พบผลลัพธ์ทั้งหมด 292 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3026/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยคดีนอกประเด็นข้อพิพาท และผลกระทบต่อการพิพากษา
ข้อพิพาทตามคำฟ้องของโจทก์ คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยและคำให้การของโจทก์แก้ฟ้องแย้งของจำเลยมีเพียงว่า สัญญาซื้อขายเครื่องถ่ายเอกสารระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นการซื้อขายตามคำพรรณนาหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าสัญญาซื้อขายเครื่องถ่ายเอกสารระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่เป็นการซื้อขายตามคำพรรณนาเป็นการซื้อขายธรรมดาแล้ววินิจฉัยต่อไปอีกว่า แต่เป็นการซื้อขายมีเงื่อนไขตาม ป.พ.พ. มาตรา 459 เมื่อจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ชำระราคาให้โจทก์อีก 49,000 บาท การชำระราคายังไม่เสร็จเรียบร้อย กรรมสิทธิ์ในเครื่องถ่ายเอกสารยังไม่โอนไปยังจำเลยที่ 1 ผู้ซื้อ และเครื่องถ่ายเอกสารที่โจทก์ขายให้แก่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถถ่ายเอกสารได้ถึง 3,500 แผ่น ต่อผงหมึก 1 หลอดตามคำโฆษณาของโจทก์ จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ เป็นการวินิจฉัยคดีที่ขัดแย้งกันเอง และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเช่นเดียวกับศาลชั้นต้นว่าการซื้อขายเครื่องถ่ายเอกสารระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นการซื้อขายที่มีเงื่อนไขตามป.พ.พ มาตรา 459 แล้วพิพากษายืน จึงเป็นการวินิจฉัยคดีนอกประเด็นข้อพิพาทไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142
การวินิจฉัยคดีนอกประเด็นข้อพิพาทเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์มิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 243 (1), 247 และเห็นสมควรย้อนสำนวนไปยังศาลชั้นต้น เพื่อให้พิพากษาใหม่ให้ตรงตามประเด็นข้อพิพาท
การวินิจฉัยคดีนอกประเด็นข้อพิพาทเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์มิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 243 (1), 247 และเห็นสมควรย้อนสำนวนไปยังศาลชั้นต้น เพื่อให้พิพากษาใหม่ให้ตรงตามประเด็นข้อพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2017/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบส่งผลต่อการพิพากษาคดีร่วมกัน การย้อนสำนวนเพื่อรับฟังพยานหลักฐานจำเลย
เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 5 ยื่นคำให้การในกำหนด คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งให้จำเลยที่ 5 ขาดนัดยื่นคำให้การจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นตั้งแต่สั่งให้จำเลยที่ 5 ขาดนัดยื่นคำให้การจนถึงชั้นพิพากษาย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ชอบที่จะสั่งให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเฉพาะที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 5 แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันรับผิดในมูลหนี้ละเมิด จึงเป็นหนี้ร่วมที่มิอาจจะแบ่งแยกได้ การที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยคนใดคนหนึ่งรับผิดในมูลหนี้ร่วมดังกล่าวจำต้องรับฟังพยานหลักฐานโจทก์และจำเลยทุกคน เมื่อศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยที่ 5 ขาดนัดยื่นคำให้การโดยมิใช่ความผิดของจำเลยที่ 5 พยานหลักฐานของจำเลยที่ 5 ที่จะนำสืบก็ยังไม่ปรากฏในสำนวน ไม่ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ไปโดยไม่รอฟังพยานหลักฐานของจำเลยที่ 5 ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1518/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากความประมาทเลินเล่อของตัวแทนเรือทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้รับสินค้า
จำเลยเป็นตัวแทนเรือ มีหน้าที่ต้องตรวจดูชื่อผู้รับสินค้าพิพาทจากเอกสารต่าง ๆ ให้ละเอียดแล้วจึงแจ้งระบุชื่อผู้รับสินค้าในบัญชีสินค้าให้ถูกต้องตรงกับใบตราส่ง ซึ่งจำเลยในฐานะตัวแทนเรือสามารถตรวจตราก่อนได้ แต่หาได้ปฏิบัติไม่กลับแจ้งระบุชื่อผู้รับสินค้าพิพาทผิดไปจากใบตราส่งโดยไม่ใช้ความระมัดระวังอันสมควรเป็นเหตุให้ พ. ออกสินค้าจากท่าเรือให้โจทก์ช้าไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นการทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายถือได้ว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ แม้ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาค่าเสียหายของโจทก์ว่ามีเพียงใด แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นประเด็นในคดีและจำเลยอ้างในคำแก้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยไปทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งคดีไม่มีทุนทรัพย์และการผูกพันสัญญาต่างตอบแทนต่อผู้รับโอน
ฟ้องและฟ้องแย้งจะต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงหรือไม่ต้องพิจารณาแยกเป็นประเด็นในแต่ละคดีไป
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าออกจากตึกแถวพิพาทอันมีค่าเช่าเดือนละ 150 บาท และเรียกค่าเสียหายเดือนละ 2,500 บาท ค่าเสียหายนี้ไม่ใช่ค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องตามความหมายของ ป.วิ.พ. มาตรา 224 (เดิม)
จำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าและขอให้เพิกถอนนิติกรรม เป็นคำฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ แม้มีคำขอให้โจทก์โอนขายตึกแถวพิพาทให้ซึ่งเป็นการฟ้องเรียกเอาทรัพย์สินมาเป็นของจำเลยอันเป็นคดีมีทุนทรัพย์รวมมาด้วย คดีที่จำเลยฟ้องแย้งก็ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาท จำเลยไม่โต้แย้งคัดค้าน เท่ากับยอมสละประเด็นข้ออื่นที่ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกอุทธรณ์ของจำเลยไม่ชอบ เมื่อจำเลยฎีกาขึ้นมา โดยยกประเด็นตามที่ได้อุทธรณ์ขึ้นมาด้วยแล้ว และข้อเท็จจริงที่โจทก์จำเลยนำสืบมาเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีไปได้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวไปเสียทีเดียวได้ โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาเป็นเพียงบุคคลสิทธิใช้บังคับกันได้เฉพาะแต่ในระหว่างคู่สัญญา จะผูกพันโจทก์ผู้รับโอนตึกแถวพิพาทต่อเมื่อโจทก์ตกลงยินยอมเข้าผูกพันตนที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้นแทนผู้ให้เช่าเดิม อันเป็นการตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอก ซึ่งจะทำให้บุคคลภายนอกคือจำเลยผู้เช่ามีสิทธิเรียกร้องชำระหนี้จากโจทก์ผู้รับโอนได้โดยตรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 374
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าออกจากตึกแถวพิพาทอันมีค่าเช่าเดือนละ 150 บาท และเรียกค่าเสียหายเดือนละ 2,500 บาท ค่าเสียหายนี้ไม่ใช่ค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องตามความหมายของ ป.วิ.พ. มาตรา 224 (เดิม)
จำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าและขอให้เพิกถอนนิติกรรม เป็นคำฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ แม้มีคำขอให้โจทก์โอนขายตึกแถวพิพาทให้ซึ่งเป็นการฟ้องเรียกเอาทรัพย์สินมาเป็นของจำเลยอันเป็นคดีมีทุนทรัพย์รวมมาด้วย คดีที่จำเลยฟ้องแย้งก็ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาท จำเลยไม่โต้แย้งคัดค้าน เท่ากับยอมสละประเด็นข้ออื่นที่ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกอุทธรณ์ของจำเลยไม่ชอบ เมื่อจำเลยฎีกาขึ้นมา โดยยกประเด็นตามที่ได้อุทธรณ์ขึ้นมาด้วยแล้ว และข้อเท็จจริงที่โจทก์จำเลยนำสืบมาเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีไปได้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวไปเสียทีเดียวได้ โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาเป็นเพียงบุคคลสิทธิใช้บังคับกันได้เฉพาะแต่ในระหว่างคู่สัญญา จะผูกพันโจทก์ผู้รับโอนตึกแถวพิพาทต่อเมื่อโจทก์ตกลงยินยอมเข้าผูกพันตนที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้นแทนผู้ให้เช่าเดิม อันเป็นการตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอก ซึ่งจะทำให้บุคคลภายนอกคือจำเลยผู้เช่ามีสิทธิเรียกร้องชำระหนี้จากโจทก์ผู้รับโอนได้โดยตรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 374
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 156/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การขัดแย้ง-ไม่ชัดเจน, ประเด็นข้อพิพาทไม่ถูกต้อง, สิทธิครอบครองที่ดิน
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่พิพาทขอให้ขับไล่ จำเลยให้การตอนแรกอ้างว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยโดยโจทก์ยกให้ แต่ให้การตอนหลังว่า หากที่พิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยก็ครอบครองมากว่า 20 ปีแล้ว จึงพ้นกำหนดเวลาฟ้องเรียกคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 เช่นนี้เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งและขัดแย้งกันเองไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง แต่เป็นคำให้การที่เข้าใจได้ว่า จำเลยให้การปฏิเสธฟ้องของโจทก์โดยสิ้นเชิง คดีจึงยังมีประเด็นข้อพิพาทว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ คดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในกำหนดเวลา 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองหรือไม่การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในข้อนี้และศาลชั้นต้นกับศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์มานั้นจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ประเด็นที่ว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่นั้นศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังไม่ได้วินิจฉัย ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4643/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น ทางสาธารณะ และการวินิจฉัยนอกประเด็นของศาล: การเปิดทางพิพาทที่ดิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดินโจทก์อยู่ในที่ปิดล้อม ไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะ โจทก์ใช้เส้นทางผ่านที่ดินของบุคคลอื่นหลายรายและผ่านที่ดิน น.ส.3 ของจำเลยเข้าสู่ที่ดินของโจทก์ตามเส้นทางที่ระบุว่า "ทางชักลากไม้" ตั้งแต่ปี 2508 ถึง เดือนมิถุนายน 2526โดยไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดเข้าเกี่ยวข้องคัดค้านตามคำบรรยายฟ้องแสดงให้เห็นว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็น ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าฯลฯ 2. โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ 3. ทางพิพาทตามเส้นประสีเหลืองในแผนที่พิพาทเอกสารหมาย จ.ล.1 เป็นทางจำเป็นและหรือทางภารจำยอมหรือไม่ ฯลฯ โดยมิได้กำหนดว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ไว้ด้วย แต่ครั้นเมื่อทำคำพิพากษา ศาลชั้นต้นให้เพิกถอนประเด็นข้อ 2 ข้อ 3 เสียแล้วกำหนดประเด็นสองข้อนี้เสียใหม่เป็นว่าโจทก์มีอำนาจให้จำเลยเปิดทางพิพาทตามเส้นประสีเหลืองในแผนที่เอกสารหมาย จ.ล.1 ได้หรือไม่เพียงใด ตามประเด็นใหม่ครอบคลุมประเด็นข้อที่ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่เข้าไปด้วยซึ่งประเด็นข้อนี้เดิมศาลไม่ได้กำหนดไว้ คู่ความมิได้โต้แย้งคัดค้านถือว่าคู่ความสละไปแล้ว การที่ศาลชั้นต้นนำประเด็นข้อที่ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ มาวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่ชอบ แต่เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาแล้ว ประกอบกับคู่ความได้นำสืบพยานหลักฐานตามประเด็นที่ศาลกำหนดไว้ตอนแรกครบถ้วนแล้วศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวน ที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ โจทก์ได้ใช้ทางพิพาทหรือทางชักลากไม้ที่ปรากฏในน.ส.3 ผ่านเข้าออกสู่ที่ดินของโจทก์ตั้งแต่ปี 2508 จนถึงเดือนมิถุนายนปี 2526 แม้จะมีทางอื่นเข้าออกได้อีกทางหนึ่ง แต่ก็เป็นทางเดินขึ้นเขามีลักษณะลาดชัน ไม่อาจใช้รถยนต์วิ่งผ่านได้และไกลกว่าทางพิพาท ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็น สภาพทางพิพาทเป็นทางที่ชาวบ้านลากไม้ กว้างประมาณ 1 เมตรเศษนอกจากร่องรอยทางเดินเท้าแล้ว ไม่มีร่องรอยทางรถยนต์ ปรากฏตามรายงานการเผชิญสืบของศาลว่าทางพิพาทก็กว้าง 1.50 เมตร ศาลชั้นต้นกำหนดความกว้างของทางพิพาทให้ 1.50 เมตร เป็นการสมควรแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2746/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และผลกระทบต่อกรรมสิทธิ์ในที่ดิน: ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นกรรมสิทธิ์และการครอบครอง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การแต่เพียงว่า โจทก์รับโอนที่พิพาทมาโดยไม่สุจริตและไม่เสียค่าตอบแทนเพราะโจทก์ทราบดีอยู่แล้วในขณะรับโอนว่าจำเลยได้ครอบครองที่พิพาทมานานกว่า 20 ปีแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่จำเลยกลับนำสืบว่า เดิมที่พิพาทเป็นของ ด.ย่าของจำเลยด. มีที่ดินอยู่2 แปลง คือที่พิพาทและที่ดิน ส.ค.1 ซึ่งเป็นที่ป่า ที่ดิน ส.ค.1ซึ่งเป็นที่ป่านั้น เดิมจำเลยเข้าใจว่าเป็นที่ดินมีโฉนด ส่วนที่พิพาทเป็นที่ดินมีโฉนด จำเลยเข้าใจว่าเป็นที่ดิน ส.ค.1 ที่ดินส.ค.1 ซึ่งเป็นที่ป่า ย. บิดาจำเลยได้โอนให้แก่ น. ดังนี้การที่จำเลยนำสืบว่า ที่ดินที่ น.เจ้ามรดกซื้อมาจาก ย. บิดาจำเลย เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2480 เป็นที่ป่าคนละแปลงกับที่พิพาทและการที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยนำสืบว่ากรณีเช่นนี้จึงน่าเชื่อว่าเป็นเรื่องสำคัญผิดกัน คือ ย. ตกลงขายที่ดินที่เป็นที่ป่าให้แก่ น. จึงเป็นเรื่องสำคัญผิดในหลักฐานของที่ดิน น.ย่อมได้สิทธิครอบครองในที่ดินป่าแปลงนั้น หาได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทไม่ กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทยังเป็นของ ย.อยู่เมื่อย. ตายที่พิพาทเป็นมรดกตกทอดแก่จำเลย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นพิพาทในชั้นชี้สองสถานไว้เพียงข้อเดียวว่า ที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือไม่ก็ตาม แต่ประเด็นข้อนี้ย่อมครอบคลุมไปถึงปัญหาว่าจำเลยครอบครองที่พิพาทจนได้กรรมสิทธิ์ตามกฎหมายหรือไม่ และโจทก์รับซื้อที่พิพาทมาโดยสุจริตหรือไม่ด้วย แม้ว่าปัญหาที่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยมา คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงกันมาเสร็จสิ้นเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยไปเสียเองทีเดียวได้แล้วก็ตาม แต่ศาลฎีกาก็เห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัยได้ หากผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2476/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแย่งการครอบครองที่ดินและผลของการฟ้องแย้งก่อนหน้าต่ออายุความฟ้องร้อง
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยแย่งการครอบครองบ้านและที่ดินพิพาทจากโจทก์แล้วหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1วินิจฉัยว่าจำเลยครอบครองบ้านและที่ดินพิพาทเพื่อตนเองมิใช่ครอบครองแทนโจทก์จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ทั้งมิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งตามมาตรา 243(1) ประกอบด้วยมาตรา 247 เป็นการไม่ชอบแต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยอีก เดิมจำเลยอาศัยอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทก่อนที่โจทก์จะซื้อฝากจาก ส.เมื่อส.ไม่ใช้สิทธิไถ่คืนภายในกำหนด โจทก์จึงได้สิทธิครอบครองบ้านและที่ดินพิพาท การที่จำเลยยังคงอาศัยอยู่ในบ้านและที่ดินดังกล่าวจึงเป็นการครอบครองแทนโจทก์ แต่เมื่อโจทก์มาขับไล่ให้จำเลยออกไป จำเลยไม่ยอมออกโดยอ้างว่าบ้านและที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย และต่อมาจำเลยได้ยื่นฟ้องโจทก์ขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายฝากระหว่างส.กับโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือบ้านและที่ดินพิพาทโดยบอกกล่าวแสดงเจตนาไปยังโจทก์ว่าจะไม่ยึดถือบ้านและที่ดินพิพาทแทนโจทก์ต่อไป อันเป็นการแย่งการครอบครองบ้านและที่ดินพิพาทนับตั้งแต่วันที่จำเลยยื่นฟ้องโจทก์ จำเลยยื่นฟ้องโจทก์เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2529 ขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายฝากระหว่าง ส.กับโจทก์ โจทก์ในฐานะจำเลยได้ยื่นคำให้การและฟ้องแย้งขอให้ขับไล่จำเลยเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2529การที่ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเนื่องจากจำเลยไม่นำค่าธรรมเนียมมาวางศาลภายในกำหนดนั้น เป็นเรื่องที่จำเลยในฐานะที่เป็นโจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้เพื่อการนั้น ถือว่าจำเลยทิ้งฟ้องซึ่งไม่เกี่ยวกับโจทก์ แม้ฟ้องแย้งของโจทก์ซึ่งมีฐานะเป็นจำเลยจะตกไปด้วยก็เป็นไปโดยผลของกฎหมายจะถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องแย้งด้วยหาได้ไม่ คำสั่งดังกล่าวย่อมไม่ลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องแย้งของโจทก์ในคดีก่อนและในคดีดังกล่าวโจทก์และจำเลยต่างอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายื่นโดยมีการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2531 การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยใหม่เป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2531 จึงเป็นกรณีสืบเนื่องมาจากฟ้องแย้งเดิมซึ่งโจทก์ได้ใช้สิทธิฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในกำหนดหนึ่งปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองแล้ว โจทก์จึงไม่ขาดสิทธิฟ้องร้องตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1621/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำส่งสำเนาอุทธรณ์ตามกำหนด หากมีหลักฐานการส่ง ศาลต้องไต่สวนเพื่อพิสูจน์ก่อนสั่งจำหน่ายคดี
จำเลยยืนยันว่าได้จัดการนำส่งหมายนัดสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ภายในกำหนดเวลาแล้ว โดยมีหลักฐานการรับเงินค่าส่งหมายมาแสดงซึ่งหากข้อเท็จจริงฟังได้ดังที่จำเลยฎีกา กรณีไม่อาจถือได้ว่าจำเลยทิ้งฟ้องอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ก็อาจไม่สั่งจำหน่ายคดี เมื่อจำเลยฎีกาอ้างข้อเท็จจริงโต้แย้งกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนชอบที่ศาลจะทำการไต่สวนเพื่อให้ได้ความจริงแน่ชัดเสียก่อน ถ้าเห็นว่าจำเลยไม่ได้เพิกเฉยที่จะปฏิบัติตามคำสั่งศาล คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 802/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการนำสืบพยานนอกคำให้การ: สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและการฉ้อฉล
จำเลยเบิกความว่า ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเพื่ออำพรางสัญญาโครงการบูรณะโรงแรม และอาคารพาณิชย์ที่จำเลยร่วมทุนกับ ส.และพวก เป็นการนำสืบนอกคำให้การของจำเลยที่ต่อสู้ว่า จำเลยลงลายมือชื่อในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท เพราะการฉ้อฉลของ ส. กับพวก ทำให้จำเลยสำคัญผิดในสาระสำคัญของสัญญา การรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานของจำเลยจึงต้องจำกัดเพียงเฉพาะข้อต่อสู้ตามคำให้การเท่านั้น
โจทก์อุทธรณ์และฎีกาในประเด็นเรื่องจำเลยผิดสัญญาและเรียกค่าเสียหายจากจำเลย แต่ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยให้ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในปัญหาดังกล่าว
โจทก์อุทธรณ์และฎีกาในประเด็นเรื่องจำเลยผิดสัญญาและเรียกค่าเสียหายจากจำเลย แต่ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยให้ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในปัญหาดังกล่าว