พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4919/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดที่ดินที่ถูกเวนคืน: สิทธิของผู้ซื้อก่อนมีผลบังคับใช้กฎหมายเวนคืน
พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน-หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า พ.ศ. 2524เป็นกฎหมาย จึงถือว่าผู้ร้องรู้ถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว ผู้ร้องอ้างไม่ได้ว่าขณะที่ผู้ร้องเข้าประมูลในการขายทอดตลาดผู้ร้องไม่รู้ถึงข้อความจริงเช่นว่านี้ จึงไม่เป็นการสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์ที่ซื้อจากการขายทอดตลาด การออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ก็เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการสำรวจก่อนที่จะมีการตราพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ออกมาใช้บังคับกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงยังไม่ตกเป็นของรัฐ ขณะมีการขายทอดตลาดกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ขายทอดตลาดยังเป็นของจำเลยที่ 2 และเมื่อไม่อยู่ในข่ายห้ามโอนตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295พ.ศ. 2530 แล้ว ก็สามารถทำนิติกรรมซื้อขายกันได้ตามกฎหมายแม้ต่อมาภายหลังจะได้มีพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินใช้บังคับและรวมที่ดินแปลงดังกล่าวอยู่ในเขตที่ดินที่ถูกเวนคืนด้วยก็ตาม เพราะเป็นกรณีที่เกิดขึ้นภายหลังการขายทอดตลาดที่เสร็จสิ้นไปแล้ว การขายทอดตลาด จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3829/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดจากการปิดประกาศและโฆษณาใส่ร้ายเพื่อขัดขวางการทำประโยชน์ในที่ดิน การร่วมกันกระทำละเมิด
การกระทำเพื่อป้องกันสิทธิโดยพึ่งสถาบันของรัฐโดยสุจริตเช่น การแจ้งความร้องทุกข์ การฟ้องคดีต่อศาล จะต้องกระทำโดยสุจริต มิใช่อาศัยสถาบันของรัฐเป็นเครื่องมือในการกลั่นแกล้งอีกฝ่ายหนึ่ง การที่จำเลยต่อสู้หรือฟ้องคดีต่อศาลหรือแจ้งความร้องทุกข์ฝ่ายโจทก์ว่า โจทก์กับพวกบุกรุกที่ดินของจำเลยนั้นจะต้องมีมูลความจริงอยู่ว่าจำเลยน่าจะมีกรรมสิทธิ์ตามที่กล่าวอ้างจริง มิเช่นนั้นแล้วจำเลยย่อมจะต้องเสี่ยงต่อความรับผิดหากศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินตามที่กล่าวอ้าง เมื่อศาลฎีกาได้พิพากษาในคดีแพ่งเรื่องก่อนว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4 เป็นบริวารของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลม. ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาท คดีถึงที่สุด จำเลยจึงต้องรับผิดในการในการกระทำดังกล่าวของตน เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับรองกรรมสิทธิ์ของโจทก์ไว้ครบถ้วนแล้ว แม้คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ฎีกาจำเลยที่ 1 ลงประกาศหนังสือพิมพ์ มีข้อความกล่าวหาโจทก์ทั้งสามโดยระบุชื่อโจทก์ทั้งสามว่า "บุกรุกที่ดินของจำเลยที่ 1ถูกจำเลยที่ 1 ดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญาและยังขู่ไม่ให้บุคคลภายนอกจับจองหรือซื้ออาคารของโจทก์ มิฉะนั้นจะถูกดำเนินคดีเช่นเดียวกัน"เช่นนี้เป็นการขัดแย้งต่อคำสั่งของศาลชั้นต้นและมีเจตนาที่จะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่โจทก์ทั้งสามทางชื่อเสียงความเชื่อถือ และธุรกิจการค้า การประกาศหนังสือพิมพ์ดังกล่าวจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสามโดยชัดแจ้งอีกกรณีหนึ่ง ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสามได้กล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6ได้ร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสาม จำเลยทั้งหกร่วมกันให้การมาในคำให้การฉบับเดียวกัน ยอมรับว่าได้ร่วมกันกระทำต่อโจทก์ แต่ได้กระทำโดยสุจริต จำเลยที่ 5 จำเลยที่ 6 ไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าไม่ได้ร่วมกระทำกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 5 จำเลยที่ 6 ไม่ได้ร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสามจึงเป็นการวินิจฉัยคดีนอกคำให้การของจำเลยที่ 5จำเลยที่ 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6265/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างประจำ จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แม้ศาลอนุญาตเลิกจ้าง
ในคดีเดิมที่จำเลยอนุญาตต่อศาลแรงงานกลางเพื่อเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้าง จำเลยอ้างเหตุแห่งการเลิกจ้างว่า โจทก์แจ้งคุณสมบัติในใบสมัครงานเป็นเท็จทำให้จำเลยเข้าใจผิดในคุณสมบัติของโจทก์ว่า โจทก์ลาออกจากงานที่เคยทำ ต่อมาจำเลยทราบว่าโจทก์ออกจากงานโดยถูกเลิกจ้างเพราะขาดงานเกิน 3 วันติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลสมควร เหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงไม่ต้องด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ และในคดีเดิมศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ได้กำหนดว่าให้เลิกจ้างตั้งแต่ เมื่อใด ทั้งการพิจารณาคำร้องขออนุญาตเลิกจ้างโจทก์ดังกล่าวก็เพียงแต่พิจารณาว่ามีเหตุผลเพียงพอที่จะให้เลิกจ้างโจทก์ ได้หรือไม่ เช่นนี้เมื่อจำเลยได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานกลางให้เลิกจ้างโจทก์ได้แล้ว จำเลยต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการเลิกจ้างโจทก์ให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า จำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3595/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆียกรรมสัญญาจ้างงาน, การคืนสภาพเดิม, ค่าเสียหายจากการทำงานที่กระทำไปแล้ว, และการปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยแจ้งปีเกิดตามหลักฐานที่ผิดโดยมีเจตนาปกปิดความจริงเป็นเหตุให้โจทก์สำคัญผิดในคุณสมบัติของจำเลยตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518ทำให้โจทก์ยอมรับโอนจำเลยเข้าเป็นพนักงานของโจทก์ โดยที่ขณะนั้นจำเลยมีอายุเกินกว่าหกสิบปีบริบูรณ์แล้ว ต่อมาโจทก์ทราบความจริงจึงเลิกจ้างจำเลย เช่นนี้ แม้การที่จะให้จำเลยคืนเงินค่าจ้างและเงินอื่นแก่โจทก์ ไม่เป็นการพ้นวิสัย แต่การงานที่จำเลยทำให้โจทก์ไปแล้วซึ่งเป็นประโยชน์แก่โจทก์ และโจทก์ยอมรับเอาการงานของจำเลยแล้วก็ต้องกลับคืนไปยังฐานะเดิมด้วยดุจกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138 วรรคสาม เมื่อการที่จะให้การงานที่ทำไปแล้วกลับคืนยังฐานะเดิมเป็นการพ้นวิสัย โจทก์จึงต้องใช้ค่าเสียหายที่สมควรแก่หน้าที่การงานให้แก่จำเลย โดยถือว่าค่าจ้างและเงินอื่นตามฟ้องที่จำเลยได้รับไปแล้วเป็นค่าเสียหายจำนวนนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2349/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์ สัญญาซื้อขายเป็นโมฆียะ โจทก์บอกล้างได้ จำเลยต้องคืนเงินมัดจำ
จำเลยทำสัญญาจะขายที่พิพาทให้โจทก์โดยทราบว่าโจทก์จะซื้อที่พิพาทไปเพื่อสร้างโรงงาน เมื่อจำเลยทราบว่าที่พิพาทอยู่ในเขตประกาศของกระทรวงมหาดไทยเรื่องห้ามก่อสร้างอาคาร แต่ปกปิดข้อเท็จจริงดังกล่าว จึงถือว่าโจทก์แสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์ที่จะซื้อซึ่งเป็นสาระสำคัญ สัญญาจะซื้อขายเป็นโมฆียะ เมื่อโจทก์บอกล้างแล้วสัญญาจะซื้อขายจึงเป็นโมฆะมาแต่แรก คู่สัญญาต้องกลับคืนยังฐานะเดิม จำเลยต้องคืนเงินมัดจำให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2349/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในคุณสมบัติทรัพย์ – โมฆียะ – คืนเงินมัดจำ – จำเลยทราบข้อเท็จจริงแต่ปกปิด
จำเลยทำสัญญาจะขายที่พิพาทให้โจทก์โดยทราบว่าโจทก์จะซื้อที่พิพาทไปเพื่อสร้างโรงงาน เมื่อจำเลยทราบว่าที่พิพาทอยู่ในเขตประกาศของกระทรวงมหาดไทยเรื่องห้ามก่อสร้างอาคารแต่ปกปิดข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงถือว่าโจทก์แสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์ที่จะซื้อซึ่งเป็นสาระสำคัญ สัญญาจะซื้อขายเป็นโมฆียะ เมื่อโจทก์บอกล้างแล้วสัญญาจะซื้อขายจึงเป็นโมฆะมาแต่แรกคู่สัญญาต้องกลับคืนยังฐานะเดิมจำเลยต้องคืนเงินมัดจำให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2349/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในคุณสมบัติทรัพย์ สัญญาซื้อขายเป็นโมฆียะ คืนเงินมัดจำ
จำเลยทำสัญญาจะขายที่พิพาทให้โจทก์โดยทราบว่าโจทก์จะซื้อที่พิพาทไปเพื่อสร้างโรงงาน เมื่อจำเลยทราบว่าที่พิพาทอยู่ในเขตประกาศของกระทรวงมหาดไทยเรื่องห้ามก่อสร้างอาคาร แต่ปกปิดข้อเท็จจริงดังกล่าว จึงถือว่าโจทก์แสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์ที่จะซื้อซึ่งเป็นสาระสำคัญ สัญญาจะซื้อขายเป็นโมฆียะ เมื่อโจทก์บอกล้างแล้วสัญญาจะซื้อขายจึงเป็นโมฆะมาแต่แรก คู่สัญญาต้องกลับคืนยังฐานะเดิม จำเลยต้องคืนเงินมัดจำให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3484/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในนิติกรรมแลกเปลี่ยนรถยนต์ การใช้สิทธิอายัดรถยนต์โดยสุจริต
จำเลยซื้อรถยนต์พิพาทมาจากป. แต่ยังไม่ได้โอนทะเบียนเป็นชื่อจำเลยต่อมามีผู้อ้างว่าชื่อธ. นำรถยนต์มาขอแลกเปลี่ยนกับรถยนต์พิพาทจำเลยก็ตกลงแลกเปลี่ยนให้หลังจากนั้นโจทก์ได้รับซื้อรถยนต์พิพาทไว้จากชายคนหนึ่งอีก2วันต่อมาจำเลยทราบว่าทะเบียนรถที่ธ. นำมาแลกเปลี่ยนเป็นทะเบียนปลอมเจ้าของรถที่แท้จริงไม่ใช่ธ. จำเลยจึงไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนและขออายัดรถยนต์พิพาทไว้เมื่อได้ความว่าก่อนตกลงแลกเปลี่ยนรถกันจำเลยได้ตรวจดูเลขเครื่องในตัวถังรถยนต์ที่ธ. นำมาขอแลกเปลี่ยนแล้วปรากฏว่าตรงกับในทะเบียนรถและรูปถ่ายในบัตรประชาชนที่นำมาแสดงเหมือนกับผู้ที่อ้างว่าเป็นธ. ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังพอสมควรแล้วแม้จะถือว่านิติกรรมแลกเปลี่ยนรถยนต์พิพาทตกเป็นโมฆะเพราะทำด้วยสำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรมก็ไม่ใช่เรื่องที่จำเลยกระทำด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจำเลยจึงไม่ต้องห้ามในอันที่จะยกความไม่สมบูรณ์หรือโมฆะกรรมนั้นมาใช้เป็นประโยชน์แก่ตน และย่อมมีสิทธิในการขออายัดรถยนต์พิพาทได้โดยไม่ต้องรับผิดในการขออายัดดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2259/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในฐานะทางกฎหมาย vs. คุณสมบัติบุคคล: สัญญาประนีประนอมยอมความ
แม้จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมขายที่ดินคืนแก่โจทก์เพราะเข้าใจผิดคิดว่าโจทก์เป็นทายาทของเจ้ามรดก ก็เป็นเรื่องจำเลยสำคัญผิดต่อฐานะทางกฎหมายของโจทก์เท่านั้น หาใช่ความสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลซึ่งตามปกติย่อมเป็นสาระสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 120 อันจะทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยเป็นโมฆียะไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2259/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดฐานะทางกฎหมาย vs. คุณสมบัติบุคคล: สัญญาประนีประนอมยอมความ
แม้จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมขายที่ดินคืนแก่โจทก์เพราะเข้าใจผิดคิดว่าโจทก์เป็นทายาทของเจ้ามรดก ก็เป็นเรื่องจำเลยสำคัญผิดต่อฐานะทางกฎหมายของโจทก์เท่านั้น หาใช่ความสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลซึ่งตามปกติย่อมเป็นสาระสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 120 อันจะทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยเป็นโมฆียะไม่