คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 142 วรรคหนึ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 155 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3541/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบเกินคำฟ้อง: ศาลไม่อาจพิพากษาในส่วนที่ไม่ได้บรรยายไว้ แม้มีคำขอท้ายฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาซื้อหินอ่อนและหินแกรนิตกับโจทก์ในราคา 1,770,000 บาท ชำระมัดจำงวดแรกร้อยละ 20 ของราคาหินเป็นเงิน 354,000 บาท งวดต่อไปชำระภายใน 30 วัน นับแต่วันส่งหินให้และออกใบแจ้งหนี้/ใบวางบิลเรียกเก็บเงิน โจทก์ส่งหินอ่อนและหินแกรนิตให้จำเลยตามสัญญาและเรียกเก็บเงินเรื่อยมา ปรากฏว่าจำเลยค้างชำระค่าหินอ่อนและหินแกรนิตโจทก์เป็นเงิน 578,329.95 บาท ดังนั้น การที่โจทก์นำสืบว่ายอดเงินที่จำเลยค้างชำระดังกล่าวมียอดเงินที่จำเลยสั่งซื้อหินอ่อนและหินแกรนิตเพิ่มเติมนอกเหนือจากสัญญาที่โจทก์จำเลยทำสัญญากันไว้จำนวน 137,561.08 บาท รวมอยู่ด้วย ซึ่งโจทก์ไม่ได้บรรยายไว้ในคำฟ้อง จึงเป็นการนำสืบข้อเท็จจริงเกินไปกว่าหรือนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้อง แม้ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะมีคำขอให้ชำระเงินในส่วนนี้ปนรวมมาด้วยก็ตาม ศาลก็ไม่อาจพิจารณาและพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ค่าหินอ่อนและหินแกรนิตที่จำเลยสั่งซื้อเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากสัญญาที่จำเลยทำสัญญาซื้อกับโจทก์ตามที่ปรากฏในคำฟ้องได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2421/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดิน: ศาลวินิจฉัยว่าการฟ้องแย่งการครอบครองไม่เกิดขึ้นหากจำเลยอ้างเป็นเจ้าของแต่แรก
จำเลยที่ 1 ฟ้องจำเลยที่ 3 ว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จำเลยที่ 3 ให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า จำเลยที่ 3 จึงเข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยปลูกสร้างบ้านและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมา ตามคำให้การของจำเลยที่ 3 ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 เป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาทมาแต่ต้น ไม่มีปัญหาเรื่องแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น ที่ศาลชั้นต้นหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง เป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1457/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอ – การขับไล่จากที่ดินควบคู่กับทาวน์เฮาส์ – ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่เกินคำขอ
แม้คำขอท้ายฟ้องและคำขอท้ายอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสิบเอ็ดจะขอให้จำเลยและบริวารออกจากบ้านพิพาท ไม่ได้ขอให้ขับไล่ออกจากที่ดินก็ตาม เมื่อบ้านพิพาทปลูกอยู่บนที่ดินของโจทก์ทั้งสิบเอ็ด โจทก์ทั้งสิบเอ็ดย่อมไม่ประสงค์ให้จำเลยและบริวารอยู่ในที่ดินและทาวน์เฮาส์ที่พิพาทต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีคำพิพากษาให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินด้วย ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 954/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาห้ามตามมาตรา 249 และข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ในการฎีกา รวมถึงประเด็นการพิพากษาเกินคำขอ
ศาลชั้นต้นกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้วินิจฉัยให้ เนื่องจากไม่มีประเด็นเกี่ยวกับการแย่งการครอบครอง ในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ให้การและนำสืบว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 โดยซื้อมาจากจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา แสดงว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นเป็นข้อพิพาทไว้ คำให้การของจำเลยที่ 2 ย่อมไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวแต่ประการใด และไม่วินิจฉัยให้เช่นเดียวกัน ซึ่งศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย กรณีจึงถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
โจทก์บรรยายความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของจำเลยทั้งสองมาในฟ้อง แต่มิได้มีคำขอให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหาย การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงเกินคำขอของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 906/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมต่างกัน: การใช้เครื่องหมายการค้าปลอมและการนำชื่อรูปผู้อื่นมาใช้
การกระทำของจำเลยแต่ละข้อหาที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 4, 108, 110, 115 ในความผิดฐานเสนอจำหน่ายและมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม และ ป.อ. มาตรา 32, 33, 91, 272 (1), 275 ฐานเอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์ในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ เป็นการกระทำโดยมีเจตนาในการกระทำผิดแยกต่างหากจากกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดทั้งสองข้อหาตามฟ้องโดยมีเจตนาต่างกัน ย่อมลงโทษจำเลยทั้งสองฐานความผิดได้ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานเสนอจำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมแต่เพียงกระทงเดียวจึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6255/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจำนองโมฆะเนื่องจากสำคัญผิดในสาระสำคัญ และการวินิจฉัยนอกฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องอ้างว่าโจทก์ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 โดยประสงค์จะทำสัญญาซื้อขายต่อไป แต่จำเลยทั้งสองหลอกลวงโจทก์ให้ทำสัญญาจำนอง โจทก์ไม่ได้รับเงินตามสัญญาจำนองและไม่มีเจตนาทำนิติกรรมจำนอง ขอให้เพิกถอนสัญญาจำนอง จำเลยทั้งสองให้การว่าสัญญาจำนองกระทำโดยชอบและสุจริต ไม่มีเหตุเพิกถอนตามคำคู่ความดังกล่าว จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าการทำสัญญาจำนองเป็นนิติกรรมอำพรางหรือไม่ ทั้งปัญหาว่าสัญญาจำนองเป็นนิติกรรมอำพรางหรือไม่ มิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย การที่ศาลล่างทั้งสองหยิบยกปัญหาว่าสัญญาจำนองเป็นนิติกรรมอำพรางขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
ปัญหาว่าศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นข้อพิพาทหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ยกขึ้นกล่าวในชั้นอุทธรณ์ จำเลยที่ 2 ก็สามารถยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
ตามคำคู่ความมีประเด็นเพียงว่า โจทก์มีเจตนาทำนิติกรรมจำนองเพื่อประกันเงินกู้และโจทก์ได้รับเงินตามสัญญากู้หรือไม่ แต่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าสัญญาจำนองที่ดินเป็นโมฆียะเพราะโจทก์กระทำโดยถูกจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้กลฉ้อฉลหรือไม่นั้น จึงไม่ถูกต้อง ซึ่งปัญหาตามประเด็นที่ถูกต้องศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัย แต่เนื่องจากคดีมีพยานหลักฐานเพียงพอแก่การวินิจฉัยแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยโดยไม่ต้องย้อนสำนวน
โจทก์ประสงค์ทำนิติกรรมจะขายที่ดินโดยไม่มีเจตนาทำนิติกรรมจำนองที่ดินแก่จำเลยที่ 2 ดังนั้น การทำสัญญาจำนองของโจทก์จึงเป็นการกระทำไปโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญของนิติกรรม สัญญาจำนองจึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4962/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยนอกประเด็นของศาลอุทธรณ์ในคดีเช่าซื้อ การยึดรถถือเป็นการบอกเลิกสัญญา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์ไปจากโจทก์ มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม แล้วจำเลยที่ 1 ผิดนัดผิดสัญญาโจทก์จึงยึดรถคืนและสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว ขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินค่าเสียหายตามฟ้อง จำเลยทั้งสองให้การเพียงว่า ความรับผิดของจำเลยทั้งสองมีไม่ถึงจำนวนที่โจทก์เรียกร้องเท่านั้น คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่าโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเพียงใด ส่วนในเรื่องจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาหรือไม่ จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การถึง จึงต้องถือว่าจำเลยทั้งสองยอมรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันเมื่อโจทก์ยึดรถที่เช่าซื้อคืน เพราะเหตุจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ ติดต่อกันเกินกว่า 2 งวด ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงซึ่งคู่ความรับกันแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ข้อเท็จจริงใหม่ว่าโจทก์จำเลยต่างสมัครใจเลิกสัญญา จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น และปัญหานี้มิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
การที่โจทก์ยึดรถที่ให้เช่าซื้อคืนถือเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้ออย่างหนึ่ง โดยไม่จำต้องบอกเลิกสัญญา เป็นหนังสือแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6428/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขุดดินใกล้เขตที่ดินอื่นต้องจัดการป้องกันความเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1343
ที่ดินโจทก์และจำเลยมีแนวเขตที่ดินติดต่อกันจากทิศเหนือลงมาทิศใต้ โจทก์ทำรั้วลวดหนามกั้นแนวเขตที่ดินไว้ ต่อมาจำเลยนำรถแบ็กโฮมาขุดดินในที่ดินของจำเลยยาวประมาณ 100 เมตร ใกล้แนวเขตที่ดินของโจทก์ บางจุดห่างจากแนวเขตประมาณ 30 ถึง 50 เซนติเมตร บางจุดจำเลยขุดในแนวตั้งฉากลึก 2 เมตร โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยนำดินมาถมที่ขุดพร้อมให้สร้างเขื่อนกันดินพังทลายตลอดแนวที่ดินที่ขุด แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่า เมื่อจำเลยขุดดินและผ่านฤดูฝนแล้ว ที่ดิน ต้นทุเรียนและรั้วของโจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1343 บัญญัติห้ามมิให้ขุดดินจนอาจเป็นอันตรายแก่ความอยู่มั่นแห่งที่ดินที่ติดต่อเว้นแต่จะจัดการเพียงพอเพื่อป้องกันความเสียหาย การที่จำเลยขุดดินลึก 2 เมตร ในแนวตั้งฉากมีระยะใกล้ชิดกับแนวเขตที่ดินของโจทก์ ที่ดินของโจทก์อาจได้รับความเสียหายพังทลายลงได้ แม้ศาลล่างทั้งสองจะให้จำเลยนำดินมาถมที่ดินที่ติดกับแนวเขตที่ดินของโจทก์ให้อยู่ในระดับเดิมโดยให้มีระยะห่างจากแนวเขต 1 เมตร และเห็นว่าการสร้างเขื่อนเกินความจำเป็นซึ่งศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่ายังไม่เพียงพอเพื่อป้องกันความเสียหาย ศาลฎีกามีอำนาจกำหนดให้จำเลยปรับระดับพื้นดินที่ต่อจากที่ดินที่จำเลยถมให้ลาดเอียงลงสู่พื้นดินของจำเลยในระดับไม่เกิน 45 องศาด้วยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6039/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยนอกประเด็นฟ้อง และผลของการยกฟ้องในคดีสัญญาซื้อขาย
โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเพราะเหตุไม่สามารถจัดหาสถาบันการเงินมารับจดทะเบียนจำนองชุดได้ ส่วนจำเลยที่ 1 ให้การว่า ข้อตกลงในสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดเรื่องการขอกู้เงินจากสถาบันการเงิน เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 อำนวยความสะดวกและเป็นผู้ประสานงานระหว่างโจทก์กับสถาบันการเงินเท่านั้น สถาบันการเงินจะอนุมัติให้โจทก์กู้เงินหรือไม่ต้องเป็นไปตามระเบียบและเงื่อนไขของสถาบันการเงินนั้น ๆ ดังนี้ตามคำฟ้องและคำให้การจึงมีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่า จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดเพราะเหตุไม่จัดสถาบันการเงินให้โจทก์กู้มาชำระให้แก่จำเลยที่ 1 ในงวดสุดท้ายหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเลยไปถึงประเด็นที่ว่า จำเลยที่ 1 จะมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบเงินที่โจทก์ชำระทั้งหมดได้นั้น จำเลยที่ 1 จะต้องมีหนังสือแจ้งกำหนดเวลาให้โจทก์ชำระหนี้ไม่น้อยกว่า 7 วัน และการที่โจทก์บอกเลิกสัญญาและหลังจากโจทก์ฟ้องคดีนี้แล้ว จำเลยที่ 1 นำห้องชุดพิพาทไปประมูลขาย ถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงเลิกสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดโดยปริยาย จำเลยที่ 1 ต้องให้โจทก์กลับสู่ฐานะเดิมและต้องคืนเงินที่จำเลยที่ 1 รับไว้แก่โจทก์ คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวถือว่าเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นที่โจทก์บรรยายฟ้องไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ถือได้ว่าไม่มีประเด็นที่ว่ากล่าวมาแล้วใน ศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยแล้วพิพากษายืนก็ตาม ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4709/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไถ่ถอนจำนองและการส่งมอบที่ดิน: ศาลพิพากษาให้จำเลยไถ่ถอนจำนอง หรือให้โจทก์ไถ่ถอนแทนโดยจำเลยเป็นผู้ชำระค่าใช้จ่ายได้
จำเลยเป็นตัวแทนมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนโจทก์ซึ่งเป็นตัวการ จำเลยต้องจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์โดยปลอดจำนอง แต่การไถ่ถอนจำนอง จำเลยผู้จำนองจะต้องนำเงินไปชำระหนี้ให้แก่ผู้รับจำนองจนครบถ้วน ที่ดินพิพาทจึงจะปลอดจำนอง หากจำเลยไม่ปฏิบัติดังกล่าวก็ไม่อาจดำเนินการบังคับคดีให้เป็นตามลำดับต่อไปได้ จึงเป็นกรณีสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้ ที่ศาลพิพากษาให้จำเลยไถ่ถอนจำนอง หากจำเลยไม่ไถ่ถอนจำนองให้โจทก์ไถ่ถอนจำนองได้เองโดยจำเลยเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นนั้นไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
of 16