พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3072/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะของการหมั้นและการแต่งงานเมื่ออายุไม่ครบ 17 ปี และผลกระทบต่อการคืนของหมั้นสินสอด
ในขณะที่นาย อ. ทำการหมั้นกับนางสาว บ. นั้น นางสาว บ. อายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ โดยมีอายุเพียง 15 ปีเศษ การหมั้นดังกล่าวจึงฝ่าฝืนบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1435 วรรคหนึ่ง ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1435 วรรคสอง นอกจากนี้มาตรา 172 วรรคสอง บัญญัติว่า ถ้าจะต้องคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรม ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับ เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ทราบว่านางสาว บ. อายุไม่ครบ 17 ปี จำเลยและนางสาว บ. จึงต้องคืนของหมั้นและสินสอดให้แก่โจทก์ตามมาตรา 412 และ 413 โดยจะถือว่าโจทก์ชำระหนี้ตามอำเภอใจตามมาตรา 407 หาได้ไม่ ดังนั้น การที่โจทก์จำเลยซึ่งเป็นบิดาและมารดาของนาย อ. และนางสาว บ. ทำบันทึกข้อตกลงภายหลังที่นาย อ. กับนางสาว บ. เลิกการอยู่กินเป็นสามีภริยากัน ว่าจำเลยตกลงจะคืนเงินสินสอดและของหมั้นแก่โจทก์ จึงมีมูลหนี้และใช้บังคับได้ หาได้ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่
หมายเหตุ วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2547
หมายเหตุ วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2547
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6939/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้อนุบาล: ต้องแต่งตั้งคู่สมรสก่อน หากมีเหตุสำคัญศาลจึงจะตั้งผู้อื่นได้ การตั้งผู้อนุบาลร่วมไม่เป็นไปตามกฎหมาย
กรณีที่ศาลสั่งให้สามีหรือภริยาเป็นคนไร้ความสามารถจะต้องตั้งคู่สมรสเป็นผู้อนุบาลก่อนเพียงคนเดียวหากมีผู้อื่นร้องขอและมีเหตุสำคัญศาลจะตั้งผู้อื่นเป็นผู้อนุบาลก็ได้การจะตั้งทั้งคู่สมรสและบุคคลอื่นเป็นผู้อนุบาลร่วมกันจะไม่สอดคล้องกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1463 การจัดการสินสมรสของคนไร้ความสามารถผู้อนุบาลต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1598/16คือถ้าเป็นการจัดการตามมาตรา1476วรรคหนึ่งก็จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาลร่วมกับผู้คัดค้าน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6939/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้อนุบาล: คู่สมรสมีสิทธิก่อน เว้นแต่มีเหตุสำคัญจึงจะตั้งผู้อื่นได้
กรณีที่ศาลสั่งให้สามีหรือภริยาเป็นคนไร้ความสามารถจะต้องตั้งคู่สมรสเป็นผู้อนุบาลก่อนเพียงคนเดียว หากมีผู้อื่นร้องขอและมีเหตุสำคัญ ศาลจะตั้งผู้อื่นเป็นผู้อนุบาลก็ได้ การจะตั้งทั้งคู่สมรสและบุคคลอื่นเป็นผู้อนุบาลร่วมกัน จะไม่สอดคล้องกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1463 การจัดการสินสมรสของคนไร้ความสามารถ ผู้อนุบาลต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/16 คือถ้าเป็นการจัดการตามมาตรา 1476 วรรคหนึ่ง ก็จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาลร่วมกับผู้คัดค้าน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6939/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้อนุบาล: สามี/ภริยาเป็นผู้มีสิทธิก่อน เว้นแต่มีเหตุสำคัญจึงตั้งผู้อื่นได้
กรณีที่ศาลสั่งให้สามีหรือภริยาเป็นคนไร้ความสามารถจะต้องตั้งคู่สมรสเป็นผู้อนุบาลก่อนเพียงคนเดียว หากมีผู้อื่นร้องขอและมีเหตุสำคัญ ศาลจะตั้งผู้อื่นเป็นผู้อนุบาลก็ได้ การจะตั้งทั้งคู่สมรสและบุคคลอื่นเป็นผู้อนุบาลร่วมกันจะไม่สอดคล้องกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1463
การจัดการสินสมรสของคนไร้ความสามารถ ผู้อนุบาลต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/16 คือถ้าเป็นการจัดการตามมาตรา 1476 วรรคหนึ่ง ก็จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาลร่วมกับผู้คัดค้าน
การจัดการสินสมรสของคนไร้ความสามารถ ผู้อนุบาลต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/16 คือถ้าเป็นการจัดการตามมาตรา 1476 วรรคหนึ่ง ก็จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาลร่วมกับผู้คัดค้าน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5827/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการขอให้ศาลสั่งเป็นผู้พิทักษ์/ผู้อนุบาล และสิทธิในการฟ้องร้องความเสียหาย
จำเลยเป็นบุตรย่อมมีอำนาจร้องขอต่อศาลให้สั่งให้มารดาเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถหรือเป็นคนไร้ความสามารถได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 34 หรือ 29 โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นบิดาจำเลยและสามีของมารดาจำเลยทั้งศาลมีอำนาจแต่งตั้งจำเลยเป็นผู้พิทักษ์หรือผู้อนุบาลของมารดาได้ตามมาตรา 1463 แม้ตามปกติคู่สมรสจะเป็นผู้พิทักษ์หรือผู้อนุบาลตามกฎหมายก็ตาม
เมื่อศาลได้มีคำสั่งตั้งให้จำเลยเป็นผู้พิทักษ์หรือผู้อนุบาลของมารดาแล้ว จำเลยย่อมมีอำนาจกระทำการใด ๆ อันเป็นการอนุบาลคนไร้ความสามารถได้ แต่กรณีตามฟ้องเป็นเรื่องที่อ้างว่าจำเลยทำให้โจทก์เสียหายเท่านั้น โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิทางศาลฟ้องร้องจำเลยได้ คดีไม่มีเหตุให้เพิกถอนคำสั่งที่ตั้งจำเลยเป็นผู้พิทักษ์และผู้อนุบาลแล้วตั้งโจทก์เป็นแทน
เมื่อศาลได้มีคำสั่งตั้งให้จำเลยเป็นผู้พิทักษ์หรือผู้อนุบาลของมารดาแล้ว จำเลยย่อมมีอำนาจกระทำการใด ๆ อันเป็นการอนุบาลคนไร้ความสามารถได้ แต่กรณีตามฟ้องเป็นเรื่องที่อ้างว่าจำเลยทำให้โจทก์เสียหายเท่านั้น โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิทางศาลฟ้องร้องจำเลยได้ คดีไม่มีเหตุให้เพิกถอนคำสั่งที่ตั้งจำเลยเป็นผู้พิทักษ์และผู้อนุบาลแล้วตั้งโจทก์เป็นแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1743/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสินเดิมก่อนสมรส โอนหลังสมรสถูกต้องตามกฎหมาย
ยกที่นาไม่มีหนังสือสำคัญให้ก่อนชายจดทะเบียนสมรสเมื่อจดทะเบียนสมรสแล้วจึงจดทะเบียนโอนขายที่ดินแปลงนั้นแก่ชายเพียงเพื่อให้ถูกต้องตามแบบกฎหมาย ที่นาเป็นสินเดิมของชาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: ข้อสันนิษฐานเรื่องส่วนแบ่งทรัพย์สินเดิมเมื่อไม่มีหลักฐานการลงทุน
เมื่อไม่ปรากฏว่าสามีภริยาได้ออกเงินสร้างบ้านอันเป็นสินเดิมเป็นส่วนสัดคนละเท่าใด จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่ามีส่วนเป็นเจ้าของบ้านเท่า ๆ กัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: หลักการสันนิษฐานเรื่องส่วนแบ่งสินเดิม
เมื่อไม่ปรากฏว่าสามีภริยาได้ออกเงินสร้างบ้านอันเป็นสินเดิมเป็นส่วนสัดคนละเท่าใด จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่ามีส่วนเป็นเจ้าของบ้านเท่าๆ กัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1364/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนพินัยกรรมเมื่อมีการโอนทรัพย์สินก่อนวายชนม์ และผลกระทบต่อสิทธิการรับมรดก
การที่ผู้ทำพินัยกรรมได้โอนไปโดยสมบูรณ์ซึ่งทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรมใด ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1696 วรรคแรก บัญญัติให้ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้นเป็นอันเพิกถอนไปนั้น จะต้องเป็นเรื่องที่การโอนนั้นสมบูรณ์ และมิได้ถูกเพิกถอนในภายหลัง
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกสินเดิมของตนคือที่ดินมีโฉนดพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินให้แก่ ล. ซึ่งเป็นบุตรแล้วต่อมาเจ้ามรดกได้ไปจดทะเบียนโอนทรัพย์ตามพินัยกรรมให้แก่ ล. ผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมดังกล่าว โดยมิได้รับความยินยอมจากสามีเจ้ามรดก ต่อมาเมื่อสามีเจ้ามรดกบอกล้างนิติกรรมการโอน และฟ้องขอให้เพิกถอนการโอน ซึ่งศาลได้พิพากษาให้เพิกถอนการโอน และเจ้าพนักงานได้แก้สารบาญในโฉนดใส่ชื่อเจ้ามรดกเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามเดิมแล้วข้อกำหนดพินัยกรรมของเจ้ามรดกจึงยังมิได้ถูกเพิกถอนไป ล. ยังคงมีสิทธิที่จะรับมรดกตามพินัยกรรมในทรัพย์ดังกล่าวได้
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกสินเดิมของตนคือที่ดินมีโฉนดพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินให้แก่ ล. ซึ่งเป็นบุตรแล้วต่อมาเจ้ามรดกได้ไปจดทะเบียนโอนทรัพย์ตามพินัยกรรมให้แก่ ล. ผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมดังกล่าว โดยมิได้รับความยินยอมจากสามีเจ้ามรดก ต่อมาเมื่อสามีเจ้ามรดกบอกล้างนิติกรรมการโอน และฟ้องขอให้เพิกถอนการโอน ซึ่งศาลได้พิพากษาให้เพิกถอนการโอน และเจ้าพนักงานได้แก้สารบาญในโฉนดใส่ชื่อเจ้ามรดกเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามเดิมแล้วข้อกำหนดพินัยกรรมของเจ้ามรดกจึงยังมิได้ถูกเพิกถอนไป ล. ยังคงมีสิทธิที่จะรับมรดกตามพินัยกรรมในทรัพย์ดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1364/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนมรดกตามพินัยกรรม การเพิกถอนพินัยกรรมเมื่อมีการโอนทรัพย์สิน
การที่ผู้ทำพินัยกรรมได้โอนไปโดยสมบูรณ์ซึ่งทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรมใด ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1696 วรรคแรก บัญญัติให้ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้นเป็นอันเพิกถอนไปนั้น จะต้องเป็นเรื่องที่การโอนนั้นสมบูรณ์ และมิได้ถูกเพิกถอนในภายหลัง
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกสินเดิมของตนคือที่ดินมีโฉนดพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินให้แก่ ล. ซึ่งเป็นบุตรแล้วต่อมาเจ้ามรดกได้ไปจดทะเบียนโอนทรัพย์ตามพินัยกรรมให้แก่ ล. ผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมดังกล่าว โดยมิได้รับความยินยอมจากสามีเจ้ามรดก ต่อมาเมื่อสามีเจ้ามรดกบอกล้างนิติกรรมการโอน และฟ้องขอให้เพิกถอนการโอน ซึ่งศาลได้พิพากษาให้เพิกถอนการโอน และเจ้าพนักงานได้แก้สารบัญในโฉนดใส่ชื่อเจ้ามรดกเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามเดิมแล้วข้อกำหนดพินัยกรรมของเจ้ามรดกจึงยังมิได้ถูกเพิกถอนไป ล. ยังคงมีสิทธิที่จะรับมรดกตามพินัยกรรมในทรัพย์ดังกล่าวได้
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกสินเดิมของตนคือที่ดินมีโฉนดพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินให้แก่ ล. ซึ่งเป็นบุตรแล้วต่อมาเจ้ามรดกได้ไปจดทะเบียนโอนทรัพย์ตามพินัยกรรมให้แก่ ล. ผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมดังกล่าว โดยมิได้รับความยินยอมจากสามีเจ้ามรดก ต่อมาเมื่อสามีเจ้ามรดกบอกล้างนิติกรรมการโอน และฟ้องขอให้เพิกถอนการโอน ซึ่งศาลได้พิพากษาให้เพิกถอนการโอน และเจ้าพนักงานได้แก้สารบัญในโฉนดใส่ชื่อเจ้ามรดกเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามเดิมแล้วข้อกำหนดพินัยกรรมของเจ้ามรดกจึงยังมิได้ถูกเพิกถอนไป ล. ยังคงมีสิทธิที่จะรับมรดกตามพินัยกรรมในทรัพย์ดังกล่าวได้