คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมศักดิ์ คุณเลิศกิจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 77 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4081/2564 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4081/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มเติมฟ้องคดีแพ่งในคดีอาญาที่เกี่ยวข้อง ศาลต้องรับฟ้องคดีแพ่งพร้อมคดีอาญาตั้งแต่แรก
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่ผู้เสียหายฟ้องเองโดยตรง สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาในคดีส่วนแพ่งต้องถือคดีอาญาเป็นหลัก หากคดีส่วนอาญาขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือฎีกา คดีส่วนแพ่งก็ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์หรือฎีกา แต่หากคดีส่วนอาญาต้องห้ามอุทธรณ์ฎีกาหรือยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ คดีส่วนแพ่งก็ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กล่าวคือ จำเลยจะฎีกาได้ต่อเมื่อยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกามาพร้อมกับคำฟ้องฎีกาและได้รับอนุญาตจากศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3644/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบต้องไม่ใช่การแก้ไขคำพิพากษา หากฎีกาถูกจำกัดสิทธิ
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบอ้างว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 6 มิได้นำข้อเท็จจริงที่ได้ความจากพยานหลักฐานตามที่โจทก์นำสืบมาเป็นเหตุผลในการตัดสินตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 ขอให้เพิกถอนการพิจารณาวินิจฉัยคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 เท่ากับ เป็นการขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 เพิกถอนคำวินิจฉัยเดิมและวินิจฉัยพยานหลักฐานใหม่ อันเป็นการแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 โดยมิใช่เป็นการแก้ไขถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาดหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย จึงขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 143 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 โจทก์จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ข้อที่อ้างว่า โจทก์ต้องห้ามมิให้ฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 หาก่อให้เกิดสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3280/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทผู้ถือหุ้นและการบริหารจัดการบริษัท ไม่ถึงขนาดเป็นเหตุเลิกบริษัท
เมื่อได้ความว่าบริษัทยังคงประกอบกิจการอยู่ ลำพังเพียงเรื่องไม่นำส่งงบการเงินหรือการจัดทำงบการเงินไม่แล้วเสร็จ จึงไม่ส่งผลกระทบถึงขนาดทำให้บริษัทเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ ส่วนข้อที่อ้างว่าผู้คัดค้านทุจริตยักยอกทรัพย์ของบริษัทนั้น ก็เป็นเรื่องที่สามารถใช้กระบวนการทางศาลพิสูจน์ความผิดกันได้ต่อไป ทั้งหากผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการทำให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท บทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1169 ก็ให้สิทธิผู้ร้องในฐานะผู้ถือหุ้นจะเอาคดีขึ้นว่ากล่าวแก่ผู้คัดค้านได้ ดังนั้นลำพังเพียงแต่ความขัดแย้งของผู้ถือหุ้นกับกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทในกรณีนี้ย่อมไม่อาจส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการของบริษัทจนถึงขนาดจะเป็นเหตุทำให้บริษัทเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ร้องเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทเพียง 60,000 หุ้น จากจำนวนหุ้นบริษัททั้งหมด 300,000 หุ้น ไม่อาจชี้นำการประกอบธุรกิจของบริษัทได้ หากให้มีการเลิกบริษัทด้วยเหตุตามคำร้องของผู้ร้องย่อมไม่เป็นธรรมและส่งผลกระทบอย่างมากต่อผู้ถือหุ้นรายอื่น พนักงานตลอดจนลูกจ้าง กรณียังถือไม่ได้ว่ามีเหตุอื่นใดทำให้บริษัทนั้นเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1237 (5) จึงไม่มีเหตุให้เลิกบริษัท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3172/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมโดยอายุความ: การใช้ทางโดยเข้าใจว่าเป็นสาธารณะ ไม่ถือเป็นการใช้โดยปรปักษ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อประมาณปี 2544 จำเลยทั้งสี่ให้สภาตำบลศรีพรานทำถนนดินระหว่างที่ดินของโจทก์และจำเลยทั้งสี่โดยงบประมาณของสภาตำบลศรีพราน ต่อมาก็นำงบประมาณมาทำเป็นถนนคอนกรีตเพื่อให้เป็นเส้นทางเดินของโจทก์ จำเลยทั้งสี่ และประชาชนทั่วไปเพื่อออกสู่ทางสาธารณะ ทั้งในชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบว่า องค์การบริหารส่วนตำบลศรีพรานเป็นผู้ก่อสร้างถนนพิพาทตั้งแต่ปี 2548 แสดงว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยเข้าใจว่าเป็นทางสาธารณะมาตั้งแต่ต้น การใช้สิทธิผ่านทางพิพาทของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะเป็นการใช้โดยปรปักษ์ต่อจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ตั้งทางพิพาท เพื่อให้ได้สิทธิภาระจำยอมแต่อย่างใด โจทก์จึงไม่ได้ภาระจำยอมโดยอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401 ประกอบมาตรา 1382 แม้หากจะฟังว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทเกินกว่า 10 ปี ทางพิพาทก็ไม่เป็นภาระจำยอมเพื่ออสังหาริมทรัพย์แก่ที่ดินของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1238/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าตอบแทนตัวแทนประกันภัย: สิทธิเมื่อสัญญาตัวแทนสิ้นสุดลง และการได้รับประโยชน์จากผลงานที่ทำสำเร็จแล้ว
เมื่อพิเคราะห์สัญญาตัวแทนประกันชีวิตสามัญ ข้อ 4.1 ที่ระบุว่า ตัวแทนประกันชีวิตจะได้รับผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนจากสัญญาประกันชีวิตที่ตัวแทนประกันชีวิตหามาได้ ตามคำสั่งหรือประกาศหรือระเบียบเกี่ยวกับการจ่ายผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนของตัวแทนประกันชีวิตตามที่บริษัทกำหนด เฉพาะสัญญาประกันชีวิตที่บริษัทได้ออกกรมธรรม์และได้มีการชำระเบี้ยประกันภัยแล้ว กับสัญญาข้อ 9.4 ที่ระบุว่า เมื่อสัญญาตัวแทนประกันชีวิตสิ้นสุดลง ตัวแทนประกันชีวิตไม่มีสิทธิจะได้รับผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนใด ๆ จากผลงานที่ได้ทำให้ไว้กับบริษัทอีกต่อไป ประกอบกันแล้ว กรณีที่สัญญาตัวแทนประกันชีวิตสิ้นสุดลงอันจะเป็นผลให้ตัวแทนประกันชีวิตไม่มีสิทธิได้รับผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนใด ๆ จากผลงานที่ตนได้ทำให้ไว้กับจำเลยอีกต่อไปนั้น ย่อมหมายถึงกรณีผลงานที่ตัวแทนประกันชีวิตได้ทำไว้เป็นเพียงแต่หาผู้เข้าทำสัญญาประกันชีวิตหรือขายประกันชีวิตได้ แต่บริษัทยังไม่ได้ออกกรมธรรม์ประกันชีวิตให้แก่ผู้เอาประกันชีวิตและผู้เอาประกันชีวิตยังไม่ได้ชำระเบี้ยประกันชีวิตให้แก่บริษัท หรือผลงานที่ตัวแทนประกันชีวิตทำไว้แต่ยังไม่ถึงกำหนดจ่ายผลประโยชน์หรือค่าตอบแทน แต่สัญญาตัวแทนประกันชีวิตสิ้นสุดลงเสียก่อน หากผู้เอาประกันชีวิตได้ชำระเบี้ยประกันชีวิตและบริษัทออกกรมธรรม์ประกันชีวิตให้แก่ผู้เอาประกันชีวิตภายหลังจากนั้นหรือถึงกำหนดจ่ายผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนภายหลังจากนั้น ตัวแทนประกันชีวิตย่อมไม่มีสิทธิได้รับผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนใด ๆ จากประกันชีวิตที่หามาได้เหล่านั้นอีก สัญญาข้อ 9.4 จึงหาใช่ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมดังที่โจทก์ฎีกา แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการขายกรมธรรม์ประกันชีวิตทั้ง 9 ราย ของโจทก์เป็นการขายกรมธรรม์ประกันชีวิตโดยชอบตามสัญญาตัวแทนประกันชีวิตและจำเลยได้รับชำระเบี้ยประกันชีวิตกับได้ออกกรมธรรม์ประกันชีวิตทั้ง 9 ราย ตามฟ้องให้แก่ผู้เอาประกันชีวิตแล้วก่อนที่จำเลยจะบอกเลิกสัญญาตัวแทนประกันชีวิตสามัญกับโจทก์ ถือว่าจำเลยได้รับประโยชน์จากการที่โจทก์เป็นนายหน้าอันเป็นการงานที่โจทก์ทำให้แก่จำเลยและถึงกำหนดที่จะต้องจ่ายผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนแก่โจทก์ก่อนที่สัญญาตัวแทนประกันชีวิตสามัญสิ้นสุดลง โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนใด ๆ อันเป็นค่าแห่งการงานที่โจทก์ทำให้แก่จำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสาม สัญญาข้อ 9.4 จึงหาใช่เป็นกรณีที่โจทก์ยอมสละสิทธิเรียกร้องค่าแห่งการงานที่โจทก์มีต่อจำเลยทั้งหมดตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไม่ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินค่าผลประโยชน์และค่าตอบแทนต่าง ๆ ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 101/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกเฉยโจทก์ไม่ดำเนินคดีหลังตกลงชดใช้ค่าเสียหาย ศาลมีอำนาจจำหน่ายคดี
การที่ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาในวันนัดโดยให้ส่งหมายนัดให้โจทก์อีกครั้งพร้อมแนบสำเนาคำร้องของจำเลย โดยให้ระบุในหมายนัดว่า หากโจทก์จะคัดค้านให้คัดค้านก่อนหรือภายในวันนัด มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ไม่คัดค้าน ถือได้ว่าเป็นกรณีที่ศาลต้องการนัดพร้อมเพื่อให้โจทก์และจำเลยมาศาลเพื่อแถลงร่วมกันเกี่ยวกับการชำระเงินของจำเลยในนัดต่อไป เมื่อโจทก์ไม่มาศาลเพื่อแถลงเกี่ยวกับข้อเท็จจริงดังกล่าว เพื่อศาลจะได้ใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่รูปคดี อันจะทำให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปได้อย่างเที่ยงธรรม การละเลยของโจทก์เช่นนี้ถือว่า โจทก์เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้เพื่อการนั้นแล้ว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5201/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง - คำรับสารภาพ - ข้ออุทธรณ์ใหม่ - การรับฟังพยานหลักฐาน
คดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยฎีกาว่า พนักงานสอบสวนกระทำการไม่สุจริต สมคบกับผู้เสียหายที่ 1 บิดเบือน ปรุงแต่งข้อเท็จจริงทำให้คำให้การของผู้เสียหายทั้งสองสอดคล้องกัน ปรักปรำใส่ร้ายจำเลยโดยมีมูลเหตุจูงใจและผลประโยชน์ร่วมกัน เป็นการสอบสวนไม่ชอบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้าง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพและโจทก์ไม่ต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพ ศาลรับฟังข้อเท็จจริงได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องตามคำรับสารภาพ จำเลยอุทธรณ์ว่าไม่ได้กระทำความผิด เป็นข้อเท็จจริงที่เพิ่งยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์และขัดแย้งกับคำให้การรับสารภาพของจำเลย จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3706/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนด
ในคดีอาญาทั่วไป คดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ไม่มีบทบัญญัติให้การฎีกาจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา การฎีกาจึงอยู่ในบังคับตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 216 และมาตรา 221 การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง โดยไม่ได้ยื่นเป็นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาคนใดคนหนึ่งซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษา หรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ภาค 7 อนุญาตให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ คำร้องขออนุญาตฎีกาของจำเลยจึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ไม่มีผลให้ฎีกาของจำเลยขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอันว่าด้วยการฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นพิจารณาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3561/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานจราจร: แยกความผิดตามกฎหมายเฉพาะและกฎหมายทั่วไป
การที่จำเลยไม่ยอมให้พนักงานจราจรทดสอบว่าจำเลยหย่อนความสามารถในอันที่จะขับหรือเมาสุราด้วยวิธีการตรวจวัดลมหายใจนั้น เป็นการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานจราจร อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ที่บัญญัติไว้เป็นพิเศษในมาตรา 142 วรรคสอง และมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 154 (3) ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้ว จึงไม่มีความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงาน ตาม ป.อ. มาตรา 368 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก
of 8