คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำสยาม พ.ศ.2456

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5668/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเดินเรือกลโดยไม่ได้รับอนุญาต ก่อให้เกิดละเมิดต่อผู้มีสิทธิเดินเรือเดิม
จำเลยเพียงแต่ได้รับอนุญาตให้ใช้เรือกลจากกรมเจ้าท่าและอยู่ในระหว่างยื่นเรื่องราวขออนุญาตเดินเรือกลประจำทางในเส้นทางพิพาทต่อกรมเจ้าท่าเพื่อประกอบกิจการเดินเรือกลรับส่งคนโดยสารแต่ยังมิได้รับอนุญาตให้เดินเรือกลประจำทางได้ในเส้นทางเดินเรือเดียวกับโจทก์และทับเส้นทางที่โจทก์เดินเรือใช้ท่าเรือร่วมกันบางส่วนและเก็บค่าโดยสารเช่นเดียวกับโจทก์เป็นการกระทำโดยผิดกฎหมายและจงใจให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เป็นการละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา420 จำเลยเพียงแต่มีสิทธิเดินเรือกลตามปกติในลำน้ำเจ้าพระยาตามที่ได้รับอนุญาตให้ใช้เรือกลในลำน้ำเจ้าพระยาเท่านั้นตราบใดที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้เดินเรือกลประจำทางจากกรมเจ้าท่าจำเลยหามีสิทธิรับส่งคนโดยสารในเส้นทางเช่นเดียวกับโจทก์ที่ได้รับอนุญาตจากกรมเจ้าท่าให้เดินเรือก่อนและเรือด่วนพิเศษไม่เพราะเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์มีสิทธิห้ามจำเลยกระทำการดังกล่าวได้ตลอดระยะเวลาที่จำเลยยังมิได้รับอนุญาตจากกรมเจ้าท่ากรณีดังกล่าวหาเป็นเรื่องระหว่างจำเลยและกรมเจ้าท่าไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5668/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเดินเรือโดยไม่ได้รับอนุญาตละเมิดสิทธิผู้ได้รับอนุญาตก่อน
จำเลยเพียงแต่ได้รับอนุญาตให้ใช้เรือกลจากกรมเจ้าท่า และอยู่ในระหว่างยื่นเรื่องราวขออนุญาตเดินเรือกลประจำทางในเส้นทางพิพาทต่อกรมเจ้าท่าเพื่อประกอบกิจการเดินเรือกลรับส่งคนโดยสาร แต่ยังมิได้รับอนุญาตให้เดินเรือกลประจำทางได้ในเส้นทางเดินเรือเดียวกับโจทก์และทับเส้นทางที่โจทก์เดินเรือ ใช้ท่าเรือร่วมกันบางท่าและเก็บค่าโดยสารเช่นเดียวกับโจทก์เป็นการกระทำโดยผิดกฎหมายและจงใจให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ เป็นการละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420
จำเลยเพียงแต่มีสิทธิเดินเรือกลตามปกติในลำน้ำเจ้าพระยาตามที่ได้รับอนุญาตให้ใช้เรือกลในลำน้ำเจ้าพระยาเท่านั้น ตราบใดที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้เดินเรือกลประจำทางจากกรมเจ้าท่า จำเลยหามีสิทธิรับส่งคนโดยสารในเส้นทางเช่นเดียวกับโจทก์ที่ได้รับอนุญาตจากกรมเจ้าท่าให้เดินเรือก่อนและเรือด่วนพิเศษไม่ เพราะเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์มีสิทธิห้ามจำเลยกระทำการดังกล่าวได้ตลอดระยะเวลาที่จำเลยยังมิได้รับอนุญาตจากกรมเจ้าท่ากรณีดังกล่าวหาเป็นเรื่องระหว่างจำเลยและกรมเจ้าท่าไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5668/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเดินเรือกลประจำทาง: การละเมิดสิทธิผู้ได้รับอนุญาตเมื่อยังไม่ได้รับอนุญาตจากกรมเจ้าท่า
โจทก์ได้รับสิทธิให้เดินเรือกลประจำทางรับส่งผู้โดยสารตามลำน้ำเจ้าพระยาโดยเก็บค่าโดยสารแต่ผู้เดียว จำเลยเพียงแต่ได้รับอนุญาตให้ใช้เรือกลจากกรมเจ้าท่า และอยู่ในระหว่างยื่นเรื่องราวขออนุญาตเดินเรือกลประจำทาง ในเส้นทางพิพาทต่อกรมเจ้าท่า การที่จำเลยเดินเรือกลประจำทางในเส้นทางเดินเรือเดียวกับโจทก์และทับเส้นทางที่โจทก์เดินเรืออยู่ ใช้ท่าเรือร่วมกันบางท่าและเก็บค่าโดยสารเช่นเดียวกับโจทก์ เป็นการกระทำโดยผิดกฎหมายและจงใจให้เกิด ความเสียหายแก่โจทก์เป็นละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลย และห้ามมิให้จำเลยกระทำการดังกล่าวได้ตลอดระยะเวลาที่จำเลย ยังมิได้รับอนุญาตจากกรมเจ้าท่า กรณีมิใช่เป็นเรื่องระหว่างจำเลยและกรมเจ้าท่าเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3709/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบกิจการท่าเรือโดยไม่ได้รับอนุญาต และความรับผิดของกรรมการบริษัท
การที่จำเลยทั้งสองนำเรือมาดัดแปลงใช้เหล็กปิดปากระวางเพื่อให้ รถยนต์บรรทุกแล่นลงไปขนส่งสินค้ากับได้ใช้ลวดผูกโยงตรึงให้อยู่กับที่ และใช้เรือลำเลียงเดินทะเลมีขนาด1,075.40 ตันกรอส เทียบขนถ่ายสินค้า เช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการใช้สิ่งลอยน้ำเป็นสถานที่สำหรับให้บริการแก่ เรือเดินทะเลที่มีขนาดตั้งแต่ 500 ตันกรอสขึ้นไปอันเป็นการประกอบกิจการ ท่าเรือแล้ว หาได้ใช้ในสภาพที่เป็นเรือลำเลียงไม่การกระทำของจำเลย ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการประกอบกิจการค้าขายอันเป็นสาธารณูปโภค อันกระทบกระเทือนถึงความปลอดภัยหรือผาสุกของประชาชน ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 จำเลยทั้งสองฎีกาว่าทำการขนถ่ายสินค้า 2 ครั้งด้วยความจำเป็น ไม่มีเจตนาใช้เป็นท่าเรือกับฎีกาว่าเรือสมิหลา2 ไม่ใช่เรือเดินทะเลเป็นฎีกา ในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยทั้งสองฎีกาว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456มาตรา 47 นั้นปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามมาตรา 47 และศาลล่างทั้งสองมิได้หยิบยกบทกฎหมายดังกล่าวมาลงโทษจำเลยทั้งสอง แต่อย่างใดฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นสาระแก่คดีศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การประกอบกิจการท่าเรือ แม้ผู้ประกอบกิจการจะไม่ได้มุ่งหาประโยชน์ จากกิจการดังกล่าวก็ต้องได้รับอนุญาตเพราะกระทบกระเทือนถึงความปลอดภัย หรือผาสุกของประชาชน จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการกระทำกิจการต่างๆ แทนลำพังจำเลยที่ 1 ไม่อาจกระทำกิจการด้วยตนเองได้การกระทำความผิด เกิดขึ้นเนื่องมาจากจำเลยที่ 2 โดยตรงย่อมถือว่าจำเลยที่ 2ร่วมกระทำ ความผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3709/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบกิจการท่าเรือโดยไม่ได้รับอนุญาต มีความผิดตามกฎหมาย
การที่จำเลยทั้งสองนำเรือมาดัดแปลงใช้เหล็กปิดปากระวางเพื่อให้ รถยนต์บรรทุกแล่นลงไปขนส่งสินค้า กับได้ใช้ลวดผูกโยงตรึงให้อยู่กับที่และใช้เรือลำเลียงเดินทะเลมีขนาด 1,075.40 ตันกรอส เทียบขนถ่ายสินค้าเช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นการใช้สิ่งลอยน้ำเป็นสถานที่สำหรับให้บริการแก่เรือเดินทะเลที่มีขนาดตั้งแต่ 500 ตันกรอสขึ้นไป อันเป็นการประกอบกิจการท่าเรือแล้ว หาได้ใช้ในสภาพที่เป็นเรือลำเลียงไม่การกระทำของจำเลยดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการประกอบกิจการค้าขายอันเป็นสาธารณูปโภคอันกระทบกระเทือนถึงความปลอดภัยหรือผาสุกของประชาชน ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58
จำเลยทั้งสองฎีกาว่าทำการขนถ่ายสินค้า 2 ครั้งด้วยความจำเป็น ไม่มีเจตนาใช้เป็นท่าเรือ กับฎีกาว่าเรือสมิหลา 2 ไม่ใช่เรือเดินทะเลเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
จำเลยทั้งสองฎีกาว่า การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 มาตรา 47 นั้นปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามมาตรา 47 และศาลล่างทั้งสองมิได้หยิบยกบทกฎหมายดังกล่าวมาลงโทษจำเลยทั้งสองแต่อย่างใด ฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การประกอบกิจการท่าเรือ แม้ผู้ประกอบกิจการจะไม่ได้มุ่งหาประโยชน์จากกิจการดังกล่าว ก็ต้องได้รับอนุญาตเพราะกระทบกระเทือนถึงความปลอดภัย หรือผาสุกของประชาชน
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการกระทำกิจการต่าง ๆ แทนลำพังจำเลยที่ 1 ไม่อาจกระทำกิจการด้วยตนเองได้ การกระทำความผิดเกิดขึ้นเนื่องมาจากจำเลยที่ 2 โดยตรง ย่อมถือว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 353-360/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ชายตลิ่งของเอกชนไม่กลายเป็นสาธารณสมบัติหากยังมีการใช้สิทธิเจ้าของ
ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 นั้น การที่จะตีความว่า ถ้าที่ใดเป็นที่ชายตลิ่งแล้วย่อมเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเสมอไปนั้น ย่อมไม่ถูกต้อง เพราะจะต้องมีสภาพเป็นทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันด้วย
จำเลยปลูกอาคารลงในที่ดินของจำเลยแม้ภายใต้อาคารนั้นถูกน้ำเซาะพังลงกลายสภาพเป็นที่ชายตลิ่ง แต่จำเลยก็ยังใช้สิทธิแห่งความเป็นเจ้าของ คงครอบครองอาคารและที่ดินนั้นอยู่ มิได้ทอดทิ้งปล่อยให้เป็นที่ชายตลิ่งสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแล้ว ที่พิพาทนั้นยังหาเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่.
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/2507).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1098/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางน้ำ: จำเลยเดินเรือผิดทางและไม่หลีกเรือ ทำให้เรือชน
เรือที่เดินทวนน้ำต้องเดินแอบฝั่งตะวันออกตาม พระราชบัญญัติเดินเรือในน่านน้ำไทย 2456 เรือที่เดินตามน้ำเดินกลางแม่น้ำ เวลาหลีกกันให้หลีกทางขวาตามพระราชบัญญัติป้องกันเหตุเรือโดนกัน 2456เรือที่เดินผิดทางเป็นเหตุให้ชนเรือที่เดินถูกทาง ต้องรับผิดฐานละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207-208/2486

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานที่เกิดเหตุสำคัญ: ความแตกต่างของสถานที่ทำให้จำเลยไม่ต้องรับโทษ
ฟ้องว่าเหตุเกิดที่ลำน้ำเจ้าพระยาทางพิจารณาได้ความว่าเหตุเกิดที่คลองลัดหลวง แม้จะไม่ต่างตำบลก็ลงโทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2481

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อจากการใช้สายลวดถือท้ายเรือ: จำเลยไม่ต้องรับผิด
พฤตติการณ์ที่ไม่ถือว่าจำเลยมีความประมาทเลินเล่อตามกฎหมาย
of 2