พบผลลัพธ์ทั้งหมด 145 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญา: การนับอายุความเริ่มจากวันเกิดสิทธิเรียกร้อง และผลของการให้การต่อสู้เรื่องอายุความ
จำเลยร่วมให้การว่า อายุความตามสัญญาที่ฟ้องมีกำหนด 2 ปีซึ่งสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2528 โจทก์ไม่ฟ้องจำเลยร่วมภายในเวลาดังกล่าว ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ดังนี้ คำให้การของจำเลยร่วมได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความแล้ว ไม่จำต้องกล่าวว่าเหตุใดจึงมีอายุความ 2 ปี และอายุความเริ่มนับแต่เมื่อใด เพราะเป็นเพียงรายละเอียดซึ่งนำสืบในชั้นพิจารณาได้ และเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทตามกฎหมาย คำให้การของจำเลยร่วมจึงชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง
โจทก์เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีหลังจากศาลชั้นต้นชี้สองสถานแล้ว เมื่อจำเลยร่วมให้การต่อสู้เรื่องอายุความไว้ การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ในเรื่องอายุความตามข้อต่อสู้ของจำเลยร่วม และจำเลยร่วมไม่ได้คัดค้าน จะถือว่าจำเลยร่วมพอใจในประเด็นข้อพิพาทเพียงเท่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เท่านั้นหาได้ไม่ คดีมีประเด็นเรื่องอายุความ การที่ศาลอุทธรณ์ยกอายุความขึ้นวินิจฉัยจึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์ถมทรายงวดที่ 4 ที่ 5 เสร็จก่อนกำหนดเวลาส่งมอบตามสัญญา โจทก์จึงส่งมอบงานและส่งใบแจ้งหนี้แก่จำเลยร่วมลงวันที่ 1 ธันวาคม 2526ซึ่งจำเลยร่วมต้องชำระเงินภายใน 3 วัน นับแต่วันได้รับใบแจ้งหนี้ตามข้อกำหนดในสัญญา แต่วันครบกำหนดคือวันที่ 4 ธันวาคม 2526 เป็นวันอาทิตย์ วันที่ 5เป็นวันหยุดราชการ จำเลยร่วมจึงต้องชำระเงินภายในวันที่ 6 ธันวาคม 2526เมื่อจำเลยร่วมไม่ชำระ โจทก์ย่อมเกิดสิทธิเรียกร้องบังคับได้ อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2526 เป็นต้นไป เมื่อโจทก์เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีวันที่ 17 มกราคม 2529 จึงเกิน 2 ปี คดีโจทก์ขาดอายุความ
โจทก์เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีหลังจากศาลชั้นต้นชี้สองสถานแล้ว เมื่อจำเลยร่วมให้การต่อสู้เรื่องอายุความไว้ การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ในเรื่องอายุความตามข้อต่อสู้ของจำเลยร่วม และจำเลยร่วมไม่ได้คัดค้าน จะถือว่าจำเลยร่วมพอใจในประเด็นข้อพิพาทเพียงเท่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เท่านั้นหาได้ไม่ คดีมีประเด็นเรื่องอายุความ การที่ศาลอุทธรณ์ยกอายุความขึ้นวินิจฉัยจึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์ถมทรายงวดที่ 4 ที่ 5 เสร็จก่อนกำหนดเวลาส่งมอบตามสัญญา โจทก์จึงส่งมอบงานและส่งใบแจ้งหนี้แก่จำเลยร่วมลงวันที่ 1 ธันวาคม 2526ซึ่งจำเลยร่วมต้องชำระเงินภายใน 3 วัน นับแต่วันได้รับใบแจ้งหนี้ตามข้อกำหนดในสัญญา แต่วันครบกำหนดคือวันที่ 4 ธันวาคม 2526 เป็นวันอาทิตย์ วันที่ 5เป็นวันหยุดราชการ จำเลยร่วมจึงต้องชำระเงินภายในวันที่ 6 ธันวาคม 2526เมื่อจำเลยร่วมไม่ชำระ โจทก์ย่อมเกิดสิทธิเรียกร้องบังคับได้ อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2526 เป็นต้นไป เมื่อโจทก์เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีวันที่ 17 มกราคม 2529 จึงเกิน 2 ปี คดีโจทก์ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีสัญญาจ้างเหมา คำให้การต่อสู้เรื่องอายุความชอบด้วยกฎหมาย การนับอายุความเริ่มจากวันที่จำเลยไม่ชำระเงิน
จำเลยร่วมให้การว่าอายุความตามสัญญาที่ฟ้องมีกำหนด2ปีซึ่งสิ้นสุดลงเมื่อวันที่2ธันวาคม2528โจทก์ไม่ฟ้องจำเลยร่วมภายในเวลาดังกล่าวฟ้องโจทก์ขาดอายุความดังนี้คำให้การของจำเลยร่วมได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความแล้วไม่จำต้องกล่าวว่าเหตุใดจึงมีอายุความ2ปีและอายุความเริ่มนับแต่เมื่อใดเพราะเป็นเพียงรายละเอียดซึ่งนำสืบในชั้นพิจารณาได้และเป็นหน้าที่ของศาลที่จะปรับบทตามกฎหมายคำให้การของจำเลยร่วมจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสอง โจทก์เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีหลังจากศาลชั้นต้นชี้สองสถานแล้วเมื่อจำเลยร่วมให้การต่อสู้เรื่องอายุความไว้การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ในเรื่องอายุความตามข้อต่อสู้ของจำเลยร่วมและจำเลยร่วมไม่ได้คัดค้านจะถือว่าจำเลยร่วมพอใจในประเด็นข้อพิพาทเพียงเท่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เท่านั้นหาได้ไม่คดีมีประเด็นเรื่องอายุความการที่ศาลอุทธรณ์ยกอายุความขึ้นวินิจฉัยจึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น โจทก์ถมทรายงวดที่4ที่5เสร็จก่อนกำหนดเวลาส่งมอบตามสัญญาโจทก์จึงส่งมอบงานและส่งใบแจ้งหนี้แก่จำเลยร่วมลงวันที่1ธันวาคม2526ซึ่งจำเลยร่วมต้องชำระเงินภายใน3วันนับแต่วันได้รับใบแจ้งหนี้ตามข้อกำหนดในสัญญาแต่วันครบกำหนดคือวันที่4ธันวาคม2526เป็นวันอาทิตย์วันที่5เป็นวันหยุดราชการจำเลยร่วมจึงต้องชำระเงินภายในวันที่6ธันวาคม2526เมื่อจำเลยร่วมไม่ชำระโจทก์ย่อมเกิดสิทธิเรียกร้องบังคับได้อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่7ธันวาคม2526เป็นต้นไปเมื่อโจทก์เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีวันที่17มกราคม2529จึงเกิน2ปีคดีโจทก์ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2988/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยโดยการเกิดและการโต้แย้งสิทธิ: คดีไม่ขาดอายุความแม้ฟ้องเกิน 10 ปี
โจทก์ซึ่งเกิดในราชอาณาจักรไทยโดยมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 7 (1) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 มาตรา 4 ประกอบมาตรา 10 ซึ่งบัญญัติให้บทบัญญัติมาตรา 7 (1) แห่งพ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวให้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่ พ.ร.บ.สัญชาติ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ใช้บังคับด้วย
โจทก์มีสัญชาติไทยแล้วตั้งแต่เกิด แต่กลับถูกถอนสัญชาติไทยแล้วนำไปจดแจ้งไว้ในทะเบียนบ้านญวนอพยพอันเป็นสัญชาติอื่น ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิว่าไม่ได้เป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทยตลอดมานับแต่ถูกถอนสัญชาติ ดังนั้นแม้โจทก์ฟ้องคดีเกิน 10 ปี นับแต่ทราบเหตุโต้แย้งสิทธิดังกล่าวคดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ
โจทก์มีสัญชาติไทยแล้วตั้งแต่เกิด แต่กลับถูกถอนสัญชาติไทยแล้วนำไปจดแจ้งไว้ในทะเบียนบ้านญวนอพยพอันเป็นสัญชาติอื่น ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิว่าไม่ได้เป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทยตลอดมานับแต่ถูกถอนสัญชาติ ดังนั้นแม้โจทก์ฟ้องคดีเกิน 10 ปี นับแต่ทราบเหตุโต้แย้งสิทธิดังกล่าวคดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2232/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าเนื่องจากฝ่ายหนึ่งอุปการะเลี้ยงดูผู้อื่นฉันภริยาและแยกกันอยู่ ฟ้องแย้งไม่ขาดอายุความ
เมื่อกรณีมีเหตุที่ทำให้จำเลยระแวงสงสัยว่าโจทก์อุปการะ เลี้ยงดูหญิงอื่น ถ้อยคำที่โจทก์อ้างว่าจำเลยกล่าวต่อพลทหารรับใช้ ขณะที่โจทก์ไปราชการชายแดนสาปแช่ง โจทก์ว่า ถ้าพิการก็เลี้ยงดูเอาเอง หากตายจะกลับมาเอาเงิน ทั้งบุพการีของโจทก์เป็นผู้ใหญ่เสียเปล่า ทำตัวไม่น่านับถือ หากถ้อยคำดังกล่าวเป็นความจริงก็ไม่เป็นการ หมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามโจทก์หรือบุพการีของโจทก์เป็นการร้ายแรง เป็นเพียงถ้อยคำที่จำเลยกล่าวด้วยความน้อยใจที่ทราบว่าโจทก์ อุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่นเท่านั้น โจทก์อุปการะเลี้ยงดูยกย่องหญิงอื่นฉันภริยาและทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา เมื่อจำเลยไม่สามารถทนอยู่กินกับโจทก์และแยกไปอยู่ที่อื่น มิใช่เป็นกรณีที่จำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ อันจะเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่า แต่กรณีดังกล่าวจำเลยมีสิทธิ ฟ้องหย่าได้ การที่โจทก์ยังอุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่นและทำการเป็นปฏิปักษ์ ต่อการเป็นสามีภริยาตลอดมา การกระทำของโจทก์ยังมีเหตุที่จะให้จำเลยฟ้องหย่าได้ตลอดเวลาที่การกระทำยังไม่สิ้นสุด ฟ้องแย้งของจำเลย จึงไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2013/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอลงชื่อในโฉนดที่ดินที่เป็นสินสมรส และการไม่ขาดอายุความของสิทธิดังกล่าว แม้เวลาผ่านไปนาน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอหย่าจำเลยและศาลมีคำพิพากษายกฟ้องโดยยังมิได้วินิจฉัยเกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สิน คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมในสินสมรส ประเด็นของคดีจึงมีว่าทรัพย์ตามคำฟ้องเป็นสินสมรสหรือไม่และโจทก์มีสิทธิขอให้ลงชื่อเป็นเจ้าของรวมหรือไม่ อันมิใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยไว้แล้วในคำพิพากษาคดีก่อน การฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำ ป.พ.พ. มาตรา 1475 กำหนดให้สามีหรือภริยาต้องปฏิบัติตามคำร้องขอของอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งไม่มีชื่อในเอกสารสำคัญให้ต้องยินยอมให้ฝ่ายนั้นลงชื่อตนเป็นเจ้าของร่วมด้วย โจทก์กล่าวไว้ในฟ้องว่าได้มีหนังสือขอให้จำเลยจัดการให้โจทก์ลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่อ้างว่าเป็นสินสมรส จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธว่ามิได้รับหนังสือดังกล่าวของโจทก์ กรณีจึงต้องถือว่าจำเลยทราบคำบอกกล่าวของโจทก์แล้วเพิกเฉย อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้จดทะเบียนลงชื่อโจทก์เป็นเจ้าของรวมในโฉนดที่ดินสินสมรสได้ การพิจารณาว่าทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาเป็นทรัพย์สินประเภทใดนั้น ต้องพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ได้มา จำเลยรับโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมาเป็นของจำเลยในระหว่างสมรสในขณะใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 เดิม โดยมิได้ระบุไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัวหรือสินเดิมที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงเป็นการได้มาในฐานะที่เป็นสินสมรสตามมาตรา 1466 แห่ง ป.พ.พ.บรรพ 5 เดิม อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะนั้น สิทธิของคู่สมรสที่จะร้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมในเอกสารสำคัญตามที่บัญญัติใน ป.พ.พ. มาตรา 1475 เป็นบทบัญญัติในหมวดทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา แสดงให้เห็นว่าตราบใดที่ความเป็นสามีภริยายังมีอยู่ คู่สมรสมีสิทธิตามที่กำหนดไว้ในมาตรานี้ตลอดไป โดยไม่ต้องคำนึงว่าได้ล่วงเลยเวลาที่ได้สินสมรสมาแล้วนานเท่าไร เพราะมิใช่กรณีที่จะต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายในระยะเวลาอันกฎหมายกำหนด ฉะนั้น แม้โจทก์จะทราบว่าจำเลยได้รับโอนที่ดินพิพาทมาเป็นเวลา 37 ปีแล้ว แต่เพิ่งนำคดีมาฟ้องก็ตามคดีก็ไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2013/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในสินสมรส: การลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วม, การโต้แย้งสิทธิ, และอายุความ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอหย่าจำเลยและศาลมีคำพิพากษายกฟ้องโดยยังมิได้วินิจฉัยเกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สินแต่อย่างใด ในคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมในสินสมรส ประเด็นของคดีนี้จึงมีว่าทรัพย์ตามคำฟ้องเป็นสินสมรสหรือไม่และโจทก์มีสิทธิขอให้ลงชื่อเป็นเจ้าของรวมหรือไม่ อันมิใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยไว้แล้วในคำพิพากษาคดีก่อน การฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 148 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
สิทธิของสามีหรือภริยาที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1475 นั้น เป็นการที่กฎหมายกำหนดให้อีกฝ่ายหนึ่งต้องปฏิบัติตามคำร้องขอของอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งไม่มีชื่อในเอกสารสำคัญให้ต้องยินยอมให้ฝ่ายนั้นลงชื่อตนเป็นเจ้าของร่วมด้วย โจทก์กล่าวในฟ้องแล้วว่าได้มีหนังสือขอให้จำเลยจัดการให้โจทก์ลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่อ้างว่าเป็นสินสมรส จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธว่ามิได้รับหนังสือดังกล่าวของโจทก์กรณีจึงต้องถือว่าจำเลยทราบคำบอกกล่าวของโจทก์แล้วเพิกเฉย อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่มีตามกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
โจทก์จำเลยได้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมาระหว่างสมรสและได้มาขณะที่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม การที่จะพิจารณาว่าเป็นทรัพย์สินประเภทใดในระหว่างสามีภริยาจึงต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ได้มา การรับโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมาเป็นของจำเลยนั้นมิได้ระบุไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัวหรือสินเดิม จึงเป็นการได้มาในฐานะที่เป็นสินสมรสตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 1466 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 เดิม อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่ได้มา
สิทธิของคู่สมรสที่จะร้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมในเอกสารสำคัญตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1475 นั้น เป็นบทบัญญัติในหมวดทรัพย์สินระหว่างสามัภรรยา ตราบใดที่ความเป็นสามีภรยายังมีอยู่ คู่สมรสก็ยังมีสิทธิตามที่กำหนดไว้ในมาตรานี้ตลอดเวลาไม่ว่าจะช้านานเท่าใด เมื่อโจทก์จำเลยยังเป็นสามีภริยากันอยู่โจทก์ย่อมจะใช้สิทธิร้องขอให้ลงชื่อตนด้วยได้ตามที่กฎหมายกำหนด โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าได้ล่วงเลยเวลาที่ได้สินสมรสมาแล้วนานเท่าไร เพราะมิใช่กรณีที่จะต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายในระยะเวลาอันกฎหมายกำหนดไว้ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
สิทธิของสามีหรือภริยาที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1475 นั้น เป็นการที่กฎหมายกำหนดให้อีกฝ่ายหนึ่งต้องปฏิบัติตามคำร้องขอของอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งไม่มีชื่อในเอกสารสำคัญให้ต้องยินยอมให้ฝ่ายนั้นลงชื่อตนเป็นเจ้าของร่วมด้วย โจทก์กล่าวในฟ้องแล้วว่าได้มีหนังสือขอให้จำเลยจัดการให้โจทก์ลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่อ้างว่าเป็นสินสมรส จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธว่ามิได้รับหนังสือดังกล่าวของโจทก์กรณีจึงต้องถือว่าจำเลยทราบคำบอกกล่าวของโจทก์แล้วเพิกเฉย อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่มีตามกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
โจทก์จำเลยได้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมาระหว่างสมรสและได้มาขณะที่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม การที่จะพิจารณาว่าเป็นทรัพย์สินประเภทใดในระหว่างสามีภริยาจึงต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ได้มา การรับโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมาเป็นของจำเลยนั้นมิได้ระบุไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัวหรือสินเดิม จึงเป็นการได้มาในฐานะที่เป็นสินสมรสตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 1466 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 เดิม อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่ได้มา
สิทธิของคู่สมรสที่จะร้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมในเอกสารสำคัญตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1475 นั้น เป็นบทบัญญัติในหมวดทรัพย์สินระหว่างสามัภรรยา ตราบใดที่ความเป็นสามีภรยายังมีอยู่ คู่สมรสก็ยังมีสิทธิตามที่กำหนดไว้ในมาตรานี้ตลอดเวลาไม่ว่าจะช้านานเท่าใด เมื่อโจทก์จำเลยยังเป็นสามีภริยากันอยู่โจทก์ย่อมจะใช้สิทธิร้องขอให้ลงชื่อตนด้วยได้ตามที่กฎหมายกำหนด โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าได้ล่วงเลยเวลาที่ได้สินสมรสมาแล้วนานเท่าไร เพราะมิใช่กรณีที่จะต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายในระยะเวลาอันกฎหมายกำหนดไว้ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2013/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิสามีภริยาในสินสมรส: การขอลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วม แม้เวลาผ่านนาน และไม่ใช่ฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอหย่าจำเลยและศาลมีคำพิพากษายกฟ้องโดยยังมิได้วินิจฉัยเกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สินแต่อย่างใด ในคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมในสินสมรสประเด็นของคดีนี้จึงมีว่าทรัพย์ตามคำฟ้องเป็นสินสมรสหรือไม่และโจทก์มีสิทธิขอให้ลงชื่อเป็นเจ้าของรวมหรือไม่ อันมิใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยไว้แล้วในคำพิพากษาคดีก่อน การฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 148 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง สิทธิของสามีหรือภริยาที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1475 นั้น เป็นการที่กฎหมายกำหนดให้อีกฝ่ายหนึ่งต้องปฏิบัติตามคำร้องขอของอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งไม่มีชื่อในเอกสารสำคัญให้ต้องยินยอมให้ฝ่ายนั้นลงชื่อตนเป็นเจ้าของร่วมด้วย โจทก์กล่าวในฟ้องแล้วว่าได้มีหนังสือขอให้จำเลยจัดการให้โจทก์ลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่อ้างว่าเป็นสินสมรส จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธว่ามิได้รับหนังสือดังกล่าวของโจทก์กรณีจึงต้องถือว่าจำเลยทราบคำบอกกล่าวของโจทก์แล้วเพิกเฉยอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่มีตามกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ โจทก์จำเลยได้ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมาระหว่างสมรสและได้มาขณะที่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม การที่จะพิจารณาว่าเป็นทรัพย์สินประเภทใดในระหว่างสามีภริยาจึงต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ได้มา การรับโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมาเป็นของจำเลยนั้นมิได้ระบุไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัวหรือสินเดิมจึงเป็นการได้มาในฐานะที่เป็นสินสมรสตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 1466แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่ได้มา สิทธิของคู่สมรสที่จะร้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมในเอกสารสำคัญตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1475 นั้น เป็นบทบัญญัติในหมวดทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาตราบใดที่ความเป็นสามีภริยายังมีอยู่ คู่สมรสก็ยังมีสิทธิตามที่กำหนดไว้ในมาตรานี้ตลอดเวลาไม่ว่าจะช้านานเท่าใด เมื่อโจทก์จำเลยยังเป็นสามีภริยากันอยู่โจทก์ย่อมจะใช้สิทธิร้องขอให้ลงชื่อตนด้วยได้ตามที่กฎหมายกำหนด โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าได้ล่วงเลยเวลาที่ได้สินสมรสมาแล้วนานเท่าไร เพราะมิใช่กรณีที่จะต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายในระยะเวลาอันกฎหมายกำหนดไว้ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1287/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดก: การจัดการทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดกแต่ผู้เดียว และการยินยอมของทายาท ทำให้ขาดอายุความเรียกร้อง
ขณะ บ. ซึ่งเป็นมารดาโจทก์และจำเลยทั้งสามตาย บุตรทุกคนไม่ได้อยู่กับ ท. ซึ่งเป็นบิดาและ บ. ขณะนั้นจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรคนสุดท้องอายุ 19 ปีเศษ โจทก์และบุตรคนอื่น บรรลุนิติภาวะหมดแล้วนอกจากที่ดินพิพาทแล้ว ท. และ บ. ยังมีทรัพย์สินร่วมกันอีกหลายอย่างเมื่อ บ. ตาย ท. ได้เข้าจัดการทรัพย์สินทุกอย่างรวมทั้งได้ขอรับมรดกที่ดินของ บ. ลงชื่อ ท. ถือกรรมสิทธิ์ไว้คนเดียว และได้จดทะเบียนให้จำเลยทั้งสามถือ กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท แสดงว่า ท.ได้ถือตนว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินทั้งส่วนของตนและส่วนที่เป็น มรดกของ บ. แต่ผู้เดียวตลอดมามิได้ครอบครองที่ดินพิพาทไว้แทนบุตรด้วยแต่ประการใด โจทก์และบุตรทุกคนต่างยินยอมรับปฏิบัติตามต่อการกระทำของ ท.มาแต่ต้นไม่เคยคัดค้านการจัดการทรัพย์สินของท.เลย โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อเกินสิบปีนับแต่ บ. ตาย สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในทรัพย์มรดกของ บ. จึงเป็นอันขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสุดท้าย โจทก์ ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่ ท. ยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยทั้งสาม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1215/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ซ่อมแซมทรัพย์สินเช่า, สิทธิไม่ชำระค่าเช่าเมื่อทรัพย์สินชำรุด, สันนิษฐานการชำระหนี้
สัญญาเช่าโรงภาพยนตร์ข้อหนึ่งซึ่งมีข้อความว่า "ผู้เช่าสัญญา ว่าจะจัดการดูแลรักษาทรัพย์สินที่เช่าให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อย และบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้เสมอด้วยค่าใช้จ่ายของผู้เช่าเอง หากมีการชำรุดบกพร่อง แตกหักเสียหายด้วยประการใด ๆผู้เช่าจะต้องรีบแจ้งให้ผู้ให้เช่าทราบทันที และดำเนินการซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเดิมด้วยค่าใช้จ่ายของผู้เช่าเองทั้งสิ้น" นั้น หมายถึง การซ่อมแซมบำรุงรักษาตามปกติและเป็นการซ่อมแซมเล็กน้อยเท่านั้น ผู้เช่าจึงจะมีหน้าที่ซ่อมแซมทรัพย์สินที่เช่า แต่ปรากฏว่าอาคาร โรงภาพยนตร์ทรุด และพื้นคอนกรีตแตกร้าวเสียหายมากหลายแห่ง เป็นความเสียหายร้ายแรงจนอาจเกิดการพังทลายเป็นอันตรายแก่ ผู้เข้าชมภาพยนตร์ได้ จึงเป็นเรื่องมีความจำเป็นและสมควรที่จะต้อง ซ่อมแซมใหญ่อย่างรีบด่วนเพื่อรักษาโรงภาพยนตร์อันเป็นทรัพย์สิน ที่เช่าให้สามารถใช้การต่อไปไม่ให้พังทลายไปเสียก่อนมิใช่กรณี ต้องซ่อมแซมเพียงเล็กน้อย ผู้ให้เช่าจึงมีหน้าที่ต้องซ่อมแซม ทรัพย์สินที่เช่าตาม ป.พ.พ.มาตรา 547 หาใช่หน้าที่ของผู้เช่าไม่ โจทก์อ้างว่าจำเลยค้างชำระค่าเช่าเดือนกันยายน 2525 แต่โจทก์รับค่าเช่าจากจำเลยโดยไม่ได้ทวงถามค่าเช่าเดือนดังกล่าวจนล่วงเลยมา ถึงเดือนกันยายน 2526 การรับเงินค่าเช่าโจทก์ได้ออกใบรับเงินให้จำเลยทุกครั้ง กรณีจึงต้องด้วยบทสันนิษฐานของ ป.พ.พ. มาตรา 327 ที่ว่าในกรณีชำระดอกเบี้ยหรือชำระหนี้อย่างอื่นอันมีกำหนดชำระเป็น ระยะเวลานั้น ถ้าเจ้าหนี้ออกใบเสร็จรับเงินให้เพื่อระยะหนึ่งแล้วโดย มิได้อิดเอื้อน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ เพื่อระยะก่อน ๆ นั้นด้วยแล้ว เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานที่มี น้ำหนักมาหักล้างข้อสันนิษฐานตามกฎหมายนี้ได้ จึงต้องฟังตามบท สันนิษฐานนี้ว่าจำเลยได้ชำระค่าเช่าเดือนกันยายน 2525 ให้โจทก์แล้ว โจทก์ปิดและบูรณะปรับปรุงโรงภาพยนตร์ที่ให้เช่า จำเลยผู้เช่าจึงไม่อาจใช้โรงภาพยนตร์ดังกล่าวฉายภาพยนตร์ได้ตามสิทธิการเช่าของตน สัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทน จำเลยย่อมมีสิทธิไม่ยอมชำระค่าเช่า ในระหว่างที่โรงภาพยนตร์ต้องปิดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 369 เมื่อศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า การที่โจทก์ไม่ซ่อมแซมทรัพย์สินที่ให้จำเลยเช่า ทำให้จำเลยเสียหาย แต่ค่าเสียหายของจำเลย จำเลยไม่สามารถแสดงได้ ไม่พิพากษาให้จำเลยได้รับค่าเสียหายแล้ว กรณีจึงไม่มีความจำเป็นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยว่า ฟ้องแย้ง เรียกค่าเสียหายดังกล่าวของจำเลยขาดอายุความหรือไม่ เพราะ เป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1215/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ซ่อมแซมทรัพย์สินเช่า, สิทธิไม่ชำระค่าเช่าเมื่อเจ้าของไม่ปฏิบัติตามสัญญา, และผลของการรับเงินค่าเช่า
สัญญาเช่าโรงภาพยนตร์ข้อหนึ่งซึ่งมีข้อความว่า "ผู้เช่าสัญญาว่าจะจัดการดูแลรักษาทรัพย์สินที่เช่าให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อย และบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้เสมอด้วยค่าใช้จ่ายของผู้เช่าเอง หากมีการชำรุดบกพร่อง แตกหักเสียหายด้วยประการใด ๆ ผู้เช่าจะต้องรีบแจ้งให้ผู้ให้เช่าทราบทันที และดำเนินการซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเดิมด้วยค่าใช้จ่ายของผู้เช่าเองทั้งสิ้น" นั้น หมายถึงการซ่อมแซมบำรุงรักษาตามปกติและเป็นการซ่อมแซมเล็กน้อยเท่านั้น ผู้เช่าจึงจะมีหน้าที่ซ่อมแซมทรัพย์สินที่เช่า แต่ปรากฏว่าอาคารโรงภาพยนตร์ทรุด และพื้นคอนกรีตแตกร้าวเสียหายมากหลายแห่ง เป็นความเสียหายร้ายแรงจนอาจเกิดการพังทลายเป็นอันตรายแก่ผู้เข้าชมภาพยนตร์ได้ จึงเป็นเรื่องมีความจำเป็นและสมควรที่จะต้องซ่อมแซมใหญ่อย่างรีบด่วนเพื่อรักษาโรงภาพยนตร์อันเป็นทรัพย์สินที่เช่าให้สามารถใช้การต่อไปไม่ให้พังทลายไปเสียก่อนมิใช่กรณีต้องซ่อมแซมเพียงเล็กน้อย ผู้ให้เช่าจึงมีหน้าที่ต้องซ่อมแซมทรัพย์สินที่เช่าตาม ป.พ.พ.มาตรา 547 หาใช่หน้าที่ของผู้เช่าไม่
โจทก์อ้างว่าจำเลยค้างชำระค่าเช่าเดือนกันยายน 2525 แต่โจทก์รับค่าเช่าจากจำเลยโดยไม่ได้ทวงถามค่าเช่าเดือนดังกล่าวจนล่วงเลยมาถึงเดือนกันยายน 2526 การรับเงินค่าเช่าโจทก์ได้ออกใบรับเงินให้จำเลยทุกครั้ง กรณีจึงต้องด้วยบทสันนิษฐานของ ป.พ.พ. มาตรา327 ที่ว่า ในกรณีชำระดอกเบี้ยหรือชำระหนี้อย่างอื่นอันมีกำหนดชำระเป็นระยะเวลานั้น ถ้าเจ้าหนี้ออกใบเสร็จรับเงินให้เพื่อระยะหนึ่งแล้วโดยมิได้อิดเอื้อน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เพื่อระยะก่อน ๆ นั้นด้วยแล้ว เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักมาหักล้างข้อสันนิษฐานตามกฎหมายนี้ได้ จึงต้องฟังตามบทสันนิษฐานนี้ว่าจำเลยได้ชำระค่าเช่าเดือนกันยายน2525 ให้โจทก์แล้ว
โจทก์ปิดและบูรณะปรับปรุงโรงภาพยนตร์ที่ให้เช่า จำเลยผู้เช่าจึงไม่อาจใช้โรงภาพยนตร์ดังกล่าวฉายภาพยนตร์ได้ตามสิทธิการเช่าของตน สัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทน จำเลยย่อมมีสิทธิไม่ยอมชำราะค่าเช่าในระหว่างที่โรงภาพยนตร์ต้องปิดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 369
เมื่อศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า การที่โจทก์ไม่ซ่อมแซมทรัพย์สินที่ให้จำเลยเช่า ทำให้จำเลยเสียหาย แต่ค่าเสียหายของจำเลย จำเลยไม่สามารถแสดงได้ ไม่พิพากษาให้จำเลยได้รับค่าเสียหายแล้ว กรณีจึงไม่มีความจำเป็นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยว่า ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายดังกล่าวของจำเลยขาดอายุความหรือไม่ เพราะเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดี
โจทก์อ้างว่าจำเลยค้างชำระค่าเช่าเดือนกันยายน 2525 แต่โจทก์รับค่าเช่าจากจำเลยโดยไม่ได้ทวงถามค่าเช่าเดือนดังกล่าวจนล่วงเลยมาถึงเดือนกันยายน 2526 การรับเงินค่าเช่าโจทก์ได้ออกใบรับเงินให้จำเลยทุกครั้ง กรณีจึงต้องด้วยบทสันนิษฐานของ ป.พ.พ. มาตรา327 ที่ว่า ในกรณีชำระดอกเบี้ยหรือชำระหนี้อย่างอื่นอันมีกำหนดชำระเป็นระยะเวลานั้น ถ้าเจ้าหนี้ออกใบเสร็จรับเงินให้เพื่อระยะหนึ่งแล้วโดยมิได้อิดเอื้อน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เพื่อระยะก่อน ๆ นั้นด้วยแล้ว เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักมาหักล้างข้อสันนิษฐานตามกฎหมายนี้ได้ จึงต้องฟังตามบทสันนิษฐานนี้ว่าจำเลยได้ชำระค่าเช่าเดือนกันยายน2525 ให้โจทก์แล้ว
โจทก์ปิดและบูรณะปรับปรุงโรงภาพยนตร์ที่ให้เช่า จำเลยผู้เช่าจึงไม่อาจใช้โรงภาพยนตร์ดังกล่าวฉายภาพยนตร์ได้ตามสิทธิการเช่าของตน สัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทน จำเลยย่อมมีสิทธิไม่ยอมชำราะค่าเช่าในระหว่างที่โรงภาพยนตร์ต้องปิดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 369
เมื่อศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า การที่โจทก์ไม่ซ่อมแซมทรัพย์สินที่ให้จำเลยเช่า ทำให้จำเลยเสียหาย แต่ค่าเสียหายของจำเลย จำเลยไม่สามารถแสดงได้ ไม่พิพากษาให้จำเลยได้รับค่าเสียหายแล้ว กรณีจึงไม่มีความจำเป็นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยว่า ฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายดังกล่าวของจำเลยขาดอายุความหรือไม่ เพราะเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดี