คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 142 วรรคหนึ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 155 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6882/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษานอกฟ้อง: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยความรับผิดฐานเป็นผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดเกินกว่าที่ระบุในคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะที่เป็นนายจ้างของผู้ขับรถยนต์บรรทุกซึ่งกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลย และในฐานะที่จำเลยเป็นเจ้าของผู้ครอบครองและผู้ใช้ประโยชน์ในรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวที่ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย และตามคำฟ้องของโจทก์ไม่มีข้อความตอนใดระบุให้จำเลยรับผิดในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งเป็นนายจ้างของผู้ขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุ การที่ศาลอุทธรณ์ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยให้จำเลยในฐานะผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดรับผิดต่อโจทก์ จึงเป็นการพิพากษานอกฟ้องหรือเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6882/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษานอกฟ้อง: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นนอกเหนือคำฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะที่เป็นนายจ้างของผู้ขับรถยนต์บรรทุกซึ่งกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลย และในฐานะที่จำเลยเป็นเจ้าของผู้ครอบครองและผู้ใช้ประโยชน์ในรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวที่ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย และตามคำฟ้องของโจทก์ไม่มีข้อความตอนใดระบุให้จำเลยรับผิดในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งเป็นนายจ้างของผู้ขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุ การที่ศาลอุทธรณ์ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยให้จำเลยในฐานะผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดรับผิดต่อโจทก์ จึงเป็นการพิพากษานอกฟ้องหรือเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2498/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยนอกประเด็นเรื่องการแย่งการครอบครองในคดีมรดก ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไข
จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกของบิดาจำเลยทั้งสองซึ่งตกทอดแก่จำเลยทั้งสอง ดังนี้ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์หมดสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองเพราะไม่ได้ฟ้องภายใน 1 ปี คดีก็ไม่มีประเด็นเรื่องการแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง เพราะการแย่งการครอบครองนั้น จำเลยทั้งสองต้องยอมรับก่อนว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์แต่จำเลยทั้งสองแย่งการครอบครองมา เมื่อคดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการแย่งการครอบครอง การที่ศาลชั้นต้นหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง เป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ 246, 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2360/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในชื่อการค้าและเครื่องหมายการค้า: การคุ้มครองชื่อที่ใช้ก่อนและป้องกันการใช้ในธุรกิจที่คล้ายคลึง
โจทก์ประกอบกิจการโรงแรมโดยใช้ชื่อทางการค้าและใช้เครื่องหมายบริการและเครื่องหมายการค้าโดยเฉพาะคำว่า "Comfort Inn" จนมีชื่อเสียงแพร่หลายไปทั่วโลกมาตั้งแต่ปี 2524 ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะดำเนินธุรกิจให้เช่าห้องพักในรูปแบบเกสต์เฮาส์โดยใช้ชื่อว่า "Comfort Inn" และใช้ชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ว่า "Comfort Inn Co,. LTD." ถึง 5 ปี และก่อนที่จำเลยที่ 1 จะจดทะเบียนเครื่องหมายบริการ (รูปสัญลักษณ์เครื่องหมายการค้าของจำเลยด้านล่างวงกลมมีข้อความ "Comfort Inn Co,. LTD.") เพื่อใช้กับบริการให้เช่าห้องพักและโรงแรมถึง 11 ปี เมื่อโจทก์ใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" เป็นชื่อกิจการโรงแรมของโจทก์ เป็นเครื่องหมายบริการสำหรับธุรกิจโรงแรมของโจทก์ และเป็นเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าจำพวกเครื่องเขียน เช่น กระดาษ แผ่นการ์ด ซองจดหมาย และสิ่งพิมพ์โฆษณากิจการโรงแรมของโจทก์มาก่อนที่จำเลยที่ 1 จะใช้คำว่า "Comfort Inn" เป็นชื่อกิจการเกสต์เฮาส์ให้เช่าห้องพักของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกิจการที่มีลักษณะอย่างเดียวกันกับกิจการโรงแรมของโจทก์ ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะนำคำดังกล่าวมาใช้เป็นชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะนำคำดังกล่าวมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าจำพวกเครื่องเขียน กระดาษ ซองจดหมาย และสิ่งพิมพ์โฆษณาต่าง ๆ ที่ใช้ในกิจการเกสต์เฮาส์ของจำเลยที่ 1 และก่อนที่จำเลยที่ 1 จะนำคำว่า "Comfort Inn" มาจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายบริการ (รูปสัญลักษณ์เครื่องหมายการค้าของจำเลยด้านล่างวงกลมมีข้อความ "Comfort Inn Co,. LTD.") หลายปี โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิใช้ชื่อทางการค้าและที่ใช้เป็นเครื่องหมายการค้าคำว่า "Comfort Inn" ดีกว่าจำเลยทั้งสาม
โจทก์ได้ประกอบกิจการโรงแรมโดยใช้ชื่อทางการค้า เครื่องหมายบริการ และเครื่องหมายการค้าคำว่า "Comfort Inn" จนมีชื่อเสียงแพร่หลายไปทั่วโลกมาก่อน เมื่อจำเลยทั้งสามได้ทราบถึงกิจการโรงแรมของโจทก์ที่ใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" แล้วนำคำดังกล่าวมาใช้กับกิจการเกสต์เฮาส์ของจำเลยทั้งสาม การที่จำเลยทั้งสามใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn " เป็นชื่อธุรกิจเกสต์เฮาส์เพื่อให้เช่าห้องพัก และใช้เป็นชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 โดยเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า "Comfort Inn Co., LTD." กับใช้ชื่อทางการค้าที่ใช้เป็นเครื่องหมายการค้าคำว่า "Comfort Inn" กับสินค้ากระดาษ ซองจดหมาย ใบสั่งซักรีดเสื้อผ้า กระดาษห่อสบู่ ใบสั่งจองห้องพัก ใบเสร็จรับเงิน และแผ่นพับโฆษณาธุรกิจเกสต์เฮาส์เพื่อให้เช่าห้องพักของจำเลยทั้งสาม และใช้คำว่า "COMFORT INN โรงแรมคอมฟอร์ต อินน์" พิมพ์ไว้ที่ถุงพลาสติกที่ใช้ใส่แก้วน้ำในห้องพัก ซึ่งเป็นชื่อทางการค้าเดียวกันกับชื่อทางการค้าของโจทก์และใช้กับกิจการโรงแรมหรือเกสต์เฮาส์ที่มีลักษณะอย่างเดียวกันกับกิจการของโจทก์ ย่อมทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่ากิจการบริการของจำเลยทั้งสามเป็นกิจการบริการของโจทก์ อันเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากต้องขาดรายได้จากลูกค้าโรงแรมของโจทก์ในประเทศไทยซึ่งสับสนหลงผิดไปใช้บริการของจำเลยทั้งสามได้ เมื่อจำเลยทั้งสามไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ให้ใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" โจทก์จึงมีสิทธิห้ามมิให้จำเลยใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" ของโจทก์ในลักษณะดังกล่าวได้ตามบทบัญญัติมาตรา 18 แห่ง ป.พ.พ.
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" สำหรับธุรกิจโรงแรมในประเทศไทยดีกว่าจำเลยทั้งสาม ห้ามจำเลยทั้งสามใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" ของโจทก์ในการประกอบธุรกิจโรงแรมของจำเลยทั้งสามในประเทศไทย และห้ามจำเลยทั้งสามใช้ชื่อทางการค้าคำว่า "Comfort Inn" ซึ่งใช้เป็นเครื่องหมายการค้าในสินค้าจำพวกกระดาษ การ์ด สิ่งพิมพ์ สิ่งพิมพ์โฆษณา ภาพพิมพ์ รูปภาพ และรูปถ่ายเท่านั้น ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Comfort Inn" ดีกว่าจำเลยทั้งสาม และห้ามจำเลยทั้งสามใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าจำพวกดังกล่าว จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7094/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การว่าจ้างทำของและหุ้นส่วนทางธุรกิจ ศาลไม่ถือว่าวินิจฉัยนอกฟ้องหากเชื่อมโยงกับการว่าจ้าง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งห้าว่าจ้างโจทก์ทำอุปกรณ์บรรจุเทปเพลง ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ให้ร่วมกันรับผิดตามสัญญาจ้างทำของ ประเด็นข้อพิพาทมีว่าจำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างโจทก์ทำสินค้าตามฟ้องหรือไม่ โจทก์ได้นำสืบถึงความเป็นมาแห่งคดีและได้แสดงเอกสารและวัตถุพยานเกี่ยวกับการว่าจ้างรายนี้ ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนกับจำเลยที่ 2 เนื่องจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แก่กิจการที่ทำนั้น เป็นการเข้าหุ้นส่วนกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5626/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการวินิจฉัยพยานหลักฐานเพียงพอ และการแบ่งทรัพย์สินรวมโดยอาศัยแผนที่ที่คู่ความรับรอง
ป.วิ.พ.มาตรา 104 ให้อำนาจแก่ศาลที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่จำเลยและโจทก์นำเข้าสู่กระบวนพิจารณานั้นเป็นการเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีหรือไม่ คดีนี้ศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาอันเป็นสาระสำคัญ โดยสั่งให้ทำแผนที่วิวาทตามที่คู่ความนำชี้ เมื่อคู่ความแถลงรับว่าแผนที่วิวาทถูกต้อง และแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลชั้นต้น ก็เป็นการเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดี การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานทั้งสองฝ่าย จึงเป็นการใช้อำนาจศาลตามกฎหมายภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นและเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยไปรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับจำเลยยังมิได้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์กันเป็นส่วนสัด เมื่อโจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมโดยมิได้แบ่งแยกการครอบครองกันเป็นส่วนสัด ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามส่วน โดยกำหนดวิธีการแบ่งตามที่ ป.พ.พ.มาตรา1364 บัญญัติไว้ได้ ไม่เป็นการพิพากษานอกประเด็น หรือพิพากษาเกินคำขอ
โจทก์และจำเลยตกลงกันให้โจทก์ครอบครองที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมด้านทิศเหนือและจำเลยครอบครองด้านทิศใต้ ตามแผนที่วิวาทซึ่งคู่ความรับว่าถูกต้องและจำเลยได้ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาททางด้านทิศใต้แล้ว หากจะให้เอาที่ดินพิพาทประมูลขายทอดตลาดแล้วเอาเงินแบ่งให้โจทก์จำเลยตามส่วนตามบทบัญญัติของกฎหมาย จำเลยอาจได้รับความเดือดร้อน ดังนี้ศาลให้แบ่งแยกที่ดินพิพาทตามแนวแผนที่วิวาทดังกล่าว
โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์ในฐานะเจ้าของรวม จำเลยให้การกล่าวแก้ว่าวิธีการแบ่งทรัพย์ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องนั้นไม่ถูกต้อง ขอให้ยกฟ้องมิได้ขอบังคับให้ที่ดินส่วนใดเป็นของจำเลยเกินกว่าสิทธิของจำเลย เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5626/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินรวมและการพิพากษาตามข้อตกลงของคู่ความ ศาลสามารถงดสืบพยานและพิพากษาตามที่ตกลงกันได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104ให้อำนาจแก่ศาลที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่จำเลยและโจทก์นำเข้าสู่กระบวนพิจารณานั้นเป็นการเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีหรือไม่ คดีนี้ศาลชั้นต้นได้ดำเนิน กระบวนพิจารณาอันเป็นสาระสำคัญ โดยสั่งให้ทำแผนที่ วิวาทตามที่คู่ความนำชี้ เมื่อคู่ความแถลงรับว่าแผนที่ วิวาทถูกต้อง และแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลชั้นต้น ก็เป็น การเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดี การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง งดสืบพยานทั้งสองฝ่าย จึงเป็นการใช้อำนาจศาลตามกฎหมายภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2534 ซึ่งใช้บังคับอยู่ ในขณะนั้นและเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยไปรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับจำเลยยังมิได้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์ กันเป็นส่วนสัด เมื่อโจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมโดยมิได้แบ่งแยกการครอบครองกันเป็นส่วนสัด ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามส่วน โดยกำหนดวิธีการแบ่งตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 บัญญัติไว้ได้ไม่เป็นการพิพากษานอกประเด็น หรือพิพากษาเกินคำขอ โจทก์และจำเลยตกลงกันให้โจทก์ครอบครองที่ดินที่เป็น กรรมสิทธิ์รวมด้านทิศเหนือและจำเลยครอบครองด้านทิศใต้ ตามแผนที่วิวาทซึ่งคู่ความรับว่าถูกต้องและจำเลยได้ปลูกบ้าน อยู่ในที่ดินพิพาททางด้านทิศใต้แล้ว หากจะให้เอาที่ดิน พิพาทประมูลขายทอดตลาดแล้วเอาเงินแบ่งให้โจทก์ จำเลยตามส่วนตามบทบัญญัติของกฎหมาย จำเลยอาจ ได้รับความเดือดร้อน ดังนี้ศาลให้แบ่งแยกที่ดินพิพาทตามแนว แผนที่วิวาทดังกล่าว โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์ในฐานะเจ้าของรวมจำเลยให้การกล่าวแก้ว่าวิธีการแบ่งทรัพย์ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องนั้นไม่ถูกต้อง ขอให้ยกฟ้องมิได้ขอ บังคับให้ที่ดินส่วนใดเป็นของจำเลยเกินกว่าสิทธิของจำเลยเมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4068/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำพิพากษาเกินฟ้อง: การบังคับโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์เกินกว่าที่โจทก์ขอ
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ร่วมกันรับผิด เนื่องจากจำเลยที่ 1 กระทำละเมิด เป็นเหตุให้รถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหายโดยจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วยในฐานะนายจ้าง โจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปครบถ้วนแล้ว จึงรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องเอาแก่จำเลยทั้งสองตามกฎหมาย จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา กรณีย่อมไม่มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า หากจำเลยทั้งสองชำระค่าสินไหมทดแทนและดอกเบี้ยครบถ้วนแล้วกรรมสิทธิ์ในรถยนต์จะต้องตกเป็นของจำเลยทั้งสองหรือไม่ เพราะจำเลยทั้งสองมิได้ให้การต่อสู้หรือฟ้องแย้งเป็นประเด็นไว้เช่นนั้นการที่ผู้เอาประกันภัยต้องโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ที่เอาประกันภัยให้แก่โจทก์นั้นเป็นไปตามเงื่อนไขและข้อตกลงในกรมธรรม์ประกันภัย อันเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์และผู้เอาประกันภัย ซึ่งเป็นคู่สัญญากันโดยเฉพาะ จำเลยทั้งสองซึ่งต้องร่วมกันรับผิดฐานละเมิดหาได้มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นคู่สัญญาอันจะทำให้มีสิทธิและหน้าที่หรือได้รับประโยชน์ตามข้อตกลงหรือเงื่อนไขดังกล่าวในกรมธรรม์ด้วยไม่ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าหากจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าสินไหมทดแทนและดอกเบี้ยครบถ้วนแล้ว ให้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ตกเป็นของจำเลยทั้งสองนั้น จึงเป็นการพิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา142 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4068/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำฟ้องในคดีละเมิดประกันภัย ศาลฎีกาแก้คำพิพากษา
โจทก์ฟ้องจำเลย ทั้งสองให้ร่วมกันรับผิด เนื่องจากจำเลยที่ 1 กระทำละเมิด เป็นเหตุให้รถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหายโดยจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วยในฐานะนายจ้าง โจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปครบถ้วนแล้ว จึงรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องเอาแก่จำเลยทั้งสองตามกฎหมาย จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา กรณีย่อมไม่มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า หากจำเลยทั้งสองชำระค่าสินไหมทดแทนและดอกเบี้ยครบถ้วนแล้วกรรมสิทธิ์ ในรถยนต์จะต้องตกเป็นของจำเลยทั้งสองหรือไม่ เพราะจำเลยทั้งสองมิได้ให้การต่อสู้หรือฟ้องแย้งเป็นประเด็นไว้เช่นนั้นการที่ผู้เอาประกันภัยต้องโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ที่เอาประกันภัยให้แก่โจทก์นั้นเป็นไปตามเงื่อนไขและข้อตกลงในกรมธรรม์ประกันภัยอันเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์และผู้เอาประกันภัย ซึ่งเป็นคู่สัญญากันโดยเฉพาะ จำเลยทั้งสองซึ่งต้องร่วมกันรับผิดฐาน ละเมิดหาได้มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นคู่สัญญาอันจะทำให้มีสิทธิและหน้าที่หรือได้รับประโยชน์ตามข้อตกลงหรือเงื่อนไขดังกล่าวในกรมธรรม์ด้วยไม่ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าหากจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าสินไหมทดแทนและดอกเบี้ยครบถ้วนแล้ว ให้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ตกเป็นของจำเลยทั้งสองนั้น จึงเป็นการพิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2970/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลวินิจฉัยนอกประเด็นเรื่องแย่งการครอบครอง การงดสืบพยานไม่ชอบ ต้องให้สืบพยานเพื่อพิพากษาใหม่
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทจำเลยทั้งสองเข้ามาปลูกสร้างโรงเรือนและเตาเผาเครื่องปั้นดินเผาในที่ดินของโจทก์บางส่วนขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสองจำเลยทั้งสองให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสองโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่และโจทก์มิได้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทภายใน1ปีนับแต่วันที่จำเลยทั้งสองแย่งการครอบครองดังนี้คดีไม่มีประเด็นเรื่องแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1375เพราะจำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้จำเลยทั้งสองให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสองมาแต่แรกเมื่อคดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการแย่งการครอบครองการที่ศาลล่างทั้งสองหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142วรรคหนึ่งประกอบมาตรา246ปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบมาตรา246และ247
of 16