คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ดุลยทรรศน์ปฏิภาณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,005 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพยายามฆ่าด้วยอาวุธที่มีกระสุน หากกระสุนด้านแต่ยังมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดอันตราย ต้องลงโทษตามมาตรา 80 ไม่ใช่ 81
กรณีที่จะปรับด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 81 นั้นเกี่ยวกับปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำผิดไม่สามารถจะกระทำให้บรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เช่น ใช้ปืนที่มิได้มีกระสุนบรรจุอยู่เลยยิงคน โดยเข้าใจผิดคิดว่ามีกระสุนบรรจุอยู่พร้อมแล้ว ซึ่งอย่างไรๆ ก็ย่อมจะทำให้ผู้ถูกยิงได้รับอันตรายจากการยิงมิได้เลย ดั่งนี้ จึงจะถือได้ว่า เป็นกรณีที่ไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้
จำเลยใช้ปืนที่มีกระสุนบรรจุอยู่ถึง 7 นัดยิงโจทก์ร่วม กระสุนนัดแรกด้านไม่ระเบิดออกซึ่งอาจเป็นเพราะกระสุนเสื่อมคุณภาพหรือเพราะเหตุบังเอิญอย่างใดไม่ปรากฏ มิฉะนั้นแล้ว กระสุนก็ต้องระเบิดออกและอาจเกิดอันตรายแก่โจทก์ร่วมได้ หาเป็นการแน่แท้ไม่ว่าจะไม่สามารถกระทำให้ผู้ถูกยิงได้รับอันตรายจากการยิงของจำเลยเช่นนั้นกรณีนี้ต้องปรับด้วย มาตรา 80 ไม่ใช่มาตรา 81และถ้าหากไม่มีคนเข้าขัดขวางจำเลยไว้ทันท่วงที จำเลยอาจยิงโจทก์ร่วมด้วยกระสุนที่ยังเหลือบรรจุอยู่นั้นต่อไปอีกก็ได้ ย่อมเห็นชัดว่า ไม่ใช่กรณีที่ปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำผิดไม่สามารถจะกระทำให้บรรลุผลได้อย่างแน่แท้ตามความหมายใน มาตรา 81

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเลี้ยงดูจากสัญญาประนีประนอม vs. ค่าอุปการะเลี้ยงดูตามกฎหมาย: ศาลฎีกาชี้ขาด
คำฟ้องเดิมของโจทก์เรียกร้องค่าเลี้ยงดูเฉพาะตัวโจทก์เองเท่านั้น การที่โจทก์ร้องขอให้เพิ่มค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกจึงต้องเป็นเรื่องสืบเนื่องโดยตรงจากคำฟ้องเดิมของโจทก์นั้นเอง จะยกเอาประเด็นใหม่ขึ้นมาประกอบ อาทิเรื่องความจำเป็นเกี่ยวแก่การศึกษาของบุตรอีกด้วยเช่นนี้ไม่ได้ เพราะค่าอุปการะเลี้ยงดูสำหรับตัวโจทก์เองโดยเฉพาะในฐานะที่เคยเป็นภรรยา กับค่าอุปการะเลี้ยงดูสำหรับบุตร เป็นคนละเรื่องคนละประเด็น และอาศัยหลักกฎหมายต่างกัน
แม้ในคำร้องของโจทก์ ที่ขอค่าอุปการะเลี้ยงดูเพิ่มขึ้น จะได้กล่าวอ้างถึงเรื่องบุตรตลอดจนไม่มีเงินค่าเล่าเรียนให้แก่บุตร และศาลชั้นต้นกับศาลอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉัยกล่าวอ้างถึงเช่นนั้น และฝ่ายจำเลยจะไม่โต้แย้งด้วยก็ตาม แต่เมื่อไม่ใช่ประเด็น ศาลฎีกาก็ไม่จำต้องวินิจฉัยถึงความข้อนี้
เมื่อเงินค่าเลี้ยงดูที่โจทก์ได้รับอยู่เป็นผลสืบเนื่องมาจากนิติกรรมโดยศาลบังคับให้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งได้กระทำไว้ต่อกันในวันจดทะเบียนหย่านั้น ย่อมไม่ใช่เป็นเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูที่ศาลกำหนดให้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1506 และ มาตรา 1594 วรรคสอง คำว่า "ค่าเลี้ยงดู" กับ "ค่าอุปการะเลี้ยงดู" นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน แต่เหตุแห่งการได้มาซึ่งค่าเลี้ยงดูหรือค่าอุปการะเลี้ยงดูสำหรับภรรยานั่นแหละเป็นสาระสำคัญที่ก่อให้เกิดผลแตกต่างกันขึ้นได้
ตามมาตรา 1506 นั้น ศาลจะต้องพิจารณาเห็นว่า สามีเป็นผู้ผิดแต่ฝ่ายเดียว หากตรงข้ามภรรยาเป็นฝ่ายผิดแล้ว ศาลจะให้สามีจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่ภรรยาก็ไม่ได้กรณีที่ศาลกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่ภรรยาตามมาตรานี้จึงเป็นไปตาม มาตรา 1594 นั้นด้วยซึ่งเป็นกำหนดตามที่ศาลพิจารณาเห็นสมควร ในวาระหนึ่งต่อมาเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงไป ศาลจึงมีอำนาจที่จะสั่งให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตามควรแก่กรณี โดยอาศัย มาตรา 1596นั้น
เมื่อโจทก์ได้รับสิทธิ(เกี่ยวกับค่าเลี้ยงดู)ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลก็ไม่ต้องคำนึงถึงความผิดความถูกของฝ่ายใด จำนวนเงินมากหรือน้อยไปเพียงใด กรณีมิได้เป็นไปตาม มาตรา 1506 และ 1594 จึงจะยกเอา มาตรา 1596 ขึ้นมาปรับแก่คดีไม่ได้ เมื่อศาลบังคับคดีให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวและคดีถึงที่สุดไปแล้ว ข้อพิพาททั้งมวลก็ต้องยุติไปตามนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเลี้ยงดูจากสัญญาประนีประนอมยอมความกับการเปลี่ยนแปลงค่าอุปการะเลี้ยงดูสำหรับบุตร
คำฟ้องเดิมของโจทก์เรียกร้องค่าเลี้ยงดูเฉพาะตัวโจทก์เองเท่านั้น การที่โจทก์ร้องขอให้เพิ่มค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกจึงต้องเป็นเรื่องสืบเนื่องโดยตรงจากคำฟ้องเดิมของโจทก์นั้นเอง จะยกเอาประเด็นใหม่ขึ้นมาประกอบ อาทิเรื่องความจำเป็นเกี่ยวแก่การศึกษาของบุตรอีกด้วย เช่นนี้ ไม่ได้ เพราะค่าอุปการะเลี้ยงดูสำหรับตัวโจทก์เองโดยเฉพาะในฐานะที่เคยเป็นภรรยา กับค่าอุปการะเลี้ยงดูสำหรับบุตรเป็นคนละเรื่องคนละประเด็น และอาศัยหลักกฎหมายต่างกัน
แม้ในคำร้องของโจทก์ ที่ขอค่าอุปการะเลี้ยงดูเพิ่มขึ้น จะได้กล่าวอ้างถึงเรื่องบุตรตลอดจนไม่มีเงินค่าเล่าเรียนให้แก่บุตรและศาลชั้นต้นกับศาลอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉันกล่าวอ้างถึงเช่นนั้น และฝ่ายจำเลยจะไม่โต้แย้งด้วยก็ตาม แต่เมื่อไม่ใช่ประเด็น ศาลฎีกาก็ไม่จำต้องวินิจฉัยถึงความข้อนี้
เมื่อเงินค่าเลี้ยงดูที่โจทก์ได้รับอยู่เป็นผลสืบเนื่องมาจากนิติกรรมโดยศาลบังคับให้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งได้กระทำไว้ต่อกันในวันจดทะเบียนหย่านั้น ย่อมไม่ใช่เป็นเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูที่ศาลกำหนดให้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1506 และ มาตรา 1594 วรรค 2 คำว่า "ค่าเลี้ยงดู" กับ " ค่าอุปการะเลี้ยงดู" นั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน แต่เหตุแห่งการได้มาซึ่งค่าเลี้ยงดูหรือค่าอุปการะเลี้ยงดูสำหรับภรรยานั่นแหละ เป็นสาระสำคัญที่ก่อให้เกิดผลแตกต่างกันขึ้นได้
ตามมาตรา 1506 นั้น ศาลจะต้องพิจารณาเห็นว่า สามีเป็นผู้ผิดแต่ฝ่ายเดียว หากตรงข้ามภรรยาเป็นฝ่ายผิดแล้ว ศาลจะให้สามีจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่ภรรยาก็ไม่ได้ กรณีที่ศาลกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่ภรรยาตามมาตรานี้ จึงเป็นไปตาม มาตรา 1594 นั้นด้วย ซึ่งเป็นกำหนดตามที่ศาลพิจารณาเห็นสมควร ในวาระหนึ่งต่อมา เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงไป ศาลจึงมีอำนาจที่จะส่งให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตาม ควรแก่กรณี โดยอาศัย มาตรา 1596 นั้น
เมื่อโจทก์ได้รับสิทธิ (เกี่ยวกับค่าเลี้ยงดู) ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลก็ไม่ต้องคำนึงถึงความผิดความถูกของฝ่ายใด จำนวนเงินมากหรือน้อยไปเพียงใด กรณีมิได้เป็นไปตาม มาตรา 1506 และ 1594 จึงจะยกเอา มาตรา 1596 ขึ้นมาปรับแก่คดีไม่ได้ เมื่อศาลบังคับคดีให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวและคดีถึงที่สุดไปแล้ว ข้อพิพาททั้งมวลก็ต้องยุติไปตามนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 930/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายสุราขาดระหว่างผู้ผลิตและผู้ขายส่ง: ไม่ถือเป็นตัวแทนหรือลูกจ้าง ทำให้ต้องเสียอากรแสตมป์
เจ้าของร้านขายส่งสุราเป็นคนอื่น มิได้เกี่ยวข้องอะไรกับบริษัทซึ่งทำการต้มกลั่นสุราเลย ส่วนได้ส่วนเสียแยกต่างหาก มิได้มีอะไรเกี่ยวพันกัน แม้ในฐานะของลูกจ้างกับนายจ้างก็มิได้มีปรากฏ เจ้าของร้านขายส่งสุราหลายรายต้องวางเงินประกันไว้ต่อบริษัทต้มกลั่น ซึ่งบางรายต้องวางเงินประกันไว้ก่อนถึง 80,000 บาท ก็มี ข้อสำคัญที่สุดก็คือ สุราที่ส่งไปให้ร้านขายส่งสุราเหล่านี้ บริษัทต้มกลั่นถือว่า เป็นการจำหน่ายเสร็จเด็ดขาดจากบริษัทต้มกลั่นไปแล้วทั้งสิ้น มิใช่ทรัพย์ของบริษัทต้มกลั่นอีกต่อไป บัญชีงบดุลก็มิได้แสดงว่าเป็นทรัพย์ของบริษัทต้มกลั่นเลย พฤติการณ์ทั้งมวลประกอบกันแสดงชัดว่า บริษัทต้มกลั่นได้ขายขาดสุราให้แก่ร้านขายส่งสุราเหล่านี้ไปแล้ว ไม่ใช่เรื่องของตัวการกับตัวแทนหรือลูกจ้างกับนายจ้าง การรับเงินค่าสุราจากร้านขายส่งดังกล่าวจึงจำต้องออกใบรับและปิดอากรแสตมป์เพราะกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ข้อ ฌ. แห่งลักษณะตราสาร ข้อ 28

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 930/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสุราเสร็จเด็ดขาด: การจำหน่ายสุราโดยร้านค้าตัวแทน ไม่ถือเป็นตัวการตัวแทน จึงต้องเสียอากรแสตมป์
เจ้าของร้านขายส่งสุราเป็นคนอื่น มิได้เกี่ยวข้องอะไรกับบริษัทซึ่งทำการต้มกลั่นสุราเลย ส่วนได้ส่วนเสียแยกต่างหาก มิได้มีอะไรเกี่ยวพันกัน แม้ในฐานะของลูกจ้างกับนายจ้างก็มิได้มีปรากฏ เจ้าของร้านขายส่งสุราหลายรายต้องวางเงินประกันไว้ต่อบริษัทต้มกลั่น ซึ่งบางรายต้องวางเงินประกันไว้ก่อนถึง 80,000 บาท ก็มี ข้อสำคัญที่สุดก็คือ สุราที่ส่งไปให้ร้านขายส่งสุราเหล่านี้ บริษัทต้มกลั่นถือว่า เป็นการจำหน่ายเสร็จเด็ดขาดจากบริษัทต้มกลั่นไปแล้วทั้งสิ้น มิใช่ทรัพย์ของบริษัทต้มกลั่นอีกต่อไป บัญชีงบดุลก็มิได้แสดงว่าเป็นทรัพย์ของบริษัทต้มกลั่นเลย พฤติการณ์ทั้งมวลประกอบกันแสดงชัดว่า บริษัทต้มกลั่นได้ขายขาดสุราให้แก่ร้านขายส่งสุราเหล่านี้ไปแล้ว ไม่ใช่เรื่องของตัวการกับตัวแทนหรือลูกจ้างกับนายจ้าง การรับเงินค่าสุราจากร้านขายส่งดังกล่าวจึงจำต้องออกใบรับและปิดอากรแสตมป์ เพราะกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามข้อ ฌ.แห่งลักษณะตราสาร ข้อ 28

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 928/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดข่มขืนเด็กหญิงบุตรติดภรรยา: อำนาจปกครองตามกฎหมายและผลต่อการลงโทษ
เด็กหญิงเชื่อมอายุ 12 ปี เป็นบุตรติดนางมามารดาแล้วนางมาสมรสกับจำเลย จำเลยข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงเชื่อม จำเลยย่อมมีความผิดเพียงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 เท่านั้น กรณียังไม่ต้องด้วย มาตรา 285 อันเป็นบทบัญญัติที่ให้วางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆหนึ่งในสาม เพราะอำนาจปกครองเด็กหญิงเชื่อมตกอยู่แก่นางมามารดาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1540 เด็กหญิงเชื่อมมิได้อยู่ในความปกครองของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 928/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดข่มขืนโดยจำเลยไม่ใช่ผู้ปกครองตามกฎหมาย: การตีความอำนาจปกครองเด็ก
เด็กหญิงเชื่อมอายุ 12 ปีเป็นบุตรติดนางมามารดาแล้วนางมาสมรสกับจำเลย จำเลยข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงเชื่อมจำเลยย่อมมีความผิดเพียงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 เท่านั้น กรณียังไม่ต้องด้วย มาตรา 285 อันเป็นบทบัญญัติที่ให้วางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ หนึ่งในสาม เพราะอำนาจปกครองเด็กหญิงเชื่อมตกอยู่แก่นางมามารดาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1540 เด็กหญิงเชื่อมมิได้อยู่ในความปกครองของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 920/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานรับของโจร ต้องมีหลักฐานการลักทรัพย์ก่อน จึงจะมีความผิด
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา357 บัญญัติเกณฑ์ความผิดฐานรับของโจรไว้ว่า การรับด้วยประการใดๆ ซึ่งทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดอันจำกัดไว้ว่า ความผิดนั้น ต้องเข้าลักษณะความผิดฐานลักทรัพย์, วิ่งราวทรัพย์ ฯลฯ ซึ่งหมายความว่าทรัพย์นั้นจะต้องเป็นทรัพย์ที่ถูกลัก ฯลฯมาเสียก่อนจึงจะเกิดความผิดฐานรับของโจรต่อไปได้ เมื่อกรณีเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ว่ามิได้มีการกระทำผิดฐานลักทรัพย์เกิดขึ้น ก็ย่อมไม่อาจมีความผิดฐานรับของโจรเกิดขึ้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 920/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานรับของโจรต้องมีทรัพย์ที่ถูกลักขโมยมาแล้วก่อน จึงจะมีความผิดได้
ประมวล ก.ม. อาญา ม. 357 บัญญัติเกณฑ์ความผิดฐานรับของโจรไว้ว่า การรับด้วยประการใด ๆ ซึ่งทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดอันจำกัดไว้ว่า ความผิดนั้น ต้องเข้าลักษณะความผิดฐานลักทรัพย์, วิ่งราวทรัพย์ ฯลฯ ซึ่งหมายความว่า ทรัพย์นั้นจะต้องเป็นทรัพย์ที่ถูกลักฯลฯ มาเสียก่อนจึงจะเกิดความผิดฐานรับของโจรต่อไปได้ เมื่อกรณีเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ว่ามิได้มีการกระทำผิดฐานลักทรัพย์เกิดขึ้น ก็ย่อมไม่อาจมีความผิดฐานรับของโจรเกิดขึ้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 862/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาของผู้อุทิศทรัพย์สินให้มูลนิธิ กรณีถูกยักยอกและทำให้มูลนิธิเลิก
ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยซึ่งเป็นกรรมการมูลนิธิยักยอกทรัพย์ ร้องเรียนเท็จและเบิกความเท็จ โดยกล่าวในฟ้องว่า โจทก์ได้อุทิศที่ดินที่ได้รับมรดกมาให้เป็นทรัพย์กองกลางพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างและดอกผลสำหรับบำรุงสุสานในตระกูลโจทก์ ต่อมาได้ก่อตั้งเป็นมูลนิธิจนได้รับอำนาจจากรัฐบาลแล้ว ที่ดินสิ่งปลูกสร้างและดอกผลที่โจทก์อุทิศจึงตกเป็นของมูลนิธิตั้งแต่นั้นมา หลังจากนั้น จำเลยซึ่งเป็นกรรมการมูลนิธิได้ยักยอกเอาที่ดินแปลงนั้นเป็นประโยชน์ส่วนตัวเสีย และจำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งเลิกมูลนิธิดังกล่าว โดยเอาความเท็จมาร้องเรียนว่ามูลนิธิไม่มีทรัพย์สินใดจะใช้เป็นทุนดำเนินการตามวัตถุประสงค์ได้ ความจริงทรัพย์ของมูลนิธิยังมีอยู่ และจำเลยได้เบิกความเท็จว่า มูลนิธิไม่มีทรัพย์สินใดจะใช้เป็นทุนดำเนินการตามวัตถุประสงค์ได้ ขอให้ลงโทษ เช่นนี้ในชั้นพิจารณาอำนาจฟ้องของโจทก์ ถือได้ว่า โจทก์เป็นผู้เสียหายตามความใน มาตรา 2(4) และมีอำนาจฟ้องคดีได้ตาม มาตรา 28(2) แห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แล้ว เพราะตามที่โจทก์กล่าวในฟ้องว่า ทรัพย์สินย่อมตกเป็นของมูลนิธิแล้วนั้น โจทก์ได้วงเล็บ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 87 มาในฟ้องด้วย แสดงให้เห็นว่า เป็นความเข้าใจของโจทก์ในข้อกฎหมายเกี่ยวกับมาตรา87 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงไม่ใช่ข้อยืนยันของโจทก์ จะถือเป็นยุติตามที่โจทก์เข้าใจในข้อกฎหมายดังที่กล่าวมาในฟ้องเสียทีเดียวหาชอบไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมื่อโจทก์โอนโฉนดให้เป็นในนามของนายประสพกับพวกถือกรรมสิทธิ์ตามหน้าโฉนดก็ยังหาได้มีการโอนโฉนดใส่ชื่อมูลนิธิไม่(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/2502)
of 101