คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 163

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 145 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 282/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนก่อให้เกิดความสับสนและความเสียหายต่อเจ้าของเครื่องหมายการค้าเดิม
เครื่องหมายการค้าคำว่า 'COLGATE' 'GARDOL' และ'GARDENT'ของโจทก์ กับเครื่องหมายการค้าคำว่า 'COLDENT' ของจำเลยต่างขอจดทะเบียนในประเภทเครื่องหมายคำ โดยใช้ตัวอักษรโรมันธรรมดาการใช้อักษรตลอดจนการออกสำเนียงในการอ่านคล้ายคลึงกันคำในพยางค์หน้าของเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีคำว่า'COL'เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าคำว่า 'COLGATE' ของโจทก์และคำในพยางค์ท้ายมีคำว่า 'DENT' เช่นเดียวกับคำในพยางค์ท้ายของเครื่องหมายการค้าคำว่า 'GARDENT' ของโจทก์ เครื่องหมายการค้าของจำเลยส่อให้เห็นถึงการจงใจเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์แม้จะเป็นการจดทะเบียนในประเภทเครื่องหมายคำสำหรับสินค้าจำพวก 48ทั้งจำพวก ก็อาจทำให้ผู้ซื้อสินค้าเกิดความสับสนหรือหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยคือเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ผู้ซื้อที่ไม่ทันสังเกต หรือเป็นผู้ที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษหรือรู้เพียงเล็กน้อย จึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนตามนัยแห่งมาตรา 16พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3)พ.ศ.2504 มาตรา 4
จำเลยผลิตและจำหน่ายยาสีฟันซึ่งบรรจุอยู่ในกล่องสลากพื้นสีแดง ประกอบอักษรโรมันขนาดใหญ่สีขาวคำว่า 'COLDENT'และอักษรโรมันขนาดย่อมคำว่า 'ANTI-ENZYME TOOTH PASTEซึ่งมีรูปลักษณะของกล่อง การวางตัวอักษร ลักษณะของตัวอักษรสีของกล่อง และสีตัวอักษร คล้ายกับสลากกล่องเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ตามหนังสือคู่มือรับจดทะเบียน การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และ 421
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับค่าเสียหายไว้ว่า โจทก์ได้รับความเสียหายคือทำให้ชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์เสื่อมความนิยม โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการจำหน่ายสินค้าลงไปบ้างเป็นเงิน 20,000 บาท เป็นฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว หาเคลือบคลุมไม่
จำเลยผลิตยาสีฟัน 'COLDENT' ออกจำหน่ายตลอดมาจนปัจจุบันแม้จำเลยจะเริ่มผลิตมาตั้ง 10 ปีแล้ว การละเมิดสิทธิของโจทก์ที่จำเลยกระทำก็คงมีอยู่ตลอดเรื่อยไปทั้งโจทก์ยังได้นำคดีมาฟ้องจำเลยภายใน 90 วัน นับแต่วันได้รับทราบคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า คดีของโจทก์จึงหาขาดอายุความไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2091/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค้ำประกัน: เจ้าหนี้ฟ้องช้าหลังลูกหนี้เสียชีวิต ผู้ค้ำประกันยกอายุความได้
เจ้าหนี้โจทก์ฟ้องผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้หลังจากเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการตายของลูกหนี้เกิน 1 ปีแล้ว ฟ้องของโจทก์ขาดอายุความ ผู้ค้ำประกันย่อมยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754(3) ประกอบมาตรา 694 ขึ้นต่อสู้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2091/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความผู้ค้ำประกัน: ฟ้องเกิน 1 ปีหลังทราบการตายลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันยกอายุความได้
เจ้าหนี้โจทก์ฟ้องผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้หลังจากเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการตายของลูกหนี้เกิน 1 ปีแล้ว ฟ้องของโจทก์ขาดอายุความผู้ค้ำประกันย่อมยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754(3) ประกอบมาตรา 694 ขึ้นต่อสู้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความและการยอมรับสภาพหนี้
จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่า ให้โจทก์มีสิทธิเก็บกินในที่ดินของจำเลย ย่อมเป็นการทำนิติกรรมที่ก่อให้เกิดบุคคลสิทธิแก่โจทก์ในอันที่จะเรียกร้องให้จำเลยไปจดทะเบียนสิทธิเก็บกินให้เป็นทรัพย์สิทธิอันบริบูรณ์ตามกฎหมายได้ตราบเท่าที่จำเลยยังมิได้โอนที่ดินให้แก่บุคคลอื่น และสิทธิเรียกร้องอันตั้งหลักฐานขึ้นโดยประนีประนอมยอมความเช่นนี้ มีกำหนดอายุความ 10 ปี
ตั้งแต่วันทำสัญญาดังกล่าว จำเลยยอมให้โจทก์เข้าใช้สิทธิเก็บกินตลอดมา ดังนี้ย่อมถือว่าจำเลยได้ทำการอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ อายุความฟ้องร้องของโจทก์จึงยังไม่เริ่มนับ
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2514)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และผลของการยอมให้ใช้สิทธิโดยปริยาย
จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่า ให้โจทก์มีสิทธิเก็บกินในที่ดินของจำเลย ย่อมเป็นการทำนิติกรรมที่ก่อให้เกิดบุคคลสิทธิแก่โจทก์ในอันที่จะเรียกร้องให้จำเลยไปจดทะเบียนสิทธิเก็บกินให้เป็นทรัพย์สิทธิอันบริบูรณ์ตามกฎหมายได้ตราบเท่าที่จำเลยยังมิได้โอนที่ดินให้แก่บุคคลอื่น และสิทธิเรียกร้องอันตั้งหลักฐานขึ้นโดยประนีประนอมยอมความเช่นนี้ มีกำหนดอายุความ 10 ปี
ตั้งแต่วันทำสัญญาดังกล่าว จำเลยยอมให้โจทก์เข้าใช้สิทธิเก็บกินตลอดมา ดังนี้ย่อมถือว่าจำเลยได้ทำการอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ อายุความฟ้องร้องของโจทก์จึงยังไม่เริ่มนับ
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2514)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 907/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ: แม้มีการให้เช่า/ขายทรัพย์สิน ห้างหุ้นส่วนยังไม่เลิกจนกว่าจะตกลงเลิกกัน
โจทก์จำเลยกับพี่น้องทำสัญญาหุ้นส่วนโรงสีได้ดำเนินกิจการเรื่อยมาโดยจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จนถึง พ.ศ. 2498 หรือ พ.ศ. 2499 ได้ให้บริษัท ข. เช่าไป แม้ พ.ศ. 2509 จำเลยจะได้ขายโรงสีให้แก่บริษัท ข. ก็ตาม ห้างหุ้นส่วนสามัญนี้ยังอยู่มิได้เลิกกัน โจทก์ฟ้องขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนสามัญนี้ได้เสมอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 907/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ แม้มีการให้เช่าหรือขายทรัพย์สิน ห้างหุ้นส่วนยังไม่เลิกจนกว่าจะมีการชำระบัญชี
โจทก์จำเลยกับพี่น้องทำสัญญาหุ้นส่วนโรงสีได้ดำเนินกิจการเรื่อยมาโดยจำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จนถึง พ.ศ. 2498 หรือ พ.ศ. 2499ได้ให้บริษัท ข. เช่าไป แม้ พ.ศ. 2509 จำเลยจะได้ขายโรงสีให้แก่บริษัท ข. ก็ตาม ห้างหุ้นส่วนสามัญนี้ยังอยู่มิได้เลิกกัน โจทก์ฟ้องขอให้เลิกห้างหุ้นส่วนสามัญนี้ได้เสมอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงค่าทนายในสัญญาประนีประนอมความ: การลดเบี้ยปรับค่าเสียหายที่สูงเกินควร
จำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลทำหนังสือรับสภาพหนี้และประนีประนอมยอมความให้โจทก์เมื่อวันที่27 กุมภาพันธ์ 2506 โจทก์ฟ้องคดี พ.ศ. 2507 จึงไม่ขาดอายุความ
ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความไม่ได้บังคับว่าโจทก์ต้องแสดงใบรับเงินค่าจ้างทนายมาพร้อมฟ้อง
หนังสือสัญญารับสภาพหนี้และยอมความมีใจความว่าถ้าลูกหนี้ผิดนัดยอมให้เจ้าหนี้ฟ้อง ลูกหนี้ยอมใช้ค่าเสียหายที่เจ้าหนี้จ่ายเป็นค่าจ้างทนายความตามที่จ้างจริง โดยตกลงกำหนดเบี้ยปรับสำหรับค่าจ้างไว้เป็นเงิน 4,500 บาท หนี้สินรายนี้มีจำนวน 22,340 บาทนับว่าสูงเกินส่วน แม้โจทก์จ่ายเงินไปแล้วจริง 4,500 บาทก็เป็นเรื่องที่โจทก์ตกลงว่าจ้างแพงเกินควรที่จะให้จำเลยรับผิดศาลฎีกาเห็นควรลดเบี้ยปรับค่าจ้างทนายลงเหลือ 2,500 บาท
ฎีกาที่ว่า ข้อตกลงเรื่องให้จำเลยเสียค่าทนาย 4,500 บาทเป็นข้อตกลงที่ใช้บังคับกันไม่ได้ เพราะขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนนั้น จำเลยไม่ได้ยกขึ้นว่าในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์และไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ ค่าทนายความเกินสมควร ศาลลดเบี้ยปรับ
จำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลทำหนังสือรับสภาพหนี้และประนีประนอมยอมความให้โจทก์เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2506 โจทก์ฟ้องคดี พ.ศ. 2507 จึงไม่ขาดอายุความ
ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความไม่ได้บังคับว่า โจทก์ต้องแสดงใบรับเงินค่าจ้างทนายมาพร้อมฟ้อง
หนังสือสัญญารับสภาพหนี้และยอมความมีใจความว่าถ้าลูกหนี้ผิดนัดยอมให้เจ้าหนี้ฟ้อง ลูกหนี้ยอมใช้ค่าเสียหายที่เจ้าหนี้จ่ายเป็นค่าจ้างทนายความตามที่จ้างจริง โดยตกลงกำหนดเบี้ยปรับสำหรับค่าจ้างไว้เป็นเงิน 4,500 บาท หนี้สินรายนี้มีจำนวน 22,340 บาทนับว่าสูงเกินส่วน แม้โจทก์จ่ายเงินไปแล้วจริง 4,500 บาท ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ตกลงว่าจ้างแพงเกินควรที่จะให้จำเลยรับผิดศาลฎีกาเห็นควรลดเบี้ยปรับค่าจ้างทนายลงเหลือ 2,500 บาท
ฎีกาที่ว่า ข้อตกลงเรื่องให้จำเลยเสียค่าทนาย 4,500 บาทเป็นข้อตกลงที่ใช้บังคับกันไม่ได้ เพราะขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนนั้น จำเลยไม่ได้ยกขึ้นว่าในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ และไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 156/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการทำสัญญาแทนสมาคม, การรับสภาพหนี้ และอายุความเบิกเงินเกินบัญชี
เมื่อข้อบังคับของสมาคมบัญญัติว่า ให้นายกสมาคมมีอำนาจสั่งจ่ายเงินเพื่อกิจการของสมาคมได้ และเหรัญญิกจะจ่ายเงินของสมาคมทุกครั้งจะต้องได้รับอนุมัติจากนายกสมาคมก่อน การลงชื่อในเช็คเพื่อจ่ายเงินของสมาคม ให้นายก เหรัญญิก และเลขาธิการลงชื่อร่วมกันโดยประทับตราของสมาคมไว้ เมื่อข้อบังคับบัญญัติไว้เช่นนี้ จำเลยที่ 2, 3, 4 จึงทำสัญญาแทนสมาคมได้ สมาคมจึงต้องรับผิดตามสัญญานั้น
สมาคมกู้เงินธนาคารโจทก์โดยวิธีเบิกเงินเกินบัญชี ต่อมาภายในกำหนดอายุความ นายกสมาคมคนใหม่ได้มีหนังสือถึงธนาคารรับว่าเป็นหนี้ธนาคารโจทก์จริง และขอปิดบัญชีส่วนหนี้ซึ่งค้างชำระจะขอผ่อนชำระให้จนกว่าจะหมดสิ้น จึงเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ อายุความฟ้องร้องจึงสะดุดหยุดลง คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ประเพณีการค้าที่คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดหรือในการค้าอย่างอื่นในทำนองเดียวกัน แม้กฎหมายยอมให้คิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นพิเศษก็ดี แต่ถ้าบัญชีเดินสะพัดนั้นมีการหักทอนหนี้และเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือ อันเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856, 859 และลูกหนี้ผิดนัดแล้วซึ่งลูกหนี้จะเบิกเงินเกินบัญชีไม่ได้ ย่อมไม่มีเหตุที่ธนาคารจะอ้างมาคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไป ทั้งตามกฎหมายก็ห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดด้วย
of 15