คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 142 วรรคหนึ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 155 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4709/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ตัวแทนส่งมอบทรัพย์สินคืนให้ตัวการ และผลของการจดจำนองโดยไม่ได้รับความยินยอม
จำเลยเป็นตัวแทนมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนโจทก์ซึ่งเป็นตัวการจำเลยต้องจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์โดยปลอดจำนอง แต่การไถ่ถอนจำนอง จำเลยผู้จำนองจะต้องนำเงินไปชำระหนี้ให้แก่ผู้รับจำนองจนครบถ้วน ที่ดินพิพาทจึงจะปลอดจำนอง หากจำเลยไม่ปฏิบัติดังกล่าวก็ไม่อาจดำเนินการบังคับคดีให้เป็นตามลำดับต่อไปได้ จึงเป็นกรณีสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้ ที่ศาลพิพากษาให้จำเลยไถ่ถอนจำนอง หากจำเลยไม่ไถ่ถอนจำนองให้โจทก์ไถ่ถอนจำนองได้เองโดยจำเลยเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นนั้นไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4709/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ตัวแทนส่งมอบทรัพย์สิน & การไถ่ถอนจำนอง: ศาลพิพากษาให้ไถ่ถอนจำนองได้เองโดยจำเลยเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย ไม่เกินคำฟ้อง
ในการวินิจฉัยข้อกฎหมายศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลล่างได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238ประกอบมาตรา 247 โดยศาลล่างฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเป็นตัวแทนผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนโจทก์ซึ่งเป็นตัวการ จำเลยมีหน้าที่ต้องส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในสภาพขณะที่ได้รับไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 810 วรรคหนึ่งแต่หลังจากจำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ดังกล่าวแล้ว จำเลยได้ไปจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทไว้แก่ธนาคาร พ. โดยโจทก์ไม่ได้ให้ความยินยอมซึ่งตามคำฟ้องของโจทก์ก็ได้บรรยายมาด้วย ดังนี้ จำเลยจึงต้องจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทคืนให้แก่โจทก์โดยปลอดจำนองเช่นเดิม แต่การไถ่ถอนจำนองจำเลยผู้จำนองจะต้องไปชำระหนี้ให้แก่ผู้รับจำนองครบถ้วน หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามก็ไม่อาจดำเนินการบังคับคดีให้เป็นตามลำดับต่อไปได้จึงเป็นกรณีสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับชำระหนี้ได้ที่ศาลล่างพิพากษาให้โจทก์ไถ่ถอนจำนองได้เองโดยให้จำเลยเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น หาเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2596/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอและอำนาจศาลในการย้อนสำนวนคดีแพ่ง
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์มีว่า ให้จำเลยส่งมอบต้นฉบับ น.ส.3 และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิเฉพาะส่วนของโจทก์ เนื้อที่ 3 ไร่ 1 งาน 81 ตารางวา คืนแก่โจทก์ กับขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการให้ที่ดินจำนวน 1 ไร่ กลับคืนเป็นของโจทก์ คำขอท้ายฟ้องดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า โจทก์ประสงค์จะขอให้ศาลบังคับจำเลยให้คืนที่ดินตาม น.ส.3เนื้อที่ 4 ไร่ 1 งาน 81 ตารางวา แก่โจทก์ทั้งแปลงเพียงแต่เหตุแห่งการเพิกถอนต่างกันเท่านั้น ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยส่งมอบต้นฉบับ น.ส.3 และโอนที่ดินทั้งแปลงคืนแก่โจทก์ จึงไม่เกินคำขอ
เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ศาลชั้นต้นก็พิพากษาให้เพิกถอนการให้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531 แต่คดีนี้ปรากฏว่า โจทก์มิได้ยกที่ดินให้จำเลยทั้งแปลง คดีจึงยังมีประเด็นว่า โจทก์ยกที่ดินให้จำเลยเนื้อที่เท่าใดซึ่งศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยแต่ได้พิพากษาให้เพิกถอนการโอนที่ดินทั้งแปลง คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงมิได้ตัดสินตามข้อหาทุกข้อตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วส่งสำนวนคืนไปยังศาลชั้นต้นให้พิพากษาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) อำนาจที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่นี้เป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ หากศาลอุทธรณ์เห็นว่าข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในสำนวนเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้ ศาลอุทธรณ์ก็สามารถวินิจฉัยคดีได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2596/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจย้อนสำนวนหากศาลชั้นต้นพิพากษาไม่ครบถ้วนตามข้อหาที่ฟ้อง และการพิพากษาไม่เกินคำขอ
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์มีว่า ให้จำเลยส่งมอบต้นฉบับ น.ส.3 และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิเฉพาะส่วนของโจทก์ เนื้อที่ 3 ไร่ 1 งาน 81 ตารางวา คืนแก่โจทก์ กับขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการให้ที่ดินจำนวน 1 ไร่ กลับคืนเป็นของโจทก์ คำขอท้ายฟ้องดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า โจทก์ประสงค์จะขอให้ศาลบังคับจำลยให้คืนที่ดินตาม น.ส.3 เนื้อที่ 4 ไร่ 1 งาน 81 ตารางวา แก่โจทก์ทั้งแปลงเพียงแต่เหตุแห่งการเพิกถอนต่างกันเท่านั้น ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยส่งมอบต้นฉบับ น.ส.3 และโอนที่ดินทั้งแปลงคืนแก่โจทก์ จึงไม่เกินคำขอ
เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ศาลชั้นต้นก็พิพากษาให้เพิกถอนการให้ได้ตามป.พ.พ มาตรา 531 แต่คดีนี้ปรากฏว่า โจทก์มิได้ยกที่ดินให้จำเลยทั้งแปลง คดีจึงยังมีประเด็นว่า โจทก์ยกที่ดินให้จำเลยเนี้อที่เท่าใดซึ่งศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยแต่ได้พิพากษาให้เพิกถอนการโอนที่ดินทั้งแปลง คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงมิได้ตัดสินตามข้อหาทุกข้อตาม ป.วิ.พ มาตรา 142 วรรคหนึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วส่งสำนวนคืนไปยังศาลชั้นต้นให้พิพากษาใหม่ตามป.วิ.พ มาตรา 243(1) อำนาจที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่นี้เป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ หากศาลอุทธรณ์เห็นว่าข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในสำนวนเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้ ศาลอุทธรณ์ก็สามารถวินิจฉัยคดีได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 500-501/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยข้อพิพาทนอกประเด็นข้อพิพาทตามที่จำเลยยกขึ้นในชั้นศาล และการพิจารณาความเสียหายจากเหตุเพลิงไหม้
ตามคำให้การจำเลยสำนวนแรกกับคำฟ้องของจำเลยซึ่งเป็นโจทก์สำนวนหลัง ต่างก็อ้างเพียงว่าการที่อาคารสถานที่เช่าถูกเพลิงไหม้ ทำให้คนไม่ไปใช้บริการในอาคารดังกล่าว จึงเป็นเหตุให้ไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นที่ติดตั้งป้ายโฆษณาอีกต่อไป สัญญาเช่าที่จำเลยผู้เช่าทำกับโจทก์ผู้ให้เช่าจึงสิ้นสุดลงทันทีตามข้อตกลงในสัญญาเช่า ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ยกข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การสำนวนแรก หรือบรรยายไว้ในคำฟ้องสำนวนหลังตอนใดเลยว่าการที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ทำให้ระบบฉีดน้ำดับเพลิงฉีดใส่ป้ายโฆษณาของจำเลยเสียหายจำนวน 54 ป้าย จากป้ายที่มีอยู่ทั้งหมด 82 ป้าย ดังนี้การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวมาแล้วพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินแก่จำเลย จึงเป็นการนอกเหนือไปจากประเด็นข้อพิพาท เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 131(2), 141 และ 142 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9710/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำและขอบเขตคำพิพากษาถึงที่สุด ศาลต้องพิจารณาประเด็นที่ยังไม่ได้วินิจฉัย
ระหว่างพิจารณาคดีนี้ โจทก์ฟ้องจำเลยในคดีนี้เป็นจำเลยที่ 1 ป. เป็นจำเลยที่ 2 ตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 904/2537 ของศาลชั้นต้น ต่อมาคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาฎีกาที่ 401/2540 ซึ่งคดีที่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ต้องเป็นกรณีที่มีคู่ความเดียวกันหรือเป็นผู้สืบสิทธิจากคู่ความคนก่อนรื้อร้องฟ้องกันในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัย โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันและคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุดแล้ว ฉะนั้นคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ผลของคำพิพากษาฎีกาที่ 401/2540 ผูกพันโจทก์และจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ประเด็นพิพาทในคดีนี้ที่เป็นประเด็นเดียวกับประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ย่อมเป็นที่สุด คงเหลือประเด็นพิพาทข้ออื่น ๆ ซึ่ง คู่ความจะต้องนำสืบพยานหลักฐานให้จบสิ้นกระแสความเสียก่อน เมื่อศาลชั้นต้นมิได้พิจารณาสืบพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายในประเด็นดังกล่าวด้วยการสั่งงดสืบพยานโจทก์และจำเลย แล้ววินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์และฟ้องแย้งของจำเลยเป็นฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 904/2537 ของศาลชั้นต้น โดยศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง สมควรให้ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9524/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้อง, อัตราแลกเปลี่ยนเงิน, และขอบเขตคำพิพากษาในคดีทรัพย์สินทางปัญญา
ใบมอบอำนาจที่ทำในเมืองต่างประเทศไม่อยู่ในบังคับให้ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร
หนังสือมอบอำนาจที่ทำในเมืองต่างประเทศมีเจ้าพนักงานโนตารีปับลิกลงชื่อเป็นพยานและมีใบสำคัญของรัฐบาลต่างประเทศที่เกี่ยวข้องแสดงว่าบุคคลที่เป็นพยานนั้นเป็นผู้มีอำนาจกระทำการได้ แม้จะไม่มีกงสุลไทยเป็นพยาน ก็ไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าใบมอบอำนาจนั้นจะไม่ใช่ใบมอบอำนาจอันแท้จริง จึงไม่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสาม การมอบอำนาจนั้นย่อมชอบด้วยกฎหมายแล้ว
แม้ข้อตกลงเกี่ยวกับอำนาจศาลตามสัญญาฉบับพิพาทที่กำหนดให้คู่สัญญาดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลแห่งประเทศอังกฤษเพียงแห่งเดียว จะทำขึ้นก่อนที่จะมีการจัดตั้งและเปิดทำการศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้า- ระหว่างประเทศกลางก็ตาม แต่คดีนี้เกี่ยวด้วยหนี้เหนือบุคคล จำเลยทั้งหมดต่างมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งหมดต่อศาลในประเทศไทย คือ ศาลแพ่งอันเป็นศาลที่จำเลยทั้งหมดมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4(2) เดิม(มาตรา 4(1) ที่แก้ไขใหม่) ต่อมาเมื่อ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 ใช้บังคับศาลทรัพย์สิน-ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางซึ่งมีเขตศาลตลอดกรุงเทพมหานคร และมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งเกี่ยวกับสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา จึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ตาม พ.ร.บ.มาตรา 5 และมาตรา 7(3) โจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีนี้มาฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง หาจำต้องนำไปฟ้องยังศาลแห่งประเทศอังกฤษแต่เพียงแห่งเดียวไม่
พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 68 วรรคสอง, 80 และ 94 ซึ่งบัญญัติให้สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการหรือเครื่องหมายร่วมเฉพาะที่ได้จดทะเบียนแล้วต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียนด้วย มีผลใช้บังคับในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 แต่ขณะทำสัญญาบทกฎหมายดังกล่าวยังไม่ใช้บังคับ และกฎหมายที่ใช้บังคับเกี่ยวกับเครื่องหมายบริการขณะนั้นยังไม่มี เมื่อสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิไม่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย หรือเป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงใช้บังคับได้ และบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายสารบัญญัติ ไม่มีผลใช้บังคับย้อนหลังไม่ทำให้สัญญาซึ่งสมบูรณ์อยู่แล้วต้องเสียไปหรือตกเป็นโมฆะ
สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิระหว่างบริษัทผู้อนุญาตกับจำเลยที่ 1 ผู้รับอนุญาตมีข้อตกลงว่า "ให้ผู้อนุญาตโอนสิทธิและภาระผูกพันของตนได้อย่างอิสระ" และได้มีการแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ลูกหนี้ทราบโดยทางโทรสารและไปรษณีย์ลงทะเบียนแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าสภาพแห่งสิทธินั้นเองจะไม่เปิดช่องให้โอนกันได้ บริษัทผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิจึงโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้รับโอนได้โดยชอบ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 วรรคแรก และเมื่อการโอนดังกล่าวมีการแจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ลูกหนี้ทราบแล้วตามมาตรา 306 วรรคแรก การโอนนั้นจึงใช้ยันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้
การโอนสิทธิและอนุญาตให้ใช้สิทธิในชื่อทางการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายการค้า และสิทธิในระบบปฏิบัติการที่มีอยู่แล้วก่อนนำมาจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายบริการในประเทศไทยมิใช่การโอนสิทธิในเครื่องหมายบริการที่ได้รับการจดทะเบียน จึงไม่ต้องจดทะเบียนต่อนายทะเบียนตามแบบแห่งนิติกรรมดังที่กำหนดไว้มาตรา 51 วรรคสอง และ 68 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
โจทก์มีคำขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้า-ระหว่างประเทศวินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ ก็ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐตามคำขอบังคับของโจทก์ท้ายคำฟ้องเท่านั้น
แม้ลูกหนี้มีสิทธิชำระหนี้เงินดอลลาร์สหรัฐตามคำพิพากษาเป็นเงินบาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคแรก แต่การเปลี่ยนเงินก็ต้องเป็นไปตามมาตรา 196 วรรคสอง ที่ให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เจ้าหนี้และลูกหนี้ได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันอันเนื่องมาจากอัตราแลกเปลี่ยนเงิน การชำระหนี้ด้วยเงินไทยและการเปลี่ยนเงินเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี จึงไม่ต้องกำหนดไว้ในคำพิพากษา แต่การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาเกี่ยวกับการคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินบาทโดยให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันที่มีคำพิพากษาซึ่งอาจมีอัตราแลกเปลี่ยนแตกต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินในเวลาที่มีการใช้เงิน หากลูกหนี้ต้องชำระหนี้เป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันอ่านคำพิพากษาซึ่งถ้าเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐ แลกเป็นเงินบาทได้มากกว่าในวันชำระเงินจริง ก็จะทำให้ลูกหนี้ต้องชำระหนี้ด้วยเงินบาทเป็นจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินบาทที่คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ใช้เงินและมีผลทำให้จำนวนเงินที่ต้องชำระหนี้เป็นเงินบาทนั้นคิดเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐสูงกว่าจำนวนเงินตามคำขอบังคับท้ายคำฟ้องของโจทก์อันถือเป็นการพิพากษาเกินไปหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและ วิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง และเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอุทธรณ์ขึ้นมาศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็เห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเฉพาะกรณีที่จะมีผลให้เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8278/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นข้อพิพาทจำกัดเฉพาะที่ดินส่วนหนึ่ง ศาลวินิจฉัยเกินขอบเขตถือเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้เพียงข้อเดียวว่า โจทก์หรือจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทด้านทิศใต้ เนื้อที่ 2 ไร่ 1 งาน ถ้าคู่ความไม่เห็นด้วย ชอบที่จะคัดค้านการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาลได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคสาม เมื่อโจทก์และจำเลยมิได้โต้แย้งหรือคัดค้านประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงต้องถือว่าคดีมีประเด็นข้อพิพาทตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพียงข้อเดียวดังกล่าว การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ขับไล่จำเลยและ บริวารออกจากที่ดินพิพาททั้งแปลง และให้ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2847/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยนอกประเด็น: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นความประมาท ทั้งที่จำเลยไม่ได้ต่อสู้ ศาลฎีกายกคำพิพากษา
ตามคำฟ้องและคำให้การ ประเด็นข้อพิพาทมีเพียงประการเดียวว่าจำเลยทั้งสามเป็นนายจ้าง ตัวการ ผู้ใช้ หรือ ผู้ว่าจ้างวาน ส.หรือไม่ ส่วนประเด็นที่ว่าความประมาทเกิดจาก ส.ตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ จำเลยทั้งสามไม่ได้ให้การ ต่อสู้ไว้ ต้องฟังว่า ส. เป็นฝ่ายประมาทและเป็นข้อเท็จจริงที่ยุติไปแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ประกอบกับ มาตรา 84 (1) การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกประเด็นเรื่องนี้ขึ้นมาวินิจฉัยอีก เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2746/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเรื่องเงินกู้: ศาลฎีกาพิพากษากลับให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยยืนยันจำนวนเงินกู้ที่จำเลยต้องรับผิด
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินกู้จำนวน 130,000 บาท ศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยกู้เงินโจทก์จำนวน 130,000 บาท จริง แต่จำเลยได้ชำระเงินให้โจทก์ไปบางส่วนแล้ว คงเหลือต้นเงินที่จำเลยจะต้องรับผิดจำนวน 96,911.44 บาท และพิพากษาให้จำเลยชำระต้นเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ โจทก์ไม่อุทธรณ์โต้แย้งในส่วนที่ขาดไป ดังนั้น ต้นเงินที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์คงมีเพียง 96,911.44 บาท ตามที่จำเลยอุทธรณ์ ส่วนต้นเงินจำนวนที่ขาดไป 33,088.56 บาท ย่อมยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยส่วนนี้ให้ได้ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ โจทก์คงฎีกาได้เฉพาะในส่วนต้นเงินจำนวน 96,911.44 บาท เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์ไปจำนวน 130,000 บาท มิใช่จำนวน 70,000 บาท ดังที่จำเลยนำสืบต่อสู้ ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดชำระต้นเงิน 96,911.44 บาท ตามจำนวนต้นเงินที่พิพาทกันในชั้นฎีกา
of 16