คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1532

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5487/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินที่ได้รับอนุญาตใช้ร่วมกับผู้อื่น และผลของการตกลงแบ่งสิทธิในที่ดินนั้นตามสัญญาหย่า
ถึงแม้ที่ดินที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ใช้ตามหนังสืออนุญาตจะมีข้อความระบุว่าผู้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ 3(พ.ศ.2515) ข้อ 12 โดยเคร่งครัด คือ ฯลฯ ต้องใช้ประโยชน์ที่ดินนั้นตามประเภทของกิจการด้วยตนเอง ฯลฯ แต่ระเบียบข้อ 13 ก็ระบุว่า "ในกรณีที่ผู้ได้รับผ่อนผันให้เข้าอยู่อาศัยหรือใช้ประโยชน์ที่ดินไม่ปฏิบัติตามข้อ 12 ไม่ว่าจะเป็นกรณีหนึ่งกรณีใด เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรให้มีหนังสือแจ้งให้ปฏิบัติให้ถูกต้อง และถ้าเห็นว่าไม่สมควรจะให้อยู่อาศัยหรือใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้นต่อไปแล้วให้นำความในข้อ 5 ข้อ 2 ข้อ 7ข้อ 8 และ ข้อ 9 มาใช้บังคับโดยอนุโลม" เมื่อปรากฏว่าที่ดินนี้มีผู้อื่นร่วมใช้ประโยชน์อยู่ด้วย และหนังสืออนุญาตให้ใช้ที่ดินนี้มีการอนุญาตต่อเนื่องกันมาหลายฉบับหลายปีต่อเนื่องกัน โดยไม่ปรากฏว่ามีปัญหาโต้แย้งในเรื่องที่มีผู้อื่นเข้าไปใช้ประโยชน์ในที่ดินแต่อย่างใดแสดงว่าการใช้ประโยชน์ในที่ดินนี้ไม่จำต้องใช้ด้วยตัวจำเลยเองก็ได้ กรณีจึงมิใช่เรื่องเฉพาะตัว ข้อตกลงตามสัญญาหย่าที่ตกลงแบ่งสิทธิตามหนังสืออนุญาตดังกล่าว ซึ่งจำเลยได้มาระหว่างสมรสกับโจทก์ ย่อมเป็นสินสมรสที่โจทก์มีสิทธิอยู่ด้วย การตกลงจึงหาได้มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนอันจะทำให้ตกเป็นโมฆะแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแบ่งทรัพย์สินหลังหย่าเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก ไม่ต้องจดทะเบียนตามมาตรา 525
การยกให้โดยเสน่หาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ที่จะตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 ที่จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 521 จะต้องมีคู่สัญญา 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือผู้ให้โอนทรัพย์สินของตนให้โดยเสน่หาแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรืออีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้รับ บันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินหลังทะเบียนการหย่าระหว่างโจทก์และจำเลย นอกจากโจทก์และจำเลยเป็นคู่สัญญาซึ่งกันและกันแล้วยังมีบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นผู้รับประโยชน์แห่งสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยด้วย คือ แทนที่โจทก์และจำเลยจะแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาด้วยกันเอง โจทก์และจำเลยกลับยอมให้ที่ดินจำนวน 2 แปลง และบ้านอีก 1 หลัง ตกเป็นของผู้เยาว์ทั้งสองหลังจากโจทก์และจำเลยจดทะเบียนหย่ากัน สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ระหว่างสามีภรรยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1532 และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 มิใช่สัญญาให้ จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 แม้ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยผิดสัญญา โจทก์ในฐานะคู่สัญญาย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างหย่าเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก ไม่ต้องจดทะเบียน
การยกให้โดยเสน่หาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ที่จะตกอยู่ในบังคับของมาตรา 525 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามนัยมาตรา 521 นั้นจะต้องมีคู่สัญญา 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือผู้ให้ โอนทรัพย์สินของตนให้โดยเสน่หาแก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรืออีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่าผู้รับแต่บันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างโจทก์และจำเลย โจทก์และจำเลยกลับยอมให้ที่ดินจำนวน 2 แปลงและบ้านอีก 1 หลังตกเป็นของบุตรผู้เยาว์ทั้งสองหลังจากโจทก์และจำเลยจดทะเบียนหย่ากัน สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1532 และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกตามมาตรา 374 มิใช่สัญญาให้ จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของมาตรา 525 แม้ไม่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2435/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ผู้อื่นโดยชอบด้วยกฎหมาย ทายาทผู้รับพินัยกรรมมีสิทธิรับมรดก แต่ต้องรับผิดชอบหน้าที่และความรับผิดของผู้ตาย
การที่โจทก์ที่ 1 กับ ฟ. หย่ากันและทำบันทึกข้อตกลงต่อท้ายทะเบียนหย่าว่ายกที่ดินพิพาทพร้อมบ้านให้แก่โจทก์ที่ 2 นั้น บันทึกดังกล่าวเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสินสมรสระหว่างโจทก์ที่ 1 กับ ฟ.ซึ่งทั้งสองฝ่ายประสงค์จะระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับสินสมรสที่มีอยู่หรือจะมีขึ้นต่อไปในภายหน้าให้เสร็จไปด้วยต่างฝ่ายต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก ตามมาตรา 374 โจทก์ที่ 1 ในฐานะคู่สัญญามีสิทธิเรียกให้ฟ. โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 2 ได้ และโจทก์ที่ 2ก็ย่อมมีสิทธิเรียกให้ ฟ.โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ตนได้โดยตรงเช่นกัน เมื่อ ฟ.ตายหน้าที่และความรับผิดที่ฟ. มีต่อโจทก์ทั้งสองเกี่ยวกับที่ดินพิพาทย่อมตกทอดมายังจำเลยในฐานะทายาทของ ฟ.จำเลยจึงอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ตามสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกดังกล่าว โจทก์ทั้งสองมีสิทธิฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาได้แต่โจทก์ที่ 1 ฟ้องคดีเกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันทำสัญญา คดีของโจทก์ที่ 1 จึงขาดอายุความ ส่วนโจทก์ที่ 2 ได้คัดค้านการขอรับมรดกที่ดินของจำเลยเมื่อปี 2530 และฟ้องคดีนี้เมื่อปี 2531ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้คดีของโจทก์ที่ 2 จึงยังไม่ขาดอายุความจำเลยต้องส่งมอบโฉนดที่ดินนั้นให้แก่โจทก์ที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5517/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินโดยเจตนาลวงและโมฆะ ผู้มีสิทธิในที่ดินสามารถเรียกคืนได้
เดิม จ. เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จ. ตาย ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกตกเป็นของโจทก์ซึ่งเป็นบุตรของ จ. ครึ่งหนึ่งและตกเป็นของ ส.สามีจ.ครึ่งหนึ่งส. ในฐานะผู้จัดการมรดกของ จ. ตามคำสั่งศาลได้โอนขายที่ดินพิพาทให้จำเลยโดยเจตนาลวงด้วยสมรู้ระหว่างจำเลยกับ ส. สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นโมฆะ โจทก์ซึ่งมีสิทธิในที่ดินพิพาทย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกเอาคืนที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์จากจำเลยซึ่งไม่มีสิทธิยึดถือไว้ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1532,1533,1625,1626และ 1635.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4156/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาการทำสัญญาหย่าและยกทรัพย์สินให้บุตรมีผลผูกพันตามกฎหมาย แม้มีการอ้างเหตุอื่น
โจทก์จำเลยจดทะเบียนการหย่าและบันทึกเกี่ยวกับทรัพย์สินยกให้แก่บุตรด้วยเจตนาให้มีผลผูกพันตามกฎหมาย ไม่เป็นโมฆะ เมื่อจำเลยไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงในบันทึกหลังทะเบียนการหย่า โจทก์ในฐานะคู่สัญญาจึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยโอนทรัพย์สินนั้นให้แก่บุตรได้ส่วนบุตรจะยอมรับทรัพย์สินหรือไม่เป็นเรื่องในชั้นบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1900/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสหลังหย่าและการหักล้างข้อสันนิษฐานเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
ผู้ร้องอ้างว่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่โจทก์นำยึดเดิมเป็นสินสมรสของจำเลยกับผู้ร้อง ต่อมาจำเลยกับผู้ร้องตกลงหย่าขาดจากกันและทำบันทึกยกที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้ร้องแต่ยังมิได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเป็นของผู้ร้อง เช่นนี้ หากฟังได้ดังที่ผู้ร้องอ้าง กรณีก็มิใช่เป็นการยกให้โดยเสน่หา แต่เป็นการแบ่งทรัพย์สินกันระหว่างสามีภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1532 แม้ยังมิได้จดทะเบียนการได้มาก็ต้องฟังพยานทั้งสองฝ่ายให้สิ้นกระแสความ การที่ศาลงดสืบพยานผู้ร้องและพิพากษาให้ผู้ร้องเป็นฝ่ายแพ้คดีนั้นย่อมเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1900/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสหลังหย่าและการหักล้างข้อสันนิษฐานเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
ผู้ร้องอ้างว่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่โจทก์นำยึดเดิมเป็นสินสมรสของจำเลยกับผู้ร้อง ต่อมาจำเลยกับผู้ร้องตกลงหย่าขาดจากกันและทำบันทึกยกที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้ร้อง แต่ยังมิได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเป็นของผู้ร้อง เช่นนี้หากฟังได้ดังที่ผู้ร้องอ้าง กรณีก็มิใช่เป็นการยกให้โดยเสน่หา แต่เป็นการแบ่งทรัพย์สินกันระหว่างสามีภริยาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1532 แม้ยังมิได้จดทะเบียนการได้มาก็ต้องฟังพยานทั้งสองฝ่ายให้สิ้นกระแสความ การที่ศาลงดสืบพยานผู้ร้องและพิพากษาให้ผู้ร้องเป็นฝ่ายแพ้คดีนั้นย่อมเป็นการไม่ชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1900/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: แม้ยังมิได้จดทะเบียนโอน แต่หากมีหลักฐานการแบ่งทรัพย์สินโดยสุจริต ศาลต้องรับฟังพยาน
ผู้ร้องอ้างว่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่โจทก์นำยึดเดิมเป็นสินสมรสของจำเลยกับผู้ร้อง ต่อมาจำเลยกับผู้ร้องตกลงหย่าขาดจากกันและทำบันทึกยกที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้ร้อง แต่ยังมิได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเป็นของผู้ร้อง เช่นนี้หากฟังได้ดังที่ผู้ร้องอ้าง กรณีก็มิใช่เป็นการยกให้โดยเสน่หา แต่เป็นการแบ่งทรัพย์สินกันระหว่างสามีภริยาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1532 แม้ยังมิได้จดทะเบียนการได้มาก็ต้องฟังพยานทั้งสองฝ่ายให้สิ้นกระแสความ การที่ศาลงดสืบพยานผู้ร้องและพิพากษาให้ผู้ร้องเป็นฝ่ายแพ้คดีนั้นย่อมเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3812/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันการแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: การตกลงแบ่งทรัพย์สินในขณะจดทะเบียนหย่าย่อมมีผลผูกพัน
การแบ่งทรัพย์สินของสามีภริยาตามที่มีอยู่ในเวลาจดทะเบียนหย่าย่อมมีผลบังคับผูกพัน ภริยาจะโต้แย้งในภายหลังว่าการแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่สามียังมิได้จดทะเบียนโอน ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของภริยาร่วมกับสามีอยู่หาได้ไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1406/2517)
of 5