คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 163

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 145 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเช็ค: การฟ้องคดีแรกแล้วยกฟ้อง ไม่ทำให้ระยะเวลาอายุความสะดุดหยุดลง
แม้โจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยเรียกเงินตามเช็คในคดีก่อนภายในอายุความก็ตาม แต่เมื่อศาลพิพากษายกฟ้อง ย่อมถือไม่ได้ว่าการฟ้องคดีดังกล่าวเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6471/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การประเมินราคาที่ดินตามราคาตลาด และอายุความฟ้องร้องเรียกค่าทดแทน
ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 76 ให้กำหนดค่าทดแทนเท่าราคาของทรัพย์สินตามธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พ.ร.ฎ. ใช้บังคับและการเรียกค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืน โจทก์มีหน้าที่จะต้องหาพยานมาสนับสนุนข้ออ้างของโจทก์ให้มีน้ำหนักรับฟังได้ว่าเป็นราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาด ไม่ใช่หน้าที่ของจำเลย โจทก์ได้รับค่าทดแทนที่ดินโฉนดเลขที่ 54330 เมื่อวันที่ 21มีนาคม 2528 ส่วนที่ดินอีก 4 แปลง ได้รับค่าทดแทนปี 2527โจทก์ฟ้องคดีนี้ เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2529 ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับค่าทดแทนที่ดินแปลงโฉนดเลขที่ 54330 ไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันได้รับเงินค่าทดแทน ยังไม่ขาดอายุความ ส่วนที่เกี่ยวกับค่าทดแทนที่ดินอีก 4 แปลงที่เหลือ ฟ้องเกิน 1 ปี นับแต่วันได้รับเงินค่าทดแทน จึงขาดอายุความตามข้อ 67.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2534 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนอง, เช่าซื้อ, ผู้ชำระบัญชี, อายุความ, ดอกเบี้ยผิดนัด: หลักเกณฑ์และขอบเขต
คำฟ้องที่บรรยายว่าจำเลยจำนองที่ดินไว้กับโจทก์เพื่อประกัน ส. และ ว. ซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ กำหนดไถ่ถอนภายใน 18 เดือน พ้นกำหนดแล้วจำเลยไม่ชำระหนี้ ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินต้นและดอกเบี้ย เป็นคำฟ้องที่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ส่วนหนี้ของ ส. และ ว.เป็นหนี้อะไร เป็นรายละเอียดที่นำสืบได้ในชั้นพิจารณา ไม่ต้องบรรยายมาในฟ้องโจทก์ฟ้องบังคับตามสัญญาจำนอง มิได้ฟ้องบังคับตามสัญญาเช่าซื้อ จำเลยก็รับว่าเป็นหนี้เกิดจากสัญญาเช่าซื้อ โจทก์จึงไม่ต้องแนบสัญญาเช่าซื้อมาท้ายฟ้อง ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
ป.พ.พ. ไม่มีบทบัญญัติว่า ผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจะต้องชำระบัญชีให้เสร็จภายในกำหนดเวลาใด ดังนั้น ตราบใดที่การชำระบัญชียังไม่เสร็จ ผู้ชำระบัญชีย่อมมีอำนาจตามป.พ.พ. มาตรา 1259 ซึ่งรวมทั้งอำนาจว่าต่างในนามห้าง ฯ นั้นในอรรถคดีด้วย
ระยะเวลาการชำระบัญชีไม่ใช่อายุความ จะนำบทบัญญัติเรื่องอายุความมาใช้บังคับไม่ได้
สัญญาจำนองระบุไม่คิดดอกเบี้ยแก่กัน แต่เมื่อหนี้ถึงกำหนดและโจทก์มีหนังสือทวงถามและให้ไถ่ถอนจำนองแล้ว จำเลยไม่ชำระ จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องบังคับจำนอง: ความชัดเจนของฟ้อง และอำนาจของผู้ชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยจำนองที่ดินไว้กับโจทก์เพื่อประกันส.และว. ซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ กำหนดไถ่ถอนภายใน 18 เดือนปรากฏตามสำเนาภาพถ่ายหนังสือสัญญาจำนองท้ายฟ้อง พ้นกำหนดแล้วจำเลยไม่ชำระหนี้ โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้และบังคับจำนองแล้ว จำเลยไม่ชำระ ขอให้บังคับจำเลยชำระต้นเงินและดอกเบี้ยให้โจทก์ คำฟ้องดังกล่าวแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้วส่วนหนี้ของ ส.และว. เป็นหนี้อะไรนั้นเป็นรายละเอียดซึ่งโจทก์นำสืบในชั้นพิจารณาได้ ไม่ต้องบรรยายมาในฟ้อง โจทก์ฟ้องบังคับตามสัญญาจำนองมิได้ฟ้องบังคับตามสัญญาเช่าซื้อ โจทก์ไม่จำต้องแนบสัญญาเช่าซื้อมาท้ายฟ้อง ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้มีบทบัญญัติว่าผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจะต้องชำระบัญชีให้เสร็จภายในกำหนดเวลาใด ดังนั้นตราบใดที่การชำระบัญชียังไม่เสร็จ ผู้ชำระบัญชีย่อมมีอำนาจตามมาตรา 1259 ซึ่งรวมทั้งอำนาจว่าต่างในนามห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นในอรรถคดีด้วย และระยะเวลาการชำระบัญชีไม่ใช่อายุความ จึงนำบทบัญญัติเรื่องอายุความมาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องบังคับจำนองไม่เคลือบคลุม, อำนาจผู้ชำระบัญชี, ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้
คำฟ้องที่บรรยายว่าจำเลยจำนองที่ดินไว้กับโจทก์เพื่อประกันส.และว. ซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ กำหนดไถ่ถอนภายใน 18 เดือนพ้นกำหนดแล้วจำเลยไม่ชำระหนี้ ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินต้นและดอกเบี้ย เป็นคำฟ้องที่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ส่วนหนี้ของส.และว.เป็นหนี้อะไร เป็นรายละเอียดที่นำสืบได้ในชั้นพิจารณา ไม่ต้องบรรยายมาในฟ้องโจทก์ฟ้องบังคับตามสัญญาจำนอง มิได้ฟ้องบังคับตามสัญญาเช่าซื้อ จำเลยก็รับว่าเป็นหนี้เกิดจากสัญญาเช่าซื้อ โจทก์จึงไม่ต้องแนบสัญญาเช่าซื้อมาท้ายฟ้องฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม ป.พ.พ. ไม่มีบทบัญญัติว่า ผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจะต้องชำระบัญชีให้เสร็จภายในกำหนดเวลาใด ดังนั้น ตราบใดที่การชำระบัญชียังไม่เสร็จ ผู้ชำระบัญชีย่อมมีอำนาจตาม ป.พ.พ. มาตรา 1259ซึ่งรวมทั้งอำนาจว่าต่างในนามห้าง ๆ นั้นในอรรถคดีด้วย ระยะเวลาการชำระบัญชีไม่ใช่อายุความ จะนำบทบัญญัติเรื่องอายุความมาใช้บังคับไม่ได้ สัญญาจำนองระบุไม่คิดดอกเบี้ย แก่กัน แต่เมื่อหนี้ถึงกำหนดและโจทก์มีหนังสือทวงถามและให้ไถ่ถอนจำนองแล้ว จำเลยไม่ชำระจำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา224 วรรคหนึ่ง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2932/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิสัญชาติ: การโต้แย้งสิทธิในสัญชาติจากทะเบียนบ้านญวนอพยพไม่ขาดอายุความ
โจทก์ทั้งห้ามีสัญชาติไทย แต่ปรากฏว่ามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านญวนอพยพที่แสดงว่าเป็นคนสัญชาติญวน และการจัดทำทะเบียนบ้านญวนอพยพอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานกิจการญวนอพยพ เมื่อจำเลยที่ 1 มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าสำนักงานและเป็นนายทะเบียนบ้านญวนอพยพการที่โจทก์ทั้งห้าได้แจ้งให้จำเลยที่ 1 ถอนชื่อโจทก์ทั้งห้าออกจากทะเบียนบ้านญวนอพยพดังกล่าว แต่จำเลยที่ 1 เพิกเฉยอ้างว่ากระทำการตามหน้าที่และคำสั่งของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งจำเลยที่ 2เป็นผู้รักษาการ เช่นนี้ย่อมถือได้ว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิในเรื่องสัญชาติของโจทก์ทั้งห้าแล้ว โจทก์ทั้งห้าจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้ ตราบใดที่ยังมิได้มีการถอนชื่อโจทก์ทั้งห้าออกจากทะเบียนบ้านญวนอพยพให้ถูกต้องก็ต้องถือว่าโจทก์ทั้งห้าถูกโต้แย้งสิทธิในเรื่องสัญชาติอยู่ตลอดเวลา ฟ้องโจทก์ทั้งห้า จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการอ้างอายุความเพื่อยกคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
พระราชบัญญัติ ญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22(3) ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องร้องและต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ การที่เจ้าหนี้นำหนี้ที่ขาดอายุความแล้วมายื่นขอรับชำระหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งมีอำนาจฟ้องร้องและต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ย่อมมีอำนาจที่จะอ้างเอาอายุความมาเป็นมูลยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ได้ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจอ้างอายุความเพื่อยกคำขอรับชำระหนี้ได้
พระราชบัญญัติ ญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22(3) ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องร้องและต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ การที่เจ้าหนี้นำหนี้ที่ขาดอายุความแล้วมายื่นขอรับชำระหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งมีอำนาจฟ้องร้องและต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ย่อมมีอำนาจที่จะอ้างเอาอายุความมาเป็นมูลยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ได้ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3352/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเครื่องหมายการค้าผ่านสัญญาสัมปทานและผลของการโอนสิทธิไปยังโจทก์ ทำให้โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ จำเลยมิได้อุทธรณ์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจะฎีกาปัญหาเรื่องอายุความอีกไม่ได้ แต่ปัญหาว่าฟ้องโจทก์ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 29 หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยเป็นการฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้ามิใช่การฟ้องเพื่อป้องกันหรือเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 29 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
เดิมห้างหุ้นส่วนจำกัดมิตรชัย ซึ่งมีจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตนำเข้าและสั่งยาแผนปัจจุบันเข้ามาในราชอาณาจักรและได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนปัจจุบันชื่อ HORVIRAL M (ฮอร์วีราล เอ็ม)ต่อมาโจทก์จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด มี บ. เป็นกรรมการ จำเลยร่วมลงทุนด้วยโดยทำสัญญากับ บ. ตกลงโอนสิทธิบัตรหรือทะเบียนยาที่จดทะเบียนรวมทั้งตำรับยาชื่อ HORVIRAL M ให้แก่โจทก์โดยจำเลยได้รับค่าตอบแทนการโอนดังกล่าวแล้ว ข้อตกลงนี้เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก เมื่อต่อมาโจทก์ได้รับโอนกิจการต่าง ๆ ไปจากห้างหุ้นส่วนจำกัดมิตรชัยและดำเนินการต่าง ๆ ตามข้อตกลงอันเป็นการแสดงเจตนาเข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญาแล้ว สิทธิของโจทก์ก็เกิดขึ้น โจทก์จึงได้ไปซึ่งสิทธิในเครื่องหมายการค้าตำรับยาชื่อ HORVIRAL M และมีสิทธิดีกว่าจำเลย เมื่อจำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปจดทะเบียน โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3352/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าจากสัญญาซื้อขายกิจการ สิทธิในเครื่องหมายการค้าตกเป็นของผู้รับโอน
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีของโจทก์ไม่ขาดอายุความ จำเลยมิได้อุทธรณ์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจะฎีกาปัญหาเรื่องอายุความอีกไม่ได้ แต่ปัญหาว่าฟ้องโจทก์ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 29 หรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยเป็นการฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้ามิใช่การฟ้องเพื่อป้องกันหรือเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 29 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
เดิมห้างหุ้นส่วนจำกัดมิตรชัย ซึ่งมีจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตนำเข้าและสั่งยาแผนปัจจุบันเข้ามาในราชอาณาจักรและได้รับใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนปัจจุบันชื่อ HORVIRALM(ฮอร์วีราลเอ็ม)ต่อมาโจทก์จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด มี บ. เป็นกรรมการ จำเลยร่วมลงทุนด้วยโดยทำสัญญากับ บ. ตกลงโอนสิทธิบัตรหรือทะเบียนยาที่จดทะเบียนรวมทั้งตำรับยาชื่อ HORVIRALM ให้แก่โจทก์โดยจำเลยได้รับค่าตอบแทนการโอนดังกล่าวแล้ว ข้อตกลงนี้เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก เมื่อต่อมาโจทก์ได้รับโอนกิจการต่าง ๆ ไปจากห้างหุ้นส่วนจำกัดมิตรชัยและดำเนินการต่าง ๆ ตามข้อตกลงอันเป็นการแสดงเจตนาเข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญาแล้ว สิทธิของโจทก์ก็เกิดขึ้น โจทก์จึงได้ไปซึ่งสิทธิในเครื่องหมายการค้าตำรับยาชื่อ HORVIRALM และมีสิทธิดีกว่าจำเลย เมื่อจำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปจดทะเบียน โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนได้.
of 15