คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1574

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 62 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5455/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความที่ผู้แทนทำแทนผู้เยาว์โดยไม่ขออนุญาตศาล มีผลผูกพันผู้เยาว์หรือไม่
สัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมทำแทนจำเลยที่ 3 ผู้เยาว์ในศาล โดยมิได้ขออนุญาตจากศาลตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574 ก่อน แต่เป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลชั้นต้นซึ่งมีอำนาจอนุญาตให้ผู้แทนโดยชอบธรรมทำแทนผู้เยาว์และศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาตามยอมมีผลผูกพันจำเลยที่ 3 ผู้เยาว์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5455/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความผู้เยาว์: ผลผูกพันตามคำพิพากษาตามยอม แม้มิได้ขออนุญาตศาล
สัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมทำแทนจำเลยที่ 3 ผู้เยาว์ในศาล โดยมิได้ขออนุญาตจากศาลตามป.พ.พ. มาตรา 1574 ก่อน แต่เป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลชั้นต้นซึ่งมีอำนาจอนุญาตให้ผู้แทนโดยชอบธรรมทำแทนผู้เยาว์และศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาตามยอมมีผลผูกพันจำเลยที่ 3 ผู้เยาว์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5225/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิครอบครองที่ดินโดยการสละเจตนา และผลของการซื้อขายที่ดินของผู้เยาว์
การโอนที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เมื่อผู้ขายสละเจตนาครอบครองให้ผู้ซื้อ ผู้ซื้อก็ได้สิทธิครอบครองทันทีโดยไม่ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ บิดาทำสัญญาขายที่ดินของบุตรผู้เยาว์โดยฝ่าฝืน ป.พ.พ.มาตรา 1574(1) สัญญาซื้อขายไม่มีผลผูกพันที่ดินของบุตร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1082/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยินยอมให้ทำถนน – สิทธิโดยไม่สุจริต – ไม่มีอำนาจฟ้อง
บิดามารดาโจทก์ยินยอมให้จำเลยทำถนนผ่านที่ดินของโจทก์ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้เยาว์ โดยโจทก์รู้เห็นด้วยตั้งแต่ขณะจำเลยเริ่มทำและไม่เคยโต้แย้งคัดค้านมาก่อน จึงถือได้ว่าโจทก์ยินยอมให้ทางราชการทำถนนผ่านที่ดินของโจทก์แล้วการที่โจทก์มีอายุ19 ปีเศษ เป็นนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่งถือว่ามีความรู้สึกผิดชอบและรอบรู้ถึงผลดีผลเสียแห่งการกระทำของตนได้เป็นอย่างดีแล้วได้ยินยอมให้จำเลยทำถนนผ่านที่ดินของโจทก์โดยเข้าใจว่าบิดามารดาโจทก์จะได้รับสัมปทานเดินรถบนถนนสายดังกล่าว แต่ต่อมาเมื่อบิดามารดาโจทก์ไม่ได้รับอนุมัติสัมปทาน โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทำละเมิดและขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนถนนดังกล่าวออกไปจากที่ดินโจทก์ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องโดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่าการให้ความยินยอมของโจทก์มิได้รับอนุญาตจากศาลเป็นการขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1574 หรือไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1082/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยินยอมให้ทำถนนแล้วฟ้องละเมิดมิได้ ถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
บิดามารดาโจทก์ยินยอมให้จำเลยทำถนนผ่านที่ดินของโจทก์ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้เยาว์ โดยโจทก์รู้เห็นด้วยตั้งแต่ขณะจำเลยเริ่มทำและไม่เคยโต้แย้งคัดค้านมาก่อน จึงถือได้ว่าโจทก์ยินยอมให้ทางราชการทำถนนผ่านที่ดินของโจทก์แล้วการที่โจทก์มีอายุ 19 ปีเศษ เป็นนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่งถือว่ามีความรู้สึกผิดชอบและรอบรู้ถึงผลดีผลเสียแห่งการกระทำของตนได้เป็นอย่างดีแล้ว ได้ยินยอมให้จำเลยทำถนนผ่านที่ดินของโจทก์โดยเข้าใจว่าบิดามารดาโจทก์จะได้รับสัมปทานเดินรถบนถนนสายดังกล่าว แต่ต่อมาเมื่อบิดามารดาโจทก์ไม่ได้รับอนุมัติสัมปทาน โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทำละเมิดและขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนถนนดังกล่าวออกไปจากที่ดินโจทก์ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องโดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่าการให้ความยินยอมของโจทก์มิได้รับอนุญาตจากศาลเป็นการขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1574 หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 776/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกหุ้น: สิทธิทายาท, การใช้อำนาจปกครองขัดประโยชน์, การแบ่งแยกหุ้น
โจทก์ทั้งสองต่างเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายซึ่งมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งหุ้นมรดกของผู้ตายในบริษัทจำเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599,1600,1629(1),1629 วรรคท้าย และ 1635(1) การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยลงทะเบียนให้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาผู้ตายเป็นผู้ถือหุ้นมรดกทั้งหมดแต่ผู้เดียว เท่ากับขอให้โจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของหุ้นมรดกทั้งหมดแต่ผู้เดียว โดยไม่แบ่งหุ้นมรดกให้แก่โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรผู้เยาว์ของผู้ตาย ถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาผู้ใช้อำนาจปกครองของโจทก์ที่ 2 เอาประโยชน์จากกิจการและประโยชน์นั้นขัดกับประโยชน์ของโจทก์ที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574,1575 ความหมายของมาตรา 1118 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หมายถึงหุ้นจำนวนเดียวจะแบ่งแยกไม่ได้ ถ้ามีหลายคนเป็นเจ้าของหุ้น หุ้นเดียวต้องให้คนใดคนหนึ่งใช้สิทธิแต่คนเดียวในฐานะผู้ถือหุ้น แต่กรณีนี้หุ้นมรดกมีจำนวน 500 หุ้น จึงอาจแบ่งระหว่างโจทก์ที่ 1กับโจทก์ที่ 2 แยกกันถือหุ้นได้ โจทก์ที่ 1 จะขอใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้น มรดกเพียงผู้เดียวในหุ้นมรดกทั้งหมดโดยอ้างมาตรา 1118หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 776/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในหุ้นมรดก: การแบ่งปันระหว่างทายาทและประโยชน์ของผู้เยาว์
โจทก์ที่ 1 เป็นภริยา โจทก์ที่ 2 เป็นบุตรผู้เยาว์ของผู้ตายโจทก์ทั้งสองต่างเป็นทายาทโดยธรรม ซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกเป็นส่วนแบ่งหุ้นของผู้ตายในบริษัทจำเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1599, 1600, 1629(1), 1629 วรรคท้าย และ 1635(1) การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยลงทะเบียนให้โจทก์ที่ 1 เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดแต่ผู้เดียวไม่แบ่งหุ้นมรดกให้แก่โจทก์ที่ 2 ถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 มารดาผู้ใช้อำนาจปกครองเอาประโยชน์จากกิจการและประโยชน์นั้นขัดกับประโยชน์ของโจทก์ที่ 2 ผู้เยาว์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574, 1575
ตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1118หมายถึงหุ้นจำนวนหุ้นเดียวจะแบ่งแยกไม่ได้ ถ้ามีหลายคนเป็นเจ้าของหุ้นหุ้นเดียว ต้องให้คนใดคนหนึ่งใช้สิทธิแต่คนเดียวในฐานะผู้ถือหุ้น แต่กรณีที่หุ้นมรดกมีจำนวน 500 หุ้น จึงอาจแบ่งระหว่างโจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 แยกกันถือหุ้นได้ โจทก์ที่ 1จึงจะอ้างสิทธิตามมาตรานี้โดยขอใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นเพียงผู้เดียวในหุ้นทั้งหมดไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 776/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกหุ้น: สิทธิทายาท, อำนาจปกครอง, และการคุ้มครองประโยชน์ผู้เยาว์
โจทก์ที่ 1 เป็นภริยา โจทก์ที่ 2 เป็นบุตรผู้เยาว์ของผู้ตายโจทก์ทั้งสองต่างเป็นทายาทโดยธรรม ซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกเป็นส่วนแบ่งหุ้นของผู้ตายในบริษัทจำเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1599,1600,1629(1),1629 วรรคท้าย และ 1635(1) การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยลงทะเบียนให้โจทก์ที่ 1 เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดแต่ผู้เดียวไม่แบ่งหุ้นมรดกให้แก่โจทก์ที่ 2 ถือได้ว่าโจทก์ที่ 1มารดาผู้ใช้อำนาจปกครองเอาประโยชน์จากกิจการและประโยชน์นั้นขัดกับประโยชน์ของโจทก์ที่ 2 ผู้เยาว์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574,1575 ตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1118หมายถึงหุ้นจำนวนหุ้นเดียวจะแบ่งแยกไม่ได้ ถ้ามีหลายคนเป็นเจ้าของหุ้นหุ้นเดียว ต้องให้คนใดคนหนึ่งใช้สิทธิแต่คนเดียวในฐานะผู้ถือหุ้น แต่กรณีที่หุ้นมรดกมีจำนวน 500 หุ้น จึงอาจแบ่งระหว่างโจทก์ที่ 1 กับโจทก์ที่ 2 แยกกันถือหุ้นได้ โจทก์ที่ 1จึงจะอ้างสิทธิตามมาตรานี้โดยขอใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นเพียงผู้เดียวในหุ้นทั้งหมดไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3781/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันของคำพิพากษาตามยอมต่อผู้เยาว์ที่เป็นคู่ความโดยมีผู้แทนโดยชอบธรรม
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลและศาลได้พิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว แม้จำเลยที่ 3 เป็นผู้เยาว์แต่ก็เป็นคู่ความในคดีอยู่แล้วโดยมีผู้แทนโดยชอบธรรม คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันจำเลยที่ 3 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3781/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันของสัญญาประนีประนอมยอมความต่อผู้เยาว์ที่เป็นคู่ความโดยมีผู้แทนโดยชอบธรรม
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลและศาลได้พิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว แม้จำเลยที่ 3 เป็นผู้เยาว์ แต่ก็เป็นคู่ความในคดีอยู่แล้วโดยมีผู้เทนโดยชอบธรรม คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันจำเลยที่ 3 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145
of 7