พบผลลัพธ์ทั้งหมด 292 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9751/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย และอำนาจศาลฎีกาในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาวันที่ 20 มิถุนายน 2556 โจทก์ที่ 1 ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ถึงวันที่ 18 กันยายน 2556 ต่อมาโจทก์ที่ 1 ยื่นอุทธรณ์ฉบับเดียวกับโจทก์ที่ 2 จึงเป็นการยื่นอุทธรณ์มาภายในกำหนดที่ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้ ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ชอบแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 จึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวแม้โจทก์ที่ 1 ไม่ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง จึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1), (2) ประกอบมาตรา 247 แต่เนื่องจากโจทก์ทั้งสองมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี จึงให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยถึงโจทก์ที่ 2 ใหม่ด้วยตามรูปคดี ศาลฎีกาจึงไม่ต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6502/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางถนน: การประเมินความประมาทและการแบ่งความรับผิด
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาประกันภัยรถยนต์กระบะหมายเลขทะเบียน ผท 6565 ชลบุรีไว้กับจำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัย ในวันเกิดเหตุ จำเลยที่ 1 ขับรถคันดังกล่าวไปตามถนนสายอ่างศิลามุ่งหน้าไปตลาดอ่างศิลาซึ่งเป็นถนนมีช่องเดินรถ 2 ช่อง แล่นสวนทางกันคนละฝั่ง 1 ช่อง เมื่อถึงหน้าร้านนุชคอหมูย่าง จำเลยที่ 1 จะเลี้ยวซ้ายไปจอดที่ร้านดังกล่าวและเกิดเฉี่ยวชนกันกับรถจักรยานยนต์ที่โจทก์ขับมาทางด้านซ้าย รถของโจทก์เสียหลักไปกระแทกกับรถยนต์ที่จอดอยู่ได้รับความเสียหายและโจทก์ได้รับบาดเจ็บ ต่อมาพนักงานอัยการยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 ในข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 300 และ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43, 68, 148, 157 จำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (3) (4), 68, 148, 157 และ ป.อ. มาตรา 390 แม้โจทก์ในคดีนี้จะเป็นโจทก์ร่วมในคดีดังกล่าวก็ตาม คดีคงมีปัญหาต้องวินิจฉัยในคดีดังกล่าวเพียงว่า จำเลยกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกและกระทำความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 300 ตามฟ้องหรือไม่เท่านั้น ไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ร่วมกระทำโดยประมาทด้วยหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าววินิจฉัยด้วยว่าโจทก์ร่วมมีส่วนกระทำโดยประมาทด้วย ก็ไม่ได้เป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาดังกล่าว ดังนั้นข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ในคดีนี้ ฎีกาของจำเลยทั้งสองฟังไม่ขึ้น และตามฎีกาของจำเลยทั้งสองก็มิได้ยกขึ้นเป็นข้ออ้างว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่รับฟังว่าพยานหลักฐานที่จำเลยทั้งสองนำสืบมาไม่มีน้ำหนักพอที่จะรับฟังได้ว่า โจทก์มีส่วนประมาทนั้นไม่ถูกต้องอย่างไร ฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงไม่ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ แต่การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นข้ออื่นๆ รวมทั้งค่าเสียหายนั้น ศาลฎีกาเห็นว่า ศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาโดยการสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งสองเสร็จสิ้นเพียงพอที่จะวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นๆ ให้เสร็จสิ้นไปเสียทีเดียวได้ เพื่อมิให้เป็นการล่าช้า ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรวินิจฉัยในปัญหาว่า จำเลยทั้งสองต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เพียงใดไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยก่อน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6360/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในคดีเยาวชน: หลักเกณฑ์การพิจารณาคำร้องขอให้ฎีกาเมื่อศาลล่างมีคำสั่งห้ามฎีกา
หลักเกณฑ์การฎีกาตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 180 (2) ประกอบมาตรา 183 ต้องแยกพิจารณาว่าเป็นการฎีกาเฉพาะส่วนเกี่ยวกับวิธีการสำหรับเด็กหรือฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานว่าไม่ได้กระทำผิด หากฎีกาเฉพาะส่วนเกี่ยวกับวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนต้องห้ามฎีกาเว้นแต่กำหนดเวลาฝึกอบรมเกินกว่าสามปี หรือกำหนดเวลาฝึกอบรมเป็นขั้นต่ำขั้นสูงและขั้นสูงเกินกว่าสามปี หากฎีกาว่าไม่ได้กระทำความผิด ต้องพิจารณาตาม ป.วิ.อ. ซึ่งในกรณีศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและยังคงกำหนดให้ส่งจำเลยไปฝึกอบรมซึ่งต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอให้ผู้พิพากษาที่พิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิเคราะห์ว่าข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกาได้ตามมาตรา 221 ซึ่งผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีหน้าที่พิจารณาเพียงว่าข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดหรือไม่เท่านั้น การที่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและยกคำร้อง จึงเป็นการสั่งคดีโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ถือว่าไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยยกคำสั่งของศาลชั้นต้น และมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) และ 247 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และพ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5307/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณาเป็นของศาลอุทธรณ์ การขอคุ้มครองประโยชน์ต้องเป็นไปตามขอบเขตคำฟ้อง
เมื่อที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองแล้ว อำนาจในการสั่งคำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 ย่อมเป็นของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ที่จะพิจารณาสั่ง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้คุ้มครองประโยชน์นั้น จึงไม่ชอบ เป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ แม้การที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นเมื่อล่วงพ้นกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นจะไม่ชอบก็ตาม แต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจที่จะมีคำสั่งให้เพิกถอนได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) และมาตรา 27 ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ยกคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบของจำเลยทั้งสองเพราะเหตุที่ยื่นล่วงพ้นกำหนดเวลาโดยมิได้วินิจฉัยในเนื้อหาตามคำร้องของจำเลยทั้งสองนั้น จึงไม่ถูกต้อง
การร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 นั้น จะต้องเป็นการร้องขอให้คุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอเพื่อให้ทรัพย์สิน สิทธิ หรือประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใดที่พิพาทกันในคดีนี้ได้รับการคุ้มครองไว้จนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษา คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินพิพาทและให้จำเลยทั้งสองแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง โดยโจทก์ไม่ได้ฟ้องและมีคำขอให้ใช้ค่าเสียหายในการที่โจทก์มิได้รับประโยชน์ในที่ดินพิพาท ฉะนั้น การที่โจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองนำรายได้จากที่ดินพิพาทหลังหักค่าใช้จ่ายมาวางศาลชั้นต้นจนกว่าศาลอุทธรณ์ภาค 8 จะมีคำพิพากษา ย่อมเป็นการนอกฟ้องและเกินคำขอ และแม้โจทก์จะเป็นฝ่ายชนะคดีก็ยังไม่อาจขอให้ศาลบังคับตามคำขอคุ้มครองประโยชน์นั้นได้ กรณีจึงไม่อยู่ในกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาตามบทบัญญัติดังกล่าว คำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะให้คุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 8
การร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 นั้น จะต้องเป็นการร้องขอให้คุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอเพื่อให้ทรัพย์สิน สิทธิ หรือประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใดที่พิพาทกันในคดีนี้ได้รับการคุ้มครองไว้จนกว่าศาลจะได้มีคำพิพากษา คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินพิพาทและให้จำเลยทั้งสองแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง โดยโจทก์ไม่ได้ฟ้องและมีคำขอให้ใช้ค่าเสียหายในการที่โจทก์มิได้รับประโยชน์ในที่ดินพิพาท ฉะนั้น การที่โจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองนำรายได้จากที่ดินพิพาทหลังหักค่าใช้จ่ายมาวางศาลชั้นต้นจนกว่าศาลอุทธรณ์ภาค 8 จะมีคำพิพากษา ย่อมเป็นการนอกฟ้องและเกินคำขอ และแม้โจทก์จะเป็นฝ่ายชนะคดีก็ยังไม่อาจขอให้ศาลบังคับตามคำขอคุ้มครองประโยชน์นั้นได้ กรณีจึงไม่อยู่ในกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาตามบทบัญญัติดังกล่าว คำร้องขอคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะให้คุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18948/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคดีอาญาเป็นสาระสำคัญของคำท้า หากศาลไม่วินิจฉัยความผิดจำเลย สิทธิเรียกร้องตามคำท้าไม่เกิด
จำเลยแถลงต่อศาลแรงงานภาค 9 ว่าติดใจเพียงประเด็นเดียวว่าโจทก์ทุจริตและกระทำความผิดอาญายักยอกทรัพย์ของจำเลยเท่านั้น และจำเลยสละประเด็นอื่น แล้วโจทก์จำเลยตกลงท้ากันโดยถือเอาข้อแพ้ชนะในคดีอาญาที่โจทก์ถูกฟ้องด้วยข้อหายักยอกทรัพย์ว่า "ถ้าหากศาลพิพากษายกฟ้อง" ให้ถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายชนะ จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์ แต่ถ้าศาลในคดีอาญาพิพากษาว่าโจทก์ "มีความผิดและพิพากษาลงโทษในคดีดังกล่าว (คดีอาญา) ไม่ว่าจะลงโทษจำคุก หรือลงโทษปรับ หรือแม้กระทั่งรอการลงโทษ หรือรอการกำหนดโทษ" ให้ถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดี ให้ศาลพิพากษายกฟ้อง
การที่จำเลยสละประเด็นตามคำให้การอื่น ยังคงติดใจเพียงประเด็นโจทก์ทุจริตและกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่จำเลยผู้เป็นนายจ้างหรือไม่ ส่วนหนึ่งของคำท้าคือหากโจทก์ถูกศาลในคดีอาญาพิพากษาว่ามีความผิดถือว่าโจทก์แพ้คดี การที่โจทก์กระทำผิดฐานยักยอกทรัพย์ของจำเลยหรือไม่จึงเป็นสาระสำคัญของคำท้า การที่ศาลในคดีอาญาพิพากษายกฟ้องเนื่องจากคดีขาดอายุความ และศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืนด้วยเหตุเดียวกัน คดีอาญาถึงที่สุด ศาลในคดีอาญาไม่ได้พิพากษาว่าโจทก์กระทำผิดอาญาหรือไม่ดังความมุ่งหมายของคำท้า จึงไม่อาจวินิจฉัยชี้ขาดคดีให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดชนะหรือแพ้ตามคำท้าได้
การที่จำเลยสละประเด็นตามคำให้การอื่น ยังคงติดใจเพียงประเด็นโจทก์ทุจริตและกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่จำเลยผู้เป็นนายจ้างหรือไม่ ส่วนหนึ่งของคำท้าคือหากโจทก์ถูกศาลในคดีอาญาพิพากษาว่ามีความผิดถือว่าโจทก์แพ้คดี การที่โจทก์กระทำผิดฐานยักยอกทรัพย์ของจำเลยหรือไม่จึงเป็นสาระสำคัญของคำท้า การที่ศาลในคดีอาญาพิพากษายกฟ้องเนื่องจากคดีขาดอายุความ และศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืนด้วยเหตุเดียวกัน คดีอาญาถึงที่สุด ศาลในคดีอาญาไม่ได้พิพากษาว่าโจทก์กระทำผิดอาญาหรือไม่ดังความมุ่งหมายของคำท้า จึงไม่อาจวินิจฉัยชี้ขาดคดีให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดชนะหรือแพ้ตามคำท้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2138/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดิน: การซื้อขายโดยไม่สุจริตของผู้ซื้อที่รู้ว่าเป็นสินสมรส
แม้โจทก์จะยื่นบัญชีพยานระบุเอกสารหนังสือของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินเรื่องแจ้งผลการวินิจฉัยโดยฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 88, 90 แต่เอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานสำคัญในคดีที่จะพิสูจน์หักล้างคำเบิกความของ ว. เจ้าพนักงานที่ดินที่ว่า ต้นฉบับสารบัญจดทะเบียนที่ดินพิพาทตามเอกสารหมาย จ.2 ไม่มีข้อความตามหมายเหตุที่โจทก์กล่าวอ้าง ประกอบกับเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารราชการสามารถตรวจสอบถึงความมีอยู่จริงได้โดยง่าย เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะรับเอกสารดังกล่าวไว้เป็นพยานหลักฐานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับเอกสารดังกล่าวตามบัญชีระบุพยานที่ยื่นเพิ่มเติมต่อศาล โจทก์ได้ยื่นคำร้องคัดค้านไว้และอุทธรณ์คำสั่งพร้อมกับอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไม่หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) อันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) และเห็นสมควรให้รับเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานของโจทก์ ซึ่งฟังได้ว่าโจทก์ได้แจ้งคัดค้านการขายที่ดินพิพาทไว้ต่อเจ้าพนักงานที่ดินตามข้อความที่มีหมายเหตุในสารบัญจดทะเบียนที่ดินพิพาทจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7294/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงคำให้การของจำเลยในคดีอาญา ศาลต้องเปิดโอกาสให้คู่ความสืบพยานใหม่ หากจำเลยกลับคำให้การ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกับพวกให้ที่พักอาศัยและซ่อนเร้นคนต่างด้าวรวม 43 คน เพื่อให้พ้นจากการจับกุม และรับคนต่างด้าวดังกล่าวเข้าทำงานโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ในวันนัดสืบพยานโจทก์ จำเลยยื่นคำให้การว่ากระทำความผิดเกี่ยวกับคนต่างด้าวเพียง 6 คน ศาลชั้นต้นสอบจำเลยแล้วยืนยันให้การตามนี้ แต่ในวันเวลาเดียวกัน ศาลชั้นต้นออกนั่งพิจารณาและบันทึกในรายงานกระบวนพิจารณาว่า จำเลยขอถอนคำให้การเดิมปฏิเสธเป็นให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการ ย่อมทำให้โจทก์ซึ่งอยู่ด้วยในขณะที่ศาลชั้นต้นพิจารณาเข้าใจได้ว่าศาลชั้นต้นสอบคำให้การจำเลยอีกครั้งหลังจากจำเลยยื่นคำให้การและจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการ การที่โจทก์แถลงไม่ติดใจสืบพยานจึงมิใช่เป็นกรณีที่โจทก์ทราบแล้วว่าจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์บางส่วน แต่โจทก์ไม่สืบพยานดังที่จำเลยฎีกา แม้ต่อมาจำเลยจะยื่นคำแถลงประกอบคำรับสารภาพก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ระบุว่าจำเลยรับว่ามีคนงานเพียง 6 คน แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้มีคำสั่งให้ส่งสำเนาแก่โจทก์ จึงไม่ถือว่าโจทก์ทราบว่าจำเลยให้การปฏิเสธตามคำแถลงประกอบคำรับสารภาพของจำเลยดังกล่าว กรณีจึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาคดีไปโดยเห็นว่าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโดยผิดหลง จึงมิได้เปิดโอกาสให้โจทก์สืบพยาน ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีเฉพาะที่เกี่ยวกับคนต่างด้าวเพียง 6 คน จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายวิธีพิจารณาความว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาตั้งแต่ชั้นสอบคำให้การจำเลยเป็นต้นไป แล้วพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14093/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอาญาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและองค์ประกอบความผิด ศาลมีอำนาจยกฟ้องได้แม้จำเลยรับสารภาพ
โจทก์บรรยายฟ้องนำข้อความในบทบัญญัติในมาตรา 38 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 มากล่าวในฟ้องเท่านั้น ไม่ได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียดในการกระทำความผิดของจำเลยว่า จำเลยประกอบกิจการให้เช่า หรือแลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์อย่างไร ภาพยนตร์ที่ให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายนั้นมีลักษณะหรืออยู่ในรูปแบบใด สถานที่ประกอบกิจการอยู่บริเวณใด พอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ฟ้องของโจทก์ส่วนนี้จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
การที่โจทก์นำแต่เพียงข้อความอันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์มาบรรยายในฟ้อง โดยไม่ได้บรรยายข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยในความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้า จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ไม่ชอบ แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายภาพยนตร์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาฯ โดยศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้พิพากษาลงโทษหรือยกฟ้องในข้อหานี้ แม้คำพิพากษาตอนท้ายจะระบุว่า "คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก" และจะแปลความได้ว่าพิพากษายกฟ้องในข้อหาดังกล่าวแต่ศาลต้องระบุเหตุผลในการตัดสินยกฟ้องด้วยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 186 (6) (8) การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ไม่ได้พิพากษาในข้อหานี้เป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาทางอาญา ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ซึ่งเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์ไม่อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง, มาตรา 15 และ ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1)
ความผิดฐานให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายซึ่งภาพยนตร์ที่ยังไม่ผ่านการตรวจพิจารณาฯ ตามมาตรา 25 พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ย่อมหมายถึงการตรวจเนื้อหาของภาพยนตร์ที่บันทึกในวัสดุต่างๆ ก่อนจะอนุญาตให้นำออกฉาย ให้เช่าแลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายในราชอาณาจักร เพื่อไม่ให้มีการเผยแพร่ภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมออกสู่สาธารณะ โจทก์จึงต้องบรรยายข้อเท็จจริงในฟ้องให้ชัดเจนว่าจำเลยนำภาพยนตร์เรื่องใดบ้างที่ไม่ผ่านการตรวจออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจำหน่าย การที่โจทก์บรรยายฟ้องโดยระบุเพียงจำนวนแผ่นของภาพยนตร์ จึงเป็นฟ้องที่มิได้บรรยายถึงรายละเอียดที่เกี่ยวกับสิ่งของที่เกี่ยวข้องพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดี ย่อมเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
การที่โจทก์นำแต่เพียงข้อความอันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายภาพยนตร์มาบรรยายในฟ้อง โดยไม่ได้บรรยายข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยในความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้า จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ไม่ชอบ แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ ก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายภาพยนตร์ที่ไม่ผ่านการตรวจพิจารณาฯ โดยศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมิได้พิพากษาลงโทษหรือยกฟ้องในข้อหานี้ แม้คำพิพากษาตอนท้ายจะระบุว่า "คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก" และจะแปลความได้ว่าพิพากษายกฟ้องในข้อหาดังกล่าวแต่ศาลต้องระบุเหตุผลในการตัดสินยกฟ้องด้วยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 186 (6) (8) การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ไม่ได้พิพากษาในข้อหานี้เป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาทางอาญา ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ซึ่งเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์ไม่อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง, มาตรา 15 และ ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1)
ความผิดฐานให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายซึ่งภาพยนตร์ที่ยังไม่ผ่านการตรวจพิจารณาฯ ตามมาตรา 25 พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ย่อมหมายถึงการตรวจเนื้อหาของภาพยนตร์ที่บันทึกในวัสดุต่างๆ ก่อนจะอนุญาตให้นำออกฉาย ให้เช่าแลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายในราชอาณาจักร เพื่อไม่ให้มีการเผยแพร่ภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมออกสู่สาธารณะ โจทก์จึงต้องบรรยายข้อเท็จจริงในฟ้องให้ชัดเจนว่าจำเลยนำภาพยนตร์เรื่องใดบ้างที่ไม่ผ่านการตรวจออกฉาย ให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจำหน่าย การที่โจทก์บรรยายฟ้องโดยระบุเพียงจำนวนแผ่นของภาพยนตร์ จึงเป็นฟ้องที่มิได้บรรยายถึงรายละเอียดที่เกี่ยวกับสิ่งของที่เกี่ยวข้องพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดี ย่อมเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8587/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นสำคัญอยู่ที่การพิสูจน์ว่าสัญญากู้ยืมเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกประเด็น จึงต้องย้อนสำนวน
ตามคำให้การของจำเลยเป็นการต่อสู้ว่า สัญญากู้ยืมปลอมทั้งฉบับ มิใช่ปลอมแค่เพียงบางส่วน ดังนั้น คำให้การที่ว่าจำเลยเคยกู้ยืมเงินโจทก์ 120,000 บาท เป็นเพียงเหตุผลประกอบการปฏิเสธเท่านั้น ประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้จึงมีว่า สัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสัญญาปลอมหรือไม่
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าสัญญากู้ไม่ปลอม ให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องจำเลยอุทธรณ์ว่า สัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารปลอม ดังนั้น จึงมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยนชั้นอุทธรณ์ว่า สัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ ซึ่งถ้าฟังว่าปลอมจำเลยก็ไม่ต้องรับผิด การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไป 120,000 บาท และชำระให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว โจกท์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยนั้น เป็นการวินิจฉัยในประเด็นที่มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 เป็นเหตุให้โจทก์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 นอกประเด็นไปด้วย เห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีที่ถูกต้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าสัญญากู้ไม่ปลอม ให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องจำเลยอุทธรณ์ว่า สัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารปลอม ดังนั้น จึงมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยนชั้นอุทธรณ์ว่า สัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ ซึ่งถ้าฟังว่าปลอมจำเลยก็ไม่ต้องรับผิด การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไป 120,000 บาท และชำระให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว โจกท์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยนั้น เป็นการวินิจฉัยในประเด็นที่มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 เป็นเหตุให้โจทก์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 นอกประเด็นไปด้วย เห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีที่ถูกต้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3706-3718/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยนอกฟ้องและประเด็นข้อพิพาทที่ไม่ถูกต้อง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขเพื่อให้เป็นธรรม
ข้อเท็จจริงที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณะหรือไม่นั้นเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากพยานหลักฐานนอกข้อต่อสู้ในคำให้การและนอกประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ไม่เกี่ยวกับที่คู่ความจะต้องนำสืบหรือมีกฎหมายบังคับให้ต้องแสดง ศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยไม่ได้เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 ที่ศาลล่างนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณะ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา แม้คดีนี้จะขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาเฉพาะในส่วนฟ้องแย้ง และคดีตามฟ้องเดิมของโจทก์จะต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่การที่ศาลล่างวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณะ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากพยานหลักฐานนอกข้อต่อสู้ในคำให้การและนอกประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้อันเป็นประเด็นข้อสำคัญในคดีตามฟ้องเดิม ซึ่งมีผลทำให้การวินิจฉัยคดีในส่วนฟ้องแย้งที่ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง จึงเป็นกรณีที่ศาลล่างมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่จะมุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม และเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะไม่ได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาแต่เมื่อความปรากฏแก่ศาลฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรที่จะให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่ถูกต้องในส่วนของฟ้องเดิมและฟ้องแย้งเสียทั้งหมดแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247 เพราะข้อเท็จจริงตามฟ้องเดิมและฟ้องแย้งเป็นเรื่องเดียวกัน