คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 243 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 292 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 802/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: การฉ้อฉล, นอกคำให้การ, และขอบเขตการรับฟังพยานหลักฐาน
จำเลยเบิกความว่า ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเพื่ออำพรางสัญญาโครงการบูรณะโรงแรม และอาคารพาณิชย์ที่จำเลยร่วมทุนกับ ส. และพวก เป็นการนำสืบนอกคำให้การของจำเลยที่ต่อสู้ว่าจำเลยลงลายมือชื่อในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท เพราะการฉ้อฉลของ ส. กับพวก ทำให้จำเลยสำคัญผิดในสาระสำคัญของสัญญาการรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานของจำเลยจึงต้องจำกัดเพียงเฉพาะข้อต่อสู้ตามคำให้การเท่านั้น โจทก์อุทธรณ์และฎีกาในประเด็นเรื่องจำเลยผิดสัญญาและเรียกค่าเสียหายจากจำเลย แต่ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยให้ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในปัญหาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 243/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงานเฝ้ารักษาไม้ของกลาง ไม่เป็นสัญญาฝากทรัพย์ อายุความ 10 ปี
กรมป่าไม้ทำสัญญาจ้างผู้รับจ้างเฝ้ารักษาไม้ของกลาง ระบุชื่อสัญญาว่า "สัญญาจ้างเฝ้ารักษา" มีข้อสัญญาว่าผู้ว่าจ้างตกลงให้ค่าจ้างแก่ผู้รับจ้างเฝ้ารักษาไม้ของกลางตามบัญชีท้ายสัญญาโดยคิดอัตราค่าจ้างเป็นรายลูกบาศก์เมตร นับแต่วันทำสัญญาเป็นต้นไปจนกว่าผู้ว่าจ้างจะรับไม้คืน หากขาดหายหรือเป็นอันตรายผู้รับจ้างให้ผู้ว่าจ้างปรับไหมเป็นรายลูกบาศก์เมตรตามจำนวนที่สูญหายหรือเป็นอันตราย ระหว่างเวลาที่ผู้รับจ้างรับผิดชอบเฝ้ารักษาไม้ผู้ว่าจ้างอาจขนไม้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนไปจากที่เดิมในเวลาใด ๆก็ได้ แต่ต้องแจ้งให้ผู้รับจ้างทราบและทำใบรับไม้ที่ขนไปนั้นทุกคราวไป หลังจากทำสัญญาแล้วไม้ของกลางอยู่ห่างจากบ้านผู้รับจ้างประมาณ 2 กิโลเมตร โดยกองอยู่ริมทางเดินในหมู่บ้านผู้รับจ้างมิได้ชักลากไม้มาเก็บรักษาไว้ในอารักขาของตนแต่ประการใดดังนี้ แสดงว่าอำนาจการครอบครองไม้ยังอยู่แก่ผู้ว่าจ้าง มิได้ส่งมอบไม้ให้แก่ผู้รับจ้าง ผู้รับจ้างมีหน้าที่เฝ้ารักษามิให้ไม้เป็นอันตรายหรือสูญหายไปเท่านั้น ไม่ได้นำทรัพย์สินที่รับฝากมาเก็บรักษาไว้ในอารักขาของตน สัญญาดังกล่าวจึงไม่เป็นสัญญาฝากทรัพย์ แต่เป็นสัญญาจ้างแรงงาน (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 685/2512และ 1020/2519) สิทธิเรียกร้องค่าปรับตามสัญญาจ้างแรงงาน กฎหมายมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงอยู่ในบังคับอายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม ซึ่งมีกำหนด 10 ปี คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยใช้ค่าเสียหายตามสัญญาได้หรือไม่ ค่าเสียหายมีเพียงใด และคดีขาดอายุความหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่าคดีขาดอายุความพิพากษายกฟ้อง โจทก์ฎีกา เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคดีไม่ขาดอายุความดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้วินิจฉัยว่า โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยใช้ค่าเสียหายตามสัญญาได้หรือไม่ และค่าเสียหายมีเพียงใดจึงเป็นเหตุอันสมควรที่จะให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งให้บริบูรณ์ ศาลฎีกามีอำนาจย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3พิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3420/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอม-การรุกล้ำที่ดิน-ค่าเสียหาย-การสร้างรุกล้ำ-การชดใช้ค่าเสียหาย-การรื้อถอนสิ่งรุกล้ำ
คดีแดงที่ 3420-3421/2535
จำเลยให้การว่า ในการจัดสรรที่ดินเจ้าของที่ดินเดิมจะจัดสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กและฝังท่อระบายน้ำในที่ดินของโจทก์เพื่อจะยกให้เป็นที่สาธารณะเจ้าของที่ดินเดิมจะโอนขายที่ดินดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่นไม่ได้ จำเลยมีสิทธิจะใช้ที่ดินนั้น ถือได้ว่าจำเลยได้ให้การต่อสู้ไว้ด้วยแล้วว่า ที่ดินของโจทก์เป็นทางสาธารณะ หรือมิฉะนั้นจำเลยก็มีสิทธิใช้ที่ดินนั้นได้โดยชอบ ดังนั้น ศาลอุทธรณ์จึงกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมได้ว่าที่ดินของโจทก์เป็นทางสาธารณะหรือไม่ และเมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรก็กำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมได้อีกด้วยว่า จำเลยมีสิทธิใช้ที่ดินของโจทก์เพียงใดหรือไม่ ประเด็นข้อพิพาทที่ศาลอุทธรณ์กับศาลฎีกากำหนดเพิ่มเติมดังกล่าว เมื่อโจทก์กับจำเลยต่างนำสืบพยานหลักฐานไว้แล้ว ศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยไปได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์พิจารณาและวินิจฉัยอีก
เดิมที่ดินของโจทก์และจำเลยเป็นแปลงเดียวกัน ต่อมาเจ้าของที่ดินเดิมได้แบ่งแยกออกเป็นหลายแปลงโดยประสงค์ให้ที่ดินของโจทก์เป็นถนนอันเป็นสาธารณูปโภค ซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินที่จัดสรร ที่ดินของโจทก์จึงต้องตกอยู่ในภาระจำยอมของที่ดินของจำเลย ตามนัยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 30 วรรคแรก จำเลยจึงมีสิทธิใช้ที่ดินดังกล่าวได้ในฐานะเป็นผู้มีสิทธิในภาระจำยอม
การที่ตึกแถวของจำเลยมีกันสาดพิพาทรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยจำเลยไม่ใช่ผู้สร้าง แต่เจ้าของที่ดินเดิมสร้างพร้อมตึกแถวของจำเลยในขณะที่เจ้าของที่ดินเดิมเป็นเจ้าของทั้งที่ดินของโจทก์และของจำเลยนั้นเป็นกรณีที่ไม่มีบทกฎหมายที่จะยกขึ้นปรับแก่คดีได้โดยตรง โดยบทบัญญัติของประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 ต้องนำมาตรา 1312 วรรคแรก มาใช้บังคับในฐานะที่เป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง คือ จำเลยมีสิทธิใช้ส่วนแห่งกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์ที่อยู่ใต้แนวกันสาดที่พิพาทได้ แต่ต้องเสียค่าใช้ที่ดินนั้นให้โจทก์โดยโจทก์ต้องจดทะเบียนภาระจำยอมให้จำเลย ส่วนชายคาที่พิพาทซึ่งรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยจำเลยสร้างหลังจากรับโอนที่ดินพร้อมตึกแถวมาแล้วจำเลยจะอ้างว่าเป็นการสร้างรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริตไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3420/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอม การใช้ที่ดินร่วมกัน และค่าเสียหายจากการรุกล้ำที่ดิน
จำเลยให้การว่า ในการจัดสรรที่ดินเจ้าของที่ดินเดิมจะจัดสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กและฝังท่อระบายน้ำในที่ดินของโจทก์เพื่อจะยกให้เป็นที่สาธารณะเจ้าของที่ดินเดิมจะโอนขายที่ดินดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่นไม่ได้ จำเลยมีสิทธิจะใช้ที่ดินนั้น ถือได้ว่าจำเลยได้ให้การต่อสู้ไว้ด้วยแล้วว่า ที่ดินของโจทก์เป็นทางสาธารณะ หรือมิฉะนั้นจำเลยก็มีสิทธิใช้ที่ดินนั้นได้โดยชอบ ดังนั้น ศาลอุทธรณ์จึงกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมได้ว่าที่ดินของโจทก์เป็นทางสาธารณะหรือไม่ และเมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรก็กำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมได้อีกด้วยว่า จำเลยมีสิทธิใช้ที่ดินของโจทก์เพียงใดหรือไม่ ประเด็นข้อพิพาทที่ศาลอุทธรณ์กับศาลฎีกากำหนดเพิ่มเติมดังกล่าว เมื่อโจทก์กับจำเลยต่างนำสืบพยานหลักฐานไว้แล้ว ศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยไปได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์พิจารณาและวินิจฉัยอีก เดิมที่ดินของโจทก์และจำเลยเป็นแปลงเดียวกัน ต่อมาเจ้าของที่ดินเดิมได้แบ่งแยกออกเป็นหลายแปลงโดยประสงค์ให้ที่ดินของโจทก์เป็นถนนอันเป็นสาธารณูปโภค ซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินที่จัดสรร ที่ดินของโจทก์จึงต้องตกอยู่ในภาระจำยอมของที่ดินของจำเลย ตามนัยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ลงวันที่24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 30 วรรคแรก จำเลยจึงมีสิทธิใช้ที่ดินดังกล่าวได้ในฐานะเป็นผู้มีสิทธิในภารจำยอม การที่ตึกแถวของจำเลยมีกันสาดพิพาทรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยจำเลยไม่ใช่ผู้สร้าง แต่เจ้าของที่ดินเดิมสร้างพร้อมตึกแถวของจำเลยในขณะที่เจ้าของที่ดินเดิมเป็นเจ้าของทั้งที่ดินของโจทก์และของจำเลยนั้นเป็นกรณีที่ไม่มีบทกฎหมายที่จะยกขึ้นปรับแก่คดีได้โดยตรง โดยบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 ต้องนำมาตรา 1312 วรรคแรกมาใช้บังคับในฐานะที่เป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง คือ จำเลยมีสิทธิใช้ส่วนแห่งกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์ที่อยู่ใต้แนวกันสาดที่พิพาทได้ แต่ต้องเสียค่าใช้ที่ดินนั้นให้โจทก์ โดยโจทก์ต้องจดทะเบียนภารจำยอมให้จำเลย ส่วนชายคาที่พิพาทซึ่งรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยจำเลยสร้างหลังจากรับโอนที่ดินพร้อมตึกแถวมาแล้วจำเลยจะอ้างว่าเป็นการสร้างรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริตไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2211/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นสัญญาปลอม และการพิสูจน์ลายมือชื่อในสัญญากู้ยืม
ประเด็นที่ว่า สัญญากู้ยืมเงินตามฟ้องมีข้อความและลายมือชื่อจำเลยปลอมหรือไม่ ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ในวันชี้สองสถานแล้ว การที่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยประเด็นนี้จึงไม่ชอบ เมื่อโจทก์อุทธรณ์ในประเด็นในข้อนี้ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยตามป.วิ.พ. 243(1).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 891/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งคดีโดยคนอนาถาต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการสาบานตัวตามกฎหมาย หากไม่ปฏิบัติตาม กระบวนการพิจารณาคดีเป็นโมฆะ
จำเลยยื่นคำร้องขอฟ้องแย้งอย่างคนอนาถา โดยไม่ได้สาบานตัวเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การ เป็นไปด้วยความยุติธรรม กระบวนพิจารณานับแต่ยื่นคำร้องไม่ว่า จะดำเนินโดยศาลชั้นต้น หรือศาลอุทธรณ์ ตลอดจนคำสั่งในเรื่องนี้ เป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบตามไปด้วย ศาลฎีกา ให้ศาลชั้นต้น ดำเนินการเสียใหม่ให้ถูกต้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5776/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยหลังเสียชีวิต: สิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดก vs. ทายาท
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. ขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยถึงแก่กรรม จึงเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะมีคำสั่งเกี่ยวกับการเข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ ส.เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์มิได้มีคำสั่งในเรื่องที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ส.เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยโดยไม่ชอบ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาโดยวินิจฉัยว่าผู้เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยซึ่ง ถึงแก่กรรมมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามพินัยกรรมแทนจำเลยต่อไป ถือได้ว่าศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ ส.เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยแล้ว เมื่อจำเลยถึงแก่กรรม สิทธิและหน้าที่ของจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกย่อมสิ้นสุดลงเพราะเป็นเรื่องเฉพาะตัวของ ผู้จัดการมรดกหาได้ตกทอดไปยังทายาทของจำเลยไม่ และข้อเท็จจริง ตามคำร้องของโจทก์และคำแถลงของ ส.คงได้ความแต่เพียงว่าส.เป็นทายาทของจำเลยเท่านั้น ไม่ปรากฏว่า ส.เป็นผู้ปกครอง ทรัพย์มรดกหรือมีอำนาจในการจัดการทรัพย์มรดกของ ก.แต่อย่างใดส.จึงไม่สามารถจะปฏิบัติตามคำพิพากษาได้หากในที่สุดจำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ส.ย่อมไม่อาจเข้าเป็นคู่ความแทนจำเลยได้การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีไปโดยที่ไม่มีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนจำเลย จึงเป็นการไม่ชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5975/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมอุทธรณ์และการวินิจฉัยคดีของผู้ไม่ระบุชื่อในคำฟ้องอุทธรณ์ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการไม่ระบุชื่อเป็นเพียงความพลั้งเผลอ
คำฟ้องอุทธรณ์ของผู้คัดค้านนอกจากจะมีเนื้อหาและเหตุผลคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นของผู้คัดค้านที่ 2 แล้ว ในคำขอท้ายอุทธรณ์ก็มีข้อความที่ผู้คัดค้านทั้งสองขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นร่วมกันมา แสดงว่าผู้คัดค้านทั้งสองร่วมอุทธรณ์มาในฉบับเดียวกันแม้ผู้คัดค้านที่ 2 ไม่ได้ระบุชื่อในหัวข้อรายการแห่งคดีเพราะพลั้งเผลอ ก็ถือได้ว่าผู้คัดค้านที่ 2อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5975/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมอุทธรณ์และการวินิจฉัยคดีของผู้ไม่ระบุชื่อในคำฟ้อง: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการไม่ได้ระบุชื่อผู้ร่วมอุทธรณ์เป็นเพียงความพลั้งเผลอ
คำฟ้องอุทธรณ์ของผู้คัดค้านนอกจากจะมีเนื้อหาและเหตุผลคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นของผู้คัดค้านที่ 2 แล้ว ในคำขอท้ายอุทธรณ์ก็มีข้อความที่ผู้คัดค้านทั้งสองขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นร่วมกันมา แสดงว่าผู้คัดค้านทั้งสองร่วมอุทธรณ์มาในฉบับเดียวกันแม้ผู้คัดค้านที่ 2 ไม่ได้ระบุชื่อในหัวข้อรายการแห่งคดีเพราะพลั้งเผลอ ก็ถือได้ว่าผู้คัดค้านที่ 2อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4940/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดของผู้รับประกันภัยตามกรมธรรม์ กรณีอุบัติเหตุเดียวกัน ชดใช้ค่าเสียหายเต็มตามวงเงินประกันภัยแล้ว
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ด้วยความประมาท เป็นเหตุให้เกิดชนกันขึ้น จำเลยที่ 4 ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์ของจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ด้วย
ตามสัญญากรมธรรม์ประกันภัยระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 4ระบุวงเงินค่าเสียหายเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคลภายนอกไว้ว่าไม่เกิน 100,000 บาท ต่อหนึ่งครั้ง จึงหมายความว่า จำเลยที่ 4จำกัดความรับผิดในค่าเสียหายต่อบุคคลภายนอกไม่ว่าคนเดียวหรือหลายคนในอุบัติเหตุครั้งเดียวกันไว้ไม่เกิน 100,000 บาทเท่านั้นและหากจำเลยที่ 4 ได้ชำระค่าเสียหายให้โจทก์ในอีกคดีซึ่งได้ฟ้องในอุบัติเหตุครั้งเดียวกันกับคดีนี้เต็มจำนวน 100,000 บาทตามสัญญากรมธรรม์ประกันภัยแล้ว จำเลยที่ 4 ก็ไม่ต้องชำระค่าเสียหายให้โจทก์ในคดีนี้อีก การชำระค่าเสียหายตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวเป็นการชำระหนี้โดยสุจริตและถูกต้องตามกฎหมาย จำเลยที่ 4 ไม่ต้องเฉลี่ยเงินค่าเสียหายให้โจทก์คดีนี้
จำเลยที่ 4 อ้างสำนวนคดีแพ่งของศาลชั้นต้นพร้อมทั้งสรรพเอกสารเป็นพยานในคดีนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตามข้อเท็จจริงในสำนวนคดีดังกล่าว จึงไม่เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกสำนวน แต่ข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 4 ได้ชำระค่าเสียหายตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ในคดีอื่นเกิดขึ้นภายหลังที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีนี้แล้ว ศาลอุทธรณ์ไม่ชอบที่จะนำมาพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 4 ไปเลย แต่ควรกำหนดเป็นเงื่อนไขในความรับผิดของจำเลยที่ 4 เท่านั้น.
of 30