พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7406/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างทนาย: แม้ผลคดีไม่เป็นไปตามที่ตกลง ก็มีสิทธิได้รับค่าจ้างตามผลงานที่กระทำไป
จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ว่าความ ผลสำเร็จของงานย่อยอยู่ที่การว่าความจนคดีถึงที่สุด ส่วนการแพ้หรือชนะเป็นเพียงผลแห่งการงานในการชำระสินจ้างเท่านั้น เมื่อคดีที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้ว่าความถึงที่สุด เพราะมีการตกลงประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่งและถอนฟ้องในคดีอาญา ศาลย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างให้ตามสมควรแก่ผลแห่งการงานที่โจทก์ได้กระทำไป
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างมีหนี้ต้องปฏิบัติชำระตอบแทนซึ่งกันและกัน โดยต่างเป็นลูกหนี้และเจ้าหนี้ในขณะเดียวกัน เมื่อโจทก์ผู้รับจ้างได้ทำงานให้จำเลยผู้ว่าจ้างและจำเลยได้รับผลงานเป็นประโยชน์แก่ตนแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับสินจ้างตามผลแห่งการงานที่ได้กระทำไป ส่วนข้อตกลงที่ว่า "ไม่ว่าผลคดีจะเป็นอย่างไรและย่อมอยู่แก่ความพอใจของจำเลย" นั้น เป็นเพียงข้อตกลงอันไม่เกี่ยวกับความเป็นผลหรือสิ้นผลของนิติกรรม มิใช่เงื่อนไขตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 144(เดิม) มาตรา 182(ใหม่) สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่ตกเป็นโมฆะ
สัญญาจ้างว่าความเป็นสัญญาจ้างทำของซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างมีหนี้ต้องปฏิบัติชำระตอบแทนซึ่งกันและกัน โดยต่างเป็นลูกหนี้และเจ้าหนี้ในขณะเดียวกัน เมื่อโจทก์ผู้รับจ้างได้ทำงานให้จำเลยผู้ว่าจ้างและจำเลยได้รับผลงานเป็นประโยชน์แก่ตนแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับสินจ้างตามผลแห่งการงานที่ได้กระทำไป ส่วนข้อตกลงที่ว่า "ไม่ว่าผลคดีจะเป็นอย่างไรและย่อมอยู่แก่ความพอใจของจำเลย" นั้น เป็นเพียงข้อตกลงอันไม่เกี่ยวกับความเป็นผลหรือสิ้นผลของนิติกรรม มิใช่เงื่อนไขตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 144(เดิม) มาตรา 182(ใหม่) สัญญาจ้างว่าความระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3367/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อก่อนกรณีเช่าตึกแถว: สิทธิมีเฉพาะเมื่อผู้ให้เช่าจะขายก่อนครบกำหนดสัญญาเท่านั้น
ข้อความตามหนังสือสัญญาเช่าตึกแถวมีว่า "ถ้าผู้ให้เช่าตกลงขายทรัพย์สินที่เช่าให้แก่ผู้ใดก่อนครบกำหนดการเช่าตามสัญญาแล้วผู้ให้เช่าจะแจ้งให้ผู้เช่าทราบล่วงหน้า เพื่อผู้เช่าเตรียมตัวออกจากทรัพย์สินที่เช่าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองเดือน และผู้ให้เช่าจะต้องแจ้งให้ผู้เช่าทราบด้วยว่าจะตกลงขายให้แก่ผู้ใด เป็นเงินเท่าใด เพื่อผู้เช่าจะได้มีโอกาสตกลงซื้อได้ก่อนในเมื่อเห็นว่าเป็นราคาสมควร" เป็นเพียงเงื่อนไขเกี่ยวกับกรณีที่ผู้ให้เช่าจะขายทรัพย์สินที่เช่าก่อนครบกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาโดยจะต้องแจ้งให้ผู้เช่าทราบเสียก่อน เพื่อผู้เช่าจะได้ใช้สิทธิที่จะซื้อทรัพย์สินที่เช่าได้ก่อนบุคคลอื่นเท่านั้น แต่หาได้ให้สิทธิผู้เช่าที่จะซื้อทรัพย์สินที่เช่าได้ก่อนบุคคลอื่นตลอดไปจนพ้นกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพร้อมด้วยตึกแถวรายพิพาททั้ง 3 คูหาให้แก่จำเลยที่ 3 หลังจากครบกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาแล้ว แม้โจทก์ทั้งสี่จะเช่าตึกแถวรายพิพาททั้ง 3 คูหาอยู่ต่อมาโดยไม่มีกำหนดเวลา โจทก์ทั้งสี่ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ผู้ให้เช่าขายทรัพย์สินที่เช่าแก่โจทก์ทั้งสี่ โจทก์ทั้งสี่จึงไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่จะมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพร้อมด้วยตึกแถวรายพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5699/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบอกเลิกสัญญาตัวแทนและการไม่ผูกพันตามสัญญา เมื่อมีเหตุสุดวิสัยจากระเบียบราชการ
สัญญาพิพาทที่โจทก์และฝ่ายจำเลยทำกันไว้ เป็นสัญญาที่โจทก์มอบหมายให้ฝ่ายจำเลยเป็นตัวแทนไปเจรจาขอเช่าที่ดินของ ก.เพื่อก่อสร้างอาคารเมื่อไปเจรจาเป็นผลสำเร็จและฝ่ายจำเลยได้ก่อสร้างอาคารเสร็จแล้ว ฝ่ายจำเลยจะต้องจัดการให้โจทก์ได้เช่าอาคารที่ก่อสร้างขึ้นนั้นจากกรมธนารักษ์ ไม่ได้มีผลผูกพันกันเป็นพิเศษว่าจะเลิกสัญญาต่อกันไม่ได้ ดังนั้น ฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนจะบอกเลิกสัญญาที่ทำกันไว้เสียเมื่อใดก็ได้ เว้นแต่จะเป็นการบอกเลิกในเวลาที่ไม่สะดวกแก่โจทก์ ฝ่ายจำเลยจึงจะต้องรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่การนั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 827
เมื่อปรากฏว่า หลังจากทำสัญญากันแล้วจำเลยได้ไปติดต่อขอเช่าที่ดินและขออนุญาตก่อสร้างตึกแถวเป็นอาคารพาณิชย์จาก ก. แต่ ก.ได้กำหนดให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขหลายประการ และ ก.ได้กำหนดให้ผู้ขอเช่าที่ดินและขออนุญาตก่อสร้างอาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามเงื่อนไขให้ครบถ้วนก่อน ซึ่งฝ่ายจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่า ก.กำหนดให้ผู้ที่จะขอก่อสร้างอาคารต้องประมูลกันใครให้ผลประโยชน์มากที่สุดจะเป็นผู้ได้รับอนุญาต และผู้ประมูลจะต้องเป็นนิติบุคคลหลังจากแจ้งไปแล้วโจทก์ก็ไม่ได้แสดงความประสงค์จะเข้าประมูล ต่อมาได้มีการบอกเลิกสัญญาที่พิพาทเนื่องจากคู่กรณีไม่สามารถที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาได้เพราะขัดกับระเบียบของกรมธนารักษ์ ดังนี้ ฝ่ายจำเลยจึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาที่ทำกันไว้ต่อโจทก์ได้ แม้ตามสัญญาจะไม่ได้กำหนดให้ฝ่ายจำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาในเวลาใด ๆ ได้ก็ตาม และการบอกเลิกสัญญาดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกเลิกเป็นตัวแทนในเวลาที่ไม่สะดวกแก่ฝ่ายโจทก์ ประกอบกับหนังสือบอกเลิกสัญญา ฝ่ายจำเลยก็ไม่ได้บอกเลิกสัญญาโดยเด็ดขาด แต่ยังให้โอกาสโจทก์มาทำความตกลงกับฝ่ายจำเลยได้อีกภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ แต่ในช่วงระยะเวลาที่กำหนดดังกล่าวโจทก์ไม่ได้มาทำความตกลงอย่างหนึ่งอย่างใดกับฝ่ายจำเลย เช่นนี้ สัญญาที่โจทก์ทำกับฝ่ายจำเลยจึงสิ้นความผูกพันต่อกันแล้ว
ส่วนการที่จำเลยได้รับเงินสินจ้างไปจากโจทก์ และยังไม่ได้คืนโจทก์นั้น เมื่อเงินจำนวนดังกล่าวนี้ตามสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยไม่ได้ระบุให้มีผลผูกพันต่อกันไว้แต่ประการใดเลย และเงินจำนวนนี้ฝ่ายโจทก์ให้ไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการที่ฝ่ายจำเลยไปติดต่อขออนุญาตก่อสร้างอาคารตึกแถวใหม่แทนตึกแถวเดิมดังนี้ เงินจำนวนนี้จึงไม่ใช่เงื่อนไขว่าจำเลยจะบอกเลิกสัญญาได้หรือไม่ ดังนั้นภายหลังจากที่ฝ่ายจำเลยบอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้ว ฝ่ายจำเลยได้เข้าประมูลและสามารถประมูลงานก่อสร้างอาคารในที่ดินของ ก.ได้ และได้ทำการก่อสร้างอาคารจนแล้วเสร็จกับส่งมอบให้แก่ทางราชการเป็นที่เรียบร้อย ฝ่ายจำเลยซึ่งหมดความผูกพันกับโจทก์แล้วจึงไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดต่อโจทก์
เมื่อปรากฏว่า หลังจากทำสัญญากันแล้วจำเลยได้ไปติดต่อขอเช่าที่ดินและขออนุญาตก่อสร้างตึกแถวเป็นอาคารพาณิชย์จาก ก. แต่ ก.ได้กำหนดให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขหลายประการ และ ก.ได้กำหนดให้ผู้ขอเช่าที่ดินและขออนุญาตก่อสร้างอาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามเงื่อนไขให้ครบถ้วนก่อน ซึ่งฝ่ายจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่า ก.กำหนดให้ผู้ที่จะขอก่อสร้างอาคารต้องประมูลกันใครให้ผลประโยชน์มากที่สุดจะเป็นผู้ได้รับอนุญาต และผู้ประมูลจะต้องเป็นนิติบุคคลหลังจากแจ้งไปแล้วโจทก์ก็ไม่ได้แสดงความประสงค์จะเข้าประมูล ต่อมาได้มีการบอกเลิกสัญญาที่พิพาทเนื่องจากคู่กรณีไม่สามารถที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาได้เพราะขัดกับระเบียบของกรมธนารักษ์ ดังนี้ ฝ่ายจำเลยจึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาที่ทำกันไว้ต่อโจทก์ได้ แม้ตามสัญญาจะไม่ได้กำหนดให้ฝ่ายจำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาในเวลาใด ๆ ได้ก็ตาม และการบอกเลิกสัญญาดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกเลิกเป็นตัวแทนในเวลาที่ไม่สะดวกแก่ฝ่ายโจทก์ ประกอบกับหนังสือบอกเลิกสัญญา ฝ่ายจำเลยก็ไม่ได้บอกเลิกสัญญาโดยเด็ดขาด แต่ยังให้โอกาสโจทก์มาทำความตกลงกับฝ่ายจำเลยได้อีกภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ แต่ในช่วงระยะเวลาที่กำหนดดังกล่าวโจทก์ไม่ได้มาทำความตกลงอย่างหนึ่งอย่างใดกับฝ่ายจำเลย เช่นนี้ สัญญาที่โจทก์ทำกับฝ่ายจำเลยจึงสิ้นความผูกพันต่อกันแล้ว
ส่วนการที่จำเลยได้รับเงินสินจ้างไปจากโจทก์ และยังไม่ได้คืนโจทก์นั้น เมื่อเงินจำนวนดังกล่าวนี้ตามสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยไม่ได้ระบุให้มีผลผูกพันต่อกันไว้แต่ประการใดเลย และเงินจำนวนนี้ฝ่ายโจทก์ให้ไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการที่ฝ่ายจำเลยไปติดต่อขออนุญาตก่อสร้างอาคารตึกแถวใหม่แทนตึกแถวเดิมดังนี้ เงินจำนวนนี้จึงไม่ใช่เงื่อนไขว่าจำเลยจะบอกเลิกสัญญาได้หรือไม่ ดังนั้นภายหลังจากที่ฝ่ายจำเลยบอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้ว ฝ่ายจำเลยได้เข้าประมูลและสามารถประมูลงานก่อสร้างอาคารในที่ดินของ ก.ได้ และได้ทำการก่อสร้างอาคารจนแล้วเสร็จกับส่งมอบให้แก่ทางราชการเป็นที่เรียบร้อย ฝ่ายจำเลยซึ่งหมดความผูกพันกับโจทก์แล้วจึงไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5699/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาตัวแทนก่อสร้าง: สิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อมีเหตุสุดวิสัยและไม่ได้ผูกพันตามเงื่อนไขเดิม
สัญญาพิพาทที่โจทก์และฝ่ายจำเลยทำกันไว้เป็นสัญญาที่โจทก์มอบหมายให้ฝ่ายจำเลยเป็นตัวแทนไปเจรจาขอเช่าที่ดินของก. เพื่อก่อสร้างอาคารเมื่อไปเจรจาเป็นผลสำเร็จและฝ่ายจำเลยได้ก่อสร้างอาคารเสร็จแล้วฝ่ายจำเลยจะต้องจัดการให้โจทก์ได้เช่าอาคารที่ก่อสร้างขึ้นนั้นจากกรมธนารักษ์ไม่ได้มีผลผูกพันกันเป็นพิเศษว่าจะเลิกสัญญาต่อกันไม่ได้ดังนั้นฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนจะบอกเลิกสัญญาที่ทำกันไว้เสียเมื่อใดก็ได้เว้นแต่จะเป็นการบอกเลิกในเวลาที่ไม่สะดวกแก่โจทก์ฝ่ายจำเลยจึงจะต้องรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่การนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา827 เมื่อปรากฎว่าหลังจากทำสัญญากันแล้วจำเลยได้ไปติดต่อขอเช่าที่ดินและขออนุญาตก่อสร้างตึกแถวเป็นอาคารพาณิชย์จากก.แต่ก.ได้กำหนดให้ปฎิบัติตามเงื่อนไขหลายประการและก.ได้กำหนดให้ผู้ขอเช่าที่ดินและขออนุญาตก่อสร้างอาคารพาณิชย์ปฎิบัติตามเงื่อนไขให้ครบถ้วนก่อนซึ่งฝ่ายจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าก.กำหนดให้ผู้ที่จะขอก่อสร้างอาคารต้องประมูลกันใครให้ผลประโยชน์มากที่สุดจะเป็นผู้ได้รับอนุญาตและผู้ประมูลจะต้องเป็นนิติบุคคลหลังจากแจ้งไปแล้วโจทก์ก็ไม่ได้แสดงความประสงค์จะเข้าประมูลต่อมาได้มีการบอกเลิกสัญญาที่พิพาทเนื่องจากคู่กรณีไม่สามารถที่จะปฎิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาได้เพราะขัดกับระเบียบของกรมธนารักษ์ดังนี้ฝ่ายจำเลยจึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาที่ทำกันไว้ต่อโจทก์ได้แม้ตามสัญญาจะไม่ได้กำหนดให้ฝ่ายจำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาในเวลาใดๆได้ก็ตามและการบอกเลิกสัญญาดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกเลิกเป็นตัวแทนในเวลาที่ไม่สะดวกแก่ฝ่ายโจทก์ประกอบกับหนังสือบอกเลิกสัญญาฝ่ายจำเลยก็ไม่ได้บอกเลิกสัญญาโดยเด็ดขาดแต่ยังให้โอกาสโจทก์มาทำความตกลงกับฝ่ายจำเลยได้อีกภายใน7วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแต่ในช่วงระยะเวลาที่กำหนดดังกล่าวโจทก์ไม่ได้มาทำความตกลงอย่างหนึ่งอย่างใดกับฝ่ายจำเลยเช่นนี้สัญญาที่โจทก์ทำกับฝ่ายจำเลยจึงสิ้นความผูกพันต่อกันแล้ว ส่วนการที่จำเลยได้รับเงินสินจ้างไปจากโจทก์และยังไม่ได้คืนโจทก์นั้นเมื่อเงินจำนวนดังกล่าวนี้ตามสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยไม่ได้ระบุให้มีผลผูกพันต่อกันไว้แต่ประการใดเลยและเงินจำนวนนี้ฝ่ายโจทก์ให้ไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการที่ฝ่ายจำเลยไปติดต่อขออนุญาตก่อสร้างอาคารตึกแถวใหม่แทนตึกแถวเดิมดังนี้เงินจำนวนนี้จึงไม่ใช่เงื่อนไขว่าจำเลยจะบอกเลิกสัญญาได้หรือไม่ดังนั้นภายหลังจากที่ฝ่ายจำเลยบอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้วฝ่ายจำเลยได้เข้าประมูลและสามารถประมูลงานก่อสร้างอาคารในที่ดินของก.ได้และได้ทำการก่อสร้างอาคารจนแล้วเสร็จกับส่งมอบให้แก่ทางราชการเป็นที่เรียบร้อยฝ่ายจำเลยซึ่งหมดความผูกพันกับโจทก์แล้วจึงไม่มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2209/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกัน: ความรับผิดของผู้ค้ำประกันไม่มีเงื่อนไข แม้มีกำหนดเวลาแจ้งเหตุ
หนังสือค้ำประกันข้อ 2 ระบุว่า ธนาคาร (จำเลยที่ 3) รับรองว่าขณะใดที่ได้รับหนังสือแจ้งความจากโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ปฏิบัติผิดสัญญาและไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ภายในวงเงินที่ค้ำประกัน ไม่ว่าทั้งหมดหรือเฉพาะส่วนใดก็ตามจำเลยที่ 3 ยอมชำระเงินแทนภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งความดังกล่าวเป็นต้นไป แต่โจทก์จะต้องแจ้งเหตุแห่งการปฏิบัติผิดสัญญาให้ธนาคารทราบภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่เหตุการณ์นั้น ๆ ได้เกิดขึ้น ข้อความดังกล่าวเป็นการค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์โดยไม่มีเงื่อนไข แม้ข้อความตอนท้ายระบุให้โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 3 ทราบภายในกำหนด 15 วัน ก็เป็นเพียงกำหนดเวลาที่จะต้องแจ้งให้ผู้ค้ำประกันรู้ตัวว่าจะต้องรับผิดเท่านั้น หาใช่เงื่อนไขจำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกันไม่ การที่จำเลยที่ 1 แจ้งให้จำเลยที่ 3 ทราบถึงการปฏิบัติผิดสัญญาของจำเลยที่ 1 เกินกำหนด 15 วัน ย่อมไม่ทำให้จำเลยที่ 3 พ้นความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2209/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกัน: การแจ้งเหตุผิดสัญญาเกินกำหนด 15 วัน ไม่ทำให้ผู้ค้ำประกันพ้นความรับผิด
หนังสือค้ำประกันข้อ2ระบุว่าธนาคาร(จำเลยที่3)รับรองว่าขณะใดที่ได้รับหนังสือแจ้งความจากโจทก์ว่าจำเลยที่1ปฏิบัติผิดสัญญาและไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ภายในวงเงินที่ค้ำประกันไม่ว่าทั้งหมดหรือเฉพาะส่วนใดก็ตามจำเลยที่3ยอมชำระเงินทดแทนภายในกำหนด15วันนับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งความดังกล่าวเป็นต้นไปแต่โจทก์จะต้องแจ้งเหตุแห่งการปฏิบัติผิดสัญญาให้ธนาคารทราบภายในกำหนด15วันนับแต่วันที่เหตุการณ์นั้นๆได้เกิดขึ้นข้อความข้อดังกล่าวเป็นการค้ำประกันจำเลยที่1ต่อโจทก์โดยไม่มีเงื่อนไขแม้ข้อความตอนท้ายระบุให้โจทก์แจ้งให้จำเลยที่3ทราบภายในกำหนด15วันก็เป็นเพียงกำหนดเวลาที่จะต้องแจ้งให้ผู้ค้ำประกันรู้ตัวว่าจะต้องรับผิดเท่านั้นหาใช่เงื่อนไขจำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกันไม่การที่จำเลยที่1แจ้งให้จำเลยที่3ทราบถึงการปฏิบัติผิดสัญญาของจำเลยที่1เกินกำหนด15วันย่อมไม่ทำให้จำเลยที่3พ้นความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2209/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันโดยไม่มีเงื่อนไข: การแจ้งเหตุผิดสัญญาเกินกำหนดไม่ทำให้ผู้ค้ำประกันพ้นความรับผิด
หนังสือค้ำประกันข้อ2ระบุว่าธนาคาร(จำเลยที่3)รับรองว่าขณะใดที่ได้รับหนังสือแจ้งความจากโจทก์ว่าจำเลยที่1ปฏิบัติผิดสัญญาและไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ภายในวงเงินที่ค้ำประกันไม่ว่าทั้งหมดหรือเฉพาะส่วนใดก็ตามจำเลยที่3ยอมชำระเงินแทนภายในกำหนด15วันนับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งความดังกล่าวเป็นต้นไปแต่โจทก์จะต้องแจ้งเหตุแห่งการปฏิบัติผิดสัญญาให้ธนาคารทราบภายในกำหนด15วันนับแต่วันที่เหตุการณ์นั้นๆได้เกิดขึ้นข้อความดังกล่าวเป็นการค้ำประกันจำเลยที่1ต่อโจทก์โดยไม่มีเงื่อนไขแม้ข้อความตอนท้ายระบุให้โจทก์แจ้งให้จำเลยที่3ทราบภายในกำหนด15วันก็เป็นเพียงกำหนดเวลาที่จะต้องแจ้งให้ผู้ค้ำประกันรู้ตัวว่าจะต้องรับผิดเท่านั้นหาใช่เงื่อนไขจำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกันไม่การที่จำเลยที่1แจ้งให้จำเลยที่3ทราบถึงการปฏิบัติผิดสัญญาของจำเลยที่1เกินกำหนด15วันย่อมไม่ทำให้จำเลยที่3พ้นความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2209/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันโดยไม่มีเงื่อนไข การแจ้งเหตุผิดสัญญาเกินกำหนดไม่ทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิด
หนังสือค้ำประกันข้อ 2 ระบุว่า ธนาคาร (จำเลยที่ 3) รับรองว่าขณะใดที่ได้รับหนังสือแจ้งความจากโจทก์ว่า จำเลยที่ 1ปฏิบัติผิดสัญญาและไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ภายในวงเงินที่ค้ำประกันไม่ว่าทั้งหมดหรือเฉพาะส่วนใดก็ตามจำเลยที่ 3 ยอมชำระเงินแทนภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งความดังกล่าวเป็นต้นไป แต่โจทก์จะต้องแจ้งเหตุแห่งการปฏิบัติผิดสัญญาให้ธนาคารทราบภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่เหตุการณ์นั้น ๆได้เกิดขึ้น ข้อความดังกล่าวเป็นการค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์โดยไม่มีเงื่อนไข แม้ข้อความตอนท้ายระบุให้โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 3ทราบภายในกำหนด 15 วัน ก็เป็นเพียงกำหนดเวลาที่จะต้องแจ้งให้ผู้ค้ำประกันรู้ตัวว่าจะต้องรับผิดเท่านั้น หาใช่เงื่อนไขจำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกันไม่ การที่จำเลยที่ 1 แจ้งให้จำเลยที่ 3ทราบถึงการปฏิบัติผิดสัญญาของจำเลยที่ 1 เกินกำหนด 15 วันย่อมไม่ทำให้จำเลยที่ 3 พ้นความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8438/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้จากการประนีประนอมยอมความ แม้มีเงื่อนไข ยังถือเป็นหนี้ที่ทายาทต้องรับผิดชอบ
สัญญาประนีประนอมยอมความระบุว่า "2. ข้าพเจ้า ป.ยินยอมชดใช้เงินจำนวน 40,000,000 บาท ให้แก่ ศ.3.ข้าพเจ้าป. จะจ่ายเงินจำนวน 40,000,000 บาท ให้แก่ ศ. เมื่อข้าพเจ้าสามารถขายที่ดินโฉนดเลขที่ 3837 พร้อมที่ดินติดต่อกันอันเป็นที่ตั้งของโรงแรม ร. หรือที่ดินโฉนดที่ 4211 ได้และได้รับเงินค่าที่ดินเรียบร้อยแล้ว" แสดงว่าหนี้ที่ ป.จะต้องชำระแก่ ศ. เกิดขึ้นแล้วตามสัญญาข้อ 2 ส่วนข้อกำหนดตามสัญญาข้อ 3 เป็นเพียงข้อกำหนดอันไม่เกี่ยวกับความเป็นผลหรือสิ้นผลของนิติกรรม มิใช่เงื่อนไขตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 144 เดิม (มาตรา 182 ที่แก้ไขใหม่) หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวถือได้ว่าเป็นหนี้ที่มิได้กำหนดระยะเวลาชำระหนี้ไว้ เมื่อลูกหนี้ถึงแก่ความตาย เจ้าหนี้ฟ้องทายาทของลูกหนี้ให้ชำระหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 313/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาชำระหนี้โดยบุคคลภายนอกและผลของการไม่ตกลงเงื่อนไขผ่อนชำระ
จำเลยได้ทำหนังสือถึงโจทก์มีข้อความที่สำคัญว่าตามที่ทางราชการได้ทวงหนี้ค่าใช้จ่ายในการรับตัวลูกเรือจำนวน13คนซึ่งพ้นโทษจำคุกที่ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียตนามกลับประเทศไทยนั้นจำเลยยินดีชดใช้แต่เนื่องจากเรือของจำเลยถูกประเทศดังกล่าวจับทำให้มีฐานะยากจนมีหนี้สินล้นพ้นตัวจึงขอผ่อนชำระเดือนละ1,000บาทเป็นเรื่องจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิได้เป็นลูกหนี้ผูกพันตนเข้าชำระหนี้ให้โจทก์แม้จะไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่เพราะไม่ปรากฏว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตกลงให้หนี้ของลูกเรือทั้ง13คนระงับไปแต่ก็เป็นสัญญาประเภทหนึ่งที่กระทำด้วยความสมัครใจเมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมมีผลใช้บังคับได้ โจทก์ฟ้องโดยอาศัยหนังสือที่จำเลยมีถึงโจทก์เป็นหลักศาลชั้นต้นให้จำเลยรับผิดตามหนังสือดังกล่าวส่วนศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเมื่อโจทก์ไม่ยอมให้จำเลยผ่อนชำระตามหนังสือดังกล่าวเท่ากับข้อเสนอของจำเลยตกไปโจทก์ฎีกาว่าข้อเสนอของจำเลยหาตกเป็นโมฆะทั้งหมดไม่ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยว่าหนังสือดังกล่าวเป็นสัญญาประเภทใดตามที่ถูกต้องแท้จริงได้ ข้อความเฉพาะส่วนที่ขอผ่อนชำระในหนังสือดังกล่าวเป็นเพียงข้อเสนอขึ้นใหม่ของจำเลยดังข้อความในเอกสารที่ว่าจึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุเคราะห์ตามควรแก่กรณีต่อไปด้วยก็จะเป็นพระคุณอย่างสูงจึงมิใช่เงื่อนไขอันบังคับไว้ในสัญญาที่จำเลยยอมผูกพันตนเข้าชำระหนี้แก่โจทก์เป็นผลเมื่อมีเหตุการณ์อันใดอันหนึ่งเกิดขึ้นในอนาคตและไม่แน่นอนเมื่อโจทก์ไม่ตกลงในส่วนที่จำเลยขอผ่อนชำระดังกล่าวจำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญา