พบผลลัพธ์ทั้งหมด 155 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9681/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงแบ่งมรดกไม่เป็นโมฆียะ แม้ดำเนินการล่าช้า แต่สิทธิในส่วนแบ่งที่ดินยังคงมีอยู่
โจทก์จำเลยเป็นบุตรของ ศ. มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันอีก 5 คน เดิมที่ดินพิพาทเป็นของ ศ. และขณะที่ ศ.ถึงแก่ความตายที่ดินพิพาทยังเป็นที่ดินมีหลักฐานเพียงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เมื่อ ศ.ถึงแก่ความตายแล้วโจทก์และจำเลยได้ยื่นคำร้องขอรับมรดกที่ดินพิพาทร่วมกัน 2 คน โดยพี่น้องคนอื่น ๆอีก 5 คน ได้ทำบันทึกไม่ประสงค์จะขอรับมรดก และโจทก์ได้ทำบันทึกให้ถ้อยคำต่อนายอำเภอว่าเมื่อเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินอำเภอได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้เป็นของโจทก์จำเลยแล้ว โจทก์ยินยอมขอรังวัดแบ่งแยกออกเป็นส่วนของโจทก์เพียง1 ไร่ ส่วนที่เหลือให้ตกเป็นของจำเลย โดยจำเลยจะให้เงินโจทก์ 40,000 บาทเป็นการตอบแทน หากจำเลยไม่มีเงินชำระก็ไม่ติดใจเอาส่วนของโจทก์ตามที่ตกลงไว้ดังนี้ เมื่อตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ได้ความเพียงว่า หลังจากโจทก์ตกลงกับจำเลยแล้ว จำเลยก็ดำเนินการตามที่ตกลง แต่ล่าช้าเกินไป และโจทก์หมดความจำเป็นที่จะใช้เงินไปลงทุนทำการค้าแล้วจึงบอกเลิกข้อตกลงดังกล่าวเสีย หาได้ปรากฏว่ามีพฤติการณ์อื่นใดพอที่จะชี้ให้เห็นว่าบันทึกข้อตกลงนั้นโจทก์ได้แสดงเจตนาเพราะถูกจำเลยใช้กลฉ้อฉลหลอกลวงอันถึงขนาดไม่ เมื่อตามข้อตกลงไม่ปรากฏว่าต้องให้จำเลยดำเนินการให้แล้วเสร็จเมื่อใด ทั้งปรากฏว่าเมื่อโจทก์จำเลยยื่นเรื่องราวขอรับโอนมรดกไม่มีพินัยกรรมแล้ว โจทก์ได้มอบอำนาจให้จำเลยทำการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดิน ทำบันทึกข้อตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมและขอจดทะเบียนแบ่งกรรมสิทธิ์รวม จึงเห็นได้ว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามข้อตกลงแล้ว เพียงแต่ดำเนินการล่าช้าเท่านั้น หาได้ใช้กลฉ้อฉลหลอกลวงโจทก์ไม่ ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆียะ โจทก์ไม่มีสิทธิบอกล้างได้ แต่โฉนดที่ดินที่จำเลยแบ่งแยกให้โจทก์มีเนื้อที่เพียง 3 งาน 30 ตารางวา ไม่ตรงตามที่ตกลงกัน เพราะความผิดพลาดของเจ้าพนักงานที่ดิน โจทก์จึงยังมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งอีก 70 ตารางวาแม้โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์กึ่งหนึ่ง แต่ทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์ควรได้แต่ส่วนแบ่งอีกเพียง 70 ตารางวา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ได้รับแต่ส่วนแบ่งนั้นได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (2) ส่วนเงินจำนวน40,000 บาท นั้น ไม่อาจพิพากษาให้จำเลยชำระแก่โจทก์ได้ เพราะเป็นการเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 142วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9681/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงแบ่งมรดกไม่เป็นโมฆียะ แม้จำเลยดำเนินการล่าช้า และเจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดไม่ตรงตามตกลง โจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งที่เหลือ
โจทก์จำเลยเป็นบุตรของศ. มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันอีก5คนเดิมที่ดินพิพาทเป็นของศ.และขณะที่ศ.ถึงแก่ความตายที่ดินพิพาทยังเป็นที่ดินมีหลักฐานเพียงหนังสือรับรองการทำประโยชน์เมื่อศ. ถึงแก่ความตายแล้วโจทก์และจำเลยได้ยื่นคำร้องขอรับมรดกที่ดินพิพาทร่วมกัน2คนโดยพี่น้องคนอื่นๆอีก5คนได้ทำบันทึกไม่ประสงค์จะขอรับมรดกและโจทก์ได้ทำบันทึกให้ถ้อยคำต่อนายอำเภอว่าเมื่อเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินอำเภอได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้เป็นของโจทก์จำเลยแล้วโจทก์ยินยอมขอรังวัดแบ่งแยกออกเป็นส่วนของโจทก์เพียง1ไร่ส่วนที่เหลือให้ตกเป็นของจำเลยโดยจำเลยจะให้เงินโจทก์40,000บาทเป็นการตอบแทนหากจำเลยไม่มีเงินชำระก็ไม่ติดใจเอาส่วนของโจทก์ตามที่ตกลงไว้ดังนี้เมื่อตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ได้ความเพียงว่าหลังจากโจทก์ตกลงกับจำเลยแล้วจำเลยก็ดำเนินการตามที่ตกลงแต่ล่าช้าเกินไปและโจทก์หมดความจำเป็นที่จะใช้เงินไปลงทุนทำการค้าแล้วจึงบอกเลิกข้อตกลงดังกล่าวเสียหาได้ปรากฏว่ามีพฤติการณ์อื่นใดพอที่จะชี้ให้เห็นว่าบันทึกข้อตกลงนั้นโจทก์ได้แสดงเจตนาเพราะถูกจำเลยใช้กลฉ้อฉลหลอกลวงอันถึงขนาดไม่เมื่อตามข้อตกลงไม่ปรากฏว่าต้องให้จำเลยดำเนินการให้แล้วเสร็จเมื่อใดทั้งปรากฏว่าเมื่อโจทก์จำเลยยื่นเรื่องราวขอรับโอนมรดกไม่มีพินัยกรรมแล้วโจทก์ได้มอบอำนาจให้จำเลยทำการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินทำบันทึกข้อตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมและขอจดทะเบียนแบ่งกรรมสิทธิ์รวมจึงเห็นได้ว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามข้อตกลงแล้วเพียงแต่ดำเนินการล่าช้าเท่านั้นหาได้ใช้กลฉ้อฉลหลอกลวงโจทก์ไม่ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆียะโจทก์ไม่มีสิทธิบอกล้างได้แต่โฉนดที่ดินที่จำเลยแบ่งแยกให้โจทก์มีเนื้อที่เพียง3งาน30ตารางวาไม่ตรงตามที่ตกลงกันเพราะความผิดพลาดของเจ้าพนักงานที่ดินโจทก์จึงยังมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งอีก70ตารางวาแม้โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์กึ่งหนึ่งแต่ทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์ควรได้แต่ส่วนแบ่งอีกเพียง70ตารางวาศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ได้รับแต่ส่วนแบ่งนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(2)ส่วนเงินจำนวน40,000บาทนั้นไม่อาจพิพากษาให้จำเลยชำระแก่โจทก์ได้เพราะเป็นการเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9609/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าจ้างเพิ่มเติม: ศาลไม่วินิจฉัยเกินคำขอ แม้ถ้อยคำในฟ้องไม่ถูกต้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์รื้อถอนต่อเติมซ่อมแซมและทาสีอาคารของจำเลย ในระหว่างก่อสร้างจำเลยได้ตกลงว่าจ้างโจทก์ให้ทำการก่อสร้างเพิ่มเติมจากที่ตกลงไว้เดิม รวมเงินค่าจ้างทั้งงานเดิมและงานเพิ่มเติมเป็นเงิน 811,722 บาท จำเลยได้จ่ายเงินค่าจ้างตามผลงานที่ทำแล้วเสร็จ550,000 บาท ทั้งงานที่ตกลงว่าจ้างครั้งแรกกับงานที่เพิ่มเติมภายหลังโจทก์ได้ทำแล้วเสร็จสมบูรณ์ แต่จำเลยยังไม่ได้จ่ายเงินค่าจ้างงานส่วนที่เพิ่มเติมเป็นเงิน261,722 บาท ขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 261,722 บาท พร้อมดอกเบี้ย ดังนี้เป็นการบรรยายฟ้องที่เรียกเอาเงินค่าจ้างที่ค้างชำระอยู่นั่นเอง เพียงแต่โจทก์อาจใช้ถ้อยคำไม่ถูกต้อง ซึ่งจำเลยเองก็เบิกความว่า เงินค่าจ้างจำนวน 550,000 บาทที่จำเลยชำระแก่โจทก์ไปนั้น ไม่สามารถแบ่งแยกได้ว่าส่วนใดเป็นค่างานปกติ ส่วนใดเป็นค่างานที่เพิ่มเติม ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าจ้างที่จำเลยค้างชำระ จึงหาใช่เป็นการวินิจฉัยเกินคำขอ
ฎีกาของจำเลยในข้อที่ว่า จำเลยขอถือเอาอุทธรณ์ของจำเลยเป็นส่วนหนึ่งของฎีกาด้วยนั้น เป็นฎีกาที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ฎีกาของจำเลยในข้อที่ว่า จำเลยขอถือเอาอุทธรณ์ของจำเลยเป็นส่วนหนึ่งของฎีกาด้วยนั้น เป็นฎีกาที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9372/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำฟ้อง: การวินิจฉัยความประมาทเลินเล่อของพนักงานภายในองค์กรยังคงอยู่ในกรอบคำฟ้องเดิม
คำฟ้องระบุว่าได้มีการเบิกจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินโดยความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสมุห์บัญชีและจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ม.ก็เป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 เช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของม. จึงเป็นการวินิจฉัยว่ามีการเบิกจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินโดยความประมาทเลินเล่อของพนักงานของจำเลยที่ 1 ตามคำฟ้องนั่นเอง หาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9372/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการเบิกจ่ายเงินโดยประมาทเลินเล่อของพนักงาน: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ไม่ถือว่าวินิจฉัยนอกฟ้อง
คำฟ้องระบุว่าได้มีการเบิกจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินโดยความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่2ซึ่งเป็นสมุห์บัญชีและจำเลยที่3ซึ่งเป็นผู้จัดการของจำเลยที่1เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าม. ก็เป็นพนักงานของจำเลยที่1เช่นเดียวกับจำเลยที่2และที่3การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของม.จึงเป็นการวินิจฉัยว่ามีการเบิกจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินโดยความประมาทเลินเล่อของพนักงานของจำเลยที่1ตามคำฟ้องนั่นเองหาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5457/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นทรัพย์เป็นของใคร และขอบเขตการอุทธรณ์
ที่โจทก์ฎีกาว่าคำร้องขัดทรัพย์เคลือบคลุมเพราะไม่ได้บรรยายว่าทรัพย์ที่ยึดเป็นของผู้ใด แต่ปรากฏว่าตามคำร้องได้ระบุไว้แล้วว่าเป็นของผู้ร้องกับส.ที่ผู้ตายทำพินัยกรรมยกให้ ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าข้ออ้างตามฎีกาของโจทก์ไม่เป็นความจริง จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่า คำร้องขัดทรัพย์เคลือบคลุมหรือไม่แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยมา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
ในประเด็นว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นของจำเลยหรือไม่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยฟังว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งซึ่งผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกให้แก่ผู้ร้องกับ ส. เมื่อผู้ตายถึงแก่กรรมที่ดินและบ้านพิพาทจึงตกเป็นสิทธิของผู้ร้องกับ ส.โจทก์ไม่มีสิทธินำยึดมาชำระหนี้ โจทก์อุทธรณ์ว่า ผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบให้เห็นว่าผู้ตายมีทรัพย์มรดกอื่นอีก และพินัยกรรมไม่ได้ระบุว่าให้ที่ดินแปลงใดหรือให้ที่ดินมีเอกสารสิทธิหรือไม่ ทั้งสิ่งปลูกสร้างหรือบ้านที่กำหนดให้ก็มิได้ระะบุว่าเป็นสิ่งปลูกสร้างอะไร บ้านเลขที่เท่าใด ตั้งอยู่ที่ไหน ข้อความที่ตกเติมในพินัยกรรมก็ไม่มีลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมกำกับไว้ จึงเป็นพินัยกรรมที่ไม่สมบูรณ์ เมื่อผู้ตายไม่มีทรัพย์มรดกอื่นนอกจากที่ดินและบ้านพิพาท ซึ่งผู้ร้องยังไม่ได้มีการจัดการมรดก โจทก์จึงนำยึดมาชำระหนี้ได้ ล้วนเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อที่ดินและบ้านพิพาทมีราคารวมกันไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
การโต้เถียงว่าศาลวินิจฉัยคดีนอกประเด็นหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมาย จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อนี้มาจึงเป็นการไม่ชอบ แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยก่อนการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้ตายมีทรัพย์มรดกคือที่ดินอีก 20 ไร่ ก็เป็นการยกเหตุผลขึ้นมาสนับสนุนให้เห็นว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นทรัพย์ตามพินัยกรรมอันอยู่ในประเด็นพิพาทว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นของจำเลยหรือไม่ หาใช่เป็นการวินิจฉัยคดีนอกประเด็นไม่
ในประเด็นว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นของจำเลยหรือไม่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยฟังว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งซึ่งผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกให้แก่ผู้ร้องกับ ส. เมื่อผู้ตายถึงแก่กรรมที่ดินและบ้านพิพาทจึงตกเป็นสิทธิของผู้ร้องกับ ส.โจทก์ไม่มีสิทธินำยึดมาชำระหนี้ โจทก์อุทธรณ์ว่า ผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบให้เห็นว่าผู้ตายมีทรัพย์มรดกอื่นอีก และพินัยกรรมไม่ได้ระบุว่าให้ที่ดินแปลงใดหรือให้ที่ดินมีเอกสารสิทธิหรือไม่ ทั้งสิ่งปลูกสร้างหรือบ้านที่กำหนดให้ก็มิได้ระะบุว่าเป็นสิ่งปลูกสร้างอะไร บ้านเลขที่เท่าใด ตั้งอยู่ที่ไหน ข้อความที่ตกเติมในพินัยกรรมก็ไม่มีลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมกำกับไว้ จึงเป็นพินัยกรรมที่ไม่สมบูรณ์ เมื่อผู้ตายไม่มีทรัพย์มรดกอื่นนอกจากที่ดินและบ้านพิพาท ซึ่งผู้ร้องยังไม่ได้มีการจัดการมรดก โจทก์จึงนำยึดมาชำระหนี้ได้ ล้วนเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อที่ดินและบ้านพิพาทมีราคารวมกันไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
การโต้เถียงว่าศาลวินิจฉัยคดีนอกประเด็นหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมาย จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อนี้มาจึงเป็นการไม่ชอบ แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยก่อนการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้ตายมีทรัพย์มรดกคือที่ดินอีก 20 ไร่ ก็เป็นการยกเหตุผลขึ้นมาสนับสนุนให้เห็นว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นทรัพย์ตามพินัยกรรมอันอยู่ในประเด็นพิพาทว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นของจำเลยหรือไม่ หาใช่เป็นการวินิจฉัยคดีนอกประเด็นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5457/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์มรดกโดยโจทก์หลังผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้ผู้อื่น ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
ที่โจทก์ฎีกาว่าคำร้องขัดทรัพย์เคลือบคลุมเพราะไม่ได้บรรยายว่าทรัพย์ที่ยึดเป็นของผู้ใดแต่ปรากฏว่าตามคำร้องได้ระบุไว้แล้วว่าเป็นของผู้ร้องกับส.ที่ผู้ตายทำพินัยกรรมยกให้ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าข้ออ้างตามฎีกาของโจทก์ไม่เป็นความจริงจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าคำร้องขัดทรัพย์เคลือบคลุมหรือไม่แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยมาศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้ ในประเด็นว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นของจำเลยหรือไม่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยฟังว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งซึ่งผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกให้แก่ผู้ร้องกับส. เมื่อผู้ตายถึงแก่กรรมที่ดินและบ้านพิพาทจึงตกเป็นสิทธิของผู้ร้องกับส.โจทก์ไม่มีสิทธินำยึดมาชำระหนี้โจทก์อุทธรณ์ว่าผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบให้เห็นว่าผู้ตายมีทรัพย์มรดกอื่นอีกและพินัยกรรมไม่ได้ระบุว่าให้ที่ดินแปลงใดหรือให้ที่ดินมีเอกสารสิทธิหรือไม่ทั้งสิ่งปลูกสร้างหรือบ้านที่กำหนดให้ก็มิได้ระบุว่าเป็นสิ่งปลูกสร้างอะไรบ้านเลขที่เท่าใดตั้งอยู่ที่ไหนข้อความที่ตกเติมในพินัยกรรมก็ไม่มีลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมกำกับไว้จึงเป็นพินัยกรรมที่ไม่สมบูรณ์เมื่อผู้ตายไม่มีทรัพย์มรดกอื่นนอกจากที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งผู้ร้องยังไม่ได้มีการจัดการมรดกโจทก์จึงนำยึดมาชำระหนี้ได้ล้วนเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อที่ดินและบ้านพิพาทมีราคารวมกันไม่เกินห้าหมื่นบาทจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่ง การโต้เถียงว่าศาลวินิจฉัยคดีนอกประเด็นหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่งการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อนี้มาจึงเป็นการไม่ชอบแต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยก่อนการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้ตายมีทรัพย์มรดกคือที่ดินอีก20ไร่ก็เป็นการยกเหตุผลขึ้นมาสนับสนุนให้เห็นว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นทรัพย์ตามพินัยกรรมอันอยู่ในประเด็นพิพาทว่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นของจำเลยหรือไม่หาใช่เป็นการวินิจฉัยคดีนอกประเด็นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5230/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการฟ้องร้องค่าเสียหาย: ศาลมิอาจพิพากษาเกินหรือนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องเรียกเอาค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ ค่าติดตามยึดรถพิพาทและค่าซ่อมรถพิพาทโดยมิได้เรียกร้องเอาค่าขาดประโยชน์ในการที่จำเลยครอบครองรถพิพาทอยู่นับแต่วันที่จำเลยผิดนัดจนถึงวันที่โจทก์ติดตามยึดรถพิพาทคืนมาได้แต่อย่างใดแสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์เรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ จึงมิได้บรรยายฟ้องขอมา การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยใช้ค่าประโยชน์ให้แก่โจทก์เดือนละ 50,000 บาท เป็นระยะเวลา 7 เดือน จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าและนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5230/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำขอในฟ้อง: ศาลอุทธรณ์มิอาจกำหนดค่าเสียหายที่โจทก์มิได้เรียกร้อง
โจทก์ฟ้องเรียกเอาค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระค่าติดตามยึดรถพิพาทและค่าซ่อมรถพิพาทโดยมิได้เรียกร้องเอาค่าขาดประโยชน์ในการที่จำเลยครอบครองรถพิพาทอยู่นับแต่วันที่จำเลยผิดนัดจนถึงวันที่โจทก์ติดตามยึดรถพิพาทคืนมาได้แต่อย่างใดแสดงว่าโจทก์ไม่ประสงค์เรียกค่าเสียหายในส่วนนี้จึงมิได้บรรยายฟ้องขอมาการที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยใช้ค่าประโยชน์ให้แก่โจทก์เดือนละ50,000บาทเป็นระยะเวลา7เดือนจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าและนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5059/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจดทะเบียนโอนรถยนต์ที่ทำไปโดยไม่สุจริตเพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่1ได้ยักย้ายรถยนต์คันพิพาทจดทะเบียนโอนให้แก่จำเลยที่2โดยไม่สุจริตจำเลยที่1ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะบังคับให้ชำระหนี้ได้การกระทำของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์เสียเปรียบขอให้พิพากษาว่าการจดทะเบียนโอนรถยนต์บรรทุกเป็นโมฆะคำฟ้องของโจทก์พอจะเข้าใจได้ว่าโจทก์ร้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยที่1กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237วรรคหนึ่งที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนรถยนต์คันพิพาทจึงไม่เป็นการเกินคำขอ