พบผลลัพธ์ทั้งหมด 155 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนชื่อจากน.ส.3ก. กรณีสิทธิร่วม และการยกคำขอเนื่องจากฎีกาต้องห้าม
คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค1แสดงให้เห็นว่าโจทก์ที่3มิได้มีสิทธิแต่ผู้เดียวในที่ดินพิพาทอันจะมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนชื่อ ท. ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสามได้เท่านั้นหาได้เป็นการวินิจฉัยในเรื่องแบ่งปันที่ดินพิพาทจึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแต่อย่างใด ส่วนที่โจทก์ทั้งสามขอให้ถอนชื่อ ท. ออกจากน.ส.3ก.สำหรับที่ดินพิพาทนั้นศาลอุทธรณ์ภาค1วินิจฉัยว่าโจทก์ที่3และท. มีสิทธิในที่ดินพิพาทคนละครึ่งกรณีจึงไม่อาจเพิกถอนชื่อ ท.ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทได้ย่อมมีผลเท่ากับยกคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสามแต่ศาลอุทธรณ์ภาค1พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่1และที่2เท่านั้นมิได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่3ด้วยศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องนอกจากนี้ที่โจทก์ทั้งสามขอให้พิพากษาว่าพินัยกรรม ท. ใช้บังคับไม่ได้นั้นศาลอุทธรณ์ภาค1วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ จ.ย่อมมีผลเท่ากับพินัยกรรมใช้บังคับได้แต่ศาลอุทธรณ์ภาค1พิพากษายกคำขอเฉพาะโจทก์ที่3เท่านั้นมิได้พิพากษาให้ยกคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่1และที่2ด้วยศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเช่นกัน ที่โจทก์ที่1และที่2ฎีกาว่าโจทก์ที่3ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ จ. ทุกคนคดีจึงไม่ขาดอายุความนั้นเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าฟ้องโจทก์ที่3ขาดอายุความหรือไม่เพราะศาลต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงให้เป็นที่ยุติเสียก่อนว่าโจทก์ที่3ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ จ. หรือไม่จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงนอกจากนี้โจทก์ที่1และที่2ยังฎีกาอีกว่า ท. ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทเพียงผู้เดียวจึงไม่อาจทำพินัยกรรมยกที่ดินทั้งแปลงให้แก่จำเลยอันเป็นการกระทำที่เกินกว่าสิทธิของตนที่พึงจะได้รับตามกฎหมายในฐานะทายาทของ จ. ขอให้ศาลพิพากษากลับและบังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นก็เป็นฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค1ฟังมาว่า ท.มีสิทธิในที่ดินพิพาทเพียงครึ่งหนึ่งจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเช่นเดียวกันปรากฏว่าคดีนี้ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งดังนั้นโจทก์ที่1และที่2จึงต้องห้ามฎีกา ที่จำเลยฎีกาว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ จ. การที่โจทก์ที่3ได้ร่วมทำกินกับ ท. ก็ไม่อาจก่อให้เกิดสิทธิใดๆแก่โจทก์ที่3และไม่อยู่ในฐานะที่จะขอแบ่งที่ดินพิพาทได้โจทก์ทั้งสามไม่เคยเข้าเกี่ยวข้องในที่ดินพิพาทฟ้องโจทก์ทั้งสามขาดอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754วรรคหนึ่งเป็นฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค1ฟังมาจึงต้องห้ามฎีกาเช่นเดียวกันกับโจทก์ที่1และที่2ส่วนที่จำเลยฎีกาอีกว่าท. ได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทมาตั้งแต่พ.ศ.2519แล้วโจทก์ทั้งสามไม่ได้โต้แย้งหรือคัดค้านภายในกำหนด1ปีนับแต่ถูกแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1375วรรคสองนั้นปรากฏว่าจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 313/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาชำระหนี้โดยบุคคลภายนอกและผลของการไม่ตกลงเงื่อนไขผ่อนชำระ
จำเลยได้ทำหนังสือถึงโจทก์มีข้อความที่สำคัญว่าตามที่ทางราชการได้ทวงหนี้ค่าใช้จ่ายในการรับตัวลูกเรือจำนวน13คนซึ่งพ้นโทษจำคุกที่ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียตนามกลับประเทศไทยนั้นจำเลยยินดีชดใช้แต่เนื่องจากเรือของจำเลยถูกประเทศดังกล่าวจับทำให้มีฐานะยากจนมีหนี้สินล้นพ้นตัวจึงขอผ่อนชำระเดือนละ1,000บาทเป็นเรื่องจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิได้เป็นลูกหนี้ผูกพันตนเข้าชำระหนี้ให้โจทก์แม้จะไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่เพราะไม่ปรากฏว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตกลงให้หนี้ของลูกเรือทั้ง13คนระงับไปแต่ก็เป็นสัญญาประเภทหนึ่งที่กระทำด้วยความสมัครใจเมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมมีผลใช้บังคับได้ โจทก์ฟ้องโดยอาศัยหนังสือที่จำเลยมีถึงโจทก์เป็นหลักศาลชั้นต้นให้จำเลยรับผิดตามหนังสือดังกล่าวส่วนศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเมื่อโจทก์ไม่ยอมให้จำเลยผ่อนชำระตามหนังสือดังกล่าวเท่ากับข้อเสนอของจำเลยตกไปโจทก์ฎีกาว่าข้อเสนอของจำเลยหาตกเป็นโมฆะทั้งหมดไม่ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยว่าหนังสือดังกล่าวเป็นสัญญาประเภทใดตามที่ถูกต้องแท้จริงได้ ข้อความเฉพาะส่วนที่ขอผ่อนชำระในหนังสือดังกล่าวเป็นเพียงข้อเสนอขึ้นใหม่ของจำเลยดังข้อความในเอกสารที่ว่าจึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุเคราะห์ตามควรแก่กรณีต่อไปด้วยก็จะเป็นพระคุณอย่างสูงจึงมิใช่เงื่อนไขอันบังคับไว้ในสัญญาที่จำเลยยอมผูกพันตนเข้าชำระหนี้แก่โจทก์เป็นผลเมื่อมีเหตุการณ์อันใดอันหนึ่งเกิดขึ้นในอนาคตและไม่แน่นอนเมื่อโจทก์ไม่ตกลงในส่วนที่จำเลยขอผ่อนชำระดังกล่าวจำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 313/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อเสนอผ่อนชำระหนี้และการผูกพันตามสัญญา แม้เจ้าหนี้ไม่ตกลง
จำเลยได้ทำหนังสือถึงโจทก์มีข้อความที่สำคัญว่า ตามที่ทางราชการได้ทวงหนี้ค่าใช้จ่ายในการรับตัวลูกเรือจำนวน 13 คน ซึ่งพ้นโทษจำคุกที่ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามกลับประเทศไทยนั้น จำเลยยินดีชดใช้แต่เนื่องจากเรือของจำเลยถูกประเทศดังกล่าวจับทำให้มีฐานะยากจนมีหนี้สินล้นพ้นตัวจึงขอผ่อนชำระเดือนละ 1,000 บาท เป็นเรื่องจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิได้เป็นลูกหนี้ผูกพันตนเข้าชำระหนี้ให้โจทก์ แม้จะไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่เพราะไม่ปรากฏว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตกลงให้หนี้ของลูกเรือทั้ง 13 คน ระงับไป แต่ก็เป็นสัญญาประเภทหนึ่งที่กระทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมมีผลใช้บังคับได้
โจทก์ฟ้องโดยอาศัยหนังสือที่จำเลยมีถึงโจทก์เป็นหลักศาลชั้นต้นให้จำเลยรับผิดตามหนังสือดังกล่าว ส่วนศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า เมื่อโจทก์ไม่ยอมให้จำเลยผ่อนชำระตามหนังสือดังกล่าวเท่ากับข้อเสนอของจำเลยตกไปโจทก์ฎีกาว่าข้อเสนอของจำเลยหาตกเป็นโมฆะทั้งหมดไม่ ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยว่าหนังสือดังกล่าวเป็นสัญญาประเภทใดตามที่ถูกต้องแท้จริงได้
ข้อความเฉพาะส่วนที่ขอผ่อนชำระในหนังสือดังกล่าวเป็นเพียงข้อเสนอขึ้นใหม่ของจำเลยดังข้อความในเอกสารที่ว่า จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุเคราะห์ตามควรแก่กรณีต่อไปด้วยก็จะเป็นพระคุณอย่างสูง จึงมิใช่เงื่อนไขอันบังคับไว้ในสัญญาที่จำเลยยอมผูกพันตนเข้าชำระหนี้แก่โจทก์เป็นผลเมื่อมีเหตุการณ์อันใดอันหนึ่งเกิดขึ้นในอนาคตและไม่แน่นอน เมื่อโจทก์ไม่ตกลงในส่วนที่จำเลยขอผ่อนชำระดังกล่าว จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญา
โจทก์ฟ้องโดยอาศัยหนังสือที่จำเลยมีถึงโจทก์เป็นหลักศาลชั้นต้นให้จำเลยรับผิดตามหนังสือดังกล่าว ส่วนศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า เมื่อโจทก์ไม่ยอมให้จำเลยผ่อนชำระตามหนังสือดังกล่าวเท่ากับข้อเสนอของจำเลยตกไปโจทก์ฎีกาว่าข้อเสนอของจำเลยหาตกเป็นโมฆะทั้งหมดไม่ ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยว่าหนังสือดังกล่าวเป็นสัญญาประเภทใดตามที่ถูกต้องแท้จริงได้
ข้อความเฉพาะส่วนที่ขอผ่อนชำระในหนังสือดังกล่าวเป็นเพียงข้อเสนอขึ้นใหม่ของจำเลยดังข้อความในเอกสารที่ว่า จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุเคราะห์ตามควรแก่กรณีต่อไปด้วยก็จะเป็นพระคุณอย่างสูง จึงมิใช่เงื่อนไขอันบังคับไว้ในสัญญาที่จำเลยยอมผูกพันตนเข้าชำระหนี้แก่โจทก์เป็นผลเมื่อมีเหตุการณ์อันใดอันหนึ่งเกิดขึ้นในอนาคตและไม่แน่นอน เมื่อโจทก์ไม่ตกลงในส่วนที่จำเลยขอผ่อนชำระดังกล่าว จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7461/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเดินทางจำเป็นเมื่อที่ดินถูกแบ่งแยกและไม่มีทางออกสู่สาธารณะ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดินโจทก์และที่ดินจำเลยอยู่ติดกันและแบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเดียวกัน โจทก์ใช้ทางผ่านที่ดินจำเลยออกสู่ถนนมาเป็นเวลา 10 ปีเศษ บ้านและที่ดินโจทก์อยู่ในวงล้อมของที่ดินบุคคลอื่นไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะได้ โจทก์มีทางออกสู่ถนนสาธารณะต้องผ่านที่ดินจำเลยซึ่งเป็นทางจำเป็นหรือภารจำยอมคำฟ้องของโจทก์ระบุถึงสิทธิของโจทก์ว่า มีสิทธิใช้ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือทางภารจำยอมบนที่ดินจำเลย จากที่ดินโจทก์เพื่อออกไปสู่ทางสาธารณะ และในคำขอท้ายฟ้องก็ระบุให้จำเลยเปิดทางพิพาทให้โจทก์ใช้ได้อย่างเดิม ฟ้องโจทก์บรรยายไว้ครบทั้งเรื่องทางจำเป็นและทางภารจำยอมโดยไม่ขัดกัน ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือทางภารจำยอมแล้ววินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็น จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น การแบ่งแยกหรือแบ่งโอนทำให้ที่ดินโจทก์ซึ่งแบ่งออกมาไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินซึ่งเป็นทางจำเป็นบนที่ดินจำเลยซึ่งเป็นแปลงที่แบ่งแยกหรือแบ่งโอนออกสู่ทางสาธารณะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6407/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอน น.ส.3ก. เมื่อมีโฉนดที่ดินแปลงเดียวกัน ศาลมีอำนาจพิจารณาได้ไม่เกินคำขอ
ฟ้องโจทก์ที่ขอให้ศาลเพิกถอน น.ส.3 ก. เลขที่ 1898ที่มีชื่อจำเลยนั้น จำเลยได้ให้การต่อสู้ว่า น.ส.3 ก. ดังกล่าวพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ออกโฉนดที่ดินให้จำเลยเป็นโฉนดเลขที่20753 ซึ่งในวันชี้สองสถานโจทก์จำเลยแถลงว่าที่ดินพิพาทปัจจุบันมีหลักฐานเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 20753 ดังนั้นโฉนดที่ดินเลขที่ดังกล่าวจึงเป็นเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินแปลงเดียวกับที่ปรากฏตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 1898 เมื่อฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาท ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจให้เพิกถอนโฉนดที่ดินดังกล่าวได้หาเป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6363/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: น.ส.3 ก. ที่ออกทับ น.ส.3 เดิม ถือเป็นเอกสารที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
น.ส.3 ก. เป็นเอกสารสำคัญเกี่ยวกับที่ดินซึ่งกฎหมายสันนิษฐานว่าผู้มีชื่อในเอกสารเป็นผู้มีสิทธิครอบครองเมื่อฟังว่า น.ส.3 ก. ตามเอกสารหมาย จ.3 ออกทับ น.ส.3ตามเอกสารหมาย จ.22 จึงถือได้ว่าเป็นการออกโดยมิชอบอันทำให้ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทตาม น.ส.3 ก. เอกสารหมาย จ.3 ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์ยกเอาเรื่องการออก น.ส.3 ก. ของโจทก์ขึ้นวินิจฉัยจึงอยู่ในประเด็นเรื่องการครอบครองที่ดินพิพาทที่ว่ากันมาแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3475/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้และการฟ้องผิดสัญญาประกันภัย การฟ้องต้องสอดคล้องกับมูลหนี้ที่รับสภาพ
หนังสือของจำเลยตามเอกสารหมาย จ.7 กล่าวอ้างถึงหนังสือของจำเลยตามเอกสารหมาย จ.5 ซึ่งจำเลยเคยข้อเสนอชำระค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 147,375.06 บาท และจำเลยยืนยันในหนังสือเอกสารหมาย จ.7 อีกครั้งว่าจะชำระค่าเสียหายดังกล่าวให้แก่โจทก์เป็นเงิน 147,375.06 บาท ภายในระยะเวลาที่สั้นที่สุดแม้จำนวนเงินที่จำเลยเสนอจะต่ำกว่าที่โจทก์เรียกร้อง เป็นจำนวนเงิน 174,203.40 บาท ก็ตาม แต่จำเลยก็มิได้โต้แย้งค่าสินไหมทดแทนในจำนวนเงิน 147,375.06 บาท กลับยืนยันว่าจะใช้เงินจำนวนนี้ให้แก่โจทก์ หนังสือของจำเลยตามเอกสารหมายจ.7 จึงเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 เดิม ความเสียหายของเครื่องปั๊มน้ำเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจรซึ่งอยู่ภายใต้การคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย การเสี่ยงภัยทุกชนิดในการติดตั้งไม่ได้อยู่ภายใต้การคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยการขนส่งทางทะเลตามฟ้อง เมื่อโจทก์ฟ้องบังคับจำเลยให้รับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยการขนส่งทางทะเลแม้โจทก์จะฟ้องบังคับจำเลยตามหนังสือรับสภาพหนี้ด้วยก็ตามแต่โจทก์ก็กล่าวอ้างว่าเป็นการรับสภาพหนี้ตามกรมธรรม์ประกันภัยการขนส่งทางทะเล เมื่อได้ความว่าจำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ตามกรมธรรม์ประกันภัยการเสี่ยงภัยทุกชนิดในการติดตั้งมิได้รับสภาพหนี้ตามกรมธรรม์ประกันภัยการขนส่งทางทะเลตามฟ้องเช่นกัน เช่นนี้ จึงเป็นเรื่องนอกฟ้อง จำเลยไม่ต้องรับผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 785/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนเวนคืนที่ดิน: ศาลกลับคำพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนเพิ่มตามราคาซื้อขายจริง พร้อมดอกเบี้ย
จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่า การเวนคืนที่ดินพิพาททำให้ที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลืออยู่มีราคาสูงขึ้น ต้องเอาราคาสูงขึ้นนั้นมาหักกับค่าทดแทนที่ดินพิพาท ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นหยิบยกปัญหาข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยว่าราคาที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือมีราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 10 เท่าตัว เท่ากับโจทก์ได้รับประโยชน์จากการเวนคืนมากกว่าราคาซื้อในครั้งแรกถึง6 เท่าตัว จึงไม่มีเหตุจะได้รับค่าทดแทนเพิ่มขึ้นนั้น เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาทจึงไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลห้วยโป่งและตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยองจังหวัดระยอง พ.ศ. 2527 มาตรา 5 ให้นิคมอุตสาหกรรมจำเลยกำหนดราคาอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวคือวันที่ 10 ธันวาคม 2525ทั้งนี้นอกจากคำนึงถึงราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแล้วยังต้องคำนึงถึงสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ประกอบกับเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนด้วย ดังนั้น การที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยกำหนดตามบัญชีกำหนดราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อเป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม อำเภอเมืองระยอง ในปี 2525ถึง 2527 ซึ่งเป็นบัญชีกำหนดราคาที่ดินโดยเอาตำบล ถนน และทะเลเป็นหลักในการประเมินราคา เป็นการประเมินอย่างกว้าง ๆ ราคาที่ดินตามบัญชีกำหนดราคาที่ดินดังกล่าวย่อมไม่ตรงกับความเป็นจริงเสมอไป การพิจารณาสภาพและที่ตั้งของที่ดินที่จะถูกเวนคืนต้องพิจารณาถึงสภาพและที่ตั้งของที่ดินที่เป็นอยู่จริงในแต่ละแปลง มิใช่พิจารณาแต่เพียงว่าที่ตั้งของที่ดินอยู่ในตำบลใด ห่างจากถนนหรือทะเล ตรงตามบัญชีกำหนดราคาที่ดิน ๆในหน่วยใดก็กำหนดให้ตามนั้น ส่วนเหตุและวัตถุประสงค์ในการเวนคืนแม้จำเลยมีความประสงค์จะจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเพื่อส่งเสริมให้มีการลงทุนภายในประเทศมากขึ้นก็ตาม แต่ตามพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 มาตรา 6 กำหนดให้จำเลยเป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์แสวงหากำไรทางเศรษฐกิจอยู่ด้วย จำเลยย่อมได้รับผลประโยชน์จากที่ดินที่ถูกเวนคืนด้วยดังนั้น เมื่อจำเลยได้รับทรัพย์สินของโจทก์ไปเท่าใดก็ควรจะต้องใช้ค่าทดแทนให้โจทก์ตามราคาของทรัพย์สินนั้นในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ จึงจะถือว่าเป็นราคาตามความเป็นธรรม การที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยกำหนดราคาที่ดินของโจทก์ทุกแปลงตามการแบ่งเป็นหน่วยในบัญชีกำหนดราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อเป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมฯ แสดงให้เห็นว่าจำเลยกำหนดราคาที่ดินของโจทก์โดยไม่ได้คำนึงถึงสภาพและที่ตั้งที่แท้จริงของที่ดินของโจทก์ และไม่ได้คำนึงถึงเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนด้วยวิธีการของจำเลยในการกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์จึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติเวนคืนฯ มาตรา 5 ดังกล่าวข้างต้น ราคาที่ดินที่เคยซื้อขายกันดังที่โจทก์นำสืบมา บางแปลงอยู่ต่างตำบลและต่างอำเภอกับที่ดินพิพาท โจทก์ไม่ได้นำสืบว่าที่ดินดังกล่าวแปลงใดอยู่ห่างที่ดินพิพาทระยะทางเท่าใดสภาพและที่ตั้งของที่ดินดังกล่าวแปลงใดมีสภาพและที่ตั้งเหมือนหรือคล้ายคลึงกับที่ดินพิพาทแปลงไหนบ้าง จึงไม่อาจนำเอาราคาซื้อขายของที่ดินดังกล่าวมาเป็นเกณฑ์เพื่อเปรียบเทียบกับที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายป่าน: การรับชำระราคาตามกำหนดส่งมอบ และการฟ้องร้องเมื่อผิดนัดชำระ
ตามคำฟ้องของโจทก์สรุปได้ว่า จำเลยทั้งสองซื้อป่านจากโจทก์คิดเป็นเงิน 288,000 บาท แล้วไม่ชำระราคาป่านแก่โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระราคาป่านแก่โจทก์ ส่วนที่โจทก์ บรรยายฟ้องถึงการโอนสิทธิเรียกร้องมาด้วยเป็นเพียงบรรยาย ให้รู้ว่าจำเลยยังไม่ชำระราคาป่านแก่โจทก์เพราะเหตุใด เท่านั้น ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองให้การว่าจำเลยทั้งสอง ไม่เคยค้ากับโจทก์ จำเลยที่ 1 สั่งซื้อป่านจาก ม.คิดเป็นเงิน 232,000 บาท ประเด็นพิพาทแห่งคดีในส่วนนี้จึงมีว่าจำเลยทั้งสองซื้อป่านตามฟ้องจากโจทก์หรือไม่ ในราคาเท่าใด ซึ่งแม้ในการชี้สองสถานศาลชั้นต้นจะมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แต่เมื่อเป็นประเด็นพิพาทอันแท้จริงแห่งคดีที่โจทก์กล่าวอ้างและจำเลยให้การปฏิเสธไว้ทั้งคู่ความได้นำพยานหลักฐานมาสืบเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวแล้วศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจวินิจฉัยคดีไปตามประเด็นข้อพิพาทที่ถูกต้องได้ และการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระราคาป่านจำนวน 288,000 บาท ให้แก่โจทก์นั้นหาเป็นการวินิจฉัยเกินคำฟ้องและคำขอของโจทก์ไม่ แม้โจทก์จะส่งเอกสารเป็นพยานโดยไม่สืบพยานบุคคลแต่ก็หามีกฎหมายห้ามรับฟังพยานเอกสารเช่นนี้ไม่ กรณีตามฟ้องเป็นเรื่องการซื้อขาย ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 490 บัญญัติว่าถ้าได้กำหนดกันไว้ว่าให้ส่งมอบทรัพย์สินซึ่งซื้อขายนั้นเวลาใด ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเวลาอันเดียวกันนั้นเองเป็นเวลากำหนดใช้ราคา เมื่อโจทก์ส่งมอบป่านให้กรมพลาธิการทหารอากาศตามคำสั่งของจำเลย และกรมพลาธิการทหารอากาศได้ตรวจรับมอบไว้ถูกต้องแล้วเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2529จำเลยจึงชอบที่จะต้องชำระราคาป่านให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายในวันดังกล่าวเช่นเดียวกัน เมื่อจำเลยไม่ชำระย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดแล้ว โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยชำระราคาป่านได้โดยไม่ต้องทวงถาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทซื้อขายป่าน การกำหนดราคาและเวลาชำระ การผิดนัดชำระหนี้
ตามคำฟ้องของโจทก์สรุปได้ว่า จำเลยทั้งสองซื้อป่านจากโจทก์คิดเป็นเงิน 288,000 บาท แล้วไม่ชำระราคาป่านแก่โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระราคาป่านแก่โจทก์ ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องถึงการโอนสิทธิเรียกร้องมาด้วยเป็นเพียงบรรยายให้รู้ว่าจำเลยยังไม่ชำระราคาป่านแก่โจทก์เพราะเหตุใดเท่านั้นดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองให้การว่าจำเลยทั้งสองไม่เคยค้ากับโจทก์ จำเลยที่ 1 สั่งซื้อป่านจาก ม.คิดเป็นเงิน 232,000 บาท ประเด็นพิพาทแห่งคดีในส่วนนี้จึงมีว่าจำเลยทั้งสองซื้อป่านตามฟ้องจากโจทก์หรือไม่ ในราคาเท่าใด ซึ่งแม้ในการชี้สองสถานศาลชั้นต้นจะมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แต่เมื่อเป็นประเด็นพิพาทอันแท้จริงแห่งคดีที่โจทก์กล่าวอ้างและจำเลยให้การปฏิเสธไว้ ทั้งคู่ความได้นำพยานหลักฐานมาสืบเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวแล้ว ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจวินิจฉัยคดีไปตามประเด็นข้อพิพาทที่ถูกต้องได้ และการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระราคาป่านจำนวน 288,000 บาท ให้แก่โจทก์นั้น หาเป็นการวินิจฉัยเกินคำฟ้องและคำขอของโจทก์ไม่
แม้โจทก์จะส่งเอกสารเป็นพยานโดยไม่สืบพยานบุคคล แต่ก็หามีกฎหมายห้ามรับฟังพยานเอกสารเช่นนี้ไม่
กรณีตามฟ้องเป็นเรื่องการซื้อขาย ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 490บัญญัติว่า ถ้าได้กำหนดกันไว้ว่าให้ส่งมอบทรัพย์สินซึ่งซื้อขายนั้นเวลาใด ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเวลาอันเดียวกันนั้นเองเป็นเวลากำหนดใช้ราคา เมื่อโจทก์ส่งมอบป่านให้กรมพลาธิการทหารอากาศตามคำสั่งของจำเลย และกรมพลาธิการทหารอากาศได้ตรวจรับมอบไว้ถูกต้องแล้วเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2529 จำเลยจึงชอบที่จะต้องชำระราคาป่านให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายในวันดังกล่าวเช่นเดียวกันเมื่อจำเลยไม่ชำระย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดแล้ว โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยชำระราคาป่านได้โดยไม่ต้องทวงถาม
แม้โจทก์จะส่งเอกสารเป็นพยานโดยไม่สืบพยานบุคคล แต่ก็หามีกฎหมายห้ามรับฟังพยานเอกสารเช่นนี้ไม่
กรณีตามฟ้องเป็นเรื่องการซื้อขาย ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 490บัญญัติว่า ถ้าได้กำหนดกันไว้ว่าให้ส่งมอบทรัพย์สินซึ่งซื้อขายนั้นเวลาใด ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเวลาอันเดียวกันนั้นเองเป็นเวลากำหนดใช้ราคา เมื่อโจทก์ส่งมอบป่านให้กรมพลาธิการทหารอากาศตามคำสั่งของจำเลย และกรมพลาธิการทหารอากาศได้ตรวจรับมอบไว้ถูกต้องแล้วเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2529 จำเลยจึงชอบที่จะต้องชำระราคาป่านให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายในวันดังกล่าวเช่นเดียวกันเมื่อจำเลยไม่ชำระย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดแล้ว โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยชำระราคาป่านได้โดยไม่ต้องทวงถาม