการยกคำขอเนื่องจากฎีกาต้องห้าม
คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค1แสดงให้เห็นว่าโจทก์ที่3มิได้มีสิทธิแต่ผู้เดียวในที่ดินพิพาทอันจะมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนชื่อ ท. ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสามได้เท่านั้นหาได้เป็นการวินิจฉัยในเรื่องแบ่งปันที่ดินพิพาทจึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแต่อย่างใด ส่วนที่โจทก์ทั้งสามขอให้ถอนชื่อ ท. ออกจากน.ส.3ก.สำหรับที่ดินพิพาทนั้นศาลอุทธรณ์ภาค1วินิจฉัยว่าโจทก์ที่3และท. มีสิทธิในที่ดินพิพาทคนละครึ่งกรณีจึงไม่อาจเพิกถอนชื่อ ท.ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทได้ย่อมมีผลเท่ากับยกคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสามแต่ศาลอุทธรณ์ภาค1พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่1และที่2เท่านั้นมิได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่3ด้วยศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องนอกจากนี้ที่โจทก์ทั้งสามขอให้พิพากษาว่าพินัยกรรม ท. ใช้บังคับไม่ได้นั้นศาลอุทธรณ์ภาค1วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ จ.ย่อมมีผลเท่ากับพินัยกรรมใช้บังคับได้แต่ศาลอุทธรณ์ภาค1พิพากษายกคำขอเฉพาะโจทก์ที่3เท่านั้นมิได้พิพากษาให้ยกคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่1และที่2ด้วยศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเช่นกัน ที่โจทก์ที่1และที่2ฎีกาว่าโจทก์ที่3ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ จ. ทุกคนคดีจึงไม่ขาดอายุความนั้นเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าฟ้องโจทก์ที่3ขาดอายุความหรือไม่เพราะศาลต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงให้เป็นที่ยุติเสียก่อนว่าโจทก์ที่3ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ จ. หรือไม่จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงนอกจากนี้โจทก์ที่1และที่2ยังฎีกาอีกว่า ท. ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทเพียงผู้เดียวจึงไม่อาจทำพินัยกรรมยกที่ดินทั้งแปลงให้แก่จำเลยอันเป็นการกระทำที่เกินกว่าสิทธิของตนที่พึงจะได้รับตามกฎหมายในฐานะทายาทของ จ. ขอให้ศาลพิพากษากลับและบังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นก็เป็นฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค1ฟังมาว่า ท.มีสิทธิในที่ดินพิพาทเพียงครึ่งหนึ่งจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเช่นเดียวกันปรากฏว่าคดีนี้ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งดังนั้นโจทก์ที่1และที่2จึงต้องห้ามฎีกา ที่จำเลยฎีกาว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ จ. การที่โจทก์ที่3ได้ร่วมทำกินกับ ท. ก็ไม่อาจก่อให้เกิดสิทธิใดๆแก่โจทก์ที่3และไม่อยู่ในฐานะที่จะขอแบ่งที่ดินพิพาทได้โจทก์ทั้งสามไม่เคยเข้าเกี่ยวข้องในที่ดินพิพาทฟ้องโจทก์ทั้งสามขาดอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754วรรคหนึ่งเป็นฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค1ฟังมาจึงต้องห้ามฎีกาเช่นเดียวกันกับโจทก์ที่1และที่2ส่วนที่จำเลยฎีกาอีกว่าท. ได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทมาตั้งแต่พ.ศ.2519แล้วโจทก์ทั้งสามไม่ได้โต้แย้งหรือคัดค้านภายในกำหนด1ปีนับแต่ถูกแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1375วรรคสองนั้นปรากฏว่าจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนชื่อออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ และการโต้แย้งสิทธิในที่ดินมรดก รวมถึงข้อจำกัดในการฎีกาข้อเท็จจริง
คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 1 แสดงให้เห็นว่า โจทก์ที่ 3มิได้มีสิทธิแต่ผู้เดียวในที่ดินพิพาท อันจะมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนชื่อ ท. ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสามได้เท่านั้น หาได้เป็นการวินิจฉัยในเรื่องแบ่งปันที่ดินพิพาท จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแต่อย่างใด
ส่วนที่โจทก์ทั้งสามขอให้ถอนชื่อ ท. ออกจาก น.ส.3 ก.สำหรับที่ดินพิพาทนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่าโจทก์ที่ 3 และ ท. มีสิทธิในที่ดินพิพาทคนละครึ่ง กรณีจึงไม่อาจเพิกถอนชื่อ ท. ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทได้ ย่อมมีผลเท่ากับยกคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสาม แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 1 และที่ 2 เท่านั้นมิได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 3 ด้วย ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง นอกจากนี้ที่โจทก์ทั้งสามขอให้พิพากษาว่า พินัยกรรม ท. ใช้บังคับไม่ได้นั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1วินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ จ. ย่อมมีผลเท่ากับพินัยกรรมใช้บังคับได้ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกคำขอเฉพาะโจทก์ที่ 3 เท่านั้น มิได้พิพากษาให้ยกคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ด้วย ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเช่นกัน
ที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ที่ 3 ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ จ. ทุกคน คดีจึงไม่ขาดอายุความนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าฟ้องโจทก์ที่ 3 ขาดอายุความหรือไม่เพราะศาลต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงให้เป็นที่ยุติเสียก่อนว่า โจทก์ที่ 3 ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ จ. หรือไม่ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงนอกจากนี้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ยังฎีกาอีกว่า ท.ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทเพียงผู้เดียวจึงไม่อาจทำพินัยกรรมยกที่ดินทั้งแปลงให้แก่จำเลยอันเป็นการกระทำที่เกินกว่าสิทธิของตนที่พึงจะได้รับตามกฎหมายในฐานะทายาทของ จ. ขอให้ศาลพิพากษากลับและบังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นก็เป็นฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังมาว่า ท.มีสิทธิในที่ดินพิพาทเพียงครึ่งหนึ่ง จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเช่นเดียวกัน ปรากฏว่าคดีนี้ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ดังนั้น โจทก์ที่ 1และที่ 2 จึงต้องห้ามฎีกา
ที่จำเลยฎีกาว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ จ. การที่โจทก์ที่ 3 ได้ร่วมทำกินกับ ท. ก็ไม่อาจก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ แก่โจทก์ที่ 3 และไม่อยู่ในฐานะที่จะขอแบ่งที่ดินพิพาทได้ โจทก์ทั้งสามไม่เคยเข้าเกี่ยวข้องในที่ดิน-พิพาท ฟ้องโจทก์ทั้งสามขาดอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง เป็นฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังมาจึงต้องห้ามฎีกาเช่นเดียวกันกับโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ส่วนที่จำเลยฎีกาอีกว่าท.ได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ พ.ศ.2519 แล้ว โจทก์ทั้งสามไม่ได้โต้แย้งหรือคัดค้านภายในกำหนด 1 ปี นับแต่ถูกแย่งการครอบครองตามประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง นั้น ปรากฏว่าจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7495/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยคดีตามประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์ แม้ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยประเด็นอื่น
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมจำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องโจทก์คิดดอกเบี้ยไม่ชอบด้วยกฎหมายจำเลยไม่เคยได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามหนี้จากโจทก์และจำเลยมิได้เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวก็ตามแต่ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์เกินกว่า500,000บาทหรือไม่และจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ก็ได้วินิจฉัยรวมถึงประเด็นที่จำเลยได้ให้การต่อสู้ไว้แล้วยกเว้นในประเด็นว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่และฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ที่มิได้วินิจฉัยแต่เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งว่าการที่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวเป็นการไม่ชอบก็ถือได้ว่าจำเลยไม่ติดใจในข้อนี้แล้วดังนี้แม้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ไม่มีเหตุอันสมควรที่ศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัยและย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีใหม่ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยคดีไปตามประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7495/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยประเด็นเฉพาะตามอุทธรณ์ แม้มีประเด็นอื่นที่ไม่ได้วินิจฉัยในศาลชั้นต้น
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมจำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ตามฟ้อง โจทก์คิดดอกเบี้ยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยไม่เคยได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามหนี้จากโจทก์ และจำเลยมิได้เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวก็ตามแต่ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์เกินกว่า500,000 บาท หรือไม่และจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ ก็ได้วินิจฉัยรวมถึงประเด็นที่จำเลยได้ให้การต่อสู้ไว้แล้ว ยกเว้นในประเด็นว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ และฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ที่มิได้วินิจฉัย แต่เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งว่าการที่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวเป็นการไม่ชอบก็ถือได้ว่าจำเลยไม่ติดใจในข้อนี้แล้ว ดังนี้ แม้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ก็ไม่มีเหตุอันสมควรที่ศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัยและย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีใหม่ ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยคดีไปตามประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6564/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานเพิ่มเติมและการใช้กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่บังคับใช้ย้อนหลัง ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพื่อพิพากษาใหม่
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.1 ของโจทก์ต้องห้ามรับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87,90เดิมเนื่องจากโจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาให้จำเลยก่อนวันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยานจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบก่อน โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่จำต้องส่งสำเนาให้จำเลยก่อนวันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยานนัดแรกไม่ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กลับวินิจฉัยว่าโจทก์ยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติม อ้างว่าหลงลืมพลั้งเผลอโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ไม่สามารถทราบได้ว่าต้องนำหนังสือเช่ามาสืบและโจทก์ไม่ทราบว่าหนังสือเช่านั้นมีอยู่ กรณีไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติม คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2ในส่วนนี้ เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแห่งคำอุทธรณ์ และเป็นการนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสี่ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2535 มาตรา 3 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มิได้ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม เป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2535 มาตรา 2 จึงเป็นการนำกฎหมายที่บังคับใช้ภายหลังมาใช้บังคับย้อนหลังต่อกระบวนพิจารณาที่ล่วงเลยมาแล้วย่อมเป็นการไม่ชอบ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยต่อไปว่า แม้ศาลชั้นต้นอนุญาตและโจทก์อ้างเอกสารที่ระบุพยานเพิ่มเติมเป็นพยานแล้ว ก็ย่อมต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87,90 นั้นก็หาได้แสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยว่าไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 เดิม อย่างไร ไม่ได้อ้างบทบัญญัติของกฎหมาย และแปลความหมายของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 เดิม ไว้ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141(4) ประกอบด้วยมาตรา 246 ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ส่งสำนวนคืนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 2เพื่อให้พิพากษาใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243(1) ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6564/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานเพิ่มเติมและการใช้กฎหมายที่บังคับใช้ภายหลังย้อนหลังในคดีแพ่ง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าสัญญาเช่าเอกสารหมายจ.1ของโจทก์ต้องห้ามรับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา87,90เดิมเนื่องจากโจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาให้จำเลยก่อนวันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยานจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบก่อนโจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่จำต้องส่งสำเนาให้จำเลยก่อนวันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยานนัดแรกไม่ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าวศาลอุทธรณ์ภาค2กลับวินิจฉัยว่าโจทก์ยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมอ้างว่าหลงลืมพลั้งเผลอโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ไม่สามารถทราบได้ว่าต้องนำหนังสือเช่ามาสืบและโจทก์ไม่ทราบว่าหนังสือเช่านั้นมีอยู่กรณีไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติมคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค2ในส่วนนี้เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแห่งคำอุทธรณ์และเป็นการนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา88วรรคสี่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่13)พ.ศ.2535มาตรา3ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มิได้ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่13)พ.ศ.2535มาตรา2จึงเป็นการนำกฎหมายที่บังคับใช้ภายหลังมาใช้บังคับย้อนหลังต่อกระบวนพิจารณาที่ล่วงเลยมาแล้วย่อมเป็นการไม่ชอบ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค2วินิจฉัยต่อไปว่าแม้ศาลชั้นต้นอนุญาตและโจทก์อ้างเอกสารที่ระบุพยานเพิ่มเติมเป็นพยานแล้วก็ย่อมต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา87,90นั้นก็หาได้แสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยว่าไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา90เดิมอย่างไรไม่ได้อ้างบทบัญญัติของกฎหมายและแปลความหมายของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา90เดิมไว้จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา141(4)ประกอบด้วยมาตรา246ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ส่งสำนวนคืนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค2เพื่อให้พิพากษาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา243(1)ประกอบด้วยมาตรา247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6229/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อระงับหรือไม่: ศาลฎีกาชี้ว่าต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเรื่องการส่งคืนรถก่อนพิจารณาปัญหาข้อกฎหมาย
จำเลยที่ 1 ให้การว่า จำเลยที่ 1 ได้มอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนให้โจทก์แล้ว สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1เป็นอันเลิกกัน ประเด็นข้อพิพาทที่ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยมีว่าจำเลยที่ 1 ได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปส่งคืนให้แก่โจทก์แล้วหรือไม่ เพราะถ้าข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 573 การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ตามที่จำเลยที่ 1 และที่ 3นำสืบก็ตาม แต่เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 3 ไม่ได้ทำสัญญาเช่าซื้อต่อกันไว้สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงยังไม่ระงับไปนั้น ถือได้ว่าศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงในประเด็นข้อพิพาทที่คู่ความโต้เถียงกัน คดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งจำเลยที่ 1 คงฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายแต่ในการวินิจฉัยปัญหาเช่นว่านี้ ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน เมื่อศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในปัญหาที่ว่า จำเลยที่ 1 ได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดย นำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปส่งคืนให้แก่โจทก์และตกลงให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้เช่าซื้อแทนหรือไม่แล้ว ศาลฎีกาย่อมมิอาจวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่าสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ระงับไปแล้วได้เพราะข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาไม่พอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมายดังกล่าว
of 30