พบผลลัพธ์ทั้งหมด 62 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6595/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้จัดการมรดกในการขายทรัพย์มรดกและการแบ่งปันผลประโยชน์
จำเลยที่ 1 เป็นทายาทและเป็นมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของว. ท. และ ส. ทายาทซึ่งเป็นผู้เยาว์ และจำเลยที่ 1 ยังเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายด้วย ก่อนจำเลยที่ 1 จะขายที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 ได้เรียกประชุมทายาทโดยมีจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกและในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ทั้ง3 คน และมีทายาทอื่นรวมทั้ง ห. ผู้แทนของโจทก์ร่วมประชุมด้วย ที่ประชุมมีมติเอกฉันท์ ให้ผู้จัดการมรดกดำเนินการนำที่ดินพิพาทจัดการหาผลประโยชน์เข้ามากองมรดกต่อไป หลังจากมีการขายที่ดินพิพาทแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ได้แบ่งปันเงินที่ได้ให้แก่ทายาทตามส่วน ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทไปในขอบเขตอำนาจของจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดก ไม่ใช่ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรผู้เยาว์แต่เป็นเรื่องผู้จัดการมรดกขายทรัพย์มรดกซึ่งจะนำ ป.พ.พ. มาตรา 1574 มาใช้บังคับไม่ได้ นิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทไม่เป็นโมฆะ
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกลับมาเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกถือกรรมสิทธิ์ในโฉนด ตามสัญญาประนี-ประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอม แต่คำพิพากษานั้นย่อมผูกพันคู่ความในคดีเมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยอมโอนที่ดินพิพาทกลับมาเป็นทรัพย์มรดก แม้จะยังไม่ได้โอนใส่ชื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดนั้นก็ตามก็ถือได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกตกอยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะต้องจัดการแบ่งปันแก่ทายาทด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากทายาทจำเลยที่ 1 มีอำนาจโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกลับมาเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกถือกรรมสิทธิ์ในโฉนด ตามสัญญาประนี-ประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอม แต่คำพิพากษานั้นย่อมผูกพันคู่ความในคดีเมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยอมโอนที่ดินพิพาทกลับมาเป็นทรัพย์มรดก แม้จะยังไม่ได้โอนใส่ชื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดนั้นก็ตามก็ถือได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกตกอยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะต้องจัดการแบ่งปันแก่ทายาทด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากทายาทจำเลยที่ 1 มีอำนาจโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6595/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้จัดการมรดกในการขายทรัพย์มรดกและการผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
จำเลยที่1เป็นทายาทและเป็นมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของว.ท. และส. ทายาทซึ่งเป็นผู้เยาว์และจำเลยที่1ยังเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายด้วยก่อนจำเลยที่1จะขายที่ดินพิพาทจำเลยที่1ได้เรียกประชุมทายาทโดยมีจำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกและในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ทั้ง3คนและมีทายาทอื่นรวมทั้งห. ผู้แทนของโจทก์ร่วมประชุมด้วยที่ประชุมมีมติเอกฉันท์ให้ผู้จัดการมรดกดำเนินการนำที่ดินพิพาทจัดการหาผลประโยชน์เข้ามากองมรดกต่อไปหลังจากมีการขายที่ดินพิพาทแล้วจำเลยที่1ก็ได้แบ่งปันเงินที่ได้ให้แก่ทายาทตามส่วนถือได้ว่าจำเลยที่1ขายที่ดินพิพาทไปในขอบเขตอำนาจของจำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกไม่ใช่ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรผู้เยาว์แต่เป็นเรื่องผู้จัดการมรดกขายทรัพย์มรดกซึ่งจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1574มาใช้บังคับไม่ได้นิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทไม่เป็นโมฆะ จำเลยที่1และที่2ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกลับมาเป็นชื่อของจำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมแต่คำพิพากษานั้นย่อมผูกพันคู่ความในคดีเมื่อจำเลยที่1และที่2ยอมโอนที่ดินพิพาทกลับมาเป็นทรัพย์มรดกแม้จะยังไม่ได้โอนใส่ชื่อจำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดนั้นก็ตามก็ถือได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกตกอยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะต้องจัดการแบ่งปันแก่ทายาทด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1719โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากทายาทจำเลยที่1มีอำนาจโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6595/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้จัดการมรดกขายทรัพย์มรดก vs. อำนาจผู้แทนโดยชอบธรรมของทายาทผู้เยาว์: นิติกรรมไม่โมฆะ
นอกจากจำเลยที่1จะเป็นทายาทของผู้ตายและเป็นมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของทายาทซึ่งเป็นผู้เยาว์ด้วยแล้วก็ยังเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายด้วยเมื่อจำเลยที่1ขายที่พิพาทไปในขอบอำนาจในฐานะผู้จัดการมรดกไม่ใช่ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรผู้เยาว์จึงเป็นเรื่องผู้จัดการมรดกขายทรัพย์มรดกซึ่งจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1574มาใช้บังคับไม่ได้นิติกรรมขายที่พิพาทจึงไม่เป็นโมฆะ เมื่อจำเลยที่1และที่2ยอมโอนที่พิพาทกลับมาเป็นทรัพย์มรดกตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความแม้จะยังไม่ได้โอนใส่ชื่อจำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดก็ถือว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกอยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะต้องจัดการแบ่งปันแก่ทายาทด้วยโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากทายาทจำเลยที่1ย่อมมีอำนาจโอนขายที่พิพาทให้แก่จำเลยที่3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3590/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การท้าคดีและการบังคับตามฟ้องแย้ง ความชอบด้วยกฎหมายของการจดทะเบียนเช่าช่วง
การท้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในศาลที่คู่ความตกลงกันให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่คู่ความท้ากันเป็นข้อแพ้ชนะมิได้มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลเพื่อจะก่อเปลี่ยนแปลงโอนสงวนหรือระงับซึ่งสิทธิตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา112เดิมจึงไม่เป็นนิติกรรมที่โจทก์ที่2ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองฟ้องคดีต่อศาลแทนโจทก์ที่1ซึ่งเป็นผู้เยาว์จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลตามมาตรา1574เสียก่อน เมื่อโจทก์แพ้คดีตามคำท้าจำเลยที่1ย่อมบังคับตามฟ้องแย้งได้โดยไม่ต้องพิจารณาว่าข้อเท็จจริงตามฟ้องแย้งเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าหรือไม่เพราะเป็นเรื่องนอกเหนือคำท้าและไม่ถือว่าอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา538แต่เมื่อจำเลยที่1เป็นผู้ฟ้องแย้งและจำเลยที่2เป็นเพียงผู้อาศัยการพิพากษาให้โจทก์ทั้งสองไปจดทะเบียนการเช่าให้แก่จำเลยที่2เป็นเรื่องนอกเหนือไปจากคำขอตามฟ้องแย้งจึงไม่ชอบและปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3582/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การท้าคดีไม่ใช่การผูกนิติสัมพันธ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 112 ไม่ต้องได้รับอนุญาตตามมาตรา 1574
การท้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในศาลที่คู่ความตกลงกันให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่คู่ความท้ากันเป็นข้อแพ้ชนะ มิได้มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 112 จึงไม่เป็นนิติกรรมที่อยู่ในบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574 ที่ต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน
เมื่อคู่ความท้ากันเป็นข้อแพ้ชนะโดยให้ดูผลการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของโจทก์ที่ 2 ในเอกสารหนังสือยินยอมให้เช่าในอีกคดีหนึ่ง และปรากฏว่าโจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดีตามคำท้า จำเลยที่ 1 ย่อมจะบังคับตามฟ้องแย้งแก่โจทก์ได้โดยไม่ต้องพิจารณาอีกว่าข้อเท็จจริงตามฟ้องแย้งเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าหรือไม่ เพราะเป็นเรื่องนอกเหนือคำท้า โจทก์ทั้งสองจึงต้องไปจดทะเบียนการเช่าแก่จำเลยที่ 1 และกรณีไม่ถือว่าอยู่ในบังคับ ป.พ.พ.มาตรา 538
เมื่อคู่ความท้ากันเป็นข้อแพ้ชนะโดยให้ดูผลการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของโจทก์ที่ 2 ในเอกสารหนังสือยินยอมให้เช่าในอีกคดีหนึ่ง และปรากฏว่าโจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดีตามคำท้า จำเลยที่ 1 ย่อมจะบังคับตามฟ้องแย้งแก่โจทก์ได้โดยไม่ต้องพิจารณาอีกว่าข้อเท็จจริงตามฟ้องแย้งเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าหรือไม่ เพราะเป็นเรื่องนอกเหนือคำท้า โจทก์ทั้งสองจึงต้องไปจดทะเบียนการเช่าแก่จำเลยที่ 1 และกรณีไม่ถือว่าอยู่ในบังคับ ป.พ.พ.มาตรา 538
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3582/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การท้าคดีและการบังคับตามฟ้องแย้ง กรณีผลตรวจลายมือชื่อเป็นผลผูกพัน และการจดทะเบียนเช่า
การท้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในศาลที่คู่ความตกลงกันให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่คู่ความท้ากันเป็นข้อแพ้ชนะมิได้มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลเพื่อจะก่อเปลี่ยนแปลงโอนสงวนหรือระงับซึ่งสิทธิตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา112จึงไม่เป็นนิติกรรมที่อยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1574ที่ต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน เมื่อคู่ความท้ากันเป็นข้อแพ้ชนะโดยให้ดูผลการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของโจทก์ที่2ในเอกสารหนังสือยินยอมให้เช่าอีกคดีหนึ่งและปรากฏว่าโจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดีตามคำท้าจำเลยที่1ย่อมจะบังคับตามฟ้องแย้งแก่โจทก์ได้โดยไม่ต้องพิจารณาอีกว่าข้อเท็จจริงตามฟ้องแย้งเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าหรือไม่เพราะเป็นเรื่องนอกเหนือคำท้าโจทก์ทั้งสองจึงต้องไปจดทะเบียนการเช่าแก่จำเลยที่1และกรณีไม่ถือว่าอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา538
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4984/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาล การทำสัญญาโดยไม่ได้รับอนุญาตไม่มีผลผูกพัน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 ที่บัญญัติเกี่ยวกับการขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ซึ่งผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้เว้นแต่ศาลจะอนุญาตนั้นเป็นเจตนารมณ์ของกฎหมายที่จะให้มีการคุ้มครองทรัพย์สิน และกิจการบางอย่างที่สำคัญของผู้เยาว์ เมื่อศาลได้ไต่สวนแล้วเห็นเป็นการสมควรก็สั่งอนุญาต แล้วผู้แทนโดยชอบธรรมจึงจะอาศัยคำอนุญาตของศาลไปทำนิติกรรมได้ ในเมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมต้องห้ามโดยกฎหมายมิให้ทำนิติกรรมขายที่ดินซึ่งหมายความรวมถึงนิติกรรมจะขายที่ดินแทนผู้เยาว์โดยลำพังแล้ว จะถือว่าการที่ผู้เยาว์ทำนิติกรรมพร้อมกับผู้แทนโดยชอบธรรมมีผลว่าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ทำได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลก่อนก็เท่ากับเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ต้องมาขออนุญาตจากศาล ซึ่งเป็นการผิดไปจากเจตนารมณ์ของกฎหมาย ฉะนั้น สัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำในขณะที่ยังเป็นผู้เยาว์ แม้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบิดาและเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองจำเลยที่ 3 จะทำสัญญาในสัญญาฉบับเดียวกันก็ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทดังกล่าวก็ไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 3และกรณีมิใช่โมฆียะกรรม แม้ภายหลังจำเลยที่ 3 จะบรรลุนิติภาวะโดยการสมรส จำเลยที่ 3 ก็ไม่อาจให้สัตยาบันได้ การที่จำเลยที่ 3 แม้จะเป็นเจ้าของที่ดินร่วมกับจำเลยที่ 2ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ในสัญญาฉบับเดียวกันแต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 หาได้เป็นลูกหนี้ร่วมกันไม่ ดังนั้นแม้สัญญาจะไม่ผูกพันจำเลยที่ 3 ก็มีผลเพียงทำให้จำเลยที่ 3ไม่จำต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์เท่านั้นส่วนสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 มีผลสมบูรณ์บังคับกันได้ตามกฎหมายจำเลยที่ 2 จึงต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4984/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาล การทำนิติกรรมโดยผู้เยาว์กับผู้แทนไม่อาจใช้สัตยาบันได้
การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ ผู้เยาว์เองหรือผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574เมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมต้องห้ามโดยกฎหมายมิให้ทำนิติกรรมขายที่ดินซึ่งหมายความรวมถึงนิติกรรมจะขายที่ดินแทนผู้เยาว์โดยลำพังแล้ว จะถือว่าการที่ผู้เยาว์ทำนิติกรรมพร้อมกับผู้แทนโดยชอบธรรมมีผลว่าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลก่อน ก็เท่ากับเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ต้องมาขออนุญาตจากศาล ซึ่งเป็นการผิดไปจากเจตนารมณ์ของกฎหมาย สัญญาจะซื้อจะขายที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำในขณะที่ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 3และกรณีมิใช่โมฆียะกรรม แม้ภายหลังจำเลยที่ 3 จะบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสจำเลยที่ 3 ก็ไม่อาจให้สัตยาบันได้
แม้สัญญาจะซื้อจะขายไม่ผูกพันจำเลยที่ 3 ก็มีผลเพียงทำให้จำเลยที่ 3ไม่จำต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 3 ให้แก่โจทก์เท่านั้น ส่วนสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 มีผลสมบูรณ์บังคับกันได้ตามกฎหมาย จำเลยที่ 2จึงต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ตามสัญญา
ทนายโจทก์ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า ทนายโจทก์ได้ย้ายสำนักงานจากที่เดิมไปอยู่สำนักงานแห่งใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้ว แต่ปรากฏว่าเมื่อศาลชั้นต้นออกหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ได้ออกหมายนัดส่งให้ทนายโจทก์โดยการปิดหมาย ณ สำนักงานทนายโจทก์แห่งเดิม หาได้ส่งหมายนัดให้ทนายโจทก์ ณ สำนักงานแห่งใหม่ดังที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไว้ไม่ ทั้งมิได้ส่งหมายนัดให้แก่ตัวโจทก์ด้วย โจทก์จึงไม่ทราบวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงถือไม่ได้ว่าศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟังแล้ว ดังนี้ เมื่อโจทก์ยื่นฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่โจทก์ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์จึงชอบแล้ว
แม้สัญญาจะซื้อจะขายไม่ผูกพันจำเลยที่ 3 ก็มีผลเพียงทำให้จำเลยที่ 3ไม่จำต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 3 ให้แก่โจทก์เท่านั้น ส่วนสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 มีผลสมบูรณ์บังคับกันได้ตามกฎหมาย จำเลยที่ 2จึงต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ตามสัญญา
ทนายโจทก์ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า ทนายโจทก์ได้ย้ายสำนักงานจากที่เดิมไปอยู่สำนักงานแห่งใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้ว แต่ปรากฏว่าเมื่อศาลชั้นต้นออกหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ได้ออกหมายนัดส่งให้ทนายโจทก์โดยการปิดหมาย ณ สำนักงานทนายโจทก์แห่งเดิม หาได้ส่งหมายนัดให้ทนายโจทก์ ณ สำนักงานแห่งใหม่ดังที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไว้ไม่ ทั้งมิได้ส่งหมายนัดให้แก่ตัวโจทก์ด้วย โจทก์จึงไม่ทราบวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงถือไม่ได้ว่าศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟังแล้ว ดังนี้ เมื่อโจทก์ยื่นฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่โจทก์ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4984/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ ต้องได้รับอนุญาตจากศาล หากไม่ได้รับอนุญาต สัญญาเป็นโมฆียะ
การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ ผู้เยาว์เองหรือผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 เมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมต้องห้ามโดยกฎหมายมิให้ทำนิติกรรมขายที่ดินซึ่งหมายความรวมถึงนิติกรรมจะขายที่ดินแทนผู้เยาว์โดยลำพังแล้ว จะถือว่าการที่ผู้เยาว์ทำนิติกรรมพร้อมกับผู้แทนโดยชอบธรรมมีผลว่าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลก่อน ก็เท่ากับเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ต้องมาขออนุญาตจากศาล ซึ่งเป็นการผิดไปจากเจตนารมณ์ของกฎหมาย สัญญาจะซื้อจะขายที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำในขณะที่ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 3 และกรณีมิใช่โมฆียะกรรมแม้ภายหลังจำเลยที่ 3 จะบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสจำเลยที่ 3ก็ไม่อาจให้สัตยาบันได้ แม้สัญญาจะซื้อจะขายไม่ผูกพันจำเลยที่ 3 ก็มีผลเพียงทำให้จำเลยที่ 3 ไม่จำต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 3 ให้แก่โจทก์เท่านั้น ส่วนสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2มีผลสมบูรณ์บังคับกันได้ตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 จึงต้องขายที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ตามสัญญา ทนายโจทก์ยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า ทนายโจทก์ได้ย้ายสำนักงานจากที่เดิมไปอยู่สำนักงานแห่งใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้วแต่ปรากฏว่าเมื่อศาลชั้นต้นออกหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ออกหมายนัดส่งให้ทนายโจทก์โดยการปิดหมาย ณ สำนักงานทนายโจทก์แห่งเดิม หาได้ส่งหมายนัดให้ทนายโจทก์ ณ สำนักงานแห่งใหม่ดังที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไว้ไม่ ทั้งมิได้ส่งหมายนัดให้แก่ตัวโจทก์ด้วยโจทก์จึงไม่ทราบวันนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงถือไม่ได้ว่าศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์ฟังแล้ว ดังนี้ เมื่อโจทก์ยื่นฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่โจทก์ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4826/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การท้าคดีไม่ใช่การทำนิติกรรมที่ต้องได้รับอนุญาตจากศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574
การท้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในศาลที่คู่ความตกลงกันให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่คู่ความท้ากันเป็นข้อแพ้ชนะ มิได้มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอนสงวน หรือระงับซึ่งสิทธิตามความหมายของ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 112(เดิม) จึงไม่เป็นนิติกรรมที่โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองฟ้องคดีต่อศาลแทนโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เยาว์จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 เสียก่อน