คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 243 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 292 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3401/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาฎีกา: คดีซ้ำและขอบเขตการฟ้องร้องที่ดิน
ปัญหาว่าคำพิพากษาในคดีก่อนผูกพันคู่ความในคดีนี้หรือไม่ จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้และยกขึ้นเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์ โดยกล่าวไว้ในคำแก้อุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้ จึงเป็นกรณีปรากฏเหตุที่ศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (1) ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวได้โดยไม่ต้องส่งสำนวนคืนไปให้ศาลอุทธรณ์พิพากษา
คดีก่อนโจทก์จำเลยพิพาทกันเฉพาะที่งอกริมตลิ่งของที่ดินโฉนดที่ 384 ศาลฎีกาพิพากษาคดีดังกล่าวว่านายชิตขายที่ดินให้โจทก์เฉพาะตามโฉนด ไม่ได้ขายที่พิพาทอันเป็นที่งอกให้แก่โจทก์ด้วย การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อ้างว่าเพิ่งทราบว่านายชิตมอบที่ดินให้ไม่ครบตามโฉนดจึงขอให้จำเลยสั่งมอบที่ดินให้ครบตามโฉนด แต่ในเนื้อหาของคำฟ้องยังบรรยายว่าหากมีที่งอกริมตลิ่งหน้าที่ดินโฉนดที่ 384 ก็ย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์เมื่อนายชิตขายที่ดินนี้ให้โจทก์ก็มิได้สงวนสิทธิในที่งอกนั้นที่งอกจึงรวมอยู่ในที่ดินที่ซื้อขายด้วยขอให้บังคับจำเลยรื้อบ้านออกไปจากที่งอก แผนที่สังเขปท้ายฟ้องคดีนี้กับท้ายฟ้องคดีก่อนก็เหมือนกัน แสดงว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้เพื่อขอให้บังคับจำเลยส่งมอบที่พิพาทอันเป็นที่งอกที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยชี้ขาดไว้แล้วนั้นแก่โจทก์อีกเช่นนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรกให้ถือว่าคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวผูกพันโจทก์จำเลย โจทก์จะกล่าวอ้างเป็นอย่างอื่นอีกดังเช่นคดีนี้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3401/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาฎีกา: ฟ้องซ้ำ-ที่ดินพิพาทเดิม ศาลฎีกาพิพากษากลับให้ยกฟ้อง
ปัญหาว่าคำพิพากษาในคดีก่อนผูกพันคู่ความในคดีนี้หรือไม่จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้และยกขึ้นเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์ โดยกล่าวไว้ในคำแก้อุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้ จึงเป็นกรณีปรากฏเหตุที่ศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1)ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวได้โดยไม่ต้องส่งสำนวนคืนไปให้ศาลอุทธรณ์พิพากษา คดีก่อนโจทก์จำเลยพิพาทกันเฉพาะที่งอกริมตลิ่งของที่ดินโฉนดที่ 384 ศาลฎีกาพิพากษาคดีดังกล่าวว่านายชิตขายที่ดินให้โจทก์เฉพาะตามโฉนด ไม่ได้ขายที่พิพาทอันเป็นที่งอกให้แก่โจทก์ด้วย การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อ้างว่าเพิ่งทราบว่านายชิตมอบที่ดินให้ไม่ครบตามโฉนดจึงขอให้จำเลยสั่งมอบที่ดินให้ครบตามโฉนด แต่ในเนื้อหาของคำฟ้องยังบรรยายว่าหากมีที่งอกริมตลิ่งหน้าที่ดินโฉนดที่ 384 ก็ย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์เมื่อนายชิตขายที่ดินนี้ให้โจทก์ก็มิได้สงวนสิทธิในที่งอกนั้นที่งอกจึงรวมอยู่ในที่ดินที่ซื้อขายด้วยขอให้บังคับจำเลยรื้อบ้านออกไปจากที่งอก แผนที่สังเขปท้ายฟ้องคดีนี้กับท้ายฟ้องคดีก่อนก็เหมือนกัน แสดงว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้เพื่อขอให้บังคับจำเลยส่งมอบที่พิพาทอันเป็นที่งอกที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยชี้ขาดไว้แล้วนั้นแก่โจทก์อีกเช่นนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรกให้ถือว่าคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวผูกพันโจทก์จำเลย โจทก์จะกล่าวอ้างเป็นอย่างอื่นอีกดังเช่นคดีนี้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3240/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภารจำยอม-ส่วนควบ-การซื้อขายโดยสุจริต กรณีสร้างบ้านในที่ดินของตนเอง
ปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้จดทะเบียนภารจำยอมที่พิพาทโดยอ้างเหตุเจ้าของรวมคนหนึ่งของสามยทรัพย์ได้ใช้สิทธิมาแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1396 ได้หรือไม่ โจทก์เพิ่งจะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ฎีกาและมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
เจ้าของเดิมปลูกบ้านในที่ดินของตนเอง ต่อมาโจทก์อ้างว่าโจทก์รับโอนบ้านจำเลยรับโอนที่ดิน ดังนี้ กรณีจะ ปรับเข้ากับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 หาได้ไม่เพราะมาตรา 1310 เป็นเรื่องสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่น
บ้านเป็นส่วนควบของที่ดิน หากจำเลยซื้อที่ดินจากเจ้าของเดิมโดยสุจริตจำเลยย่อมได้บ้านไปด้วยตามหลักส่วนควบดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 107 วรรคสอง
ประเด็นเรื่องส่วนควบเป็นประเด็นที่ว่ากันมาแล้วตั้งแต่ศาลชั้นต้นและจำเลยได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในชั้นอุทธรณ์ด้วยแล้ว แต่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา แม้จำเลยจะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยประเด็นข้อนี้เสียเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1), 247 โดยไม่ต้องย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3240/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภารจำยอมและกรรมสิทธิ์ในส่วนควบ กรณีซื้อขายที่ดินและบ้านโดยไม่สุจริต
ปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้จดทะเบียนภารจำยอมที่พิพาทโดยอ้างเหตุเจ้าของรวมคนหนึ่งของสามยทรัพย์ได้ใช้สิทธิมาแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1396 ได้หรือไม่ โจทก์เพิ่งจะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ฎีกาและมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
เจ้าของเดิมปลูกบ้านในที่ดินของตนเอง ต่อมาโจทก์อ้างว่าโจทก์รับโอนบ้านจำเลยรับโอนที่ดิน ดังนี้ กรณีจะปรับเข้ากับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 หาได้ไม่เพราะมาตรา 1310 เป็นเรื่องสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่น
บ้านเป็นส่วนควบของที่ดิน หากจำเลยซื้อที่ดินจากเจ้าของเดิมโดยสุจริตจำเลยย่อมได้บ้านไปด้วยตามหลักส่วนควบดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 107 วรรคสอง
ประเด็นเรื่องส่วนควบเป็นประเด็นที่ว่ากันมาแล้วตั้งแต่ศาลชั้นต้นและจำเลยได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในชั้นอุทธรณ์ด้วยแล้ว แต่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา แม้จำเลยจะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยประเด็นข้อนี้เสียเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1), 247 โดยไม่ต้องย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2743/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นอายุความและการครอบครองปรปักษ์: ศาลฎีกาตัดสินเรื่องการยกอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ
เมื่อในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นเรื่องคดีโจทก์ขาดอายุความไว้ และโจทก์ก็มิได้โต้แย้งคัดค้านนั้นปัญหาที่ว่าคำให้การจำเลยในเรื่องอายุความได้แสดงเหตุผลไว้โดยชัดแจ้งหรือไม่จึงไม่มีประเด็นในชั้นศาลอุทธรณ์ ทั้งปัญหานี้ไม่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษายกอุทธรณ์จำเลยจึงไม่ชอบ คดียังคงมีประเด็นที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยต่อไปในเรื่องอายุความ แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรก็วินิจฉัยประเด็นข้อนี้ไปได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนคืนให้ศาลอุทธรณ์พิพากษา
การที่จำเลยต่อสู้คดีว่าที่พิพาทเป็นของมารดาจำเลยและจำเลยครอบครองแทนเกินกว่า 10 ปี จนได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 แล้วนั้น เห็นได้ว่าจำเลยหรือมารดาจำเลยย่อมจะครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของตนเองไม่ได้ กรณีจึงไม่ใช่เรื่องขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1964/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์วินิจฉัยฟ้องแย้งเกินคำขอศาลชั้นต้น และการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยฟ้องแย้งอ้างว่าที่พิพาทเป็นมรดกตกได้แก่จำเลย ขอให้ขับไล่โจทก์ออกจากที่พิพาทและเรียกค่าเสียหายศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องแย้ง โดยฟังว่าจำเลยมิได้รับความเสียหาย แต่ไม่ได้วินิจฉัยว่าจะให้ขับไล่โจทก์ตามฟ้องแย้งหรือไม่ จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งซึ่งศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นเสียแล้วส่งสำนวนคืนไปยังศาลชั้นต้นเพื่อให้พิพากษาใหม่ได้ตามมาตรา243(1)แต่คดีนี้ศาลอุทธรณ์เห็นว่าสมควรวินิจฉัยไปเลยทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปก็ชอบที่จะกระทำได้ กรณีมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอท้ายฟ้องอุทธรณ์ดังนั้นแม้จำเลยจะอุทธรณ์แต่ในเรื่องค่าเสียหายศาลอุทธรณ์ก็พิพากษาให้ขับไล่โจทก์ด้วยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1964/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยคำขอขับไล่ที่ศาลชั้นต้นไม่ได้วินิจฉัย และขอบเขตการพิพากษาเกินคำขอ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยฟ้องแย้งอ้างว่าที่พิพาทเป็นมรดกตกได้แก่จำเลย ขอให้ขับไล่โจทก์ออกจากที่พิพาทและเรียกค่าเสียหายศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องแย้ง โดยฟังว่าจำเลยมิได้รับความเสียหาย แต่ไม่ได้วินิจฉัยว่าจะให้ขับไล่โจทก์ตามฟ้องแย้งหรือไม่ จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ซึ่งศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นเสียแล้วส่งสำนวนคืนไปยังศาลชั้นต้น เพื่อให้พิพากษาใหม่ได้ตามมาตรา 243(1) แต่คดีนี้ศาลอุทธรณ์เห็นว่าสมควรวินิจฉัยไปเลยทีเดียว โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปก็ชอบที่จะกระทำได้ กรณีมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอท้ายฟ้องอุทธรณ์ดังนั้นแม้จำเลยจะอุทธรณ์แต่ในเรื่องค่าเสียหาย ศาลอุทธรณ์ก็พิพากษาให้ขับไล่โจทก์ด้วยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2431/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงได้ และการครอบครองรถโดยชอบด้วยกฎหมายทำให้มีอำนาจฟ้องร้องได้
ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในสำนวนไปได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเสียก่อน
เจ้าของนำรถจักรยานยนต์มาจ้างร้านโจทก์ซ่อมแล้วไม่มารับคืนเพราะค่าจ้างสูง โจทก์จึงเอามาใช้ขับขี่ แล้วถูกรถจำเลยชนได้รับความเสียหาย กรณีนี้โจทก์เป็นผู้ครอบครองรถจักรยานยนต์โดยชอบด้วยกฎหมาย และจะต้องรับผิดต่อเจ้าของรถหากรถนั้นต้องเสียหาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ละเมิดชดใช้ค่าเสียหายเกี่ยวกับรถจักรยานยนต์คันนั้นแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3083/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีสินสมรส: การแก้ไขข้อบกพร่องด้านความสามารถฟ้องคดี และการไต่สวนความถูกต้องของหนังสือยินยอม
โจทก์ซึ่งเป็นหญิงมีสามีมิได้ยื่นหนังสือยินยอมของสามีให้ฟ้องคดีมาพร้อมกับฟ้องในศาลชั้นต้น แต่ได้ส่งหนังสือยินยอมดังกล่าวมาพร้อมฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาเฉพาะประเด็นว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยหรือไม่ จำเลยแก้ฎีกาว่าหนังสือให้ความยินยอมดังกล่าวจะถูกต้องหรือไม่จำเลยไม่รับรอง เมื่อเป็นเช่นนี้จึงควรให้ศาลชั้นต้นไต่สวนว่าหนังสือยินยอมของสามีโจทก์ที่ให้ฟ้องคดีถูกต้องหรือไม่ หากถูกต้องก็ถือว่าโจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถในการฟ้องคดีบริบูรณ์แล้ว ถ้าไม่ถูกต้องให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งกำหนดให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องนั้นเสียให้บริบูรณ์ภายในกำหนดเวลาอันสมควรที่ศาลชั้นต้นจะสั่ง แล้วดำเนินการต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิร้องปล่อยตัวระงับเมื่อได้รับการปล่อยตัวแล้ว แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษากลับ
สิทธิของผู้ร้องในการยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยตัวจากการควบคุมหรือขังโดยผิดกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 นั้น จะมีอยู่เพียงชั่วระยะเวลาที่ผู้ร้องถูกควบคุมหรือขังอยู่เท่านั้นถ้าผู้ร้องได้รับการปล่อยตัวไปแล้วสิทธิในการขอให้ศาลสั่งปล่อยตามบทกฎหมายดังกล่าวย่อมระงับ ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องของผู้ร้องและผู้ร้องอุทธรณ์แต่ปรากฏว่าผู้ร้องได้รับการปล่อยตัวไปแล้วก่อนที่จะยื่นอุทธรณ์ สิทธิของผู้ร้องที่จะร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยจึงเป็นอันระงับไปแล้วก่อนที่ผู้ร้องจะยื่นอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1853/2506)
of 30