คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1636

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1396/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์สินของภริยาในกรณีมีภริยาหลายคน และรูปแบบพินัยกรรมลับ
ภริยา 2 คนก่อนบรรพ 5 ซึ่งสามียกย่องเป็นภรรยาเสมอเท่าเทียมกัน ไม่ยกใครเป็นภรรยาหลวง ทั้ง 2 คนมีส่วนได้ทรัพย์สินบริคณห์และมรดกในฐานะภริยาเท่ากัน คือคนละครึ่งในหนึ่งในสามของสินสมรสซึ่งเป็นส่วนของภริยา
พินัยกรรมที่ผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อบรรจุซอง ผู้ทำพินัยกรรมลงชื่อตามรอยผนึก กรมการอำเภอจดข้อความที่ซองยืนยันและลงลายมือชื่อรับรองประทับตราประจำตำแหน่งมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง 2 คน ทั้งระบุชื่อและที่อยู่ผู้พิมพ์พินัยกรรม ดังนี้เป็นพินัยกรรมลับ ตามมาตรา 1660
ข้อต่อสู้ว่าฟ้องเคลือบคลุม ซึ่งไม่กล่าวว่าเคลือบคลุมตรงไหนอย่างไร ไม่แสดงเหตุผลโดยชัดแจ้ง คำให้การนี้ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรค 2 ศาลไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 413/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับใช้กฎหมายมรดกตามช่วงเวลาที่เจ้ามรดกเสียชีวิต
มรดกหรือการแบ่งมรดกจะมีขึ้นได้ต่อเมื่อบุคคลถึงแก่ความตายฉะนั้นเมื่อบุคคลใดถึงแก่ความตายในขณะใช้กฎหมายใด ก็ต้องตกอยู่ในบังคับแห่งกฎหมายซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น
เป็นสามีภริยากันมาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5-6แต่ตายจากกันภายหลังใช้ บรรพ 5-6 แล้ว ต้องแบ่งมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 413/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กฎหมายที่ใช้บังคับกับมรดก: ใช้กฎหมาย ณ เวลาที่เจ้ามรดกเสียชีวิต
มรดกหรือการแบ่งมรดกจะมีขึ้นได้ต่อเมื่อบุคคลถึงแก่ความตาย ฉะนั้น เมื่อบุคคลใดถึงแก่ความตายในขณะใช้กฎหมายใด ก็ต้องตกอยู่ในบังคับแห่งกฎหมายซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น
เป็นสามีภริยากันมาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5-6 แต่ตายจากกันภายหลังใช้ บรรพ 5-6 แล้วต้องแบ่งมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสจากทรัพย์มรดกและหลักการแบ่งสินสมรสเมื่อไม่มีสินเดิม
ภริยาได้รับทรัพย์มรดกจากบิดามารดาของตนมาในระหว่างที่อยู่กินเป็นสามีภริยากับสามี ย่อมถือว่าทรัพย์มรดกที่ได้มานั้น เป็นสินสมรสระหว่างตนกับสามี เมื่อเอาทรัพย์นั้นไปขายได้เงินมา แล้วซื้อที่ดินและบ้านเรือนก็ย่อมถือว่าที่ดินและบ้านเรือนนั้นเป็นสินสมรสอยู่นั่นเอง
การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภริยาเมื่อก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 นั้น ถ้าทั้งสองฝ่ายไม่มีสินเดิมด้วยกัน ก็ให้แบ่งสินสมรสเป็น 3 ส่วนให้ชายได้ 2 ส่วน หญิงได้ 1 ส่วน
และในกรณีที่ชายถึงแก่กรรมส่วนของชายย่อมตกเป็นมรดกตกได้แก่บุตรและภรรยาคนละส่วนเท่าๆกัน ถ้ามีภรรยา 2คน ก็คงได้รับส่วนแบ่งร่วมกันเพียงส่วนเดียวและในส่วนเดียวนี้ ยังแบ่งออกเป็น 3 ส่วนภริยาหลวงได้ 2ส่วน ภริยาน้อยได้ 1 ส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 821/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกตาม ป.พ.พ. บรรพ 6: สิทธิทายาทและขอบเขตการแบ่ง
การแบ่งทรัพย์มฤดก เมื่อเจ้ามฤดกตาย เมื่อใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 แล้ว ต้องแบ่งตามมาตรา 1635 และ 1636
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมฤดก ศาลต้องแบ่งให้เพียงเท่าที่โจทก์มีสิทธิควรจะได้
คำว่า "กันส่วนไว้เพื่อทายาทอื่น" ตามที่มาตรา 1749 ห้ามไว้นั้น หมายความว่า กันไว้เพื่อทายาทนั้นมารับเอาไปได้ทีเดียว โดยมิต้องฟ้องร้องเป็นคดีใหม่ ดังเช่นที่เคยปฏิบัติกันมาก่อนใช้ ป.พ.พ.บรรพ 6 การแบ่งให้โจทก์เพียงเท่าที่โจทก์มีสิทธิควรจะได้ตามกฎหมายนั้น หาใช่เป็นการกันส่วนไว้เพื่อทายาทไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 821/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์: สิทธิทายาทและการกันส่วนมรดก
การแบ่งทรัพย์มรดก เมื่อเจ้ามรดกตายเมื่อใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 แล้ว ต้องแบ่งตาม มาตรา 1635 และ 1636
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดก ศาลต้องแบ่งให้เพียงเท่าที่โจทก์มีสิทธิควรจะได้
คำว่า "กันส่วนไว้เพื่อทายาทอื่น" ตามที่มาตรา 1749 ห้ามไว้นั้น หมายความว่า กันไว้เพื่อทายาทนั้นมารับเอาไปได้ทีเดียว โดยมิต้องฟ้องร้องเป็นคดีใหม่ดังเช่นที่เคยปฏิบัติกันมาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 การแบ่งให้โจทก์เพียงเท่าที่โจทก์มีสิทธิควรจะได้ตามกฎหมายนั้น หาใช่เป็นการกันส่วนไว้เพื่อทายาทอื่นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 618/2488

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์มรดกกรณีภริยาหลายคนและการพิจารณาเรื่องสินเดิม
ฟ้องเรียกทรัพย์ของผู้ตายโดยฟ้องว่าเป็นผู้รับมฤดกและว่าจำเลยไม่ใช่ภริยาชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายและมีสิทธิควรได้ส่วนแบ่งมฤดก ดั่งนี้ศาลตัดสินแบ่งทรัพย์ระหว่างผัวเมียและแบ่งมฤดกได้ตาม ป.ม.วิ.แพ่ง มาตรา 142 (2)
ป.ม.แพ่ง ฯ ม.1636 บัญญัติถึงกรณีเจ้ามฤดกมีภรรยาหลายคนให้ได้รับมฤดกตามลำดับชั้นและส่วนแบ่งดังระบุไว้ใน ม.1635 และบัญญัติให้ภริยาน้อยได้ส่วนแบ่งเพียงกึ่งส่วนของภริยาหลวง
คู่ความไม่ได้นำสืบถึงสินเดิมแต่ศาลอุทธรณ์ฟังว่าทั้งสองฝ่ายมีสินเดิม ฎีกาของจำเลยคัดค้านว่าไม่ชอบแต่มิได้กล่าวว่าการแบ่งเช่นนั้นจำเลยเสียเปรียบอย่างไรหรือควรแบ่งอย่างไร ฎีกาย่อมฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 612/2484

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสมรสระหว่างภริยาหลวงและภริยาน้อย: หลักเกณฑ์และสัดส่วนการแบ่ง
ภริยาน้อยได้รับมถดกกึ่งส่วนของภริยาหลวงเมื่อไม่มีเหตุการณ์เป็นพิเศษแล้ว ศาลแบ่งสมรสส่วนของภริยาให้แก่ภริยาหลวง 2 ส่วนภริยาน้อย 1 ส่วน ในการแบ่งสมรสซึ่งขายมีภริยาหลายคน ต้องแบ่งเป็นส่วนของภริยาที่ตายไปแล้วด้วย ซึ่งส่วนนี้ย่อมตกได้แก่ทายาทของเขา คู่ความมิได้ยกประเด็นเรื่องหักเงินไว้ทำศพผู้ตายขึ้นว่าในศาลล่าง จะยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นศาลฎีกาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2481

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเด็ดขาดของพระมหากษัตริย์ในคดีมรดก: พระบรมราชโองการมีผลผูกพันและเปลี่ยนแปลงสิทธิในกองมรดก
การตีความในเอกสารอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินเหนือกฎหมาย พระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ย่อมมีผลเด็ดขาดตามกฎหมาย โจทก์เป็นหม่อมของ พ.ครั้น พ.สิ้นพระชนม์ รัชชกาลที่ 6 จึงทรงตั้งกรรมการขึ้นจัดการพระมฤดก กรรมการได้ทำรายงานถวายความเห็นว่าโจทก์ควรได้รับแต่เงินค่าเลี้ยงชีพเดือนละ 200 บาท รัชชกาลที่ 6 มีพระบรมราชโองการให้เป็นไปตามนั้นดังนี้ โจทก์ไม่มีสิทธิจะได้รับพระมฤดกอื่นของ พ.นอกจากเงินเลี้ยงชีพเดือนละ 200 บาทนั้น
การที่บุคคลภายนอกเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์และจำเลยในคดีเรื่องนี้เป็นจำเลยโดยมูลสิทธิแห่งคดีเป็นอย่างเดียวกับคดีเรื่องนี้นั้น ไม่เรียกว่าโจทก์ในคดีนี้ฟ้องซ้ำค่าธรรมเนียม
of 2