พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 313/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อเสนอผ่อนชำระหนี้และการผูกพันตามสัญญา แม้เจ้าหนี้ไม่ตกลง
จำเลยได้ทำหนังสือถึงโจทก์มีข้อความที่สำคัญว่า ตามที่ทางราชการได้ทวงหนี้ค่าใช้จ่ายในการรับตัวลูกเรือจำนวน 13 คน ซึ่งพ้นโทษจำคุกที่ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามกลับประเทศไทยนั้น จำเลยยินดีชดใช้แต่เนื่องจากเรือของจำเลยถูกประเทศดังกล่าวจับทำให้มีฐานะยากจนมีหนี้สินล้นพ้นตัวจึงขอผ่อนชำระเดือนละ 1,000 บาท เป็นเรื่องจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิได้เป็นลูกหนี้ผูกพันตนเข้าชำระหนี้ให้โจทก์ แม้จะไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่เพราะไม่ปรากฏว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตกลงให้หนี้ของลูกเรือทั้ง 13 คน ระงับไป แต่ก็เป็นสัญญาประเภทหนึ่งที่กระทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมมีผลใช้บังคับได้
โจทก์ฟ้องโดยอาศัยหนังสือที่จำเลยมีถึงโจทก์เป็นหลักศาลชั้นต้นให้จำเลยรับผิดตามหนังสือดังกล่าว ส่วนศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า เมื่อโจทก์ไม่ยอมให้จำเลยผ่อนชำระตามหนังสือดังกล่าวเท่ากับข้อเสนอของจำเลยตกไปโจทก์ฎีกาว่าข้อเสนอของจำเลยหาตกเป็นโมฆะทั้งหมดไม่ ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยว่าหนังสือดังกล่าวเป็นสัญญาประเภทใดตามที่ถูกต้องแท้จริงได้
ข้อความเฉพาะส่วนที่ขอผ่อนชำระในหนังสือดังกล่าวเป็นเพียงข้อเสนอขึ้นใหม่ของจำเลยดังข้อความในเอกสารที่ว่า จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุเคราะห์ตามควรแก่กรณีต่อไปด้วยก็จะเป็นพระคุณอย่างสูง จึงมิใช่เงื่อนไขอันบังคับไว้ในสัญญาที่จำเลยยอมผูกพันตนเข้าชำระหนี้แก่โจทก์เป็นผลเมื่อมีเหตุการณ์อันใดอันหนึ่งเกิดขึ้นในอนาคตและไม่แน่นอน เมื่อโจทก์ไม่ตกลงในส่วนที่จำเลยขอผ่อนชำระดังกล่าว จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญา
โจทก์ฟ้องโดยอาศัยหนังสือที่จำเลยมีถึงโจทก์เป็นหลักศาลชั้นต้นให้จำเลยรับผิดตามหนังสือดังกล่าว ส่วนศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า เมื่อโจทก์ไม่ยอมให้จำเลยผ่อนชำระตามหนังสือดังกล่าวเท่ากับข้อเสนอของจำเลยตกไปโจทก์ฎีกาว่าข้อเสนอของจำเลยหาตกเป็นโมฆะทั้งหมดไม่ ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยว่าหนังสือดังกล่าวเป็นสัญญาประเภทใดตามที่ถูกต้องแท้จริงได้
ข้อความเฉพาะส่วนที่ขอผ่อนชำระในหนังสือดังกล่าวเป็นเพียงข้อเสนอขึ้นใหม่ของจำเลยดังข้อความในเอกสารที่ว่า จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุเคราะห์ตามควรแก่กรณีต่อไปด้วยก็จะเป็นพระคุณอย่างสูง จึงมิใช่เงื่อนไขอันบังคับไว้ในสัญญาที่จำเลยยอมผูกพันตนเข้าชำระหนี้แก่โจทก์เป็นผลเมื่อมีเหตุการณ์อันใดอันหนึ่งเกิดขึ้นในอนาคตและไม่แน่นอน เมื่อโจทก์ไม่ตกลงในส่วนที่จำเลยขอผ่อนชำระดังกล่าว จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3155/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างว่าความมีเงื่อนไขบังคับก่อน: อำนาจฟ้องขึ้นอยู่กับการได้รับชำระหนี้ตามฟ้อง
ซ.ว่าจ้างโจทก์เป็นทนายฟ้องคดีโดยซ.จะชำระค่าจ้างให้โจทก์เมื่อได้รับเงินตามฟ้องเรียบร้อยแล้ว เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขบังคับก่อน เพราะ ซ. จะได้รับเงินหรือไม่เป็นเหตุการณ์ในอนาคต และไม่แน่นอน ซ.หรือกองมรดกของซ.จะชำระค่าจ้างให้โจทก์ต่อเมื่อเงื่อนไขสำเร็จ เมื่อเงื่อนไขตามสัญญายังไม่สำเร็จ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3155/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างว่าความมีเงื่อนไข: ค่าจ้างทนายความต้องรอจนกว่าลูกความได้รับเงินจากคดี
จ.บิดาจำเลยได้ว่าจ้างโจทก์เป็นทนายความฟ้องเรียกเงินค่าที่ดินตามสัญญาซื้อขายจากอ. โดย จ. จะชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์เมื่อได้รับเงินค่าที่ดินเรียบร้อยแล้ว สัญญาจ้างว่าความที่โจทก์ทำไว้กับ จ.เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 182 และเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนตาม มาตรา 183 วรรคแรก หาใช่เป็นเงื่อนเวลาไม่ เพราะ จ.จะได้รับเงินค่าที่ดินหรือไม่เป็นเหตุการณ์ในอนาคตและไม่แน่นอนเมื่อเป็นเช่นนี้ จ. หรือกองมรดกของ จ. จะชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์ต่อเมื่อเงื่อนไขสำเร็จคือ อ. ชำระเงินค่าที่ดินให้แล้ว เมื่อ อ. มิได้ชำระเงินค่าที่ดินให้แก่ จ.หรือกองมรดกของจ. เลย เงื่อนไขตามสัญญาจึงไม่สำเร็จ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ จ. ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3155/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนและอำนาจฟ้องคดี
ซ.ว่าจ้างโจทก์เป็นทนายฟ้องคดี โดย ซ.จะชำระค่าจ้างให้โจทก์เมื่อได้รับเงินตามฟ้องเรียบร้อยแล้ว เป็นสัญญาที่มีเงื่อนไขบังคับก่อน เพราะซ.จะได้รับเงินหรือไม่เป็นเหตุการณ์ในอนาคต และไม่แน่นอน ซ.หรือกองมรดกของซ.จะชำระค่าจ้างให้โจทก์ต่อเมื่อเงื่อนไขสำเร็จ เมื่อเงื่อนไขตามสัญญายังไม่สำเร็จโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2662/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือลาออกมีเงื่อนไขบังคับก่อน การเลิกจ้าง และสิทธิลูกจ้าง
หนังสือที่โจทก์มีไปถึงบริษัทจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีข้อความว่า เนื่องด้วยกระผมจะขอลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการทั่วไปของบริษัทและจากมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารบริษัทระบุว่าทางบริษัทจะทำการซื้อหุ้นในส่วนของกระผมคืน ซึ่งกระผมก็ไม่ขัดข้อง สำหรับราคาค่าหุ้นจะมีมูลค่าเท่าไร ทางคณะกรรมการบริหารบริษัทได้มอบหมาย ว.เป็นผู้ทำการตกลงกับกระผมในอันดับต่อไป กระผมขอแจ้งให้ท่านทราบว่ากำหนดการลาออกของกระผมในตำแหน่งกรรมการและผู้จัดการทั่วไปและในฐานะผู้ถือหุ้น คือวันที่กระผมได้รับการชำระคืนค่าหุ้นในส่วนของกระผมในราคาที่ตกลงกันทั้งสองฝ่าย ข้อความดังกล่าวให้ความหมายว่าโจทก์จะลาออกก็ต่อเมื่อโจทก์ได้รับการชำระคืนค่าหุ้นในส่วนของโจทก์ในราคาที่ตกลงกันแล้ว ถือได้ว่าเป็นข้อความอันบังคับไว้ให้การลาออกซึ่งเป็นนิติกรรมเป็นผลต่อเมื่อมีการชำระคืนค่าหุ้นในราคาที่ตกลงกันระหว่าง ว. กับโจทก์ซึ่งเป็นเหตุการณ์อันไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ในอนาคต ข้อความดังกล่าวจึงเป็นเงื่อนไข และจะมีผลเป็นการลาออกจากงานก็ต่อเมื่อเงื่อนไขดังกล่าวสำเร็จลงโดยโจทก์ได้รับการชำระคืนค่าหุ้นในราคาที่ตกลงกันเงื่อนไขดังกล่าวจึงเป็นเงื่อนไขบังคับก่อน และเงื่อนไขที่กำหนดให้นิติกรรมการลาออกจากการเป็นลูกจ้างมีผลนั้นจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการทำงานในฐานะลูกจ้างหรือไม่ ก็ได้ เมื่อโจทก์ยังมิได้รับชำระคืนค่าหุ้นในราคาที่ตกลงกัน การลาออกของโจทก์จึงยังไม่มีผลบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2662/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขบังคับก่อนในการลาออก: การลาออกมีผลเมื่อชำระค่าหุ้น
หนังสือที่โจทก์มีไปถึงบริษัทจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีข้อความว่าเนื่องด้วยกระผมจะขอลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการทั่วไปของบริษัท และจากมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารบริษัทระบุว่าทางบริษัทจะทำการซื้อหุ้นในส่วนของกระผมคืน ซึ่งกระผมก็ไม่ขัดข้อง สำหรับราคาค่าหุ้นจะมีมูลค่าเท่าไร ทางคณะกรรมการบริหารบริษัทได้มอบหมาย ว. เป็นผู้ทำการตกลงกับกระผมในอันดับต่อไป กระผมขอแจ้งให้ท่านทราบว่ากำหนดการลาออกของกระผมในตำแหน่งกรรมการและผู้จัดการทั่วไปและในฐานะผู้ถือหุ้น คือวันที่กระผมได้รับการชำระคืนค่าหุ้นในส่วนของกระผมในราคาที่ตกลงกันทั้งสองฝ่าย ข้อความดังกล่าวให้ความหมายว่าโจทก์จะลาออกก็ต่อเมื่อโจทก์ได้รับการชำระคืนค่าหุ้นในส่วนของโจทก์ในราคาที่ตกลงกันแล้ว ถือได้ว่าเป็นข้อความอันบังคับไว้ให้การลาออกซึ่งเป็นนิติกรรมเป็นผลต่อเมื่อมีการชำระคืนค่าหุ้นในราคาที่ตกลงกันระหว่าง ว.กับโจทก์ซึ่งเป็นเหตุการณ์อันไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ในอนาคต ข้อความดังกล่าวจึงเป็นเงื่อนไข และจะมีผลเป็นการลาออกจากงานก็ต่อเมื่อเงื่อนไขดังกล่าวสำเร็จลงโดยโจทก์ได้รับการชำระคืนค่าหุ้นในราคาที่ตกลงกัน เงื่อนไขดังกล่าวจึงเป็นเงื่อนไขบังคับก่อน และเงื่อนไขที่กำหนดให้นิติกรรมการลาออกจากการเป็นลูกจ้างมีผลนั้นจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการทำงานในฐานะลูกจ้างหรือไม่ก็ได้ เมื่อโจทก์ยังมิได้รับชำระคืนค่าหุ้นในราคาที่ตกลงกัน การลาออกของโจทก์จึงยังไม่มีผลบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1895/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาแบ่งที่ดินมีเงื่อนไข การผิดสัญญาและการไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ ศาลพิจารณาตามข้อเท็จจริงที่ยุติแล้ว
ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่าจำเลยได้จัดสร้างที่จอดรถอันเป็นการปฏิบัติตามสัญญาแบ่งที่ดินแล้วการที่โจทก์ฎีกาว่าโจทก์ยกที่ดินให้จำเลยเพื่อทำที่จอดรถ จำเลยมิได้ดำเนินการให้เสร็จตามเงื่อนไข โจทก์บอกกล่าวแต่จำเลยเพิกเฉยจึงเป็นการผิดเงื่อนไขต้องคืนที่ดินให้โจทก์เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาทจึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248วรรคแรก โจทก์ยกที่ดินให้จำเลยเพื่อให้สร้างตลาดสดแต่จำเลยยังไม่สามารถจะสร้างได้เพราะไม่มีงบประมาณและยังคงตั้งใจจะทำการก่อสร้างต่อไป โดยจำเลยมิได้นำที่ดินดังกล่าวไปทำอย่างอื่นอันเป็นการผิดวัตถุประสงค์ของโจทก์ เมื่อในสัญญาแบ่งที่ดินให้ ไม่ได้กำหนดเวลาให้จำเลยสร้างตลาดสดภายในเวลาเท่าใด การที่จำเลยรอการก่อสร้างไว้เพราะยังไม่มีงบประมาณ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3574/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข & สิทธิในการขอวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายซ้ำได้ หากศาลยังไม่ได้วินิจฉัย
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 นั้น แม้คู่ความฝ่ายใดจะเคยยื่นคำขอมาแล้วครั้งหนึ่ง ศาลมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งโดยมิได้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตามที่ขอ คู่ความย่อมมีสิทธิยื่นคำขอเช่นว่านั้นได้อีก เพราะไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามยื่นคำขออีก ทั้งเป็นกรณีที่ศาลยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นปัญหาข้อกฎหมาย จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ และเมื่อศาลเห็นสมควรก็ย่อมมีคำสั่งใหม่ให้วินิจฉัยตามคำขอได้ โดยไม่จำเป็นต้องเพิกถอนคำสั่งเดิมเสียก่อนเพราะมิใช่เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบแต่อย่างใด สัญญาซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ระบุเกี่ยวกับการชำระราคาในข้อ 2 ว่าจำเลยทั้งสองผู้ซื้อต้องไปรับชำระหนี้ตามยอดหนี้ตามสัญญาจำนองจากธนาคารทหารไทย จำกัด สำนักงานใหญ่จำนวนหนึ่ง ส่วนที่เหลือให้ผู้ซื้อนำไปจ่ายหนี้ของผู้ขายแทนตัวผู้ขายในวงเงินประมาณครึ่งหนึ่งของยอดหนี้ดังกล่าว เมื่อมีเงินเหลือจึงนำมามอบให้แก่ผู้ขายภายในกำหนด 16 เดือน จึงเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติและขณะทำสัญญา คู่สัญญาไม่อาจคาดหมายล่วงหน้าได้ว่าเงื่อนไขดังกล่าวจะสำเร็จลงวันใดจึงย่อมไม่อาจกำหนดเรื่องการโอนกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนไว้ล่วงหน้าได้ สัญญาข้อ 7 กำหนดให้ผู้ขายต้องโอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานให้แก่ผู้ซื้อให้แล้วเสร็จภายในกำหนด 1 เดือน เห็นว่าแม้ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรมอันเป็นเรื่องสำคัญน้อยกว่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คู่สัญญายังมีเจตนาให้โอนกันถูกต้องนอกจากนั้น ตามสัญญาข้อ 4 ที่ผู้ขายยินยอมให้ผู้ซื้อเข้าไปในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของผู้ซื้อได้ทันที และตามสัญญาข้อ 6 ผู้ขายไม่มีสิทธิไปทำนิติกรรมใด ๆเกี่ยวกับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามสัญญาอีกต่อไป ย่อมแสดงว่าสัญญาดังกล่าวยังมีเงื่อนไขอยู่ หากเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดสิทธิตามสัญญาข้อ 4 ดังกล่าวย่อมเป็นของผู้ซื้อทันทีและผู้ขายก็ไม่มีสิทธิตามสัญญาข้อ 6 ทันทีเช่นกัน หาจำต้องกำหนดไว้เป็นข้อสัญญาไม่ เมื่อพิเคราะห์ข้อความทั้งหมดแห่งสัญญาแล้ว เห็นว่าสัญญารายพิพาทเป็นสัญญาซื้อขายที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติ ซึ่งสัญญาที่มีเงื่อนไขไม่ทำให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโอนไปจนกว่าจะได้เป็นไปตามเงื่อนไข เมื่อเงื่อนไขสำเร็จแล้ว คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ชอบที่จะกำหนดวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันได้ หาใช่เพราะคู่สัญญามีเจตนาให้เป็นการซื้อขายกันเสร็จเด็ดขาดโดยไม่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นเพียงสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์ แม้จะมิได้กำหนดเกี่ยวกับการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันไว้ก็ไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2656/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมา: การชำระเงินค่าจ้างเมื่อผลงานเสร็จและผ่านการตรวจรับ แม้จำเลยยังไม่ได้รับเงินจากผู้ว่าจ้าง
ข้อความในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง ข้อ 5 ที่ว่า "ผู้ว่าจ้าง(จำเลย) ตกลงจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ผู้รับจ้าง (โจทก์) เป็นจำนวนเงิน 36,977 บาท เมื่อผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างตกลงทำสัญญาจ้างเหมา เงินส่วนที่เหลือจะจ่ายเป็นงวด งวดละ 1 เดือน ตามผลงานที่ผู้รับจ้างทำเสร็จจริงและได้ผ่านการตรวจรับงานจากบริษัท ว. และและวิศวกรผู้ควบคุมงานแล้ว โดยผู้ว่าจ้างจะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับจ้างภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ผู้ว่าจ้างได้รับเงินงวดนั้นจากบริษัท ว." นั้น สามารถแยกพิจารณาได้เป็น 2 ส่วน ส่วนแรกที่ว่า "เงินส่วนที่เหลือจะจ่ายเป็นงวด งวดละ 1 เดือน ตามผลงานที่ผู้รับจ้างทำเสร็จจริง และได้ผ่านการตรวจรับงานตามที่ระบุไว้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้าง แต่ข้อความส่วนที่สองที่ว่า" โดยผู้ว่าจ้างจะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับจ้างภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ผู้ว่าจ้างได้รับเงินงวดนั้นจากบริษัทว." หาใช่เงื่อนไขบังคับก่อนที่จะกำหนดการชำระเงินค่าจ้างไม่ เป็นแต่เพียงข้อตกลงที่มุ่งหมายให้จำเลยเร่งรัดให้บริษัท ว. ชำระค่าก่อสร้างแก่จำเลยตามสัญญาที่จำเลยทำกับบริษัท ว. เพื่อนำเงินมาชำระแก่โจทก์เมื่อโจทก์ทำงานเสร็จและผ่านการตรวจรับงานตามเงื่อนไขในสัญญาส่วนแรกแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ทำงานเสร็จส่งมอบงานและมีการตรวจรับงานตามเงื่อนไขแล้ว จำเลยต้องชำระค่าจ้างให้โจทก์ จำเลยจะอ้างว่าจำเลยยังไม่ได้รับเงินงวดจากบริษัท ว. จึงไม่ต้องชำระค่าจ้างให้โจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอายัดที่ดินของผู้มีส่วนได้เสีย กรณีอ้างการปลอมแปลงเอกสารซื้อขาย
ศาลชี้สองสถานกะประเด็นไว้ 2 ข้อว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องให้เพิกถอนการอายัดที่ดินหรือไม่ และฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ แล้วโจทก์จำเลยแถลงข้อเท็จจริงที่รับกัน ถือว่าสละประเด็นข้อพิพาทที่ศาลกะไว้เดิม เมื่อจำเลยมีส่วนได้เสียในที่ดินโดยอ้างว่าโจทก์ปลอมหนังสือมอบอำนาจของจำเลยโอนขายที่ดินแก่โจทก์ จำเลยจึงอายัดที่ดินได้ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา83