คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 243 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 292 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5522/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธข้อกล่าวหาและการพิจารณาพยานหลักฐาน ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานที่ถูกต้อง จึงต้องย้อนสำนวน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขายที่ดินให้โจทก์โดยตกลงกันเอง โจทก์มอบเงินให้จำเลยและจำเลยมอบที่ดินให้โจทก์ครอบครอง จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ขายที่ดินให้โจทก์และโจทก์มิได้ครอบครองเพื่อตนเอง คำให้การดังกล่าวของจำเลยจึงมีเพียงปฏิเสธฟ้องโจทก์เท่านั้น โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้ได้ความตามฟ้องส่วนจำเลยไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การถึงเหตุแห่งการปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์จึงไม่มีประเด็นที่จะสืบถึงรายละเอียดว่าจำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์และมอบที่ดินให้โจทก์ทำกินต่างดอกเบี้ย แม้ศาลจะให้จำเลยนำสืบในรายละเอียดเหล่านี้ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานในประเด็นแห่งคดีไม่ได้
เมื่อคดียังจะต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบและพฤติการณ์แห่งคดีว่า จะรับฟังข้อเท็จจริงได้ตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ ซึ่งประเด็นนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังไม่ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานเฉพาะที่นำสืบมาโดยถูกต้องและคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท การวินิจฉัยของศาล-อุทธรณ์ภาค 1 อาจมีผลทำให้คดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง จึงให้ย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาพิพากษาในประเด็นดังกล่าวจากพยานหลักฐานที่นำสืบมาโดยชอบต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5392/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง: ศาลฎีกามีอำนาจเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบ แม้เพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกา
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงให้ยกคำร้อง แล้วมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ เมื่อปรากฏว่า คดีนี้เป็นคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าว จึงเป็นการสั่งโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย และย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องว่าจะรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) และ 27 ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5392/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับอุทธรณ์คดีข้อเท็จจริง: ศาลชั้นต้นสั่งผิดพลาดและขัดต่อกฎหมาย
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงให้ยกคำร้อง แล้วมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ เมื่อปรากฏว่า คดีนี้เป็นคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าว จึงเป็นการสั่งโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย และย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องว่าจะรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (1) และ27 ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5285/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำท้าของผู้เชี่ยวชาญไม่ครบถ้วน ทำให้ศาลมิอาจพิพากษาตามคำท้าได้
คู่ความท้ากัน 2 ประการ แต่หนังสือของศาลชั้นต้นคงขอให้ผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจพิสูจน์ปัญหาประการแรกว่า ตัวเลข 2 ได้เขียนขึ้นในคราวเดียวกัน หรือเขียนเติมขึ้นในภายหลังเท่านั้นปัญหาประการที่สองที่ว่าตัวเลข 2 เขียนด้วยหมึกจากปากกาคนละด้ามกันหรือไม่ ศาลชั้นต้นไม่ได้ขอให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ จึงยังไม่เป็นไปตามคำท้าที่จะถือว่าโจทก์แพ้คดีได้ กรณีเป็นเรื่องศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการให้เป็นไปตามคำท้าของคู่ความให้ครบถ้วนเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5285/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำท้าของผู้เชี่ยวชาญไม่สมบูรณ์ ศาลต้องดำเนินการตามคำท้าให้ครบถ้วน
คู่ความท้ากัน 2 ประการ แต่หนังสือของศาลชั้นต้นคงขอให้ผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจพิสูจน์ปัญหาประการแรกว่า ตัวเลข 2 ได้เขียนขึ้นในคราว-เดียวกัน หรือเขียนเติมขึ้นในภายหลังเท่านั้น ปัญหาประการที่สองที่ว่าตัวเลข 2เขียนด้วยหมึกจากปากกาคนละด้ามกันหรือไม่ ศาลชั้นต้นไม่ได้ขอให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ จึงยังไม่เป็นไปตามคำท้าที่จะถือว่าโจทก์แพ้คดีได้ กรณีเป็นเรื่องศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการให้เป็นไปตามคำท้าของคู่ความให้ครบถ้วน เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4947/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าเป็นคู่ความแทนที่หลังจำเลยเสียชีวิต: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจสั่ง และศาลชั้นต้นต้องไต่สวนก่อนส่งสำนวน
จำเลยที่ 4 ถึงแก่ความตายขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ย่อมเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะมีคำสั่งเกี่ยวกับการเข้าเป็นคู่ความแทนที่ ศาลชั้นต้นจะต้องเลื่อนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไปก่อน และทำการไต่สวนให้ได้ความว่าผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 4 จริงหรือไม่ แล้วส่งคำร้องดังกล่าวพร้อมสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาสั่ง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่แล้วอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลล่างทั้งสองดำเนินกระบวนพิจารณาให้ถูกต้องก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3269/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์, อำนาจศาลแก้ไขความบกพร่องความสามารถคู่ความ, และการแก้ไขคำพิพากษาตามฟ้อง
แม้ศาลชั้นต้นรวมคดีพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกัน แต่สิทธิในการฎีกาต้องถือตามจำนวนทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนที่ฟ้องโดยแยกกันตามรายตัวโจทก์เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคนรวมทั้งฟ้องแย้งของจำเลยในแต่ละสำนวนไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 ที่จำเลยฎีกาว่า ส. มิใช่ลูกจ้างและมิได้กระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยเหตุรถชนกันเกิดจากความประมาทของอ. ซึ่งโจทก์ผู้เป็นนายจ้างจะต้องรับผิดตามฟ้องแย้งของจำเลยและฎีกาโต้เถียงในเรื่องค่าเสียหายล้วนเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยและพิพากษาเกี่ยวกับฟ้องแย้งของจำเลย แล้วพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นทำการพิพากษาใหม่ ดังนี้ ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงใหม่เกี่ยวกับจุดที่รถยนต์ชนกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา โจทก์ทุกคนมีอายุเกิน 20 ปีแล้วแม้ขณะฟ้องโจทก์ยังเป็นผู้เยาว์ก็เป็นเรื่องความสามารถในการฟ้องคดีของโจทก์บกพร่อง และศาลมีอำนาจสอบสวนและสั่งให้แก้ไขความบกพร่องให้บริบูรณ์ได้ก่อนศาลพิพากษาคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 เมื่อโจทก์บรรลุนิติภาวะก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา โจทก์จึงมีอำนาจเป็นคู่ความด้วยตนเองได้ โดยศาลฎีกาไม่จำต้องสั่งแก้ไขเรื่องความสามารถ แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าใช้จ่ายในงานศพ และค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์เกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง แต่ศาลชั้นต้นสรุปในตอนท้ายของคำพิพากษาให้จำเลยชำระเงินให้แก่โจทก์ตามคำฟ้องและในส่วนที่เกินไปกว่าที่ปรากฎในคำฟ้อง ศาลอุทธรณ์ได้แก้ไขให้เท่าที่ปรากฎในคำฟ้องแล้ว จึงเป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3169/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนย่อมมีสิทธิเหนือกว่า แม้จะมีการขอจดทะเบียนภายหลัง
การที่โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่าLAT และ LOUISTAPE ใช้กับสินค้ากาวเทปอันเป็นสินค้าจำพวกที่ 50 โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว แต่นายทะเบียนให้รอการจดทะเบียนไว้เพราะเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า LOUISTAPEของจำเลยซึ่งยื่นคำขอจดทะเบียนไว้เพื่อใช้กับสินค้าการเทปเช่นเดียวกันกับสินค้าของโจทก์นั้น เป็นกรณีที่มีบุคคลหลายคนต่างอ้างว่าเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอันเดียวกัน หรือเกือบเหมือนกัน ใช้สำหรับสินค้าเดียวกันและต่างร้องขอจดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น อันเป็นการที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งว่าโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่ากันตามมาตรา 17 แห่ง พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท หาใช่การที่โจทก์นำคดีมาสู่ศาลตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันอันโจทก์จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนแห่งบทบัญญัติมาตราดังกล่าวโดยการคัดค้านก่อนและให้โอกาสแก่จำเลยผู้ขอจดทะเบียนก่อนโต้แย้งคำคัดค้านของโจทก์ไม่ การที่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า LAT และLOUISTAPE กับสินค้าเทปกาวมาตั้งแต่ปี 2518 และได้โฆษณาแพร่หลายซึ่งสินค้าโจทก์ แต่จำเลยเพิ่งนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์มาใช้กับสินค้าชนิดเดียวกันกับสินค้าโจทก์ในปี 2531ทั้งจำเลยเคยเป็นกรรมการของบริษัทโจทก์มาก่อน จำเลยย่อมทราบถึงการที่โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอย่างดีเช่นนี้ ต้องถือว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยและการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต ประเด็นที่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า LAT และ LOUIS ตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์และจำเลยดีกว่าจำเลยแต่มิได้พิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้นเป็นการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5),243(1),246 และ 247 ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้น เมื่อได้วินิจฉัยแล้วว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยย่อมตกไปในตัวไม่จำต้องพิพากษาให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนดังกล่าวอีกศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3169/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้ใช้ก่อนมีสิทธิเหนือผู้ขอจดทะเบียนภายหลัง การพิพากษาต้องครบถ้วนตามคำขอ
การที่โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่าLAT และ LOUIS TAPE ใช้กับสินค้ากาวเทปอันเป็นสินค้าจำพวกที่ 50 โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว แต่นายทะเบียนให้รอการจดทะเบียนไว้เพราะเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า LOUIS TAPE ของจำเลยซึ่งยื่นคำขอจดทะเบียนไว้เพื่อใช้กับสินค้ากาวเทปเช่นเดียวกันกับสินค้าของโจทก์นั้น เป็นกรณีที่มีบุคคลหลายคนต่างอ้างว่าเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอันเดียวกัน หรือเกือบเหมือนกัน ใช้สำหรับสินค้าเดียวกันและต่างร้องขอจดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น อันเป็นการที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งว่าโจทก์หรือจำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่ากัน ตามมาตรา 17แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท หาใช่การที่โจทก์นำคดีมาสู่ศาลตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันอันโจทก์จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนแห่งบทบัญญัติมาตราดังกล่าวโดยการคัดค้านก่อนและให้โอกาสแก่จำเลยผู้ขอจดทะเบียนก่อนโต้แย้งคำคัดค้านของโจทก์ไม่
การที่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า LAT และLOUIS TAPE กับสินค้าเทปกาวมาตั้งแต่ปี 2518 และได้โฆษณาแพร่หลายซึ่งสินค้าโจทก์ แต่จำเลยเพิ่งนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์มาใช้กับสินค้าชนิดเดียวกันกับสินค้าโจทก์ในปี 2531 ทั้งจำเลยเคยเป็นกรรมการของบริษัทโจทก์มาก่อน จำเลยย่อมทราบถึงการที่โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอย่างดีเช่นนี้ ต้องถือว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลย และการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต
ประเด็นที่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า LAT และ LOUIS ตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์และจำเลยดีกว่าจำเลยแต่มิได้พิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้น เป็นการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ ตามป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 243 (1), 246 และ 247
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้น เมื่อได้วินิจฉัยแล้วว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลย คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยย่อมตกไปในตัว ไม่จำต้องพิพากษาให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนดังกล่าวอีก ศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3026/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการที่ศาลล่างวินิจฉัยคดีนอกประเด็นข้อพิพาท เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ข้อพิพาทตามคำฟ้องของโจทก์ คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยและคำให้การของโจทก์แก้ฟ้องแย้งของจำเลยมีเพียงว่าสัญญาซื้อขายเครื่องถ่ายเอกสารระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1เป็นการซื้อขายตามคำพรรณนาหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าสัญญาซื้อขายเครื่องถ่ายเอกสารระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่เป็นการซื้อขายตามคำพรรณนาเป็นการซื้อขายธรรมดาแล้ววินิจฉัยต่อไปอีกว่า แต่เป็นการซื้อขายมีเงื่อนไขตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 เมื่อจำเลยที่ 1ยังไม่ได้ชำระราคาให้โจทก์อีก 49,000 บาท การชำระราคายังไม่เสร็จเรียบร้อย กรรมสิทธิ์ในเครื่องถ่ายเอกสารยังไม่โอนไปยังจำเลยที่ 1 ผู้ซื้อ และเครื่องถ่ายเอกสารที่โจทก์ขายให้แก่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถถ่ายเอกสารได้ถึง 3,500 แผ่นต่อผงหมึก 1 หลอด ตามคำโฆษณาของโจทก์ จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ เป็นการวินิจฉัยคดีที่ขัดแย้งกันเองและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเช่นเดียวกับศาลชั้นต้นว่าการซื้อขายเครื่องถ่ายเอกสารระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นการซื้อขายที่มีเงื่อนไขตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459แล้วพิพากษายืน จึงเป็นการวินิจฉัยคดีนอกประเด็นข้อพิพาทไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 การวินิจฉัยคดีนอกประเด็นข้อพิพาทเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์มิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 243(1),247 และเห็นสมควรย้อนสำนวนไปยังศาลชั้นต้น เพื่อให้พิพากษาใหม่ให้ตรงตามประเด็นข้อพิพาท
of 30