พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2492/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องเช็คและการลงโทษทางอาญา กรณีเช็คไม่มีเงินรองรับ
ตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์อ้างว่า เช็คฉบับที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเป็นเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายชำระหนี้ตามมูลหนี้เดียวกับเช็คตามฟ้องทั้ง 2 ฉบับ แต่ขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ โจทก์ยังหาเช็คและใบคืนเช็คฉบับที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องไม่พบ ต่อมาโจทก์พบเช็คและใบคืนเช็คดังกล่าวในแฟ้มเก็บเอกสารเรื่องอื่น โจทก์จึงมาขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง ดังนี้ ถือได้ว่ามีเหตุอันควร และโจทก์ได้ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องก่อนศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้อง ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบโจทก์จึงขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 163 วรรคหนึ่ง และมาตรา 164
ศาลชั้นต้น (ศาลแขวง) พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ1 ปี เรียงกระทงลงโทษรวมจำคุก 3 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลยกระทงละ6 เดือน รวม 1 ปี 6 เดือน เมื่อผลสุดท้ายศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยกระทงละ6 เดือน จึงไม่เกินอำนาจผู้พิพากษาคนเดียว ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา15 และมาตรา 22 (5)
โจทก์บรรยายฟ้องและแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่า จำเลยบังอาจออกเช็คจำนวนเงินฉบับละ 205,000 บาท รวม 3 ฉบับ ให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ค่ารับเหมาก่อสร้าง เมื่อเช็คดังกล่าวถึงกำหนดโจทก์นำไปเรียกเก็บเงิน ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโดยให้เหตุผลว่า บัญชีปิดแล้ว เป็นการออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 มาตรา 4 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง และการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการกระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลย่อมลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปได้ โดยโจทก์ไม่ต้องอ้าง ป.อ.มาตรา 91 มาในฟ้อง เพราะ ป.อ.มาตรา 91 ไม่ใช่กฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158 (6)นอกจากนี้ตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ก็ได้อ้าง ป.อ.มาตรา 91มาด้วย ซึ่งศาลอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องแล้ว
ศาลชั้นต้น (ศาลแขวง) พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ1 ปี เรียงกระทงลงโทษรวมจำคุก 3 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลยกระทงละ6 เดือน รวม 1 ปี 6 เดือน เมื่อผลสุดท้ายศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยกระทงละ6 เดือน จึงไม่เกินอำนาจผู้พิพากษาคนเดียว ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา15 และมาตรา 22 (5)
โจทก์บรรยายฟ้องและแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่า จำเลยบังอาจออกเช็คจำนวนเงินฉบับละ 205,000 บาท รวม 3 ฉบับ ให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ค่ารับเหมาก่อสร้าง เมื่อเช็คดังกล่าวถึงกำหนดโจทก์นำไปเรียกเก็บเงิน ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโดยให้เหตุผลว่า บัญชีปิดแล้ว เป็นการออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 มาตรา 4 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง และการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการกระทำการอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลย่อมลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปได้ โดยโจทก์ไม่ต้องอ้าง ป.อ.มาตรา 91 มาในฟ้อง เพราะ ป.อ.มาตรา 91 ไม่ใช่กฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158 (6)นอกจากนี้ตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ก็ได้อ้าง ป.อ.มาตรา 91มาด้วย ซึ่งศาลอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 719/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีไม่มีทุนทรัพย์: การฟ้องแย้งขอคืนสมุดบัญชีเพื่อหลักฐานการฝากถอนเงิน
จำเลยฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์คืนสมุดบัญชีเงินฝาก 1 เล่มราคา 10 บาท ให้แก่จำเลย เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เพราะจำเลยมิได้ประสงค์จะถือเอาราคาของกระดาษสมุดบัญชีเงินฝากเป็นสำคัญ แต่มุ่งประสงค์เอาหลักฐานการฝากถอนเงินที่มีอยู่ในธนาคารตามสมุดบัญชีเงินฝากเท่านั้น จึงเป็นการฟ้องเรียกหลักฐานการฝากเงิน ถือว่าเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 669/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีซ้ำหลังศาลสั่งไม่รับฟ้อง: ศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นคดี จึงฟ้องใหม่ได้
โจทก์เคยนำคดีนี้มาฟ้องจำเลยต่อศาลแขวง ศาลแขวงมีคำสั่งว่า เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ซึ่งศาลแขวงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา จึงให้เพิกถอนคำสั่งรับฟ้องของโจทก์และการดำเนินกระบวนพิจารณาทั้งหมด ตามป.วิ.พ.มาตรา 27 และมีคำสั่งใหม่ไม่รับฟ้องของโจทก์ จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ คดีถึงที่สุด ดังนี้ศาลแขวงยังมิได้มีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีเพียงแต่มีคำสั่งไม่รับฟ้องและจำหน่ายคดีเท่านั้น โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องใหม่ได้ไม่เป็นการฟ้องซ้ำ
ป.วิ.พ.มาตรา 148 (3) ให้อำนาจศาลในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งยกฟ้องโจทก์แล้ว ถ้าโจทก์นำคดีไปฟ้องใหม่จะเป็นการฟ้องซ้ำเพื่อความยุติธรรมก็ให้ศาลมีอำนาจสั่งว่าไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่หาใช่ว่าถ้าศาลไม่สั่งไว้แล้วจะเป็นการตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีซึ่งฟ้องใหม่ได้อยู่แล้วมาฟ้องใหม่ไม่ได้
ป.วิ.พ.มาตรา 148 (3) ให้อำนาจศาลในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งยกฟ้องโจทก์แล้ว ถ้าโจทก์นำคดีไปฟ้องใหม่จะเป็นการฟ้องซ้ำเพื่อความยุติธรรมก็ให้ศาลมีอำนาจสั่งว่าไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่หาใช่ว่าถ้าศาลไม่สั่งไว้แล้วจะเป็นการตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีซึ่งฟ้องใหม่ได้อยู่แล้วมาฟ้องใหม่ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1875/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีอาญาโดยศาลแขวงต้องมีผู้พิพากษาลงนามมากกว่าหนึ่งคน หากลงโทษจำคุกเกินหกเดือน
คำพิพากษาของศาลแขวงที่ให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 2 ปีแต่มีผู้พิพากษาเพียงคนเดียวลงชื่อ เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15 วรรคท้ายศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจพิจารณาและพิพากษาไปในทันทีเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี แต่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการดังกล่าวให้ถูกต้องเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 606/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวงในคดีเถียงกรรมสิทธิ์ที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 10,000 บาท
โจทก์ฟ้องขอให้สั่งว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ให้จำเลยรื้อถอนหลักไม้แก่นที่ปักไว้ในที่ดินของโจทก์ออกไป ห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้อง จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยอันมีลักษณะเป็นการเถียงกรรมสิทธิ์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์เมื่อคดีนี้มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 10,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15 และมาตรา 22(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 606/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวงในคดีเถียงกรรมสิทธิ์ที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 10,000 บาท
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่พิพาท จำเลยให้การว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย เป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 10,000 บาท จึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษา ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15 และมาตรา 22(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3820/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวงคดีอาญา, การนอกฟ้อง, และข้อจำกัดการฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง
ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15 และมาตรา 22(5)ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาคดีอาญาที่มีอัตราโทษอย่างสูงจำคุกไม่เกิน3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โทษตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 มีเพียงโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และปรับอีกวันละ 500 บาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนมิใช่เป็นบทกำหนดโทษปรับเกินกว่า 60,000 บาท แม้โทษปรับรายวันเมื่อรวมกันแล้วจะเกิน 60,000 บาท ศาลแขวงก็ย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ ดังนั้นที่ศาลพิพากษาให้ปรับรายวันจนกว่าจะรื้อถอนอาคารโดยไม่คำนึงว่าเมื่อรวมค่าปรับทั้งหมดแล้วจะเกิน 60,000 บาทหรือไม่ จึงชอบที่จะทำได้ และศาลอุทธรณ์ย่อมพิพากษาแก้โทษปรับให้ถูกต้องตามกฎหมายได้แม้จะเป็นการเพิ่มโทษก็หามีบทกฎหมายห้ามไว้ไม่ ฟ้องโจทก์มุ่งหมายจะให้ลงโทษจำเลยในความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เฉพาะความผิดฐานชัดคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 42 วรรคสอง และมาตรา 65 เท่านั้นหาได้กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 21 ด้วยไม่ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ชอบที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ เพราะเป็นการนอกเหนือหรือเกินไปกว่าคำฟ้องของโจทก์ จำเลยเพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกาว่า จำเลยเข้าครอบครองที่สาธารณะโดยการปลูกสร้างอาคารก่อนที่ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522จะใช้บังคับ กรณีต้องด้วยมาตรา 77 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องกำหนดเวลารื้อถอนให้จำเลยไม่น้อยกว่า6 เดือน เช่นนี้ข้อฎีกาของจำเลยเป็นการเถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อคดีนี้คู่ความต้องห้ามฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ฎีกาดังกล่าวของจำเลยจึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยสถานเบา เป็นฎีกาคัดค้านดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3660/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวงและขอบเขตการลงโทษปรับตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พร้อมการแก้ไขโทษปรับให้ถูกต้องตามกฎหมาย
โทษตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 65มีเพียงโทษปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท และปรับอีกวันละ 500 บาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน จึงมิใช่โทษปรับเกินกว่า 6 หมื่นบาทตามความหมายในพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 22(5)ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษา จำเลยฎีกาว่าศาลลงโทษปรับจำเลยหนักเกินควร เป็นการ โต้แย้งดุลพินิจในการลงโทษ และเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 โทษตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 65 วรรคสองที่ให้ปรับอีกวันละ 500 บาทนั้น เมื่อลดโทษให้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 กึ่งหนึ่งแล้ว คงปรับวันละ250 บาท แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาปรับวันละ 500 บาท แม้จำเลย มิได้ฎีกา แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกา มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4419/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวงในคดีอาญาที่มีคำขอเรียกทรัพย์สิน และสิทธิของโจทก์ร่วม
คดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงในความผิดฐานยักยอก และมีคำขอในส่วนแพ่งให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์เกินกว่า 10,000 บาทแก่ผู้เสียหายได้ เมื่อผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมไม่อาจถือเอาคำขอในส่วนแพ่งของพนักงานอัยการเป็นคำขอของตนได้ เพราะหากผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีเองแล้วย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำขอในส่วนแพ่งอันมีทุนทรัพย์เกินกว่า 10,000 บาท ต่อศาลแขวงได้เนื่องจากเกินอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษา และเมื่อโจทก์ร่วมอุทธรณ์ฝ่ายเดียวย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาที่จะให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ และศาลอุทธรณ์ก็ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคำขอในส่วนนี้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4419/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวงในคดีอาญาที่มีคำขอเรียกทรัพย์สิน และสิทธิของโจทก์ร่วมในการอุทธรณ์
++ เรื่อง ยักยอก ++
++ จำเลยฎีกา
++ คำพิพากษาสั่งออก - รอย่อ - แจ้งการอ่านแล้ว
++ ขอสำเนาคำพิพากษาชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุดชั้น 4, 5)
++
คดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงในความผิดฐานยักยอก และมีคำขอในส่วนแพ่งให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์เกินกว่า 10,000 บาท แก่ผู้เสียหายได้ เมื่อผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมไม่อาจถือเอาคำขอในส่วนแพ่งของพนักงานอัยการเป็นคำขอของตนได้ เพราะหากผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีเองแล้วย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำขอในส่วนแพ่งอันมีทุนทรัพย์เกินกว่า 10,000 บาท ต่อศาลแขวงได้เนื่องจากเกินอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษา และเมื่อโจทก์ร่วมอุทธรณ์ฝ่ายเดียวย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาที่จะให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ และศาลอุทธรณ์ก็ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคำขอในส่วนนี้ด้วย
++ จำเลยฎีกา
++ คำพิพากษาสั่งออก - รอย่อ - แจ้งการอ่านแล้ว
++ ขอสำเนาคำพิพากษาชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุดชั้น 4, 5)
++
คดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงในความผิดฐานยักยอก และมีคำขอในส่วนแพ่งให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์เกินกว่า 10,000 บาท แก่ผู้เสียหายได้ เมื่อผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมไม่อาจถือเอาคำขอในส่วนแพ่งของพนักงานอัยการเป็นคำขอของตนได้ เพราะหากผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องคดีเองแล้วย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำขอในส่วนแพ่งอันมีทุนทรัพย์เกินกว่า 10,000 บาท ต่อศาลแขวงได้เนื่องจากเกินอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษา และเมื่อโจทก์ร่วมอุทธรณ์ฝ่ายเดียวย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาที่จะให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ และศาลอุทธรณ์ก็ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคำขอในส่วนนี้ด้วย