คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1574

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 62 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2700/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์: ศาลไม่อนุญาตขายทรัพย์สินหากผู้แทนโดยชอบธรรมใช้เงินผิดวัตถุประสงค์และก่อหนี้เพิ่ม
ผู้ร้องเป็นมารดาผู้เยาว์ได้รับเงิน 4,000,000 บาท เพียงเวลา 2 ปี ก็ใช้จ่ายเงินไปจนหมด โดยไม่มีรายการใดที่แสดงว่าได้ใช้จ่ายไปเพื่อประโยชน์แก่ผู้เยาว์นอกจากการเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามปกติเท่านั้นมิหนำซ้ำยังก่อหนี้สินเพิ่มขึ้นอีก 1,400,000 บาท ที่ดินมีโฉนดพร้อมตึกแถว 2 ชั้น อยู่ในแหล่งชุมชนและมีราคาสูง หากยังเป็นของผู้เยาว์อยู่ต่อไปจะเป็นประโยชน์ยิ่งกว่าขาย ศาลจึงไม่อนุญาตให้ผู้ร้องขายทรัพย์ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1522/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับมรดกที่ทำโดยผู้จัดการมรดกแทนบุตรผู้เยาว์ ต้องได้รับอนุญาตจากศาลจึงมีผลผูกพัน
โจทก์เป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมของ ท. บิดา พ. จำเลยเป็นภริยาและเป็นผู้จัดการมรดกของ พ. เจ้ามรดก เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับ ท. อันเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของ พ. ที่ตกได้แก่ บุตรผู้เยาว์ของจำเลย จึงเป็นนิติกรรมที่ต้องห้ามโดยชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574(8) และไม่มีผลบังคับถึงมรดกของ พ. ทั้งหมดที่ตกได้แก่ทายาท จึงไม่มีสิทธิของ ท. อันเกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวอันจะพึงตกได้แก่โจทก์ตามพินัยกรรมของ ท. ดังนั้น โจทก์ไม่อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ของจำเลย และไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1522/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับมรดกของบุตรผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาล มิฉะนั้นเป็นโมฆะ
โจทก์เป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมของ ท.บิดาพ. จำเลยเป็นภริยาและเป็นผู้จัดการมรดกของ พ. เจ้ามรดก เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับ ท.อันเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของพ.ที่ตกได้แก่ บุตรผู้เยาว์ของจำเลย จึงเป็นนิติกรรมที่ต้องห้ามโดยชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574(8) และไม่มีผลบังคับถึงมรดกของ พ.ทั้งหมดที่ตกได้แก่ทายาทจึงไม่มีสิทธิของท. อันเกิดจากสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวอันจะพึงตกได้แก่โจทก์ตามพินัยกรรมของ ท. ดังนั้น โจทก์ไม่อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ของจำเลย และไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3259/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายที่ดินรวมของผู้เยาว์: สิทธิจำหน่ายส่วนของตนและข้อยกเว้นความยินยอม
ผู้ร้องสอดเป็นผู้เยาว์และเป็นเจ้าของรวมกับจำเลยในที่ดินพิพาท จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ 200 ตารางวา ซึ่งไม่เกินส่วนของตนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคแรก และเนื่องจากจำเลยไม่ได้นำเอาที่ดินส่วนของผู้ร้องสอดมาขายให้โจทก์จึงไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากผู้ร้องสอดและศาลเสียก่อน เพราะมิใช่เป็นกรณีที่จำเลยนำที่ดินของผู้เยาว์ไปทำนิติกรรมขายให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3259/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายที่ดินของผู้เยาว์ที่เป็นเจ้าของรวม สิทธิในการขายจำกัดเฉพาะส่วนของตน
ผู้ร้องสอดเป็นผู้เยาว์และเป็นเจ้าของรวมกับจำเลยในที่ดินพิพาท จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ 200 ตารางวาซึ่งไม่เกินส่วนของตนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคแรกและเนื่องจากจำเลยไม่ได้นำเอาที่ดินส่วนของผู้ร้องสอดมาขายให้โจทก์ จึงไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากผู้ร้องสอดและศาลเสียก่อน เพราะมิใช่เป็นกรณีที่จำเลยนำที่ดินของผู้เยาว์ไปทำนิติกรรมขายให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1056/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยเงินบำเหน็จตกทอดของผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตศาล เป็นโมฆะ
เงินบำเหน็จที่จะตกได้แก่บรรดาทายาทผู้มีสิทธิของผู้ตาย ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญ พ.ศ.2494 นั้น มิใช่มรดกของผู้ตาย
การที่จำเลยแจ้งให้กรมการเงินกระทรวงกลาโหมหักเงินบำเหน็จตกทอดของผู้ตายเพื่อใช้หนี้จำเลยนั้น เป็นการมอบหมายให้เป็นตัวแทนในการเจรจาตกลงกับทายาทผู้ตาย
การที่มารดาโจทก์ไปตกลงให้หักเงินบำเหน็จตกทอดของผู้ตายที่จะได้แก่โจทก์บางส่วนชำระหนี้แก่จำเลยนั้น เป็นการทำนิติกรรมอย่างหนึ่งที่ได้กระทำไปแทนโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ และเป็นผลให้โจทก์ต้องชำระหนี้เมื่อมารดาโจทก์ไม่ได้รับอนุญาตจากศาลจึงเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574(13) ข้อตกลงดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆะจำเลยไม่มีมูลที่จะอ้างเพื่อการชำระหนี้จากโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 587/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากมรดก: ไม่ต้องขออนุญาตศาลหากเป็นไปตามสัญญาจะซื้อจะขายของผู้ตาย
ผู้ร้องในฐานะผู้ใช้อำนาจปกครองของผู้เยาว์ผู้รับมรดกของ ผ.ผู้ตาย ยื่นคำร้องขอทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ ผ. ผู้ตายทำสัญญาจะซื้อจะขายไว้ก่อนตายให้แก่ผู้มีชื่อ ตามคำร้องเป็นเรื่องขอทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของผู้ตายตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ทำกันไว้ระหว่างผู้ตายกับผู้มีชื่อ มิใช่เรื่องขอทำนิติกรรมขายที่ดินอันเกี่ยวแก่ทรัพย์สินของเด็กตามความในมาตรา 1574(1) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ร้องจึงไม่ต้องขออนุญาตจากศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1464/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการถอนอำนาจปกครองบุตรหลังมีคำพิพากษาถึงที่สุด กรณีมีการใช้อำนาจโดยมิชอบหรือจัดการทรัพย์สินผิด
แม้โจทก์จะเคยฟ้องจำเลยต่อศาลขอให้เพิกถอน อำนาจปกครองบุตรและศาลได้พิพากษาตามยอมให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร คดีถึงที่สุดไปแล้ว แต่เมื่อต่อมาปรากฏว่ามีการใช้อำนาจปกครองเกี่ยวกับตัวเด็กโดยมิชอบ หรือจัดการทรัพย์สินของเด็กในทางที่ผิดจนอาจเป็นภัยศาลก็มีอำนาจสั่งถอนอำนาจปกครองหรืออำนาจจัดการทรัพย์เสียบางส่วนหรือทั้งหมดได้ โดยศาลจะสั่งเองหรือผู้มีสิทธิร้องขอก็ได้ โดยจะร้องขอมาในคดีเดิมหรือจะฟ้องเป็นคดีมีข้อพิพาทขึ้นมาใหม่ก็ได้ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะเหตุที่โจทก์กล่าวในฟ้องเป็นเหตุที่เกิดขึ้นใหม่ต่างกันคนละประเด็นกับคดีก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก: การถอนอำนาจปกครองและตั้งผู้ปกครองใหม่ แม้โจทก์ถึงแก่ความตาย
กรณีที่เกี่ยวกับผู้เยาว์อันว่าด้วยเรื่องอำนาจปกครองและความปกครองนั้นไม่เหมือนกับคดีธรรมดาสามัญอื่นทั่วไปบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 ลักษณะ 2หมวด 2 และ 3 ให้อำนาจแก่ศาลเป็นพิเศษ ในอันที่จะป้องกันสวัสดิภาพและรักษาผลประโยชน์ของผู้เยาว์ แม้ผู้เยาว์นั้นจะมีบิดามารดาหรือผู้ปกครองอยู่แล้ว ศาลก็มีอำนาจที่จะสั่งถอนอำนาจปกครองเสียบางส่วนหรือทั้งหมด และจะสั่งถอนผู้ปกครองเสียก็ได้ อำนาจเช่นว่านี้ศาลจะสั่งเองโดยไม่จำต้องมีใครร้องขอก็ได้ในเมื่อมีคดีเดิมเรื่องตั้งผู้ปกครองอยู่แล้ว หรือจะสั่งในเมื่อมีบุคคลผู้มีสิทธิร้องขอขึ้นมาก็ได้ตามมาตรา 1552, 1574 และ 1575เพราะอำนาจควบคุมและคุ้มครองของศาลยังคงมีอยู่เรื่อยไป(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 797/2499)
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ตามคำสั่งศาล และตั้งโจทก์เป็นผู้ปกครองแทน การฟ้องขอให้ถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้ปกครองนั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับผลประโยชน์ของผู้เยาว์ เมื่อปรากฏเรื่องการใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ต่อศาลภายหลังที่มีคดีเดิมเรื่องตั้งผู้ปกครอง ศาลมีอำนาจที่จะนำมาตรา 1552 มาบังคับคดีและเรียกผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กเข้ามาในการไต่สวนเกี่ยวกับการถอนผู้ปกครองเดิมและการตั้งผู้ปกครองใหม่ได้ แม้โจทก์จะถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณา ก็ไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องสั่งจำหน่ายคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก: ถอนผู้ปกครองเดิมและตั้งผู้ปกครองใหม่ได้แม้มีข้อจำกัดเรื่องตัวความ
กรณีที่เกี่ยวกับผู้เยาว์อันว่าด้วยเรื่องอำนาจปกครองและความปกครองนั้นไม่เหมือนกับคดีธรรมดาสามัญอื่นทั่วไปบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 ลักษณะ 2 หมวด 2 และ 3 ให้อำนาจแก่ศาลเป็นพิเศษ ในอันที่จะป้องกันสวัสดิภาพและรักษาผลประโยชน์ของผู้เยาว์ แม้ผู้เยาว์นั้นจะมีบิดามารดาหรือผู้ปกครองอยู่แล้ว ศาลก็มีอำนาจที่จะสั่งถอนอำนาจปกครองเสียบางส่วนหรือทั้งหมด และจะสั่งถอนผู้ปกครองเสียก็ได้ อำนาจเช่นว่านี้ศาลจะสั่งเองโดยไม่จำต้องมีใครร้องขอก็ได้ในเมื่อมีคดีเดิมเรื่องตั้งผู้ปกครองอยู่แล้ว หรือจะสั่งในเมื่อมีบุคคลผู้มีสิทธิร้องขอขึ้นมาก็ได้ตามมาตรา 1552,1574 และ 1575 เพราะอำนาจควบคุมและคุ้มครองของศาลยังคงมีอยู่เรื่อยไป (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 797/2499)
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ตามคำสั่งศาล และตั้งโจทก์เป็นผู้ปกครองแทน การฟ้องขอให้ถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้ปกครองนั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับผลประโยชน์ของผู้เยาว์ เมื่อปรากฏเรื่องการใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ต่อศาลภายหลังที่มีคดีเดิมเรื่องตั้งผู้ปกครอง ศาลมีอำนาจที่จะนำมาตรา 1552 มาบังคับคดีและเรียกผู้อำนวยการสถานพินิจและคุ้มครองเด็กเข้ามาในการไต่สวนเกี่ยวกับการถอนผู้ปกครองเดิมและการตั้งผู้ปกครองใหม่ได้ แม้โจทก์จะถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณา ก็ไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องสั่งจำหน่ายคดี
of 7