พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3277/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเช่านาต้องรอคำวินิจฉัย คชก.จังหวัดก่อนตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ
โจทก์เป็นผู้เช่านาตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524โจทก์อ้างว่าจำเลยที่4ได้บอกเลิกการเช่าโดยมิได้ปฎิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายจึงร้องเรียนต่อคชก.ตำบลดอนแฝก หลังจากคชก.ตำบลดอนแฝกมีคำวินิจฉัยแล้วโจทก์อุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อคชก.จังหวัดนครปฐมโจทก์ต้องปฎิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา57คือให้คชก.จังหวัดนครปฐมมีคำวินิจฉัยก่อนหลังจากคชก.จังหวัดนครปฐมแล้วโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยดังกล่าวจึงนำคดีฟ้องร้องต่อศาลได้เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าวโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4355/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนการจดทะเบียนบริษัท: ผู้ถือหุ้นและนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท
ตามคำฟ้องโจทก์ทั้งสองได้อ้างเหตุเพียงว่า การที่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดรับจดทะเบียนการเพิ่มทุน แก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ และเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทจากโจทก์ที่ 1 เป็น ช.แทนตามคำขอจดทะเบียนนั้น เป็นเพราะนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทหลงเชื่อตามรายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ ช.และ ย.ร่วมกันจัดทำขึ้นโดยเป็นความเท็จ ซึ่งความจริงไม่มีการประชุมกันแต่อย่างใด และโจทก์ที่ 1 ก็มิได้ลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัท โจทก์ทั้งสองมิได้อ้างว่าการรับจดทะเบียนดังกล่าวเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่ 1 เพราะเหตุนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายในการจดทะเบียนนั้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด ทั้งการทำรายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทและนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทก็มิได้เป็นผู้จัดทำรายงานการประชุมดังกล่าว แม้รายงานการประชุมนั้นเป็นรายงานเท็จ ผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ก็มิใช่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทโจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยในฐานะนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดดำเนินการเพิกถอนการจดทะเบียนตามคำขอจดทะเบียนดังกล่าวได้ ส่วนโจทก์ที่ 2 เป็นเพียงผู้ถือหุ้นไม่มีอำนาจจัดการ ทำกิจการหรือประกอบกิจการของบริษัท เพราะบริษัทจำกัดกฎหมายให้มีกรรมการจัดการตามข้อบังคับของบริษัทไว้แล้ว กรรมการบริษัทเพียงแต่อยู่ในความครอบงำของที่ประชุมใหญ่แห่งผู้ถือหุ้นทั้งปวง ถ้ากรรมการทำให้เกิดเสียหายแก่บริษัท บริษัทจะฟ้องร้องเรียกเอาสินไหมทดแทนแก่กรรมการได้ ในกรณีที่บริษัทไม่ยอมฟ้องร้องผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดจะเอาคดีนั้นขึ้นว่าก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1169 วรรคแรก ดังนั้น สิทธิของโจทก์ที่ 2 เกี่ยวกับกิจการของบริษัทจำกัดที่ตนถือหุ้นจึงมีอยู่เพียงการฟ้องร้องกรรมการที่ทำให้เกิดเสียหายแก่บริษัทเท่านั้น หามีสิทธิฟ้องบุคคลภายนอกเกี่ยวกับกิจการของบริษัทจำกัดไม่ กรณีที่จำเลยปฏิเสธไม่ยอมเพิกถอนการจดทะเบียนตามคำขอจดทะเบียนดังกล่าวหาได้กระทบกระเทือนถึงสิทธิของโจทก์ที่ 2 ไม่ โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3840/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: สิทธิเสนออนุญาโตตุลาการไม่บังคับ, ราคาประเมินทางราชการใช้ไม่ได้, ราคาซื้อขายจริงใช้ได้
พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2497 มาตรา 24 วรรคแรก เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่คู่กรณีที่จะเสนอตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นชี้ขาดเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน ไม่ใช่บทบังคับว่าจะต้องเสนอตั้งเสมอไป และในวรรคดังกล่าวก็ไม่ได้ระบุว่าถ้าไม่ได้เสนอตั้งอนุญาโตตุลาการแล้วจะฟ้องคดีต่อศาลไม่ได้ ส่วนมาตรา 84 วรรคสอง ก็มีความหมายเพียงว่า หากผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนไม่เสนอตั้งอนุญาโตตุลาการภายในกำหนด 6 เดือน ทั้งไม่ยื่นฟ้องคดีต่อศาลด้วย จึงให้ถือว่าราคาเด็ดขาดที่เจ้าหน้าที่เสนอเป็นเงินค่าทดแทน ไม่ใช่ห้ามฟ้องคดีโดยไม่ได้เสนอตั้งอนุญาโตตุลาการก่อน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ราคาที่ดินตามบัญชีกำหนดราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมไม่ใช่ราคาแท้จริงที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 169 มีผลใช้บังคับ ไม่อาจนำมาใช้กำหนดค่าทดแทนในการเวนคืนที่ดิน แต่จะต้องถือตามราคาซื้อขายที่ดินที่อยู่ใกล้เคียงกับที่ดินพิพาทในเวลาใกล้ชิดกับวันที่ที่ดินพิพาทถูกเวนคืนเป็นราคาที่ซื้อขายกันจริงในท้องตลาดมาใช้กำหนดค่าทดแทนในการเวนคืนที่ดินพิพาท
ที่ดินพิพาทที่ถูกเวนคืนมีเนื้อที่เพียง 4 ไร่ 2 งาน 79 ตารางวาไม่มากเกินไปจนถึงกับจะต้องกำหนดราคาเป็นหน่วย ๆ ลดหลั่นลงไปตามส่วนเช่นที่ทางราชการกำหนดไว้ในแผนผังที่ดินที่ถูกเวนคืน จึงสมควรกำหนดค่าทดแทนราคาที่ดินพิพาทเป็นราคาเดียวกันตลอดทั้งแปลง
ราคาที่ดินตามบัญชีกำหนดราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมไม่ใช่ราคาแท้จริงที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 169 มีผลใช้บังคับ ไม่อาจนำมาใช้กำหนดค่าทดแทนในการเวนคืนที่ดิน แต่จะต้องถือตามราคาซื้อขายที่ดินที่อยู่ใกล้เคียงกับที่ดินพิพาทในเวลาใกล้ชิดกับวันที่ที่ดินพิพาทถูกเวนคืนเป็นราคาที่ซื้อขายกันจริงในท้องตลาดมาใช้กำหนดค่าทดแทนในการเวนคืนที่ดินพิพาท
ที่ดินพิพาทที่ถูกเวนคืนมีเนื้อที่เพียง 4 ไร่ 2 งาน 79 ตารางวาไม่มากเกินไปจนถึงกับจะต้องกำหนดราคาเป็นหน่วย ๆ ลดหลั่นลงไปตามส่วนเช่นที่ทางราชการกำหนดไว้ในแผนผังที่ดินที่ถูกเวนคืน จึงสมควรกำหนดค่าทดแทนราคาที่ดินพิพาทเป็นราคาเดียวกันตลอดทั้งแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3761-3765/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าและการบังคับตามสัญญา แม้เจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่อาจจัดการให้เช่าต่อได้ การฟ้องขับไล่จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
สัญญาเช่าระบุว่า "เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า 12 ปี นับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไป ต้องให้ผู้เช่ามีสิทธิเช่าต่อไปอีก และทำสัญญากับกรมวิสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยตรงต่อไป" ข้อสัญญานี้เป็นคำมั่นที่ผูกพันโจทก์ผู้ให้เช่าฝ่ายเดียวที่จะต้องให้จำเลยผู้เช่ามีสิทธิเช่าต่อไป เมื่อปรากฏว่าก่อนสัญญาเช่าครบกำหนด จำเลยแจ้งความประสงค์ที่จะเช่าต่อ กรณีย่อมบังคับกันได้ตามสัญญา โจทก์ต้องให้จำเลยมีสิทธิเช่าต่อไป แม้ข้อเท็จจริงได้ความว่ากรรมสิทธิในตึกพิพาทเป็นของโจทก์ และโจทก์ไม่อาจจัดการให้จำเลยเช่ากับกรมวิสามัญศึกษาโดยตรงได้ โจทก์ก็คงผูกพันตามสัญญาที่จะต้องให้จำเลยมีสิทธิเช่าตึกพิพาทต่อไปตามเงื่อนไขและข้อสัญญาเดิมโดยไม่มีกำหนดเวลาเช่า เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดโจทก์กลับฟ้องขับไล่จำเลย จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3458/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สภาพบุคคลและอำนาจฟ้อง: สำนักงานที่ไม่มีสภาพนิติบุคคล ไม่อาจเป็นคู่ความได้
ผู้ที่จะเป็นคู่ความในคดีได้ ต้องเป็นบุคคลดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (11) และคำว่า บุคคลนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล สำนักกลางจัดจำหน่ายน้ำตาลทรายขาย เป็นเพียงสำนักที่มีคณะบุคคลเป็นผู้บริหาร จึงมิใช่บุคคลตามกฎหมายไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง การที่จำเลยแจ้งภาษีเงินได้ในนามของโจทก์ หรือการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์รับพิจารณาคำอุทธรณ์ที่อุทธรณ์ในนามของโจทก์ ไม่ทำให้โจทก์ซึ่งไม่มีสภาพเป็นบุคคลตามกฎหมาย กลับกลายเป็นมีสภาพบุคคล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 217/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานในการพิจารณาเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และอายุความฟ้องร้อง
ศาลแรงงานมีอำนาจที่จะมีคำสั่งดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าการที่จำเลยมีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากงานเป็นการเลิกจ้างอันไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง แม้ว่าจะได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นการสอบสวนก่อนตามข้อบังคับแล้วก็ตาม มาตรา 49 มุ่งหมายที่จะให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างนอกเหนือจากที่มีอยู่แล้วตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อกฎหมายมีวัตถุที่ประสงค์ในการให้ความคุ้มครอง ก็ย่อมให้สิทธิที่จะฟ้องขอรับความคุ้มครองอยู่ในตัว
การที่โจทก์ถูกจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์เห็นว่าการเลิกจ้างนั้นไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ก็ย่อมถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามกฎหมายแพ่งแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลย
ฟ้องโจทก์แปลได้ว่า โจทก์กล่าวหาว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ ขอให้ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งตามมาตรา 49 ขณะนี้ ยังไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าอายุคามในกรณีเช่นนี้มีกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
เมื่อจำเลยดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์ในข้อหาว่าโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างลักทรัพย์ของจำเลยผู้เป็นนายจ้างนั้น หากจะฟ้องขอให้บังคับในทางแพ่งด้วย ก็ได้แต่ขอให้คืนทรัพย์สินหรือใช้ราคาทรัพย์ในฐานที่จำเลยถูกโจทก์กระทำละเมิดเท่านั้น ใช่ว่าจะขอให้ศาลบังคับให้โจทก์พ้นจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยได้ไม่ การที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ต้องหาว่าลักทรัพย์ของจำเลยได้หรือไม่นั้น จึงมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลแรงงานไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
การที่โจทก์ถูกจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์เห็นว่าการเลิกจ้างนั้นไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ก็ย่อมถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามกฎหมายแพ่งแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลย
ฟ้องโจทก์แปลได้ว่า โจทก์กล่าวหาว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมต่อโจทก์ ขอให้ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งตามมาตรา 49 ขณะนี้ ยังไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าอายุคามในกรณีเช่นนี้มีกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
เมื่อจำเลยดำเนินคดีอาญาต่อโจทก์ในข้อหาว่าโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างลักทรัพย์ของจำเลยผู้เป็นนายจ้างนั้น หากจะฟ้องขอให้บังคับในทางแพ่งด้วย ก็ได้แต่ขอให้คืนทรัพย์สินหรือใช้ราคาทรัพย์ในฐานที่จำเลยถูกโจทก์กระทำละเมิดเท่านั้น ใช่ว่าจะขอให้ศาลบังคับให้โจทก์พ้นจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยได้ไม่ การที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ต้องหาว่าลักทรัพย์ของจำเลยได้หรือไม่นั้น จึงมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลแรงงานไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 54/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ให้เช่าที่ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์: สัญญาเช่าที่ทำกับผู้จัดการดูแลทรัพย์สินของวัด
การเช่านั้น ผู้ให้เช่าหาจำต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้เช่านั้นไม่ เมื่อจำเลยยินยอมทำสัญญาเช่าที่พิพาทจากโจทก์ โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ในฐานะที่เป็นผู้ให้เช่าตามสัญญาเช่านั้น เมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยทำผิดสัญญาเช่าโจทก์ ผู้ให้เช่าก็ย่อมมีอำนาจที่จะฟ้องจำเลยผู้เช่าได้ในฐานะที่เป็นคู่สัญญากับจำเลย จำเลยจะโด้แย้งอำนาจของผู้ให้เช่าที่ตนยินยอมทำสัญญาด้วยนั้นหาได้ไม่
ที่ธรณีสงฆ์วัดจันทรสโมสรได้มอบให้กรมการศาสนาโจทก์เป็นผู้จัดการดูแลหาผลประโยชน์ให้แก่วัดมานานแล้ว และกรมการศาสนาโจทก์ได้ให้จำเลยเช่าที่นั้นตลอดมา ดังนี้จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาเช่ากับกรมการศาสนาโจทก์โดยตรง จะเถียงสิทธิของกรมการศาสนาโจทก์ในเรื่องอำนาจฟ้องหาได้ไม่
ที่ธรณีสงฆ์วัดจันทรสโมสรได้มอบให้กรมการศาสนาโจทก์เป็นผู้จัดการดูแลหาผลประโยชน์ให้แก่วัดมานานแล้ว และกรมการศาสนาโจทก์ได้ให้จำเลยเช่าที่นั้นตลอดมา ดังนี้จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาเช่ากับกรมการศาสนาโจทก์โดยตรง จะเถียงสิทธิของกรมการศาสนาโจทก์ในเรื่องอำนาจฟ้องหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อจำเลยเลิกกิจการก่อนบังคับคดี: สัญญาค้ำประกันสิ้นผล
จำเลยเป็นสาขาของบริษัทจำกัดซึ่งอยู่ในต่างประเทศ ทนายของจำเลยยื่นอุทธรณ์ ในระหว่างอุทธรณ์จำเลยเลิกกิจการแต่ไม่มีผู้ใดคัดค้านให้ศาลอุทธรณ์ทราบต่อมาศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาเช่นนี้ถือว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์นั้นใช้บังคับได้ คดีหาได้ถึงที่สุดไปในวันที่จำเลยเลิกกิจการไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลบังคับใช้คำพิพากษาเมื่อจำเลยเลิกกิจการ: สัญญาค้ำประกันสิ้นสุดก่อนการบังคับคดี
จำเลยเป็นสาขาของบริษัทจำกัดซึ่งอยู่ในต่างประเทศ ทนายของจำเลยยื่นอุทธรณ์ ในระหว่างอุทธรณ์จำเลยเลิกกิจการแต่ไม่มีผู้ใดคัดค้านให้ศาลอุทธรณ์ทราบต่อมาศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษา เช่นนี้ถือว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์นั้นใช้บังคับได้คดีหาได้ถึงที่สุดไปในวันที่จำเลยเลิกกิจการไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1371-1372/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสามารถในการฟ้องคดีของผู้เยาว์และการแก้ไขความบกพร่องของคู่ความโดยศาล
ผู้เสียหายและอัยการต่างเป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยหาว่าพยายามฆ่าผู้เสียหายขอให้ลงโทษ คนละสำนวน ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษารวมกันมา โดยพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้อง จำเลยอุทธรณ์แม้จะปรากฎในชั้นอุทธรณ์ว่า ขณะฟ้องผู้เสียหายยังเป็นผู้เยาว์อายุ 19 ปี ไม่มีสิทธิที่จะดำเนินคดีได้โดยลำพังตนเองก็ดี ศาลย่อมให้โอาศแก่คู่ความฝ่ายที่บกพร่องในความสามารถแก้ไขความบกพร่องนั้น หรือศาลช่วยแก้ไขให้เสียเองก็ได้ แต่เมื่อไม่มีการแก้ไข และระยะเวลาล่วงเลยมาถึงขณะที่ศาลอุทธรณ์ฎีกากำลังพิจารณาคดีอยู่ ผู้เสียหายได้เป็นผู้ใหญ่และบรรลุนิติภาวะแล้ว ปัญหาเรื่องบกพร่องในความสามารถของผู้เสียหายโจทก์จึงหมดสิ้นไปและอัยการก็ได้เป็นโจทก์ฟ้องอยู่ด้วยสำนวนหนึ่ง ศาลก็ได้พิจารณาอยู่แล้วดังนี้ ศาลไม่ชอบที่จะยกฟ้องสำนวนที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์เพราะเหตุดังกล่าว