พบผลลัพธ์ทั้งหมด 145 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2595/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความตั๋วสัญญาใช้เงินในคดีล้มละลาย: ศาลหยิบยกอายุความได้แม้ลูกหนี้ไม่ยก
อายุความฟ้องผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินมีกำหนด 3 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1001 และการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายนั้น อายุความการขอรับชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินจะเริ่มนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ลูกหนี้จะต้องชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นเป็นต้นไปจนถึงวันที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ เมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อพ้นกำหนดเวลา 3 ปี แล้วคดีจึงขาดอายุความ
กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายในชั้นยื่นคำขอรับชำระหนี้ลูกหนี้ไม่จำต้องให้การต่อสู้คดีเช่นคดีแพ่งสามัญ ทั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพ์ได้เสนอความเห็นต่อศาลว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความแล้วแม้ลูกหนี้ไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลก็มีอำนาจหยิบยกอายุความขึ้นอ้างเพื่อยกคำขอรับชำระหนี้ได้.
กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายในชั้นยื่นคำขอรับชำระหนี้ลูกหนี้ไม่จำต้องให้การต่อสู้คดีเช่นคดีแพ่งสามัญ ทั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพ์ได้เสนอความเห็นต่อศาลว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความแล้วแม้ลูกหนี้ไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลก็มีอำนาจหยิบยกอายุความขึ้นอ้างเพื่อยกคำขอรับชำระหนี้ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2228-2229/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยโดยการเกิดและการเพิกถอนสัญชาติกรณีบิดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสและเป็นชาวต่างชาติ ฟ้องไม่ขาดอายุความ
โจทก์เกิดในราชอาณาจักรไทย เป็นบุตรของนาย ม. คนสัญชาติญวนกับนาง บ. คนสัญชาติไทย นาย ม. กับนาง บ. ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน โจทก์ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(3) กรณีจะถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 จะต้องปรากฏว่าบิดาของผู้ถูกถอนสัญชาติไทยเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อนาย ม.มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ จึงนำประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวมาปรับกับกรณีของโจทก์ไม่ได้
การที่บุคคลใดจะมีสัญชาติไทยหรือไม่ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย แต่การจดแจ้งว่าบุคคลใดมีสัญชาติไทยนั้น เป็นวิธีการทางทะเบียนที่ทางฝ่ายปกครองจัดทำขึ้นเมื่อโจทก์มีสัญชาติไทยอยู่แล้ว แต่กลับถูกจดแจ้งทางทะเบียนว่ามีสัญชาติอื่น ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิว่าไม่ได้เป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยตลอดมาฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.
การที่บุคคลใดจะมีสัญชาติไทยหรือไม่ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย แต่การจดแจ้งว่าบุคคลใดมีสัญชาติไทยนั้น เป็นวิธีการทางทะเบียนที่ทางฝ่ายปกครองจัดทำขึ้นเมื่อโจทก์มีสัญชาติไทยอยู่แล้ว แต่กลับถูกจดแจ้งทางทะเบียนว่ามีสัญชาติอื่น ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิว่าไม่ได้เป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยตลอดมาฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2228-2229/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยโดยการเกิดและการโต้แย้งสิทธิในทะเบียนบ้าน รวมถึงอายุความฟ้องคดีเกี่ยวกับสัญชาติ
โจทก์เกิดในราชอาณาจักรไทย เป็นบุตรของนาย ม. คนสัญชาติญวนกับนาง บ. คนสัญชาติไทย นาย ม. กับนาง บ. ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน โจทก์ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (3) กรณีจะถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 จะต้องปรากฏว่าบิดาของผู้ถูกถอนสัญชาติไทยเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อนาย ม.มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ จึงนำประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวมาปรับกับกรณีของโจทก์ไม่ได้
การที่บุคคลใดจะมีสัญชาติไทยหรือไม่ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย แต่การจดแจ้งว่าบุคคลใดมีสัญชาติไทยนั้น เป็นวิธีการทางทะเบียนที่ทางฝ่ายปกครองจัดทำขึ้น เมื่อโจทก์มีสัญชาติไทยอยู่แล้ว แต่กลับถูกจดแจ้งทางทะเบียนว่ามีสัญชาติอื่น ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิว่าไม่ได้เป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยตลอดมา ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
การที่บุคคลใดจะมีสัญชาติไทยหรือไม่ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย แต่การจดแจ้งว่าบุคคลใดมีสัญชาติไทยนั้น เป็นวิธีการทางทะเบียนที่ทางฝ่ายปกครองจัดทำขึ้น เมื่อโจทก์มีสัญชาติไทยอยู่แล้ว แต่กลับถูกจดแจ้งทางทะเบียนว่ามีสัญชาติอื่น ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิว่าไม่ได้เป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยตลอดมา ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมโดยไม่ยินยอมคู่สมรส: สิทธิในการฟ้องเพิกถอน
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมซึ่งคู่สมรสฝ่ายหนึ่งกระทำลงโดยไม่ได้รับความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งย่อมไม่สมบูรณ์ไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์และสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายในฐานะผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรมแต่อย่างใด การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรม ซึ่ง อ. ได้กระทำลงโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นคู่สมรส จึงเป็นการฟ้องขอให้แสดงว่าฐานะของ อ. และจำเลยมิได้มีการเปลี่ยนแปลงเพราะการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมซึ่งไม่สมบูรณ์ดังกล่าว หาใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องเพื่อเพิกถอนฐานะความเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรมไม่กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของบทบัญญัติว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 163 และมาตรา 164 และเมื่อไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายกำหนดระยะเวลาที่โจทก์อาจฟ้องคดีเช่นว่านี้ได้แล้วโจทก์ผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องคดีดังกล่าวได้เสมอ.(วินิจฉัยโดยประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2531)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 344/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส: คดีไม่ขาดอายุความ
การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมซึ่งคู่สมรสฝ่ายหนึ่งกระทำลงโดยไม่ได้รับความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งย่อมไม่สมบูรณ์ไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์และสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายในฐานะผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรมแต่อย่างใด การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนรับจำเลยเป็นบุตรบุญธรรม ซึ่ง อ. ได้กระทำลงโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นคู่สมรส จึงเป็นการฟ้องขอให้แสดงว่าฐานะของ อ. และจำเลยมิได้มีการเปลี่ยนแปลงเพราะการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมซึ่งไม่สมบูรณ์ดังกล่าว หาใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องเพื่อเพิกถอนฐานะความเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรมไม่ กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของบทบัญญัติว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 163 และมาตรา 164และเมื่อไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายกำหนดระยะเวลาที่โจทก์อาจฟ้องคดีเช่นว่านี้ได้แล้ว โจทก์ผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องคดีดังกล่าวได้เสมอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3244/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การต่อสู้เรื่องอายุความที่ไม่ชัดเจนไม่ก่อให้เกิดประเด็น ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกประเด็น
คำให้การของจำเลยที่ต่อสู้ในเรื่องอายุความว่า คดีของโจทก์ขาดอายุความแล้ว โจทก์สิ้นสิทธิที่จะดำเนินคดีนี้กับจำเลยโดยจำเลยมิได้แสดงไว้ชัดแจ้งว่า คดีขาดอายุความเรื่องอะไรและเพราะเหตุใดนั้น เป็นคำให้การที่ไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรค 2ไม่ก่อให้เกิดประเด็นในคดี ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าสิทธิฟ้องเรียกเงินคืนของโจทก์ขาดอายุความแล้วจึงเป็นการนอกประเด็น ปัญหานี้แม้โจทก์มิได้ยกขึ้นอ้างอิงในฎีกาแต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2874/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำผิดวินัยร้ายแรง กรณีเปิดเผยข้อมูลลับทางการเงินของลูกค้าธนาคาร
จำเลยเป็นธนาคารพาณิชย์ ดำเนินธุรกิจการค้าด้าน การเงินดังนั้น บัญชีเงินฝากหรือฐานะการเงินของลูกค้าต้องถือว่าเป็นเรื่องสำคัญไม่พึงเปิดเผยต่อบุคคลภายนอกและต้องถือว่าเป็นความลับ การที่โจทก์เปิดเผยบัญชีเงินฝากของลูกค้าหรือฐานะการเงินของลูกค้า ย่อมทำให้ลูกค้าของจำเลยสิ้นความไว้วางใจจำเลย มีผลกระทบกระเทือนต่อการดำเนินธุรกิจการค้าของจำเลย เป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามข้อบังคับการทำงานของจำเลย ดังนั้น จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) โจทก์กระทำผิดวินัย แม้จะเกินกว่าหนึ่งปี จำเลยก็มีอำนาจพิจารณาลงโทษโจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 242/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารเกินร้อยละสี่สิบของพื้นที่ และอำนาจฟ้องของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
อาคารของจำเลยมีพื้นที่ทั้งหมดของห้องที่มีชั้นลอย 48 ตารางเมตรมีชั้นลอยพื้นที่ 16 ตารางเมตรอยู่แล้ว จำเลยก่อสร้างเพิ่มเติมชั้นลอยอีกเท่าหนึ่งรวมเป็นเนื้อที่ 32 ตารางเมตร จึงเกินร้อยละสี่สิบของพื้นที่ทั้งหมดของห้องนั้นตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 35 แล้ว
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รื้อถอนอาคารที่ดัดแปลงต่อเติมฝ่าฝืนต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครได้
การที่จำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารภายในระยะเวลาที่กำหนด มิใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ใด จำเลยจึงจะอ้างอายุความ 1 ปี ในเรื่องละเมิดมาใช้ในกรณีเจ้าพนักงานท้องถิ่นฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารหาได้ไม่
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รื้อถอนอาคารที่ดัดแปลงต่อเติมฝ่าฝืนต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครได้
การที่จำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารภายในระยะเวลาที่กำหนด มิใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ใด จำเลยจึงจะอ้างอายุความ 1 ปี ในเรื่องละเมิดมาใช้ในกรณีเจ้าพนักงานท้องถิ่นฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 242/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารเกินร้อยละที่กฎหมายกำหนด และอำนาจฟ้องของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
อาคารของจำเลยมีพื้นที่ทั้งหมดของห้องที่มีชั้นลอย 48ตารางเมตรมีชั้นลอยพื้นที่ 16 ตารางเมตรอยู่แล้ว จำเลยก่อสร้างเพิ่มเติมชั้นลอยอีกเท่าหนึ่งรวมเป็นเนื้อที่ 32 ตารางเมตรจึงเกินร้อยละสี่สิบของพื้นที่ทั้งหมดของห้องนั้นตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ35 แล้ว
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 4แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รื้อถอนอาคารที่ดัดแปลงต่อเติมฝ่าฝืนต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครได้
การที่จำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารภายในระยะเวลาที่กำหนด มิใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ใด จำเลยจึงจะอ้างอายุความ 1 ปี ในเรื่องละเมิดมาใช้ในกรณีเจ้าพนักงานท้องถิ่นฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารหาได้ไม่.
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 4แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รื้อถอนอาคารที่ดัดแปลงต่อเติมฝ่าฝืนต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครได้
การที่จำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารภายในระยะเวลาที่กำหนด มิใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ใด จำเลยจึงจะอ้างอายุความ 1 ปี ในเรื่องละเมิดมาใช้ในกรณีเจ้าพนักงานท้องถิ่นฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2470/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ภาษีป้ายต้องยื่นภายใน 30 วันนับจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน การแจ้งให้ชำระภาษีไม่ใช่การแจ้งการประเมิน
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายแต่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1ตรวจสอบแล้วเห็นว่าไม่ถูกต้องจึงทำการประเมินใหม่แล้วแจ้งไปยังโจทก์ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีป้ายลงวันที่1มีนาคม2526โจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่3เดือนเดียวกันแต่มิได้อุทธรณ์กลับโต้แย้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่1จำเลยที่1มีหนังสือหารือผู้ว่าราชการจังหวัดจำเลยที่3จำเลยที่3ตอบมายังจำเลยที่1ว่าจำเลยที่1คำนวณภาษีป้ายถูกต้องแล้วต่อมาวันที่24พฤษภาคม2526จำเลยที่1มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบผลการหารือจำเลยที่3กับให้โจทก์นำค่าภาษีป้ายพร้อมเงินเพิ่มไปชำระภายใน7วันนับแต่วันรับหนังสือครั้นวันที่1มิถุนายน2526โจทก์จึงอุทธรณ์การประเมินภาษีป้ายต่อผู้ว่าราชการจังหวัดจำเลยที่3ดังนี้หนังสือลงวันที่24พฤษภาคม2526เป็นการแจ้งให้โจทก์นำภาษีป้ายพร้อมเงินเพิ่มตามที่ได้แจ้งการประเมินไว้แล้วตามหนังสือของจำเลยที่1ลงวันที่1มีนาคม2526ไปชำระแก่จำเลยที่1เท่านั้นหาใช่หนังสือแจ้งการประเมินไม่อุทธรณ์ของโจทก์จึงยื่นเกินกว่า30วันนับแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งการประเมินการที่จำเลยที่1มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์จึงชอบแล้ว เมื่อหนังสือฉบับลงวันที่24พฤษภาคม2526มิใช่การแจ้งการประเมินย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ได้ทำการอื่นใดเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดีตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา173ทั้งกำหนดเวลาอุทธรณ์การประเมินก็มิใช่อายุความจะนำบทบัญญัติเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาปรับหาได้ไม่.