พบผลลัพธ์ทั้งหมด 62 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8207/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกโดยการนำทรัพย์สินมาจัดตั้งบริษัทให้ทายาทถือหุ้น ถือเป็นการแบ่งมรดกที่สมบูรณ์
ที่ดินประทานบัตรทำเหมืองแร่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกที่ผู้จัดการมรดกนำมาเป็นทุนจัดตั้งเป็นบริษัทจำเลยที่ 8 แล้วให้ทายาททุกคนเป็นผู้ถือหุ้นตามส่วนสัดที่ทายาทแต่ละคนมีสิทธิได้รับมรดก การนำที่ดินมรดกมาเป็นทุนจัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 8ดังกล่าวเป็นการจัดการตามที่จำเป็นเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกซึ่งอยู่ในขอบอำนาจและหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 และมาตรา 1736 วรรคสอง เนื่องจากไม่สามารถจัดการให้ทายาทเข้าครอบครองที่ดินเป็นส่วนสัดได้
แม้ทายาทบางคนยังเป็นผู้เยาว์อยู่ขณะนำที่ดินมรดกมาเป็นทุนของบริษัทจำเลยที่ 8 ผู้จัดการมรดกก็ไม่ต้องขออนุญาตจากศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 เพราะกรณีนี้ไม่ใช่เรื่องผู้ใช้อำนาจปกครองทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ แต่เป็นเรื่องผู้จัดการมรดกทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1719 และ 1736 วรรคสอง
เมื่อทายาททุกคนโดยเฉพาะโจทก์ได้รับหุ้นและผลประโยชน์ตอบแทนจากบริษัทจำเลยที่ 8 เรื่อยมาจนกระทั่งโจทก์ขายหุ้นทั้งหมดให้แก่ ป. และ อ. ไปในปี 2509 โดยไม่ได้คัดค้านว่าการกระทำของผู้จัดการมรดกไม่ชอบด้วยกฎหมายแสดงว่าโจทก์และทายาททุกคนพอใจและให้ความยินยอมในการกระทำดังกล่าวแล้วถือว่าโจทก์ได้รับแบ่งมรดกตามสิทธิครบถ้วนและถือว่าผู้จัดการมรดกได้แบ่งปันมรดกเสร็จสมบูรณ์แล้วตั้งแต่จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 8เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2503 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเอาส่วนแบ่งอีก
แม้ทายาทบางคนยังเป็นผู้เยาว์อยู่ขณะนำที่ดินมรดกมาเป็นทุนของบริษัทจำเลยที่ 8 ผู้จัดการมรดกก็ไม่ต้องขออนุญาตจากศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 เพราะกรณีนี้ไม่ใช่เรื่องผู้ใช้อำนาจปกครองทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ แต่เป็นเรื่องผู้จัดการมรดกทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1719 และ 1736 วรรคสอง
เมื่อทายาททุกคนโดยเฉพาะโจทก์ได้รับหุ้นและผลประโยชน์ตอบแทนจากบริษัทจำเลยที่ 8 เรื่อยมาจนกระทั่งโจทก์ขายหุ้นทั้งหมดให้แก่ ป. และ อ. ไปในปี 2509 โดยไม่ได้คัดค้านว่าการกระทำของผู้จัดการมรดกไม่ชอบด้วยกฎหมายแสดงว่าโจทก์และทายาททุกคนพอใจและให้ความยินยอมในการกระทำดังกล่าวแล้วถือว่าโจทก์ได้รับแบ่งมรดกตามสิทธิครบถ้วนและถือว่าผู้จัดการมรดกได้แบ่งปันมรดกเสร็จสมบูรณ์แล้วตั้งแต่จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำเลยที่ 8เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2503 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเอาส่วนแบ่งอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3830/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินมรดก/สินสมรส: การโอนสิทธิโดยการเข้าทำประโยชน์ & อายุความ
โจทก์เป็นผู้เยาว์ ล. ในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้ใช้อำนาจปกครองโจทก์ขายที่ดินพิพาทให้แก่ ก. โดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์และไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้ขายที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1574 การซื้อขายที่ดินพิพาทจึงไม่มีผลผูกพัน ส่วนของโจทก์ แม้ล.ได้มอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้ ก. และจำเลยเข้าทำประโยชน์ตลอดมาถึง 16 ปีเศษก็ถือว่า ก. และจำเลยเข้ายึดถือที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์แทนโจทก์จึงไม่อาจยกเอาระยะเวลาที่ ก. และจำเลยเข้าทำนาในที่ดินพิพาทขึ้นต่อสู้กับโจทก์จนกว่าก. และจำเลยจะเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาท โดยบอกกล่าวไปยังโจทก์ว่าไม่เจตนาจะยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์อีกต่อไป เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ จำเลยให้การว่า โจทก์นำคดีมาฟ้องเกิน 1 ปี นับแต่โจทก์บรรลุนิติภาวะจึงขาดอายุความมิได้ยกข้อต่อสู้ว่าโจทก์มิได้ฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง เมื่อไม่ได้ความชัดว่า ส.ได้ที่ดินพิพาทมาก่อนสมรส หรือได้มาในระหว่างสมรสกับ ล. จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 วรรคท้าย เมื่อ ส. ตายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสย่อมตกเป็นของ ล. กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625(1) ประกอบมาตรา 1533 อีกกึ่งหนึ่งเป็นมรดกตกแก่ ล. กับโจทก์ คนละส่วนเท่า ๆ กัน ตามมาตรา 1629(1) ประกอบด้วยมาตรา 1635(1) แม้การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่าง ล. กับ ก. จะไม่ผูกพันส่วนของโจทก์ แต่หลังจากทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทแล้ว ล. ได้ยอมให้จำเลยกับ ก. เข้าทำนาในที่ดินพิพาทตลอดมา ประกอบกับที่ดินเป็นที่ดินมือเปล่าซึ่งบุคคลมีเพียงสิทธิครอบครอง และอาจโอนการครอบครองให้แก่กันด้วยการส่งมอบทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378 ล. มอบที่ดินพิพาทให้จำเลยกับ ก. เข้าทำนาจึงมีผลเป็นการโอนการครอบครองที่ดินพิพาทส่วนของ ล. ให้แก่จำเลยกับ ก. จำเลยกับ ก. ย่อมมีสิทธิครอบครองที่ดินส่วนของ ล. จำเลยฟ้องแย้งว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งหมด แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองเพียงบางส่วน ศาลมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยได้รับส่วนแบ่งตามสิทธิของจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3830/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินมรดก สินสมรส การโอนสิทธิครอบครอง และการฟ้องแย้ง
โจทก์เป็นผู้เยาว์ ล. ในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้ใช้อำนาจปกครองโจทก์ขายที่ดินพิพาทให้แก่ ก. โดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์และไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้ขายที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1574 การซื้อขายที่ดินพิพาทจึงไม่มีผลผูกพัน ส่วนของโจทก์ แม้ล.ได้มอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้ ก. และจำเลยเข้าทำประโยชน์ตลอดมาถึง 16 ปีเศษก็ถือว่า ก. และจำเลยเข้ายึดถือที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์แทนโจทก์จึงไม่อาจยกเอาระยะเวลาที่ ก. และจำเลยเข้าทำนาในที่ดินพิพาทขึ้นต่อสู้กับโจทก์จนกว่าก. และจำเลยจะเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาท โดยบอกกล่าวไปยังโจทก์ว่าไม่เจตนาจะยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์อีกต่อไป เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ จำเลยให้การว่า โจทก์นำคดีมาฟ้องเกิน 1 ปี นับแต่โจทก์บรรลุนิติภาวะจึงขาดอายุความมิได้ยกข้อต่อสู้ว่าโจทก์มิได้ฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง เมื่อไม่ได้ความชัดว่า ส.ได้ที่ดินพิพาทมาก่อนสมรส หรือได้มาในระหว่างสมรสกับ ล. จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 วรรคท้าย เมื่อ ส. ตายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสย่อมตกเป็นของ ล. กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625(1) ประกอบมาตรา 1533 อีกกึ่งหนึ่งเป็นมรดกตกแก่ ล. กับโจทก์ คนละส่วนเท่า ๆ กัน ตามมาตรา 1629(1) ประกอบด้วยมาตรา 1635(1) แม้การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่าง ล. กับ ก. จะไม่ผูกพันส่วนของโจทก์ แต่หลังจากทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทแล้ว ล. ได้ยอมให้จำเลยกับ ก. เข้าทำนาในที่ดินพิพาทตลอดมา ประกอบกับที่ดินเป็นที่ดินมือเปล่าซึ่งบุคคลมีเพียงสิทธิครอบครอง และอาจโอนการครอบครองให้แก่กันด้วยการส่งมอบทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378 ล. มอบที่ดินพิพาทให้จำเลยกับ ก. เข้าทำนาจึงมีผลเป็นการโอนการครอบครองที่ดินพิพาทส่วนของ ล. ให้แก่จำเลยกับ ก. จำเลยกับ ก. ย่อมมีสิทธิครอบครองที่ดินส่วนของ ล. จำเลยฟ้องแย้งว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งหมด แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองเพียงบางส่วน ศาลมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยได้รับส่วนแบ่งตามสิทธิของจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3830/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การซื้อขายที่ดินของผู้เยาว์, การครอบครองปรปักษ์, และการโอนการครอบครอง
ล. ในฐานะส่วนตัวและในฐานะบิดาผู้ใช้อำนาจปกครองโจทก์ทั้งสี่ซึ่งขณะนั้นยังเป็นผู้เยาว์ ได้โอนขายที่ดินพิพาทให้แก่ ก. โดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ทั้งสี่ และไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้ขายที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ทั้งสี่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574 การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่าง ล. กับ ก. จึงไม่มีผลผูกพันส่วนของโจทก์ทั้งสี่ แม้ ล. ได้มอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้ ก. และจำเลยซึ่งเป็นสามีภริยากันเข้าทำประโยชน์ตลอดมาเป็นเวลาถึง 16 ปีเศษ ก็ต้องถือว่า ก. และจำเลยเข้ายึดถือที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ทั้งสี่แทนโจทก์ทั้งสี่ ก. และจำเลยจึงไม่อาจยกเอาระยะเวลาที่ ก. และจำเลยเข้าทำนาในที่ดินพิพาทขึ้นต่อสู้กับโจทก์ทั้งสี่จนกว่าจำเลยกับ ก. จะเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาท โดยบอกกล่าวไปยังโจทก์ทั้งสี่ว่าไม่เจตนาจะยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์ทั้งสี่อีกต่อไป แต่ทางพิจารณาไม่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าวจำเลยจึงไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินส่วนของโจทก์ทั้งสี่
แม้การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่าง ล. กับ ก. จะไม่ผูกพันที่ดินส่วนของโจทก์ทั้งสี่ แต่เมื่อได้ความว่าหลังจากทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทแล้ว ล. ยอมให้จำเลยกับ ก. เข้าทำนาในที่ดินพิพาทตลอดมา ประกอบกับที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าซึ่งบุคคลมีเพียงสิทธิครอบครอง และอาจโอนการครอบครองให้กันได้ด้วยการส่งมอบทรัพย์สิน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1378 การที่ ล. มอบที่ดินพิพาทให้จำเลยกับ ก. เข้าทำนาจึงมีผลเป็นการโอนการครอบครองที่ดินพิพาท ส่วนของ ล. ให้แก่จำเลยและ ก. จำเลยและ ก. ย่อมมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทในส่วนนี้ การที่จำเลยฟ้องแย้งว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งหมด แต่เมื่อได้ความว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทบางส่วน ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยได้รับส่วนแบ่งตามสิทธิของจำเลยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (2)
ที่จำเลยมีคำขอท้ายฟ้องแย้ง ขอให้บังคับโจทก์ทั้งสี่ไปจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินพิพาทเป็นชื่อของจำเลยนั้น แม้จะฟังได้ว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกับโจทก์ทั้งสี่ แต่ไม่มีบทกฎหมายใดให้อำนาจจำเลยที่จะขอให้บังคับเช่นนั้นได้ อีกทั้งตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 77 และกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2497) กฎกระทรวงฉบับที่ 42 (พ.ศ. 2536) ออกตามความใน พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ได้กำหนดวิธีการในการขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้แล้วว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร จำเลยย่อมสามารถดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าวให้ได้รับผลตามวัตถุประสงค์ได้อยู่แล้ว กรณีจึงไม่อาจบังคับตามคำขอท้ายฟ้องแย้งของจำเลยได้
แม้การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่าง ล. กับ ก. จะไม่ผูกพันที่ดินส่วนของโจทก์ทั้งสี่ แต่เมื่อได้ความว่าหลังจากทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทแล้ว ล. ยอมให้จำเลยกับ ก. เข้าทำนาในที่ดินพิพาทตลอดมา ประกอบกับที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่าซึ่งบุคคลมีเพียงสิทธิครอบครอง และอาจโอนการครอบครองให้กันได้ด้วยการส่งมอบทรัพย์สิน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1378 การที่ ล. มอบที่ดินพิพาทให้จำเลยกับ ก. เข้าทำนาจึงมีผลเป็นการโอนการครอบครองที่ดินพิพาท ส่วนของ ล. ให้แก่จำเลยและ ก. จำเลยและ ก. ย่อมมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทในส่วนนี้ การที่จำเลยฟ้องแย้งว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งหมด แต่เมื่อได้ความว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทบางส่วน ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยได้รับส่วนแบ่งตามสิทธิของจำเลยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (2)
ที่จำเลยมีคำขอท้ายฟ้องแย้ง ขอให้บังคับโจทก์ทั้งสี่ไปจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินพิพาทเป็นชื่อของจำเลยนั้น แม้จะฟังได้ว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกับโจทก์ทั้งสี่ แต่ไม่มีบทกฎหมายใดให้อำนาจจำเลยที่จะขอให้บังคับเช่นนั้นได้ อีกทั้งตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 77 และกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2497) กฎกระทรวงฉบับที่ 42 (พ.ศ. 2536) ออกตามความใน พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ได้กำหนดวิธีการในการขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้แล้วว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร จำเลยย่อมสามารถดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าวให้ได้รับผลตามวัตถุประสงค์ได้อยู่แล้ว กรณีจึงไม่อาจบังคับตามคำขอท้ายฟ้องแย้งของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้ปกครองต้องเกิดจากไม่มีบิดามารดา หรือถูกถอนอำนาจปกครองเท่านั้น
การตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์ ป.พ.พ.มาตรา 1585 วรรคหนึ่งให้ตั้งได้เฉพาะกรณีผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครองเสียแล้ว เมื่อปรากฏว่าผู้เยาว์มีมารดาซึ่งยังไม่ถูกถอนอำนาจปกครอง กรณีจึงไม่อาจตั้งผู้ปกครองได้
การจัดให้มีผู้ปกครองขึ้นในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ ต้องเป็นที่แน่ชัดว่าผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครองไปแล้วทั้งสองคนแม้บิดาผู้เยาว์ได้ถึงแก่ความตายไปแล้วก็ตาม แต่ผู้เยาว์ยังมีมารดาซึ่งทิ้งร้างไปอยู่ที่อื่นยังไม่แน่ว่ามีชีวิตอยู่หรือตายไปแล้ว เหตุนี้จึงยังไม่อาจตั้งผู้ปกครองเพื่อทำหน้าที่แทนบิดามารดาได้
กรณีผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดา กฎหมายมิได้บังคับว่าจะต้องตั้งผู้ปกครองให้กับผู้เยาว์เสมอไป การตั้งผู้ปกครองของผู้เยาว์เป็นคนละกรณีกับการจัดการทรัพย์สินแทนผู้เยาว์ หาใช่เหตุที่จะนำมาซึ่งการตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์ไม่
การจัดให้มีผู้ปกครองขึ้นในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ ต้องเป็นที่แน่ชัดว่าผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครองไปแล้วทั้งสองคนแม้บิดาผู้เยาว์ได้ถึงแก่ความตายไปแล้วก็ตาม แต่ผู้เยาว์ยังมีมารดาซึ่งทิ้งร้างไปอยู่ที่อื่นยังไม่แน่ว่ามีชีวิตอยู่หรือตายไปแล้ว เหตุนี้จึงยังไม่อาจตั้งผู้ปกครองเพื่อทำหน้าที่แทนบิดามารดาได้
กรณีผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดา กฎหมายมิได้บังคับว่าจะต้องตั้งผู้ปกครองให้กับผู้เยาว์เสมอไป การตั้งผู้ปกครองของผู้เยาว์เป็นคนละกรณีกับการจัดการทรัพย์สินแทนผู้เยาว์ หาใช่เหตุที่จะนำมาซึ่งการตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 749/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้ปกครองต้องเกิดจากกรณีที่ผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดา หรือถูกถอนอำนาจปกครองเท่านั้น
การตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1585 วรรคหนึ่งให้ตั้งได้เฉพาะกรณีผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครองเสียแล้ว เมื่อปรากฏว่าผู้เยาว์มีมารดาซึ่งยังไม่ถูกถอนอำนาจปกครอง กรณีจึงไม่อาจตั้งผู้ปกครองได้ การจัดให้มีผู้ปกครองขึ้นในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ ต้องเป็นที่แน่ชัดว่าผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครองไปแล้วทั้งสองคนแม้บิดาผู้เยาว์ได้ถึงแก่ความตายไปแล้วก็ตาม แต่ผู้เยาว์ยังมีมารดาซึ่งทิ้งร้างไปอยู่ที่อื่นยังไม่แน่ว่ามีชีวิตอยู่หรือตายไปแล้ว เหตุนี้จึงยังไม่อาจตั้งผู้ปกครองเพื่อทำหน้าที่แทนบิดามารดาได้ กรณีผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดา กฎหมายมิได้บังคับว่าจะต้องตั้งผู้ปกครองให้กับผู้เยาว์เสมอไป การตั้งผู้ปกครองของผู้เยาว์เป็นคนละกรณีกับการจัดการทรัพย์สินแทนผู้เยาว์ หาใช่เหตุที่จะนำมาซึ่งการตั้งผู้ปกครองผู้เยาว์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6350/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำนิติกรรมของคนไร้ความสามารถ: สัตยาบันสัญญาโมฆียะ และการอนุญาตศาล
แม้ส. ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินทั้ง 8 แปลงในขณะที่ส.เป็นปกติอยู่ก็ตามแต่ในช่วงระยะเวลาที่ส.จะต้องไปโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินขายให้แก่ผู้จะซื้อตามสัญญาจะซื้อขายนั้นเป็นเวลาภายหลังที่ส. ได้ถูกศาลมีคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถและให้อยู่ ในความอนุบาลของผู้ร้องแล้ว ดังนั้น เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นผู้อนุบาลประสงค์ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายโดยดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้ง 8 แปลง ขายให้ผู้จะซื้อผู้ร้องจึงต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 28 วรรคสอง และ 1574(1) ประกอบมาตรา 1598/18 วรรคสอง สัญญาจะซื้อขายเป็นนิติกรรมที่ส. ผู้จะขายเป็นบุคคลวิกลจริตและได้กระทำในขณะที่จริตวิกลอยู่ทั้งจ.ผู้จะซื้อได้รู้แล้วด้วยว่า ส. เป็นคนวิกลจริตนิติกรรมสัญญาจะซื้อขายจึงตกเป็นโมฆียะ แต่ผู้ร้องในฐานะผู้อนุบาลซึ่งมีสิทธิบอกล้างนิติกรรมอันเป็นโมฆียะนั้นมิได้บอกล้างต่อผู้จะซื้อ ทั้งผู้ร้องยังได้แสดงเจตนาขอทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินดังกล่าวแทน ส.โดยการไปติดต่อเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานที่ดิน และยื่นคำร้องขอ ต่อศาลเพื่อขอทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ขายแทนส. ซึ่งผู้รับมอบอำนาจของจ. ผู้จะซื้อได้มาแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าประสงค์จะซื้อที่ดินทุกแปลง พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าผู้ร้องได้ให้สัตยาบันแก่ สัญญาจะซื้อขายซึ่งเป็นโมฆียะกรรมโดยการแสดงเจตนาแก่ จ. ผู้จะซื้อซึ่งเป็นคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 178 สัญญาจะซื้อขายจึงเป็นอันสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก ตามมาตรา 177มีผลผูกพันให้ผู้ร้องต้องปฏิบัติตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2203/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตขายที่ดินของผู้เยาว์: พิจารณาความจำเป็น, ฐานะ, โอกาสทางการศึกษา และอนาคตของผู้เยาว์
ผู้ร้องและผู้เยาว์มีบ้านอยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งไม่มีปัญหาเดือดร้อนเรื่องที่อยู่อาศัย ผู้ร้องประกอบอาชีพเป็นหลักฐานและมีรายได้ประจำเดือนละ 50,000 บาทแม้จะต้องใช้จ่ายในการอุปการะเลี้ยงดูแก่บิดามารดาของผู้ร้อง แต่ก็ต้องกันรายได้ให้เหลือเพียงพอแก่การครองชีพของผู้ร้องบ้าง การที่พี่ชายของผู้เยาว์มีโครงการจะศึกษาต่อระดับปริญญาโท และผู้เยาว์ต้องการเงินไปฝากธนาคารไว้เพื่อเป็นทุนการศึกษา และสำรองเก็บไว้ใช้จ่ายในกรณีฉุกเฉินนั้น มิใช่เป็น เรื่องจำเป็นเร่งด่วนหรือเป็นเหตุฉุกเฉินที่ผู้เยาว์จำเป็น จะต้องขายที่ดินเพื่อนำเงินมาใช้จ่าย ผู้เยาว์ได้รับเงิน ค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดาผู้เยาว์เดือนละ 10,000 บาท เมื่อคำนึงถึงฐานะและวัยของผู้เยาว์แล้ว เงินจำนวนดังกล่าว หากใช้จ่ายพอประมาณและแบ่งเก็บไว้บ้างบางส่วนเป็นค่าใช้จ่าย ในการศึกษาคงไม่ถึงกับขัดสนหรือเดือดร้อนแม้ที่ดินของผู้เยาว์ จะได้มาจากการยกให้ของผู้ร้องและบิดาผู้เยาว์ และบิดาผู้เยาว์ ไม่ขัดข้องที่จะขายที่ดินก็ตาม แต่ผู้เยาว์มีอายุ 18 ปีเศษแล้ว อีกไม่นานก็จะบรรลุนิติภาวะและสามารถจัดการทรัพย์สินของตนเอง ได้ เพื่อประโยชน์ของผู้เยาว์ในอนาคต สมควรปล่อยให้ผู้เยาว์ ได้มีโอกาสตัดสินใจด้วยตนเองเมื่อถึงเวลาอันควร อันจะเป็นประโยชน์แก่ผู้เยาว์มากกว่า เพราะราคาที่ดิน มีแต่จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ จึงยังไม่มีเหตุที่จะอนุญาต ให้ผู้ร้องทำนิติกรรมขายที่ดินของผู้เยาว์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4841/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินหลังการหลุดจำนอง: สัญญาโอนใช้ได้หากผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะ หรือผู้ใช้อำนาจปกครองทำแทนโดยถูกต้อง
ในช่วงที่ ผ. ทำหนังสือสัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิ โจทก์ที่ 4 มีอายุประมาณ 22 ปี เป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว สัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้ หาตกเป็นโมฆะไม่
สำหรับที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ยังเป็นผู้เยาว์ในช่วงที่ ผ. ทำสัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิแทนโจทก์ที่ 1 และที่ 2 แม้ในวันทำสัญญาดังกล่าวจะมีพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 ใช้บังคับแล้วโดยให้เพิ่มบทบัญญัติบรรพ 5 ตั้งแต่มาตรา 1435 ถึง 1598 เข้าเป็นส่วนหนึ่งแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้ใช้บทบัญญัติแห่งบรรพนี้ตั้งแต่วันที่ 1ตุลาคม 2478 เป็นต้นไป ซึ่งบทบัญญัติบรรพ 5 นี้ มีบทบัญญัติเกี่ยวกับผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำนิติกรรมอันเกี่ยวแก่ทรัพย์สินของผู้เยาว์ไม่ได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาตตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1546 แต่การโอนที่ดินให้หลุดเป็นสิทธิแก่ผู้รับจำนองนั้นไม่มีบัญญัติไว้ในมาตรา 1546(1) ถึง (8) แต่อย่างใด ดังนั้น การที่ ผ. ทำสัญญาโอนที่ดินพิพาทให้หลุดเป็นสิทธิแก่ จ. แทนโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ในขณะที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546(1) ถึง (8) ใช้บังคับ จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าว สัญญาที่ ผ. ทำไว้ดังกล่าวมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้โดยไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน และหาตกเป็นโมฆะไม่
เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ จ. ตามหนังสือสัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิแล้ว การที่ต่อมา จ. ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ก็ดี จำเลยที่ 1 แบ่งแยกที่ดินพิพาทออกเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 218086 ถึง 218088 และโฉนดที่ดินเลขที่ 3472 ในส่วนจำนวนเนื้อที่ของที่ดินที่เหลือแล้วจำเลยที่ 1 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 218086 และ 218088ให้แก่จำเลยที่ 2 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 218087 และ 3472 ในส่วนจำนวนเนื้อที่ของที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยที่ 3 ก็ดี และจำเลยที่ 3 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 3472ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 4 ก็ดี ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยดังกล่าวโดยชอบโจทก์ทั้งหกหามีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสี่เพื่อขอให้เพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้กลับสู่สภาพเดิมไม่
สำหรับที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ยังเป็นผู้เยาว์ในช่วงที่ ผ. ทำสัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิแทนโจทก์ที่ 1 และที่ 2 แม้ในวันทำสัญญาดังกล่าวจะมีพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 ใช้บังคับแล้วโดยให้เพิ่มบทบัญญัติบรรพ 5 ตั้งแต่มาตรา 1435 ถึง 1598 เข้าเป็นส่วนหนึ่งแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้ใช้บทบัญญัติแห่งบรรพนี้ตั้งแต่วันที่ 1ตุลาคม 2478 เป็นต้นไป ซึ่งบทบัญญัติบรรพ 5 นี้ มีบทบัญญัติเกี่ยวกับผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำนิติกรรมอันเกี่ยวแก่ทรัพย์สินของผู้เยาว์ไม่ได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาตตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1546 แต่การโอนที่ดินให้หลุดเป็นสิทธิแก่ผู้รับจำนองนั้นไม่มีบัญญัติไว้ในมาตรา 1546(1) ถึง (8) แต่อย่างใด ดังนั้น การที่ ผ. ทำสัญญาโอนที่ดินพิพาทให้หลุดเป็นสิทธิแก่ จ. แทนโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ในขณะที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546(1) ถึง (8) ใช้บังคับ จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าว สัญญาที่ ผ. ทำไว้ดังกล่าวมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้โดยไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน และหาตกเป็นโมฆะไม่
เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ จ. ตามหนังสือสัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิแล้ว การที่ต่อมา จ. ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ก็ดี จำเลยที่ 1 แบ่งแยกที่ดินพิพาทออกเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 218086 ถึง 218088 และโฉนดที่ดินเลขที่ 3472 ในส่วนจำนวนเนื้อที่ของที่ดินที่เหลือแล้วจำเลยที่ 1 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 218086 และ 218088ให้แก่จำเลยที่ 2 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 218087 และ 3472 ในส่วนจำนวนเนื้อที่ของที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยที่ 3 ก็ดี และจำเลยที่ 3 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 3472ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 4 ก็ดี ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยดังกล่าวโดยชอบโจทก์ทั้งหกหามีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสี่เพื่อขอให้เพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้กลับสู่สภาพเดิมไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4841/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย การทำนิติกรรมของผู้เยาว์ และผลของการไม่ขออนุญาตศาล
ในช่วงที่ ผ. ทำหนังสือสัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิ โจทก์ที่ 4 มีอายุประมาณ 22 ปี เป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว สัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้ หาตกเป็นโมฆะไม่
สำหรับที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ยังเป็นผู้เยาว์ในช่วงที่ ผ. ทำสัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิแทนโจทก์ที่ 1 และที่ 2 แม้ในวันทำสัญญาดังกล่าวจะมีพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 ใช้บังคับแล้วโดยให้เพิ่มบทบัญญัติบรรพ 5 ตั้งแต่มาตรา 1435 ถึง 1598 เข้าเป็นส่วนหนึ่งแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้ใช้บทบัญญัติแห่งบรรพนี้ตั้งแต่วันที่ 1ตุลาคม 2478 เป็นต้นไป ซึ่งบทบัญญัติบรรพ 5 นี้ มีบทบัญญัติเกี่ยวกับผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำนิติกรรมอันเกี่ยวแก่ทรัพย์สินของผู้เยาว์ไม่ได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาตตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1546 แต่การโอนที่ดินให้หลุดเป็นสิทธิแก่ผู้รับจำนองนั้นไม่มีบัญญัติไว้ในมาตรา 1546(1) ถึง (8) แต่อย่างใด ดังนั้น การที่ ผ. ทำสัญญาโอนที่ดินพิพาทให้หลุดเป็นสิทธิแก่ จ. แทนโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ในขณะที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546(1) ถึง (8) ใช้บังคับ จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าว สัญญาที่ ผ. ทำไว้ดังกล่าวมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้โดยไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน และหาตกเป็นโมฆะไม่
เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ จ. ตามหนังสือสัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิแล้ว การที่ต่อมา จ. ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ก็ดี จำเลยที่ 1 แบ่งแยกที่ดินพิพาทออกเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 218086 ถึง 218088 และโฉนดที่ดินเลขที่ 3472 ในส่วนจำนวนเนื้อที่ของที่ดินที่เหลือแล้วจำเลยที่ 1 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 218086 และ 218088ให้แก่จำเลยที่ 2 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 218087 และ 3472 ในส่วนจำนวนเนื้อที่ของที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยที่ 3 ก็ดี และจำเลยที่ 3 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 3472ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 4 ก็ดี ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยดังกล่าวโดยชอบโจทก์ทั้งหกหามีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสี่เพื่อขอให้เพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้กลับสู่สภาพเดิมไม่
สำหรับที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ยังเป็นผู้เยาว์ในช่วงที่ ผ. ทำสัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิแทนโจทก์ที่ 1 และที่ 2 แม้ในวันทำสัญญาดังกล่าวจะมีพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 ใช้บังคับแล้วโดยให้เพิ่มบทบัญญัติบรรพ 5 ตั้งแต่มาตรา 1435 ถึง 1598 เข้าเป็นส่วนหนึ่งแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้ใช้บทบัญญัติแห่งบรรพนี้ตั้งแต่วันที่ 1ตุลาคม 2478 เป็นต้นไป ซึ่งบทบัญญัติบรรพ 5 นี้ มีบทบัญญัติเกี่ยวกับผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำนิติกรรมอันเกี่ยวแก่ทรัพย์สินของผู้เยาว์ไม่ได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาตตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1546 แต่การโอนที่ดินให้หลุดเป็นสิทธิแก่ผู้รับจำนองนั้นไม่มีบัญญัติไว้ในมาตรา 1546(1) ถึง (8) แต่อย่างใด ดังนั้น การที่ ผ. ทำสัญญาโอนที่ดินพิพาทให้หลุดเป็นสิทธิแก่ จ. แทนโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ในขณะที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546(1) ถึง (8) ใช้บังคับ จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าว สัญญาที่ ผ. ทำไว้ดังกล่าวมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้โดยไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน และหาตกเป็นโมฆะไม่
เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ จ. ตามหนังสือสัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิแล้ว การที่ต่อมา จ. ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ก็ดี จำเลยที่ 1 แบ่งแยกที่ดินพิพาทออกเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 218086 ถึง 218088 และโฉนดที่ดินเลขที่ 3472 ในส่วนจำนวนเนื้อที่ของที่ดินที่เหลือแล้วจำเลยที่ 1 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 218086 และ 218088ให้แก่จำเลยที่ 2 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 218087 และ 3472 ในส่วนจำนวนเนื้อที่ของที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยที่ 3 ก็ดี และจำเลยที่ 3 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 3472ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 4 ก็ดี ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยดังกล่าวโดยชอบโจทก์ทั้งหกหามีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสี่เพื่อขอให้เพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้กลับสู่สภาพเดิมไม่