คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 142 วรรคหนึ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 155 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3226/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนและแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: ข้อจำกัดในการฎีกาประเด็นที่ไม่ได้อุทธรณ์ และการขอสิ่งที่ไม่เคยขอ
ผู้คัดค้านมิได้อุทธรณ์ในประเด็นที่ว่าสมควรเพิกถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ประเด็นนี้จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและถึงที่สุดไปแล้วจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง ผู้คัดค้านเพียงแต่ขอให้ศาลมีคำสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเท่านั้นหาได้ขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายไม่ศาลจึงไม่อาจมีคำสั่งหรือคำพิพากษาตั้งให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้เพราะเกินคำขอต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3226/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนและแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: ประเด็นยุติจากการไม่โต้แย้งในชั้นอุทธรณ์ และการขอเกินคำ
ผู้คัดค้านมิได้อุทธรณ์ในประเด็นที่ว่าสมควรเพิกถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ประเด็นนี้จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและถึงที่สุดไปแล้วจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง ผู้คัดค้านเพียงแต่ขอให้ศาลมีคำสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเท่านั้นหาได้ขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายไม่ศาลจึงไม่อาจมีคำสั่งหรือคำพิพากษาตั้งให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้เพราะเกินคำขอต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3226/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในประเด็นที่มิได้อุทธรณ์ และขอบเขตคำขอของคู่ความ
ผู้คัดค้านมิได้อุทธรณ์ในประเด็นที่ว่าสมควรเพิกถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ ประเด็นนี้จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและถึงที่สุดไปแล้ว จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ผู้คัดค้านเพียงแต่ขอให้ศาลมีคำสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเท่านั้น หาได้ขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายไม่ ศาลจึงไม่อาจมีคำสั่งหรือคำพิพากษาตั้งให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้เพราะเกินคำขอต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3197/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำฟ้อง: ศาลไม่อาจพิพากษาเกินกว่าที่ระบุในฟ้อง แม้มีข้อเท็จจริงสนับสนุน
ฟ้องโจทก์กล่าวอ้างชัดแจ้งว่าจำเลยเช่าที่ดินโจทก์เนื้อที่ 30 ตารางวา และปลูกบ้านเลขที่ 16/4 บนที่ดินดังกล่าวอยู่อาศัยตลอดมาโดยขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนบ้านเลขที่ 16/4 ออกไปจากที่ดินโจทก์ที่จำเลยทำสัญญาเช่ามา มิได้ขอให้บังคับขับไล่จำเลยออกไปจากที่ดินโจทก์เนื้อที่เกินกว่า 30 ตารางวาแม้จะกล่าวอ้างด้วยว่าที่ดินที่จำเลยเช่าเป็นแปลงเดียวกับที่ดินเนื้อที่ 11 ไร่เศษ และจำเลยให้การว่าที่ดินตามฟ้องจำเลยมีสิทธิครอบครองอยู่ 4 ไร่ โดยโจทก์มอบให้เพื่อชำระราคาที่ดินที่จำเลยขายให้แก่โจทก์ แต่จำเลยมิได้ฟ้องแย้งไว้ คดีจึงไม่มีประเด็นพิพาทว่า จำเลยครอบครองที่ดินในส่วนที่เกินกว่า 30 ตารางวา คงพิพาทและบังคับกันได้เฉพาะที่พิพาทตามฟ้องเนื้อที่ 30 ตารางวา ศาลย่อมไม่มีอำนาจวินิจฉัยเลยไปถึงว่าให้จำเลยออกไปจากที่ดินเนื้อที่ 3 ไร่เศษของโจทก์ได้เพราะเป็นการพิพากษาเกินกว่าที่ปรากฎในคำฟ้องต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3197/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจศาล: การบังคับตามคำฟ้องเฉพาะเนื้อที่เช่า การพิพากษาเกินฟ้องเป็นอธิกรณ์ต้องห้าม
ฟ้องโจทก์กล่าวอ้างชัดแจ้งว่าจำเลยเช่าที่ดินโจทก์เนื้อที่30ตารางวาและปลูกบ้านเลขที่16/4บนที่ดินดังกล่าวอยู่อาศัยตลอดมาโดยขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนบ้านเลขที่16/4ออกไปจากที่ดินโจทก์ที่จำเลยทำสัญญาเช่ามามิได้ขอให้บังคับขับไล่จำเลยออกไปจากที่ดินโจทก์เนื้อที่เกินกว่า30ตารางวาแม้จะกล่าวอ้างด้วยว่าที่ดินที่จำเลยเช่าเป็นแปลงเดียวกับที่ดินเนื้อที่11ไร่เศษและจำเลยให้การว่าที่ดินตามฟ้องจำเลยมีสิทธิครอบครองอยู่4ไร่โดยโจทก์มอบให้เพื่อชำระราคาที่ดินที่จำเลยขายให้แก่โจทก์แต่จำเลยมิได้ฟ้องแย้งไว้คดีจึงไม่มีประเด็นพิพาทว่าจำเลยครอบครองที่ดินในส่วนที่เกินกว่า30ตารางวาคงพิพาทและบังคับกันได้เฉพาะที่พิพาทตามฟ้องเนื้อที่30ตารางวาศาลย่อมไม่มีอำนาจวินิจฉัยเลยไปถึงว่าให้จำเลยออกไปจากที่ดินเนื้อที่3ไร่เศษของโจทก์ได้เพราะเป็นการพิพากษาเกินกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2953/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยไม่สุจริตของผู้ซื้อที่ทราบว่าผู้ขายมีภริยาและไม่ได้ยินยอม
จำเลยที่2ทราบอยู่แล้วในขณะทำการจดทะเบียนรับโอนที่พิพาทว่าจำเลยที่1มีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายและไม่ได้ให้ความยินยอมแก่จำเลยที่1ในการโอนที่พิพาทให้แก่จำเลยที่2จึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตไม่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1480วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ใส่ชื่อโจทก์กับจำเลยที่1เป็นเจ้าของร่วมกันในโฉนดที่ดินพิพาทโดยโจทก์มิได้กล่าวในฟ้องเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฎในคำฟ้องไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2953/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยไม่สุจริตและขอบเขตคำพิพากษาเกินคำฟ้อง
จำเลยที่ 2 ทราบอยู่แล้วในขณะทำการจดทะเบียนรับโอนที่พิพาทว่า จำเลยที่ 1 มีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายและไม่ได้ให้ความยินยอมแก่จำเลยที่ 1 ในการโอนที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตไม่ได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1480 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ใส่ชื่อโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของร่วมกันในโฉนดที่ดินพิพาทโดยโจทก์มิได้กล่าวในฟ้อง เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 142 ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1999/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการขุดดิน – ความรับผิดของผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้าง – การแก้ไขสภาพเดิม
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยและจำเลยร่วมก่อสร้างเขื่อนเพื่อกั้นดินในเขตติดต่อที่ดินโจทก์จำเลยมิให้พังทลายลงโดยไม่ได้ฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายซึ่งเกิดจากการละเมิดโดยตรง จึงไม่อยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา448 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีอายุความเพียง 1 ปี และในกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงใช้อายุความตามหลักทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30ซึ่งมีอายุความ 10 ปี
การที่ที่ดินของโจทก์พังทลายลงเกิดจากการกระทำของคนงานของจำเลยร่วมที่ขุดดินใกล้เขตที่ดินของโจทก์มากเกินไป ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่ได้ใช้ความระมัดระวังเท่าที่ควร ถือเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ซึ่งจำเลยร่วมจะต้องเป็นผู้รับผิด จำเลยผู้ว่าจ้างเป็นผู้กำหนดให้จำเลยร่วมผู้รับจ้างว่าจะขุดบริเวณใดเห็นได้ว่าจำเลยร่วมได้ทำตามคำสั่งของจำเลย แม้จะเป็นการจ้างทำของ จำเลยก็จะต้องร่วมรับผิดด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 428
โจทก์ขอให้สร้างเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็กกั้นดินยาว 180 เมตรก็เพื่อต้องการที่จะให้ที่ดินอยู่ในสภาพเดิมไม่พังทลายลงไปในที่ดินของจำเลยเท่านั้นดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าการสร้างเขื่อนเกินความจำเป็น จึงได้ใช้วิธีถมดินแล้วบดอัดให้แน่นเพื่อป้องกันมิให้ที่ดินของโจทก์พังทลายลงไปในที่ดินของจำเลย ศาลอุทธรณ์มีอำนาจทำได้ ไม่เกินคำขอของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 639/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดค่าเสียหายที่ไม่ชัดเจนในคดีความผิดตามพ.ร.บ.เดินเรือ ศาลฎีกาพิพากษาให้ยกการชดใช้ค่าเสียหายแก่กรมเจ้าท่า
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทยพ.ศ.2456โดยมิได้บรรยายฟ้องว่ากรมเจ้าท่าได้เสียค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปในการแก้ไขสิ่งเป็นพิษเป็นจำนวนเท่าไรอีกทั้งมิได้ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้และข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่ากรมเจ้าท่าได้เสียค่าใช้จ่ายในการแก้ไขสิ่งที่เป็นพิษเป็นจำนวนเท่าใดจึงไม่อาจกำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่กรมเจ้าท่าได้การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายให้แก่กรมเจ้าท่าจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนชื่อออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ และการโต้แย้งสิทธิในที่ดินมรดก รวมถึงข้อจำกัดในการฎีกาข้อเท็จจริง
คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 1 แสดงให้เห็นว่า โจทก์ที่ 3มิได้มีสิทธิแต่ผู้เดียวในที่ดินพิพาท อันจะมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนชื่อ ท. ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสามได้เท่านั้น หาได้เป็นการวินิจฉัยในเรื่องแบ่งปันที่ดินพิพาท จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแต่อย่างใด
ส่วนที่โจทก์ทั้งสามขอให้ถอนชื่อ ท. ออกจาก น.ส.3 ก.สำหรับที่ดินพิพาทนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่าโจทก์ที่ 3 และ ท. มีสิทธิในที่ดินพิพาทคนละครึ่ง กรณีจึงไม่อาจเพิกถอนชื่อ ท. ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทได้ ย่อมมีผลเท่ากับยกคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสาม แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 1 และที่ 2 เท่านั้นมิได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 3 ด้วย ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง นอกจากนี้ที่โจทก์ทั้งสามขอให้พิพากษาว่า พินัยกรรม ท. ใช้บังคับไม่ได้นั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1วินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ จ. ย่อมมีผลเท่ากับพินัยกรรมใช้บังคับได้ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกคำขอเฉพาะโจทก์ที่ 3 เท่านั้น มิได้พิพากษาให้ยกคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ด้วย ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเช่นกัน
ที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ที่ 3 ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ จ. ทุกคน คดีจึงไม่ขาดอายุความนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าฟ้องโจทก์ที่ 3 ขาดอายุความหรือไม่เพราะศาลต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงให้เป็นที่ยุติเสียก่อนว่า โจทก์ที่ 3 ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ จ. หรือไม่ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงนอกจากนี้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ยังฎีกาอีกว่า ท.ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทเพียงผู้เดียวจึงไม่อาจทำพินัยกรรมยกที่ดินทั้งแปลงให้แก่จำเลยอันเป็นการกระทำที่เกินกว่าสิทธิของตนที่พึงจะได้รับตามกฎหมายในฐานะทายาทของ จ. ขอให้ศาลพิพากษากลับและบังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นก็เป็นฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังมาว่า ท.มีสิทธิในที่ดินพิพาทเพียงครึ่งหนึ่ง จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเช่นเดียวกัน ปรากฏว่าคดีนี้ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ดังนั้น โจทก์ที่ 1และที่ 2 จึงต้องห้ามฎีกา
ที่จำเลยฎีกาว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ จ. การที่โจทก์ที่ 3 ได้ร่วมทำกินกับ ท. ก็ไม่อาจก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ แก่โจทก์ที่ 3 และไม่อยู่ในฐานะที่จะขอแบ่งที่ดินพิพาทได้ โจทก์ทั้งสามไม่เคยเข้าเกี่ยวข้องในที่ดิน-พิพาท ฟ้องโจทก์ทั้งสามขาดอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง เป็นฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังมาจึงต้องห้ามฎีกาเช่นเดียวกันกับโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ส่วนที่จำเลยฎีกาอีกว่าท.ได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ พ.ศ.2519 แล้ว โจทก์ทั้งสามไม่ได้โต้แย้งหรือคัดค้านภายในกำหนด 1 ปี นับแต่ถูกแย่งการครอบครองตามประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง นั้น ปรากฏว่าจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
of 16