คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1463

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1576-1577/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินที่จัดซื้อก่อนแต่งงานตามข้อตกลง ถือเป็นสินสมรส
ฝ่ายชายให้เถ้าแก่ไปหมั้นหญิงและกำหนดวันแต่งงานกันแล้วได้ตกลงกันให้ฝ่ายหญิงเป็นผู้จัดซื้อเครื่องใช้สอยในครอบครัวเตรียมไว้สำหรับให้ชายหญิงจะได้ใช้สอยเมื่ออยู่กินด้วยกัน ถึงกำหนดชายหญิงก็ได้สมรสกันดังนี้ถือว่าทรัพย์สินเหล่านั้นเป็นทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาเมื่อมีการสมรส แม้จะได้จัดหาซื้อไว้ก่อนวันสมรส ก็ไม่ถือว่าเป็นสินเดิมของหญิง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1576-1577/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินจัดซื้อก่อนสมรส: เป็นสินสมรสหากตกลงร่วมกันจัดหาเพื่อใช้สอยหลังแต่งงาน
ฝ่ายชายให้เถ้าแก่ไปหมั้นหญิงและกำหนดวันแต่งงานกันแล้วได้ตกลงกันให้ฝ่ายหญิงเป็นผู้จัดซื้อเครื่องใช้สอยในครอบครัวเตรียมไว้สำหรับให้ชายหญิงจะได้ใช้สอยเมื่ออยู่กินด้วยกัน ถึงกำหนดชายหญิงนั้นก็ได้สมรสกัน ดังนี้ ถือว่าทรัพย์สินเหล่านั้นเป็นทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาเมื่อมีการสมรส แม้จะได้จัดหาซื้อไว้ก่อนวันสมรสก็ไม่ถือว่าเป็นสินเดิมของหญิง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1775/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแบ่งมรดกก่อนครบ 1 ปี และการแยกสินเดิมออกจากสินสมรสเมื่อราคาเพิ่มขึ้น
มาตรา 1744 มุ่งหมายถึงการส่งมอบทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทซึ่งมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกโดยผู้จัดการมรดกไม่มีข้อโต้แย้งสิทธินั้นอย่างใด หาใช่บทบัญญัติห้ามทายาทฟ้องผู้จัดการมรดกเพื่อตั้งสิทธิที่จะได้รับส่วนแบ่งมรดกจากผู้จัดการมรดกซึ่งโต้แย้งสิทธิของทายาทนั้นๆ ไม่.
เมื่อปรากฏว่าที่ดินเป็นสินเดิม. แม้ภายหลังการสมรสที่ดินนี้จะมีราคาเพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิมมากเพียงใดก็ตาม. ที่ดินดังกล่าวก็ยังมีสภาพเป็นสินเดิมอยู่นั่นเอง.ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นหาใช่ดอกผลของที่ดินไม่. จึงแยกถือเอาราคาในส่วนที่เพิ่มขึ้นเป็นสินสมรสไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1775/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแบ่งมรดกก่อน 1 ปี และการแยกสินเดิมออกจากสินสมรสเมื่อราคาที่ดินเพิ่มขึ้น
มาตรา 1744 มุ่งหมายถึงการส่งมอบทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทซึ่งมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกโดยผู้จัดการมรดกไม่มีข้อโต้แย้งสิทธินั้นอย่างใด หาใช่บทบัญญัติห้ามทายาทฟ้องผู้จัดการมรดกเพื่อตั้งสิทธิที่จะได้รับส่วนแบ่งมรดกจากผู้จัดการมรดกซึ่งโต้แย้งสิทธิของทายาทนั้นๆ ไม่
เมื่อปรากฏว่าที่ดินเป็นสินเดิม แม้ภายหลังการสมรสที่ดินนี้จะมีราคาเพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิมมากเพียงใดก็ตาม ที่ดินดังกล่าวก็ยังมีสภาพเป็นสินเดิมอยู่นั่นเอง ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นหาใช่ดอกผลของที่ดินไม่ จึงแยกถือเอาราคาในส่วนที่เพิ่มขึ้นเป็นสินสมรสไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1775/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแบ่งมรดกก่อน 1 ปี และการแยกสินเดิมออกจากสินสมรสเมื่อราคาที่ดินเพิ่มขึ้น
มาตรา 1744 มุ่งหมายถึงการส่งมอบทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทซึ่งมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดก โดยผู้จัดการมรดกไม่มีข้อโต้แย้งสิทธินั้นอย่างใด หาใช่บทบัญญัติห้ามทายาทฟ้องผู้จัดการมรดกเพื่อตั้งสิทธิที่จะได้รับส่วนแบ่งมรดกจากผู้จัดการมรดกซึ่งโต้แย้งสิทธิของทายาทนั้น ๆ ไม่
เมื่อปรากฏว่าที่ดินเป็นสินเดิม แม้ภายหลังการสมรส ที่ดินนี้จะมีราคาเพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิมมากเพียงใดก็ตาม ที่ดินดังกล่าวก็ยังมีสภาพเป็นสินเดิมอยู่นั่นเอง ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นหาใช่ดอกผลของที่ดินไม่ จึงแยกถือเอาราคาในส่วนที่เพิ่มขึ้นเป็นสินสมรสไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 83/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินระหว่างจดทะเบียนสมรส: เจตนาเป็นเจ้าของร่วมกัน แม้ฝ่ายหนึ่งออกเงินซื้อ
การที่ชายหญิงแต่งงานกันโดยมิได้จดทะเบียนสมรส. แม้ทางกฎหมายจะไม่ถือว่าเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย. ก็หากระทบกระเทือนถึงสิทธิในทรัพย์สินที่ชายหญิงจะพึงมีพิงได้ตามกฎหมายทั่วไปไม่.
ในระหว่างที่ผู้ร้องกับจำเลยยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน.แต่ตามพฤติการณ์ที่ผู้ร้องกับจำเลยปฏิบัติต่อกัน. เช่นผู้ร้องไปทำมาค้าขายโดยตนเอง. ส่วนจำเลยเลี้ยงบุตรเป็นแม่บ้าน. และผู้ร้องออกเงินซื้อที่ดินปลูกตึกและสิ่งปลูกสร้างลงในที่ดิน. แล้วผู้ร้องจำเลยกับบุตรก็เข้าอยู่ด้วยกันตลอดมา. ก็เป็นการแสดงว่าผู้ร้องกับจำเลยได้ร่วมกันทำมาหากินแสวงหาทรัพย์สินมาเป็นสมบัติของผู้ร้องและจำเลยร่วมกัน. ทั้งมีเจตนาที่จะเป็นเจ้าของในทรัพย์พิพาทโดยใช้เป็นที่อยู่อาศัยร่วมกัน. พฤติการณ์ดังกล่าวจึงเห็นได้ว่าบรรดาทรัพย์ที่ผู้ร้องหรือจำเลยหามาได้ระหว่างนั้น แม้จะเป็นด้วยแรงหรือเงินของฝ่ายใดก็ไม่สำคัญ.ก็ต้องถือว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยทั้งสองฝ่ายมีเจตนาที่จะเป็นเจ้าของร่วมกัน. และเมื่อผู้ร้องกับจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกัน. ทรัพย์ทั้งหมดโดยเฉพาะทรัพย์พิพาทจึงเป็นสินบริคณห์ประเภทสินเดิมของผู้ร้องและจำเลยเท่าๆกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 83/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินระหว่างสมรส แม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรส หากมีเจตนาเป็นเจ้าของร่วมกัน ถือเป็นสินเดิม
การที่ชายหญิงแต่งงานกันโดยมิได้จดทะเบียนสมรสแม้ทางกฎหมายจะไม่ถือว่าเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ก็หากระทบกระเทือนถึงสิทธิในทรัพย์สินที่ชายหญิงจะพึงมีพึงได้ตามกฎหมายทั่วไปไม่
ในระหว่างที่ผู้ร้องกับจำเลยยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันแต่ตามพฤติการณ์ที่ผู้ร้องกับจำเลยปฏิบัติต่อกันเช่นผู้ร้องไปทำมาค้าขายโดยตนเอง ส่วนจำเลยเลี้ยงบุตรเป็นแม่บ้าน และผู้ร้องออกเงินซื้อที่ดินปลูกตึกและสิ่งปลูกสร้างลงในที่ดิน แล้วผู้ร้องจำเลยกับบุตรก็เข้าอยู่ด้วยกันตลอดมา ก็เป็นการแสดงว่าผู้ร้องกับจำเลยได้ร่วมกันทำมาหากินแสวงหาทรัพย์สินมาเป็นสมบัติของผู้ร้องและจำเลยร่วมกัน ทั้งมีเจตนาที่จะเป็นเจ้าของในทรัพย์พิพาทโดยใช้เป็นที่อยู่อาศัยร่วมกันพฤติการณ์ดังกล่าวจึงเห็นได้ว่าบรรดาทรัพย์ที่ผู้ร้องหรือจำเลยหามาได้ระหว่างนั้นแม้จะเป็นด้วยแรงหรือเงินของฝ่ายใดก็ไม่สำคัญก็ต้องถือว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยทั้งสองฝ่ายมีเจตนาที่จะเป็นเจ้าของร่วมกันและเมื่อผู้ร้องกับจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกันทรัพย์ทั้งหมดโดยเฉพาะทรัพย์พิพาทจึงเป็นสินบริคณห์ประเภทสินเดิมของผู้ร้องและจำเลยเท่าๆกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1016/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะสามีภริยาที่สิ้นสุดลงและการไม่มีสิทธิในมรดกเมื่อไม่ได้จดทะเบียนสมรส
ข้อเท็จจริงที่ศาลล่างวินิจฉัยมา เมื่อมิได้อุทธรณ์คัดค้านหรือมิได้แก้อุทธรณ์โต้แย้งไว้โดยชัดแจ้ง อันจะให้ถือได้ว่าได้ตั้งประเด็นคัดค้านไว้ ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงต้องฟังเป็นยุติ จะฎีกาโต้เถียงต่อไปมิได้
โจทก์กับสามีเป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ต่อมาสามีโจทก์ถูกจำคุก โจทก์ก็ไปมีสามีใหม่และมีบุตรด้วยกันเมื่อสามีโจทก์พ้นโทษก็ได้ภรรยาใหม่และมีบุตรด้วยกัน ดังนี้ เป็นการแสดงออกชัดแจ้งว่าต่างสมัครใจสละละทิ้งกันแล้ว ย่อมขาดจากการเป็นสามีภริยากันตามกฎหมายลักษณะผัวเมียบทที่ 51 ซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้นโดยไม่จำต้องทำพิธีหย่า เมื่อภรรยาใหม่ของสามีตาย โจทก์ได้กลับมาอยู่กินกับสามีอีกเป็นเวลาภายหลังใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ5 แล้ว โดยมิได้จดทะเบียนสมรส โจทก์จึงไม่เป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของสามี ไม่มีสิทธิรับมรดก
ทรัพย์ที่สามีได้มาก่อนที่โจทก์จะกลับมาอยู่กินกับสามีและทรัพย์ที่สามีโจทก์ได้รับมรดกมาเมื่อโจทก์ได้มาอยู่กินกับสามีครั้งหลัง ไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์กับสามีร่วมกันทำมาหาได้ โจทก์ไม่มีส่วนเป็นเจ้าของร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1016/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดจากการเป็นสามีภริยา, การกลับมาอยู่กินกันโดยไม่จดทะเบียนสมรส, และสิทธิในมรดก
ข้อเท็จจริงที่ศาลล่างวินิจฉัยมา เมื่อมิได้อุทธรณ์คัดค้านหรือมิได้แก้อุทธรณ์โต้แย้งไว้โดยชัดแจ้ง อันจะให้ถือได้ว่าได้ตั้งประเด็นคัดค้านไว้ ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงต้องฟังเป็นยุติ จะฎีกาโต้เถียงต่อไปมิได้
โจทก์กับสามีเป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ต่อมาสามีโจทก์ถูกจำคุก โจทก์ก็ไปมีสามีใหม่และมีบุตรด้วยกัน เมื่อสามีโจทก์พ้นโทษก็ได้ภรรยาใหม่และมีบุตรด้วยกัน ดังนี้ เป็นการแสดงออกชัดแจ้งว่าต่างสมัครใจสละละทิ้งกันแล้ว ย่อมขาดจากการเป็นสามีภริยากันตามกฎหมายลักษณะผัวเมียบทที่ 51 ซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น โดยไม่จำต้องทำพิธีหย่า เมื่อภรรยาใหม่ของสามีตาย โจทก์ได้กลับมาอยู่กินกับสามีอีกเป็นเวลาภายหลังใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แล้ว โดยมิได้จดทะเบียนสมรส โจทก์จึงไม่เป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของสามี ไม่มีสิทธิรับมรดก
ทรัพย์ที่สามีได้มาก่อนที่โจทก์จะกลับมาอยู่กินกับสามีและทรัพย์ที่สามีโจทก์ได้รับมรดกมาเมื่อโจทก์ได้มาอยู่กินกับสามีครั้งหลัง ไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์กับสามีร่วมกันทำมาหาได้โจทก์ไม่มีส่วนเป็นเจ้าของร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1589/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย, อายุความมรดก, และหลักฐานทางบัญชี
การที่ศาลฟังพฤติการณ์ต่างๆ เช่น บิดาให้การศึกษาแก่เด็ก ให้ใช้นามสกุลปฏิบัติต่อกันฉันบิดากับบุตร และฟังว่าเด็กเป็นบุตรของบิดาอันเกิดแต่มารดาซึ่งเป็นสามีภริยากันตามกฎหมายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 นั้น ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1524ซึ่งใช้สำหรับพิสูจน์การเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย
ผู้จัดการมรดกเป็นผู้ครอบครองมรดกแทนทายาท ถือว่าทายาทได้ครอบครองมรดกแล้วแม้ทายาทจะฟ้องผู้จัดการมรดกเกิน 1 ปีนับแต่เจ้ามรดกตาย ก็ไม่ขาดอายุความ
ทรัพย์สินที่มีมาก่อนสมรส เมื่อไม่ใช่สินส่วนตัวแล้วก็เป็นสินเดิมทั้งสิ้น
สำเนาบัญชีฝากเงินธนาคารที่คัดจากบัญชีในธนาคารซึ่งนำมาศาลไม่ได้ เมื่อคู่ความอีกฝ่ายมิได้คัดค้านว่าไม่ถูกต้องกับต้นฉบับ ย่อมเป็นพยานหลักฐานที่ศาลรับพิจารณาได้ว่าข้อเท็จจริงมีอยู่อย่างไร โดยไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่ธนาคารมาเบิกความชี้แจงประกอบ
of 5