คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 243 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 292 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7173/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีแพ่งที่จำเลยร่วมกัน โดยการพิจารณาการอุทธรณ์ต้องแยกรายบุคคล และศาลต้องวินิจฉัยอุทธรณ์จำเลยร่วมก่อน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 94,912 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 47,881.44 บาท พร้อมดอกเบี้ย ส่วนจำเลยที่ 2ให้ยกฟ้อง คดีเฉพาะจำเลยที่ 1 มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ส่วนที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในจำนวนเงิน 94,912 บาท นั้นไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เพราะการพิจารณาว่าคดีใดอุทธรณ์ได้หรือไม่ต้องพิจารณาจากข้อเรียกร้องของโจทก์และจำเลยเป็นรายบุคคลไป การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์โดยมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ก่อนว่าจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 หรือไม่และต้องรับผิดในจำนวนเงิน 94,912 บาท หรือไม่จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาย่อมเพิกถอนกระบวนการพิจารณาที่ไม่ชอบนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6964/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีประกันสังคมต้องยื่นอุทธรณ์ตามขั้นตอนก่อนฟ้อง หากไม่ปฏิบัติตามถือว่าไม่มีอำนาจฟ้อง
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยประเด็นข้อ 2 ตรงตามที่ศาลฎีกาได้กำหนดให้วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เนื่องจากไม่อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ภายใน 30 วัน ตาม พ.ร.บ. ประกันสังคม ฯ มาตรา 85 ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติก่อนฟ้องคดีตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 8 วรรคท้าย แล้ว ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทข้ออื่นอีกต่อไป ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยประเด็นข้อ 4 ต่อไปอีก จึงเป็นการไม่ชอบ แต่ศาลฎีกาเห็นด้วยในผลที่ศาลแรงงานพิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3398/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระบวนการฎีกา การพิจารณาคำร้องขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถา และการสั่งรับ/ไม่รับฎีกาต้องเป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด
เมื่อจำเลยฎีกาพร้อมคำร้องขอให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่นั่งพิจารณาคดีรับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และยื่นคำร้องขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นสั่งในฎีกา และคำร้องขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถาว่า รอฟังคำสั่ง ศาลอุทธรณ์ก่อนจึงจะพิจารณาสั่ง ต่อมาผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ที่นั่งพิจารณาคดีนี้ไม่รับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ไม่ได้เพราะต้องห้ามตามกฎหมาย ก็ชอบที่จะสั่งยกคำร้อง ขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถานั้นเสียโดยไม่ต้องไต่สวนคำร้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสามแต่ศาลชั้นต้นต้องกำหนดให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมชั้นฎีกามาชำระภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรกำหนดก่อน เมื่อถึงกำหนดแล้วไม่ชำระจึงจะสั่งในฎีกาของจำเลยว่ารับหรือไม่รับฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18ศาลชั้นต้นยังไม่ควรก้าวล่วงไปสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยเสียในตอนนี้ เมื่อศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ถูกต้องและศาลอุทธรณ์ไม่ได้แก้ไข ศาลฎีกาจึงอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1)(2)ประกอบด้วยมาตรา 247 แก้ไขให้ถูกต้องโดยให้ศาลชั้นต้นสั่งฎีกาของจำเลยเสียใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 156 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3398/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการพิจารณาฎีกาและการสั่งรับฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถา: ศาลต้องกำหนดให้ชำระค่าธรรมเนียมก่อนสั่งรับหรือไม่
เมื่อจำเลยฎีกาพร้อมคำร้องขอให้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่นั่งพิจารณาคดีรับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและยื่นคำร้อง ขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถาศาลชั้นต้นสั่งในฎีกาและคำร้องขอฟ้อง ฎีกาอย่างคนอนาถาว่า รอฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ก่อนจึงจะ พิจารณาสั่ง ต่อมาผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ที่นั่งพิจารณาคดีนี้ ไม่รับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่า จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้เพราะต้องห้ามตามกฎหมาย ก็ชอบที่จะสั่งยกคำร้องขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถานั้นเสีย โดยไม่ต้องไต่สวนคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสาม แต่ศาลชั้นต้นต้องกำหนดให้จำเลย นำเงินค่าธรรมเนียมชั้นฎีกามาชำระภายในเวลาที่ศาลชั้นต้น เห็นสมควรกำหนดก่อน เมื่อถึงกำหนดแล้วไม่ชำระ จึงจะสั่งในฎีกาของจำเลยว่ารับหรือไม่รับฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18ศาลชั้นต้นยังไม่ควรก้าวล่วงไปสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยเสียในตอนนี้ เมื่อศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ถูกต้องและศาลอุทธรณ์ไม่ได้แก้ไข ศาลฎีกาจึงอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1)(2)ประกอบด้วยมาตรา 247 แก้ไขให้ถูกต้องโดยให้ศาลชั้นต้นสั่งฎีกา ของจำเลยเสียใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 156 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6557/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติบุคคลเป็นผู้จัดการมรดกได้หากกฎหมายไม่ได้ห้าม และวัตถุประสงค์ของมูลนิธิอนุญาต
ผู้ร้องร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกโดยอ้างสิทธิเป็นผู้รับพินัยกรรมส่วนผู้คัดค้านที่ 5 คัดค้านว่าพินัยกรรมดังกล่าวเป็นเอกสารปลอม ทั้งผู้คัดค้านที่ 5กล่าวอ้างว่าเจ้ามรดกทำพินัยกรรมตั้งให้ผู้คัดค้านที่ 5 เป็นผู้จัดการมรดกและยกทรัพย์มรดกครึ่งหนึ่งให้แก่ผู้คัดค้านที่ 5 ตามพินัยกรรมอีกฉบับหนึ่ง ผู้ร้องไม่ใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของเจ้ามรดก จึงไม่มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ คดีจึงมีประเด็นว่า พินัยกรรมทั้งสองฉบับดังกล่าวนั้น ฉบับใดเป็นฉบับแท้จริง และผู้รับพินัยกรรมเป็นผู้มีส่วนได้เสียอันสมควรตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกหรือไม่ กรณีเป็นเรื่องวิธีจัดการมรดกเท่านั้น หาได้มีข้อโต้แย้งในระหว่างผู้รับมรดกแต่อย่างใดไม่ แม้ข้อกำหนดพินัยกรรมระบุให้ถวายทรัพย์มรดกแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฟ้องและโต้แย้งสิทธิต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มิใช่เป็นเรื่องที่มีการกล่าวอ้างว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญอันจะต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 264ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแต่ประการใด
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 66 และ 67 นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เว้นเสียแต่สิทธิและหน้าที่นั้นไม่อยู่ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ของตนดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้ง หรือโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น ซึ่งสิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดกนั้นโดยสภาพมิใช่สิทธิและหน้าที่ที่จะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดา และบุคคลที่ต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1718 ย่อมนำมาใช้แก่นิติบุคคลได้เท่าที่ไม่ขัดกับสภาพของนิติบุคคล ดังนั้น เมื่อไม่มีบทกฎหมายใดที่ห้ามนิติบุคคลมิให้เป็นผู้จัดการมรดก ประกอบกับผู้ร้องเป็นผู้รับพินัยกรรมด้วย อีกทั้งตามตราสารจัดตั้งมูลนิธิของผู้ร้องได้ระบุไว้ในข้อ 5 ว่า มูลนิธิอาจได้มาซึ่งทรัพย์สินโดยวิธีดังต่อไปนี้... ข.ทรัพย์สินซึ่งมีผู้ยกให้เป็นพินัยกรรมหรือนิติกรรมอื่น ๆ โดยไม่มีเงื่อนไขผูกพันให้มูลนิธิต้องรับผิดในหนี้สินแต่ประการใด... การตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ จึงอยู่ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่และไม่ขัดกับวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งมูลนิธิของผู้ร้อง
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีเกี่ยวกับผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่ให้รับอุทธรณ์ของผู้คัดค้านที่ 2 เนื่องจากผิดหลง เพราะผู้คัดค้านที่ 2 ยื่นอุทธรณ์พ้นระยะเวลาอุทธรณ์ตามกฎหมาย โดยศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่ไม่รับอุทธรณ์ของผู้คัดค้านที่ 2 ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีสำหรับผู้คัดค้านที่ 2จึงไม่ชอบ และเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง แต่ถึงอย่างไรก็ตาม คดีไม่มีผลเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนคืนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่แต่อย่างใดอีกโดยพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เฉพาะส่วนคำวินิจฉัยที่เกี่ยวกับผู้คัดค้านที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6557/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งนิติบุคคลเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม และประเด็นการส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 264
ผู้ร้องร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกโดยอ้างสิทธิเป็นผู้รับพินัยกรรมส่วนผู้คัดค้านที่ 5 คัดค้านว่าพินัยกรรมดังกล่าวเป็นเอกสารปลอม ทั้งผู้คัดค้านที่ 5กล่าวอ้างว่าเจ้ามรดกทำพินัยกรรมตั้งให้ผู้คัดค้านที่ 5เป็นผู้จัดการมรดกและยกทรัพย์มรดกครึ่งหนึ่งให้แก่ผู้คัดค้านที่ 5 ตามพินัยกรรมอีกฉบับหนึ่ง ผู้ร้องไม่ใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของเจ้ามรดก จึงไม่มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ คดีจึงมีประเด็นว่าพินัยกรรมทั้งสองฉบับดังกล่าวนั้น ฉบับใดเป็นฉบับแท้จริงและผู้รับพินัยกรรมเป็นผู้มีส่วนได้เสียอันสมควรตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกหรือไม่ กรณีเป็นเรื่องวิธีจัดการมรดกเท่านั้น หาได้มีข้อโต้แย้งในระหว่างผู้รับมรดกแต่อย่างใดไม่ แม้ข้อกำหนดพินัยกรรมระบุให้ถวายทรัพย์มรดกแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการฟ้องและโต้แย้งสิทธิต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิใช่เป็นเรื่องที่มีการกล่าวอ้างว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญอันจะต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 264 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแต่ประการใด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 66 และ 67 นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดาเว้นเสียแต่สิทธิและหน้าที่นั้นไม่อยู่ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ของตนดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้ง หรือโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น ซึ่งสิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดกนั้นโดยสภาพมิใช่สิทธิและหน้าที่ที่จะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดา และบุคคลที่ต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1718 ย่อมนำมาใช้แก่นิติบุคคลได้เท่าที่ไม่ขัดกับสภาพของนิติบุคคลดังนั้น เมื่อไม่มีบทกฎหมายใดที่ห้ามนิติบุคคล มิให้เป็นผู้จัดการมรดก ประกอบกับผู้ร้องเป็นผู้รับพินัยกรรมด้วยอีกทั้งตามตราสารจัดตั้งมูลนิธิของผู้ร้องได้ระบุไว้ในข้อ 5ว่า มูลนิธิอาจได้มาซึ่งทรัพย์สินโดยวิธีดังต่อไปนี้ ข.ทรัพย์สินซึ่งมีผู้ยกให้เป็นพินัยกรรมหรือนิติกรรมอื่น ๆ โดยไม่มีเงื่อนไขผูกพันให้มูลนิธิต้องรับผิดในหนี้สินแต่ประการใด การตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ จึงอยู่ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่และไม่ขัดกับวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งมูลนิธิของผู้ร้อง การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีเกี่ยวกับผู้คัดค้านที่ 2ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่ให้รับอุทธรณ์ของผู้คัดค้านที่ 2 เนื่องจากผิดหลง เพราะผู้คัดค้านที่ 2ยื่นอุทธรณ์พ้นระยะเวลาอุทธรณ์ตามกฎหมาย โดยศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่ไม่รับอุทธรณ์ของผู้คัดค้านที่ 2 ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีสำหรับผู้คัดค้านที่ 2 จึงไม่ชอบ และเป็นกรณี ที่ศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง แต่ถึงอย่างไรก็ตาม คดีไม่มีผลเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนคืนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษา ใหม่แต่อย่างใดอีกโดยพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เฉพาะส่วนคำวินิจฉัยที่เกี่ยวกับผู้คัดค้านที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6249/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าของรถยนต์ต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุ: การวินิจฉัยฐานความรับผิดที่ถูกต้อง
เจ้าของรถยนต์จะรับผิดหรือร่วมรับผิดในผลแห่ง การละเมิดต้องเป็นกรณีที่เจ้าของรถยนต์เป็นผู้กระทำละเมิดคือเป็นผู้ขับด้วยตนเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 437 วรรคหนึ่ง หรือในกรณีเจ้าของรถยนต์ ต้องร่วมรับผิดกับบุคคลอื่นในผลแห่งการละเมิดต้องเป็นกรณีผู้กระทำละเมิดเป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของเจ้าของรถยนต์หรือเจ้าของรถยนต์เป็นผู้ครอบครองรถยนต์ขณะเกิดเหตุโดยเจ้าของรถยนต์โดยสารไปด้วยตามมาตรา 425,427 และ 437 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 4 เป็นเจ้าของ รถยนต์คันเกิดเหตุแต่ยังมิได้วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 4ต้องร่วมรับผิดกับผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์ในฐานะใดอันเป็นประเด็นสำคัญในคดี ซึ่งจำเลยที่ 4 ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้และศาลอุทธรณ์ก็ไม่รับวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่ศาลล่างทั้งสองมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ปัญหาเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยที่ 4จึงยกขึ้นในชั้นฎีกาได้ ศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 4ให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวแล้วมีคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243(1)(3),247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6178/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการแก้ไขโทษจำคุก และการกำหนดโทษตามความร้ายแรงของแต่ละกรรม
จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงโทษจำคุกจำเลยที่ได้อ่านคำพิพากษาในครั้งแรกให้จำคุกจำเลยคนละ 2 ปี มาเป็นจำคุกคนละ 6 ปี เพราะเป็นการเพิ่มโทษจำเลยโดยไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ทำได้ เป็นการแก้ไขคำพิพากษาโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายและเป็นกระบวนพิจารณาอันเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย เมื่อปรากฏตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยข้ออุทธรณ์ดังกล่าวให้ ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าว ซึ่งเป็นอุทธรณ์ที่มิได้ต้องห้ามตามกฎหมาย คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 186 (6) ประกอบมาตรา 215 ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) และมาตรา 247 ประกอบป.วิ.อ. มาตรา 15
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์นายจ้างรวม 3 กรรมต่างกัน โดยระบุในคำฟ้องข้อ 1 ก.ข้อ 1 ข. และข้อ 1 ค. สำหรับความผิดแต่ละกรรม ดังนี้คือ วันที่ 28 กรกฎาคม2539 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ร่วมกันลักเอากุ้งแช่แข็งจำนวน24 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 7,680 บาท ของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไปโดยทุจริตวันที่ 8 สิงหาคม 2539 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ร่วมกันลักเอากุ้งแช่แข็งจำนวน 10 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 3,250 บาท ของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไปโดยทุจริต และวันที่ 14 สิงหาคม 2539 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1ที่ 4 และที่ 5 ร่วมกันลักเอากุ้งแช่แข็งจำนวน 12 กิโลกรัม ปลาหมึกหอมจำนวน25 กิโลกรัม และเนื้ออกไก่จำนวน 6 กิโลกรัม คิดเป็นเงินรวม 7,882 บาทของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไปโดยทุจริต จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ดังนี้ เท่ากับจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 รับว่าได้กระทำความผิดทั้งสามกรรมดังกล่าวจริง ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ทั้ง 3 กรรม เป็นกระทงความผิดไปได้ ตาม ป.อ.มาตรา 91
จำเลยฎีกา และศาลฎีกาเห็นว่า การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ทั้งสามกรรมตามฟ้อง ทรัพย์ที่จำเลยลักไปมีราคาเป็นเงิน 7,680 บาท 3,250 บาทและ 7,882 บาท ซึ่งล่างทั้งสองพิพากษายืนโดยใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลยเท่ากันทุกกระทงความผิดอันเป็นโทษที่หนักเกินไปและไม่เหมาะสมกับสภาพความร้ายแรงแห่งการกระทำความผิดในแต่ละกรรม ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลย ให้เหมาะสมแก่สภาพความร้ายแรงแห่งการกระทำความผิดแต่ละกระทงตามที่โจทก์บรรยายในคำฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6178/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษจำคุกจากดุลพินิจของศาลชั้นต้น และการพิจารณาโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 76, 78
จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงโทษจำคุกจำเลยที่ได้อ่านคำพิพากษาในครั้งแรกให้จำคุกจำเลยคนละ 2 ปี มาเป็นจำคุกคนละ 6 ปีเพราะเป็นการเพิ่มโทษจำเลยโดยไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ทำได้ เป็นการแก้ไขคำพิพากษาโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายและเป็นกระบวนพิจารณาอันเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย เมื่อปรากฏตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยข้ออุทธรณ์ดังกล่าวให้ ดังนี้การที่ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าว ซึ่งเป็นอุทธรณ์ที่มิได้ต้องห้ามตามกฎหมายคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(6)ประกอบมาตรา 215 ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243(1) และมาตรา 247 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5ในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์นายจ้างรวม 3 กรรมต่างกันโดยระบุในคำฟ้องข้อ 1 ก. ข้อ 1 ข. และข้อ 1 ค.สำหรับความผิดแต่ละกรรม ดังนี้คือ วันที่ 28 กรกฎาคม 2539เวลากลางวัน จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ร่วมกันลักเอากุ้งแช่แข็งจำนวน 24 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 7,680 บาทของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไปโดยทุจริต วันที่ 8 สิงหาคม 2539 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ร่วมกันลักเอากุ้งแช่แข็งจำนวน 10 กิโลกรัม คิดเป็นเงิน 3,250 บาท ของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้าง ไปโดยทุจริต และวันที่ 14 สิงหาคม 2539 เวลากลางวัน จำเลยที่ 1 ที่ 4และที่ 5 ร่วมกันลักเอากุ้งแช่แข็งจำนวน 12 กิโลกรัม ปลาหมึกหอมจำนวน 25 กิโลกรัม และเนื้ออกไก่จำนวน 6 กิโลกรัม คิดเป็นเงินรวม 7,882 บาทของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นนายจ้างไปโดยทุจริต จำเลยที่ 1ที่ 4 และที่ 5 ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ดังนี้เท่ากับจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 รับว่าได้กระทำความผิดทั้งสามกรรมดังกล่าวจริง ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 5 ทั้ง 3 กรรมเป็นกระทงความผิดไปได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จำเลยฎีกา และศาลฎีกาเห็นว่า การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ทั้งสามกรรมตามฟ้อง ทรัพย์ที่จำเลยลักไปมีราคา เป็นเงิน 7,680 บาท 3,250 บาทและ 7,882 บาทซึ่งล่างทั้งสองพิพากษายืนโดยใช้ดุลพินิจลงโทษจำคุกจำเลย เท่ากันทุกกระทงความผิดอันเป็นโทษที่หนักเกินไปและไม่เหมาะสมกับสภาพความร้ายแรงแห่งการกระทำความผิดในแต่ละกรรม ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลย ให้เหมาะสมแก่สภาพความร้ายแรงแห่งการกระทำความผิดแต่ละกระทงตามที่โจทก์บรรยายในคำฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5461/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางบางส่วน กรณีเลิกจ้างและค่าชดเชย เนื่องจากศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงไม่ชัดเจน
จำเลยให้การว่า ค่าจ้างค้างจ่ายตามฟ้องโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด สำนวนจำเลยได้จ่ายให้แล้ว จำเลยจึงไม่ต้อง รับผิดชดใช้เงินจำนวนใด ๆ ให้แก่โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด สำนวน อันแสดงถึงข้อต่อสู้ของจำเลยไว้อย่างชัดแจ้งแล้วว่า เมื่อจำเลยไม่ค้างจ่ายค่าจ้างตามฟ้องโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด สำนวน จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ ร้อยละสิบห้าของเงินค้างชำระทุกระยะเวลา 7 วัน ตามฟ้อง โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด สำนวนด้วย ศาลแรงงานวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยไม่ได้นำสืบว่าจำเลยประสบภาวะซบเซา ทางเศรษฐกิจจริงหรือไม่จากคำแถลงรับ ของโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด กับจำเลยตามรายงานกระบวนพิจารณา ของศาลแรงงานที่ว่า ก่อนที่จำเลยจะไม่จ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด นั้น มีการประชุมระดับผู้บริหารว่าบริษัทจำเลย ขาดสภาพคล่อง จำเป็นต้องลดพนักงานลง ประกอบคำเบิกความ ของพยานจำเลยซึ่งเป็นการวินิจฉัยไปตามข้อต่อสู้และการนำสืบ ของจำเลย รวมตลอดทั้งข้อเท็จจริงตามที่คู่ความแถลงรับกัน โดยถูกต้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัย ที่ขัดต่อกฎหมาย เมื่อโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด จะมีสิทธิได้รับค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าก็ต่อเมื่อโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยโดยถูกจำเลย เลิกจ้างเสียก่อน ในปัญหานี้ศาลแรงงานได้วินิจฉัยไว้ในตอนต้นว่า จำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดอันหมายถึงว่าโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าการที่ต่อมาศาลแรงงานวินิจฉัยว่า จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าโดยไม่ได้ให้การว่าเลิกจ้างหรือไม่ และทางพิจารณาปรากฏว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ 19 คน ส่วนอีก 12 คน ไม่ได้เลิกจ้างโดยมิได้วินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์คนใดบ้าง แต่กลับพิพากษาให้ยกคำขอในส่วนนี้ของโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ดและกำหนดให้สิทธิแก่โจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด ซึ่งรวมทั้งโจทก์ที่ไม่ปรากฏว่าถูกเลิกจ้าง ยังไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากจำเลยได้ ให้กลับมีสิทธิ นำคดีมาฟ้องใหม่ภายในกำหนดอายุความด้วยเช่นนี้ ย่อมเป็นการ วินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ขัดกันเอง ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลย เลิกจ้างโจทก์ทั้งสามสิบเอ็ด คนหรือเลิกจ้างโจทก์คนใดบ้าง ถือได้ว่าศาลแรงงานยังไม่ได้วินิจฉัยตามข้อหาทุกข้อ ขัดต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ประกอบ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานกลางและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 จึงเป็นการมิชอบ ศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาศาลแรงงานในส่วนนี้แล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานวินิจฉัยในประเด็นนี้ใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243(1) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ค่าจ้างเดือนมีนาคม เมษายน และพฤษภาคม 2540 ตามฟ้อง ของโจทก์ที่ 2 และที่ 28 เป็นเงินรวม 24,570 บาท และ 87,540 บาท แต่จำเลยชำระให้แก่โจทก์ที่ 2 และที่ 28 ไปแล้ว 10,200 บาท และ 8,500 บาท จึงยังคงเหลือค่าจ้างค้างจ่าย แก่โจทก์ที่ 2 และที่ 28 เป็นเงิน 14,370 บาท และ 39,040 บาท ตามลำดับ แต่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าจ้างค้างจ่าย แก่โจทก์ที่ 2 และที่ 28 เป็นเงิน 143,370 บาท และ 108,220 บาท จึงเป็นการไม่ถูกต้องและเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย แม้จำเลย ไม่อุทธรณ์ในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาด ดังกล่าวให้ถูกต้องได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
of 30