พบผลลัพธ์ทั้งหมด 155 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7451/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินงอก การครอบครองแทนเจ้าของเดิม และการบอกกล่าวเปลี่ยนเจตนา
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ได้ครอบครองทำประโยชน์บนที่งอกที่ดินน้ำทะเลท่วมไม่ถึงหน้าที่ดินตราจองเลขที่1494และหน้าที่ดินตราจองเลขที่1493ของจำเลยที่1และที่2โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเป็นเวลาเกิน10ปีขอให้พิพากษาว่าที่ดินทั้งสองแปลงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โจทก์จึงมีหน้าที่พิสูจน์ให้ได้ความตามฟ้องดังกล่าวที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ครอบครองพิพาทแทนจำเลยที่1และที่2เป็นการวินิจฉัยว่าโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าโจทก์ครอบครองที่พิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของนั่นเองจึงไม่ใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ที่พิพาทเป็นที่งอกริมตลิ่งของที่ดินตราจองที่ตราว่า"ได้ทำประโยชน์แล้ว"เลขที่1494และ1493ที่พิพาทซึ่งเป็นที่งอกจึงเป็นทรัพย์สินของจำลองทั้งสองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1308และถือว่าที่พิพาทไม่ใช่ที่ดินมือเปล่าแต่เป็นที่ดินอยู่ในตราจองที่ตราว่า"ได้ทำประโยชน์แล้ว"ของที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวในลักษณะเป็นส่วนควบส่วนการที่ทางราชการออกโฉนดที่ดินให้แก่ที่พิพาทเป็นเพียงการปฏิบัติเพื่อให้ที่พิพาทมีหนังสือสำคัญตามประเภทของที่ดินเท่านั้นหากโจทก์ครอบครองที่พิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของโจทก์จะต้องครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปีจึงจะได้กรรมสิทธิ์ จำเลยทั้งสองได้ว่าจ้างโจทก์เฝ้าดูแลที่ดินทั้งสองแปลงซึ่งเป็นที่ดินตราจองที่ตราว่า"ได้ทำประโยชน์แล้ว"รวมตลอดทั้งที่พิพาทซึ่งเป็นที่งอกริมตลิ่งด้วยการที่โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทในพฤติการณ์เช่นนี้จึงเป็นการครอบครองแทนจำเลยทั้งสองหากโจทก์ยังคงยึดถือครอบครองที่พิพาทในลักษณะเช่นนี้อยู่ตราบใดไม่ว่าระยะเวลาจะเนิ่นนานเพียงใดโจทก์ก็ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทอยู่ตราบนั้นโจทก์จะมีทางได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทก็ต่อเมื่อโจทก์ได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยังจำเลยทั้งสองว่าโจทก์ไม่มีเจตนาจะยึดถือที่พิพาทแทนจำเลยทั้งสองอีกต่อไปแล้วครอบครองที่พิพาทต่อจากนั้นไปโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาสิบปีเท่านั้นเมื่อปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้ดำเนินการขอออกโฉนดที่พิพาทเมื่อปี2515และโจทก์ได้คัดค้านโดยอ้างว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ที่ได้ครอบครองมาดังนี้การที่โจทก์คัดค้านดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์บอกกว่าจะเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่พิพาทแทนจำเลยทั้งสองมาเป็นการยึดถือเพื่อตนให้แก่จำเลยทั้งสองทราบแล้วโดยปริยายเมื่อปี2515แต่โจทก์เพิ่งจะมาฟ้องกล่าวอ้างว่าได้ครอบครองที่พิพาทโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเมื่อปี2517หลังจากที่บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือเพียงสองปียังไม่ครบสิบปีดังนี้โจทก์จึงหาได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6183/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการวางท่อประปาผ่านที่ดินของผู้อื่น: การพิพากษาเกินคำขอ
ที่ดินในส่วนที่พิพาทเป็นของจำเลย และปรากฏว่าการที่โจทก์ขอวางท่อประปาไปยังที่ดินของโจทก์ผ่านที่ดินของจำเลยมีระยะทางใกล้ที่สุด ประกอบกับโจทก์ได้เสนอค่าทดแทนให้แก่จำเลยตามสมควรแล้ว โจทก์ย่อมใช้สิทธิขอวางท่อประปาผ่านที่ดินของจำเลยซึ่งอยู่ติดกับที่ดินของโจทก์ทั้งสองได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1352
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยยอมให้โจทก์วางท่อประปาผ่านที่ดินของจำเลยตามแนวในแผนที่ท้ายฟ้อง หากจำเลยไม่ยอม ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ไม่ได้มีคำขอว่าหากไม่สามารถวางท่อประปาผ่านที่ดินของจำเลยตามแนวในแผนที่ได้ ให้จำเลยยอมให้โจทก์ต่อท่อจากท่อประปาที่จำเลยวางไปยังทาวน์เฮาส์ที่จำเลยก่อสร้างได้ ทั้งท่อประปาดังกล่าวเป็นของจำเลยที่วางไว้โจทก์ไม่มีสิทธิอันใดที่จะไปต่อจากท่อนั้นได้ ดังนี้ คำพิพากษาของศาลล่างที่พิพากษาว่าหากโจทก์ไม่สามารถเดินท่อประปาผ่านที่ดินของจำเลยได้ให้ต่อจากท่อประปาที่จำเลยวางไว้ไปยังทาวน์เฮาส์ที่จำเลยก่อสร้างไว้ จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ไม่ชอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยยอมให้โจทก์วางท่อประปาผ่านที่ดินของจำเลยตามแนวในแผนที่ท้ายฟ้อง หากจำเลยไม่ยอม ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย ไม่ได้มีคำขอว่าหากไม่สามารถวางท่อประปาผ่านที่ดินของจำเลยตามแนวในแผนที่ได้ ให้จำเลยยอมให้โจทก์ต่อท่อจากท่อประปาที่จำเลยวางไปยังทาวน์เฮาส์ที่จำเลยก่อสร้างได้ ทั้งท่อประปาดังกล่าวเป็นของจำเลยที่วางไว้โจทก์ไม่มีสิทธิอันใดที่จะไปต่อจากท่อนั้นได้ ดังนี้ คำพิพากษาของศาลล่างที่พิพากษาว่าหากโจทก์ไม่สามารถเดินท่อประปาผ่านที่ดินของจำเลยได้ให้ต่อจากท่อประปาที่จำเลยวางไว้ไปยังทาวน์เฮาส์ที่จำเลยก่อสร้างไว้ จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ไม่ชอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6092/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในสัญญาเช่าซื้อเลิกสัญญา: ค่าเสียหาย, ค่าขาดประโยชน์, ค่าเสื่อมสภาพ, และดอกเบี้ย
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว ย่อมมีผลทำให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่ไม่มีผลกระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแก่กัน ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 391 และมาตรา 392 บัญญัติว่า การชำระหนี้ของคู่สัญญาอันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้น ให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งมาตรา369 กล่าวคือ ให้นำมาตรา 369 ว่าด้วยการชำระหนี้ในสัญญาต่างตอบแทนมาใช้บังคับ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ได้ แม้ตามคำฟ้องโจทก์เรียกร้องมาเป็นค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ แต่เมื่อคำฟ้องบรรยายมาว่า การที่จำเลยผิดนัดผิดสัญญาต่อโจทก์จนกระทั่งโจทก์บอกเลิกสัญญาและยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อกลับคืนมาดังกล่าว ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายกล่าวคือตลอดเวลาตั้งแต่ทำสัญญาเช่าซื้อจนกระทั่งโจทก์บอกเลิกสัญญาและยึดรถยนต์คืนมานั้นจำเลยเป็นผู้ครอบครองใช้รถยนต์ที่เช่าซื้ออันเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดแรกวันที่ 4 ตุลาคม 2533 ถึงงวดที่ 12 วันที่ 4 กันยายน 2534 ซึ่งคำนวณแล้วจำเลยค้างชำระค่าเช่าซื้อเป็นเงิน 652,584 บาท ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายอันเป็นค่าขาด-ประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ของโจทก์มาตลอดเวลาที่จำเลยยังครอบครองทรัพย์ของโจทก์อยู่ด้วย ดังนี้ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้และค่าเสียหายเช่นนี้ศาลอาจกำหนดตามที่เห็นสมควรได้ ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
เมื่อกรณีเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยมีส่วนนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปใช้โดยมิชอบ ไม่สงวนทรัพย์สินเสมอกับวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเองเป็นเหตุให้รถยนต์ชำรุดเสียหาย จำเลยจึงต้องรับผิดในส่วนที่รถยนต์ขายได้ราคาต่ำลงมาเนื่องจากความชำรุดเสียหายดังกล่าวตาม ป.พ.พ.มาตรา 562ทั้งข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อตามสำเนาหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ก็ระบุว่า เมื่อสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลง ถ้าปรากฏว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อตกอยู่ในสภาพเสื่อมเหลือมูลค่าเป็นเงินไม่คุ้มกับค่าเช่าซื้อที่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระทั้งหมดตามสัญญารวมกับหนี้สินอื่น ๆ ที่จำเลยยังคงค้างชำระอยู่ จำเลยจะต้องรับผิดชำระเงินที่ยังขาดอยู่เป็นค่าเสียหายให้แก่โจทก์จนครบถ้วนด้วย จำเลยจึงต้องรับผิดชำระค่าเสื่อมราคารถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่โจทก์
ตามหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ระบุว่า "ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามจำนวนและเวลาและสถานที่ตามที่กำหนดไว้ในสัญญานี้หรือไม่ชำระค่าเสียหาย และหรือหนี้สินอื่นใดที่ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชอบต่อบริษัท...ผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดชอบเสียดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่ค้างชำระให้แก่บริษัทในอัตราร้อยละสิบเจ็ดต่อปี นับแต่วันผิดนัดจนกว่าจะชำระเสร็จอีกด้วย" ดังนี้ข้อสัญญาดังกล่าวไม่รวมถึงหนี้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ค่าเสียหายดังกล่าวนี้โจทก์คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 เท่านั้น ส่วนค่าเสื่อมราคารถยนต์ที่เช่าซื้อนั้นเป็นหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระตามข้อตกลงในสัญญา แต่ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยในค่าเสียหายดังกล่าวนี้ เป็นวิธีกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าวิธีหนึ่ง มีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ ถ้ากำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลอาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้
เมื่อกรณีเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยมีส่วนนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปใช้โดยมิชอบ ไม่สงวนทรัพย์สินเสมอกับวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเองเป็นเหตุให้รถยนต์ชำรุดเสียหาย จำเลยจึงต้องรับผิดในส่วนที่รถยนต์ขายได้ราคาต่ำลงมาเนื่องจากความชำรุดเสียหายดังกล่าวตาม ป.พ.พ.มาตรา 562ทั้งข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อตามสำเนาหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ก็ระบุว่า เมื่อสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลง ถ้าปรากฏว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อตกอยู่ในสภาพเสื่อมเหลือมูลค่าเป็นเงินไม่คุ้มกับค่าเช่าซื้อที่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระทั้งหมดตามสัญญารวมกับหนี้สินอื่น ๆ ที่จำเลยยังคงค้างชำระอยู่ จำเลยจะต้องรับผิดชำระเงินที่ยังขาดอยู่เป็นค่าเสียหายให้แก่โจทก์จนครบถ้วนด้วย จำเลยจึงต้องรับผิดชำระค่าเสื่อมราคารถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่โจทก์
ตามหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ระบุว่า "ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามจำนวนและเวลาและสถานที่ตามที่กำหนดไว้ในสัญญานี้หรือไม่ชำระค่าเสียหาย และหรือหนี้สินอื่นใดที่ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชอบต่อบริษัท...ผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดชอบเสียดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่ค้างชำระให้แก่บริษัทในอัตราร้อยละสิบเจ็ดต่อปี นับแต่วันผิดนัดจนกว่าจะชำระเสร็จอีกด้วย" ดังนี้ข้อสัญญาดังกล่าวไม่รวมถึงหนี้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ค่าเสียหายดังกล่าวนี้โจทก์คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 เท่านั้น ส่วนค่าเสื่อมราคารถยนต์ที่เช่าซื้อนั้นเป็นหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระตามข้อตกลงในสัญญา แต่ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยในค่าเสียหายดังกล่าวนี้ เป็นวิธีกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าวิธีหนึ่ง มีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ ถ้ากำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลอาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6092/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว ค่าเสียหายจากการใช้ทรัพย์และค่าเสื่อมสภาพรถยนต์ ผู้เช่าซื้อต้องรับผิด
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้วย่อมมีผลทำให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมแต่ไม่มีผลกระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแก่กันตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391และมาตรา392บัญญัติว่าการชำระหนี้ของคู่สัญญาอันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้นให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งมาตรา369กล่าวคือให้นำมาตรา369ว่าด้วยการชำระหนี้ในสัญญาต่างตอบแทนมาใช้บังคับโจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ได้แม้ตามคำฟ้องโจทก์เรียกร้องมาเป็นค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระแต่เมื่อคำฟ้องบรรยายมาว่าการที่จำเลยผิดนัดผิดสัญญาต่อโจทก์จนกระทั่งโจทก์บอกเลิกสัญญาและยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อกลับคืนมาดังกล่าวทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายกล่าวคือตลอดเวลาตั้งแต่ทำสัญญาเช่าซื้อจนกระทั่งโจทก์บอกเลิกสัญญาและยึดรถยนต์คืนมานั้นจำเลยเป็นผู้ครอบครองใช้รถยนต์ที่เช่าซื้ออันเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดแรกวันที่4ตุลาคม2533ถึงงวดที่12วันที่4กันยายน2534ซึ่งคำนวณแล้วจำเลยค้างชำระค่าเช่าซื้อเป็นเงิน652,584บาทถือได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ของโจทก์มาตลอดเวลาที่จำเลยยังครอบครองทรัพย์ของโจทก์อยู่ด้วยดังนี้ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้และค่าเสียหายเช่นนี้ศาลอาจกำหนดตามที่เห็นสมควรได้ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142 เมื่อกรณีเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยมีส่วนนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปใช้โดยมิชอบไม่สงวนทรัพย์สินเสมอกับวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเองเป็นเหตุให้รถยนต์ชำรุดเสียหายจำเลยจึงต้องรับผิดในส่วนที่รถยนต์ขายได้ราคาต่ำลงมาเนื่องจากความชำรุดเสียหายดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา562ทั้งข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อตามสำเนาหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ก็ระบุว่าเมื่อสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงถ้าปรากฏว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อตกอยู่ในสภาพเสื่อมเหลือมูลค่าเป็นเงินไม่คุ้มกับค่าเช่าซื้อที่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้หมดตามสัญญารวมกับหนี้สินอื่นๆที่จำเลยยังคงค้างชำระอยู่จำเลยจะต้องรับผิดชำระเงินที่ยังขาดอยู่เป็นค่าเสียหายให้แก่โจทก์จนครบถ้วนด้วยจำเลยจึงต้องรับผิดชำระค่าเสื่อมราคารถยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่โจทก์ ตามหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ระบุว่า"ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามจำนวนและสถานที่ตามที่กำหนดไว้ในสัญญานี้หรือไม่ชำระค่าเสียหายและหรือหนี้สินอื่นใดที่ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชอบต่อบริษัทผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดชอบเสียดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่ค้างชำระให้แก่บริษัทในอัตราร้อยละสิบเจ็ดต่อปีนับแต่วันผิดนัดจนกว่าจะชำระเสร็จอีกด้วย"ดังนี้ข้อสัญญาดังกล่าวไม่รวมถึงหนี้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ค่าเสียหายดังกล่าวนี้โจทก์คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224เท่านั้นส่วนค่าเสื่อมราคารถยนต์ที่เช่าซื้อนั้นเป็นหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระตามข้อตกลงในสัญญาแต่ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยในค่าเสียหายดังกล่าวนี้เป็นวิธีกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าวิธีหนึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับถ้ากำหนดไว้สูงเกินส่วนศาลอาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6028/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินมรดก: การครอบครองของทายาทและสิทธิในการเข้าทำประโยชน์
ล.มิได้ยกที่ดินพิพาทส่วนของตนให้แก่โจทก์ เมื่อ ล.ถึงแก่กรรมที่ดินพิพาทส่วนของ ล.ย่อมตกเป็นมรดกแก่ทายาททุกคน แม้โจทก์จะเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาททั้งแปลงก็ตาม แต่ที่ดินในส่วนของ ล.ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกทุกคน โจทก์จึงหาได้สิทธิโดยการครอบครองปรปักษ์ไม่จำเลยทั้งสามเป็นบุตรของ ล.ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ ล.ย่อมมีสิทธิในที่ดินพิพาทส่วนของ ล.ที่เป็นทรัพย์มรดกนั้น จึงมีสิทธิที่จะเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสาม
โจทก์ฟ้องว่าที่ดินพิพาทส่วนของ ล.นั้น ล.ได้ยกให้แก่โจทก์ก่อนถึงแก่กรรม เมื่อศาลอุทธรณ์ฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และ ล. แต่ ล.ไม่ได้ยกให้แก่โจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไปถึงว่าที่ดินพิพาทส่วนของ ล.เป็นมรดกของ ล.จึงเป็นการวินิจฉัยโดยผลของกฎหมาย เพราะถึงแม้จะไม่ได้วินิจฉัยไว้ แต่โดยผลของกฎหมายแล้วเมื่อ ล.ถึงแก่กรรมที่ดินพิพาทส่วนของ ล.ย่อมเป็นทรัพย์มรดกของ ล.นั่นเอง จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์ฟ้องว่าที่ดินพิพาทส่วนของ ล.นั้น ล.ได้ยกให้แก่โจทก์ก่อนถึงแก่กรรม เมื่อศาลอุทธรณ์ฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และ ล. แต่ ล.ไม่ได้ยกให้แก่โจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไปถึงว่าที่ดินพิพาทส่วนของ ล.เป็นมรดกของ ล.จึงเป็นการวินิจฉัยโดยผลของกฎหมาย เพราะถึงแม้จะไม่ได้วินิจฉัยไว้ แต่โดยผลของกฎหมายแล้วเมื่อ ล.ถึงแก่กรรมที่ดินพิพาทส่วนของ ล.ย่อมเป็นทรัพย์มรดกของ ล.นั่นเอง จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6028/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินมรดก: สิทธิของทายาทและการครอบครองแทนทายาท
ล.มิได้ยกที่ดินพิพาทส่วนของตนให้แก่โจทก์ เมื่อล.ถึงแก่กรรมที่ดินพิพาทส่วนของ ล. ย่อมตกเป็นมรดกแก่ทายาททุกคน แม้โจทก์จะเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาททั้งแปลงก็ตาม แต่ที่ดินในส่วนของ ล.ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกทุกคน โจทก์จึงหาได้สิทธิโดยการครอบครองปรปักษ์ไม่จำเลยทั้งสามเป็นบุตรของ ล. ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ ล.ย่อมมีสิทธิในที่ดินพิพาทส่วนของ ล.ที่เป็นทรัพย์มรดกนั้น จึงมีสิทธิที่จะเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสาม โจทก์ฟ้องว่าที่ดินพิพาทส่วนของ ล. นั้น ล.ได้ยกให้แก่โจทก์ก่อนถึงแก่กรรม เมื่อศาลอุทธรณ์ฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และ ล. แต่ล. ไม่ได้ยกให้แก่โจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไปถึงว่าที่ดินพิพาทส่วนของ ล.เป็นมรดกของ ล.จึงเป็นการวินิจฉัยโดยผลของกฎหมาย เพราะถึงแม้จะไม่ได้วินิจฉัยไว้แต่โดยผลของกฎหมายแล้วเมื่อ ล.ถึงแก่กรรมที่ดินพิพาทส่วนของ ล. ย่อมเป็นทรัพย์มรดกของ ล.นั่นเองจึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4890/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอุทธรณ์นอกประเด็นเดิม ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะผู้จัดการมรดกของ ย.จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ในฐานะผู้บังคับบัญชาของ ย. ให้ร่วมรับผิดในการที่ ย. ทุจริตยักยอกเงินของโจทก์ไป ศาลชั้นต้นวินิจฉัยและพิพากษาว่า ย. ไม่ได้ทุจริตยักยอกเงินของโจทก์ แต่การที่ ย. ไม่เก็บรักษาใบสำคัญการจ่ายเงินไว้เพื่อให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบเป็นการประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายการกระทำของ ย. จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นจึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น และโจทก์ก็มิได้อุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าว การที่โจทก์อุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 รับผิดต่อโจทก์โดยอ้างว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ไม่ควบคุมดูแลให้ ย. เก็บรักษาใบสำคัญการจ่ายเงินไว้ จึงเป็นการอุทธรณ์นอกฟ้องนอกประเด็นและเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับวินิจฉัยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4890/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการทุจริตยักยอกเงินและการวินิจฉัยนอกฟ้อง ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกามีคำพิพากษาชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่1รับผิดในฐานะผู้จัดการมรดกของย.จำเลยที่2ถึงที่4ในฐานะผู้บังคับบัญชาของย. ให้ร่วมรับผิดในการที่ย. ทุจริตยักยอกเงินของโจทก์ไปศาลชั้นต้นวินิจฉัยและพิพากษาว่าย. ไม่ได้ทุจริตยักยอกเงินของโจทก์แต่การที่ย.ไม่เก็บรักษาใบสำคัญการจ่ายเงินไว้เพื่อให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบเป็นการประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายการกระทำของย. จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นจึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นและโจทก์ก็มิได้อุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวการที่โจทก์อุทธรณ์ให้จำเลยที่2ถึงที่4รับผิดต่อโจทก์โดยอ้างว่าจำเลยที่2ถึงที่4ไม่ควบคุมดูแลให้ย.เก็บรักษาใบสำคัญการจ่ายเงินไว้จึงเป็นการอุทธรณ์นอกฟ้องนอกประเด็นและเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค1ไม่รับวินิจฉัยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3846/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการนำสืบพยานเพื่อพิสูจน์เอกสารปลอม แม้ไม่ได้ยกข้อต่อสู้ไว้ก่อน
การที่จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบว่า โจทก์ที่ 2 ไม่ได้ไปสำนักงานที่ดินอำเภอ ในวันทำสัญญาซื้อขายที่ดินตามหนังสือสัญญาขายที่ดิน และไม่ทราบว่าเพราะเหตุใดจึงมีลายมือชื่อโจทก์ที่ 2 ปรากฏอยู่ในเอกสารดังกล่าวนั้น เป็นการนำสืบเพื่อแสดงให้เห็นว่าหนังสือสัญญาขายที่ดินเป็นเอกสารปลอม จำเลยจึงมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบได้เช่นนั้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 วรรคสอง
โจทก์ทั้งสี่เพียงแต่บรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 2 ในฐานะส่วนตัวมีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ร่วมกับ จ.และจำเลยโดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับหนังสือสัญญาขายที่ดิน เมื่อจำเลยให้การว่าจำเลยเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามฟ้อง จึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะต้องให้การถึงหนังสือสัญญาขายที่ดินที่โจทก์ไม่ได้บรรยายมาในฟ้องนั้น และเมื่อต่อมาโจทก์นำหนังสือสัญญาขายที่ดินมาสืบเป็นพยานโจทก์ในชั้นพิจารณาเพื่อสนับสนุนข้ออ้างของโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบให้เห็นว่า หนังสือสัญญาขายที่ดินเอกสารหมาย จ.3 เป็นเอกสารปลอมเพื่อสนับสนุนข้อเถียงของจำเลยตามที่ได้ให้การไว้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามฟ้องแต่เพียงผู้เดียวได้ แม้จำเลยจะไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าหนังสือสัญญาขายที่ดินเป็นเอกสารปลอมก็ตาม
โจทก์ทั้งสี่เพียงแต่บรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 2 ในฐานะส่วนตัวมีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ร่วมกับ จ.และจำเลยโดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับหนังสือสัญญาขายที่ดิน เมื่อจำเลยให้การว่าจำเลยเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามฟ้อง จึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะต้องให้การถึงหนังสือสัญญาขายที่ดินที่โจทก์ไม่ได้บรรยายมาในฟ้องนั้น และเมื่อต่อมาโจทก์นำหนังสือสัญญาขายที่ดินมาสืบเป็นพยานโจทก์ในชั้นพิจารณาเพื่อสนับสนุนข้ออ้างของโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบให้เห็นว่า หนังสือสัญญาขายที่ดินเอกสารหมาย จ.3 เป็นเอกสารปลอมเพื่อสนับสนุนข้อเถียงของจำเลยตามที่ได้ให้การไว้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามฟ้องแต่เพียงผู้เดียวได้ แม้จำเลยจะไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าหนังสือสัญญาขายที่ดินเป็นเอกสารปลอมก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3226/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนและแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: ข้อจำกัดในการฎีกาประเด็นที่มิได้อุทธรณ์ และขอบเขตคำขอ
ผู้คัดค้านมิได้อุทธรณ์ในประเด็นที่ว่าสมควรเพิกถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ ประเด็นนี้จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและถึงที่สุดไปแล้วจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ผู้คัดค้านเพียงแต่ขอให้ศาลมีคำสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเท่านั้น หาได้ขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายไม่ ศาลจึงไม่อาจมีคำสั่งหรือคำพิพากษาตั้งให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้เพราะเกินคำขอต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 วรรคหนึ่ง