คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมศักดิ์ คุณเลิศกิจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 77 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3473/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบและปิดระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างวาระ
โจทก์ฟ้องและขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 5, 9, 10, 12 (1) (2) อันเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน มิใช่เป็นความผิดอันยอมความได้ ดังนั้น พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ได้โดยไม่จำต้องมีคำร้องทุกข์จากผู้เสียหาย เมื่อพนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนจนเสร็จ ถือได้ว่ามีการสอบสวนโดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120
การที่จำเลยเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาลผู้เสียหายที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับจำเลย โดยจำเลยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จากภายนอกผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายของโรงพยาบาลผู้เสียหาย แล้วทำการปิดระบบกระจายสัญญาณเพื่อปิดระบบโปรแกรมสำหรับบริการทางการแพทย์ อันเป็นการกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาลผู้เสียหายถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ โดยเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะในแต่ละคราว เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 12 (2) (เดิม) ประกอบมาตรา 10 ย่อมเป็นความผิดสำเร็จในตัว ต่างกรรมต่างวาระ และอาศัยเจตนาแตกต่างแยกจากกันได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันมิใช่ความผิดกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3079/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: การไม่โต้แย้งของจำเลยถือเป็นการยอมรับอำนาจศาลชั้นต้น
ขณะโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลพลเรือนนั้น แม้จำเลยรับราชการเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลทหารตาม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 16 (1) แต่จำเลยมิได้ยื่นคำร้องโต้แย้งต่อศาลชั้นต้นว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะคดีอยู่ในเขตอำนาจศาลทหารเพื่อศาลชั้นต้นจะได้ดำเนินการต่อไปตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 มาตรา 10 แสดงว่าจำเลยยอมรับเขตอำนาจศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นเองก็มิได้ยกเรื่องเขตอำนาจศาลส่งไปให้ศาลทหารทำความเห็นกลับมาเช่นกัน กรณีเช่นนี้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ตามคำฟ้องบรรยายชัดแจ้งว่าขณะเกิดเหตุจำเลยรับราชการเป็นทหารอันเป็นการยืนยันว่าขณะเกิดเหตุและขณะฟ้องจำเลยรับราชการเป็นทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการ จำเลยจึงเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารตาม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 16 (1) ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา ให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น และเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตั้งแต่วันที่ศาลตรวจคำฟ้องและมีคำสั่งนัดไต่สวนมูลฟ้องเป็นต้นไป โดยศาลอุทธรณ์ไม่ได้พิจารณาหลักเกณฑ์ตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 ซึ่งใช้บังคับขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง จึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2268/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันเมื่อมีเจตนาชัดเจน แม้ยังไม่ได้กำหนดแนวเขตที่ดินอย่างละเอียด
โจทก์และจำเลยทำบันทึกข้อตกลงให้ที่ทับซ้อนส่วนที่ระบายด้วยสีเหลืองเป็นของจำเลย และส่วนที่ระบายด้วยสีชมพูเป็นของโจทก์ตามแผนที่แนบท้ายบันทึก แสดงให้เห็นว่า โจทก์และจำเลยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันโดยต่างฝ่ายต่างยอมสละที่ดินในส่วนของตนให้อีกฝ่ายหนึ่งเพื่อจะระงับข้อพิพาทในการที่โฉนดที่ดินออกทับซ้อนกัน บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 แล้ว ส่วนการรังวัดสอบเขตเป็นเพียงขั้นตอนดำเนินการตามข้อตกลงเพื่อไปสู่การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในภายหลัง ไม่ใช่เงื่อนไขที่จะทำให้สัญญาประนีประนอมยอมความยังไม่มีผลสมบูรณ์แต่อย่างใด โจทก์และจำเลยจึงต้องผูกพันกันตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวปัญหาว่าแนวเขตกว้างยาวของที่ดินแต่ละด้านควรมีขนาดเท่าใด เป็นรายละเอียดข้อเท็จจริงที่อาจรับฟังได้ในชั้นพิจารณา ทั้งจำเลยก็ให้การต่อสู้แต่เพียงว่า บันทึกข้อตกลงดังกล่าวไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น ไม่ได้ต่อสู้เกี่ยวกับเนื้อความในเอกสารดังกล่าวที่ตกลงให้ที่ทับซ้อนส่วนที่ระบายด้วยสีเหลืองเป็นของจำเลยและส่วนที่ระบายด้วยสีชมพูเป็นของโจทก์ รวมทั้งไม่ได้ให้การแก้ต่างฟ้องโจทก์ที่ขอแบ่งที่ดินของจำเลยเนื้อที่ 2 งาน 70 ตารางวา คดีจึงไม่มีประเด็นต้องวินิจฉัยในข้อนี้ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 252 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2022-2023/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-การพิจารณาใหม่: เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าฟ้องไม่ซ้ำ จำเลยต้องได้รับการพิจารณาใหม่
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 โดยวินิจฉัยว่าเป็นฟ้องซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ 2728/2559 ของศาลชั้นต้น แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 ฟังว่า ฟ้องโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ไม่เป็นฟ้องซ้ำ จึงมีปัญหาต้องวินิจฉัยต่อไปว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ โดยศาลอุทธรณ์ภาค 2 ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาและพิพากษาใหม่ในส่วนของจำเลยที่ 1 แต่กลับพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 นั้นจึงไม่ถูกต้อง เพื่อให้การวินิจฉัยเป็นไปตามลำดับชั้นศาลเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาและพิพากษาใหม่ในส่วนของจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1575/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งเท็จต่อพนักงานสอบสวน: ความผิดตามมาตรา 172 แทนมาตรา 137 และเจตนาแกล้งผู้อื่น
ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติแล้วว่าจำเลยได้แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อร้อยตำรวจเอก ส. เจ้าพนักงาน เมื่อร้อยตำรวจเอก ส. เป็นพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจสอบสวนและสืบสวนในความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน กรณีจึงเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนและเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา การกระทำของจำเลยจึงต้องด้วยบทบัญญัติที่เป็นความผิดไว้โดยเฉพาะคือ ป.อ. มาตรา 172 จึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 137 ซึ่งเป็นบทบัญญัติทั่วไป อย่างไรก็ตาม จากทางนำสืบโจทก์ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเพื่อเจตนาจะแกล้งให้ ภ. ต้องรับโทษทางอาญา การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นเพียงความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา ตาม ป.อ. มาตรา 172 เท่านั้น ไม่เป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนเพื่อจะแกล้งให้บุคคลใดต้องรับโทษในความผิดที่มีระวางโทษจำคุกถึงประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต ตามมาตรา 174 วรรคสอง และ 181 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1330/2563

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2563

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5788/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันก่อน พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2557 ยังมีผลบังคับใช้ ผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดชอบ
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันเป็นประกันการชำระหนี้และการปฏิบัติตามสัญญาของจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อก่อนวันที่ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2557 ใช้บังคับ โดยพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวไม่ได้บัญญัติถึงการใช้บังคับมาตรา 681/1 ไว้เป็นอย่างอื่น ข้อสัญญาที่กำหนดให้จำเลยที่ 2 รับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมจึงใช้บังคับได้ ส่วนมาตรา 686 ที่แก้ไขใหม่ตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2557 กำหนดให้เจ้าหนี้ต้องมีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด หากเจ้าหนี้มิได้มีหนังสือบอกกล่าวภายในกำหนดเวลา 60 วัน นับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด ให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทน ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้บรรดาที่เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวนั้น มาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้มาตรา 686 ใช้บังคับนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ภายหลังที่พระราชบัญญัติฯ ใช้บังคับแล้ว และโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวและบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยที่ 2 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 แม้จะเป็นการบอกกล่าวล่วงพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ผิดนัด แต่การส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์กรณีที่สัญญาเช่าซื้อเลิกกันนั้นเป็นหนี้ประธาน มิใช่ดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน หรือค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนหรือใช้ราคาแทนแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5282/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องจำเลยในคดีผู้บริโภคเนื่องจากล้มละลาย ไม่ตัดสิทธิการฟ้องบังคับกรรมการร่วมรับผิดหากมีมูล
มูลกรณีที่โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นผลสืบเนื่องมาจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาด และโจทก์จำต้องยื่นขอรับชำระหนี้ตามฟ้องในส่วนของจำเลยที่ 1 ในคดีล้มละลายเพื่อรักษาสิทธิของตนตามกฎหมายล้มละลาย หาใช่กรณีโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีเอาแก่จำเลยที่ 1 หรือเป็นการฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นบุคคลผู้มีอำนาจควบคุมการดำเนินงานของนิติบุคคลให้รับผิดชำระหนี้ที่นิติบุคคลมีต่อผู้บริโภคโดยไม่ได้ฟ้องบังคับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลให้รับผิดแต่อย่างใด ดังนั้น การที่โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 1 ในเหตุดังกล่าวจึงหาทำให้สิทธิในการดำเนินคดีเพื่อบังคับให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมรับผิดในมูลคดีตามฟ้องต้องถูกลบล้างไปเพราะการถอนฟ้องไม่ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 จึงยังคงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตามฟ้อง ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 44

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5133/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกล้างโมฆียะกรรมสัญญาประกันภัย: ประเด็นระยะเวลาและข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นฎีกา
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยบอกล้างโมฆียะกรรมภายใน 30 วัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคหนึ่ง สัญญาประกันชีวิตจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยทราบมูลอันควรจะบอกล้างโมฆียะกรรมก่อนวันที่จำเลยได้รับข้อมูลประวัติการรักษาตัวของผู้ตายจากโรงพยาบาล แต่โจทก์ยื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์และศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ดังกล่าวของโจทก์ ประเด็นว่าจำเลยทราบมูลอันควรจะบอกล้างโมฆียะกรรมเมื่อใด จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และเมื่อศาลอุทธรณ์มิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นพิจารณาวินิจฉัย ประกอบกับโจทก์ก็ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งประเด็นตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ ฎีกาของโจทก์จึงเป็นการยกข้อต่อสู้ที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ขึ้นเป็นข้ออ้างในชั้นฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (ที่ใช้บังคับขณะยื่นฟ้อง) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 7 กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะยกเหตุตามฎีกาของโจทก์ขึ้นพิจารณาวินิจฉัย แม้ว่าศาลฎีกาจะมีคำสั่งอนุญาตให้ฎีกาและรับฎีกาของโจทก์ไว้ก็ตาม
of 8