พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2952/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวงในคดีอาญาและคำขอเรียกทรัพย์สินคืน แม้ราคาทรัพย์สูงกว่าข้อจำกัด
คดีจำเลยต้องหาว่ากระทำผิดฐานยักยอกซึ่งอัตราโทษอยู่ในอำนาจศาลแขวงนั้น แม้โจทก์จะขอให้ใช้ราคาทรัพย์มากมายเพียงใด ศาลแขวงก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2952/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวงในการพิจารณาคดีอาญาที่มีการเรียกร้องค่าเสียหาย แม้เกินหนึ่งหมื่นบาท
คดีจำเลยต้องหาว่ากระทำผิดฐานยักยอกซึ่งอัตราโทษอยู่ในอำนาจศาลแขวงนั้น แม้โจทก์จะขอให้ใช้ราคาทรัพย์มากมายเพียงใด ศาลแขวงก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1509/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวงจำกัดเฉพาะบทลงโทษไม่เกิน 3 ปี แม้มีบทหนักกว่า หากฟ้องรวมกันถือเป็นคดีนอกอำนาจ
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญา ที่มีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกิน 3 ปีเมื่อฟ้องของโจทก์เป็นการขอให้ลงโทษจำเลย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352, 354 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุก ไม่เกิน 3 ปี และ 5 ปีตามลำดับและ เป็นกรณีที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิด กรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทด้วยกัน ซึ่งหากพิจารณา ได้ข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์แล้ว ศาลก็ต้องใช้มาตรา 354 ซึ่งเป็นบทหนักมาเป็นบทลงโทษจำเลยจึงเกินอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาแม้ความผิดตามบทกฎหมายที่เบากว่าจะอยู่ในอำนาจศาลแขวง แต่เมื่อความผิดตามบทหนักเกินอำนาจศาลแขวงแล้ว ก็ต้องถือว่าคดีนี้เป็นคดีเกินอำนาจศาลแขวงเพราะคำฟ้องของโจทก์กล่าวหาจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียวไม่อาจแบ่งแยกข้อหาตามมาตรา 352 และมาตรา 354 ออกจากกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1509/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวง: คดีอาญาหลายบท หากมีบทหนักเกินอำนาจ ศาลต้องถือว่าคดีเกินอำนาจ แม้บทเบาอยู่ในอำนาจ
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่มีอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกิน 3 ปีเมื่อฟ้องของโจทก์เป็นการขอให้ลงโทษจำเลย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352,354 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุก ไม่เกิน 3 ปีและ 5 ปีตามลำดับ และเป็นกรณีที่ กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมาย หลายบทด้วยกัน ซึ่งหากพิจารณา ได้ข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์ แล้วศาลก็ต้องใช้มาตรา 354 ซึ่งเป็นบทหนักมาเป็นบทลงโทษจำเลย จึงเกินอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาแม้ความผิดตามบทกฎหมายที่เบากว่าจะอยู่ในอำนาจศาลแขวงแต่เมื่อความผิดตามบทหนักเกินอำนาจศาลแขวงแล้ว ก็ต้องถือว่าคดีนี้เป็นคดีเกินอำนาจศาลแขวงเพราะคำฟ้องของโจทก์กล่าวหาจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียวไม่อาจแบ่งแยกข้อหาตามมาตรา 352 และมาตรา 354 ออกจากกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 993/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตให้แก้ฟ้องคดีอาญาเมื่อข้อหาเปลี่ยนแปลง และผลกระทบต่ออำนาจศาล
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสระหว่างพิจารณาผู้เสียหายถึงแก่ความตาย และได้มีการสอบสวนเพิ่มเติมแล้วโจทก์จึงขอแก้ฟ้องเป็นขอให้ลงโทษจำเลยฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายดังนี้กรณีมีเหตุอันควรและสมควรอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา163ศาลจะไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องเพราะเหตุเพียงว่าหากอนุญาตแล้วจะไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาหาได้ไม่ เมื่อศาลฎีกาอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องแล้วคดีเกินอำนาจศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 15 ศาลฎีกาจึงพิพากษากลับให้ยกฟ้องและให้โจทก์นำคดีไปฟ้องต่อศาลชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2054/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวง: คำฟ้องรวมเกินหนึ่งหมื่นบาท คดีไม่อยู่ในอำนาจ
ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15 ประกอบด้วยมาตรา 22(3)บัญญัติให้ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินที่ฟ้องไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทนั้นจำนวนเงินที่ฟ้องนี้หมายถึง จำนวนเงินรวมกันในคำฟ้องที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยชำระไม่ว่าจำนวนเงินดังกล่าวจะเกิดจากมูลหนี้รายเดียวหรือมูลหนี้หลายรายรวมกันก็ตามเมื่อรวมจำนวนเงินที่ฟ้องในมูลหนี้เหล่านั้นแล้วมีจำนวนไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทคดีก็อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาหากรวมกันแล้วเกินหนึ่งหมื่นบาทคดีก็ไม่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2054/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวง: จำนวนเงินที่ฟ้องรวมทั้งหมด หากเกินหนึ่งหมื่นบาท คดีไม่อยู่ในอำนาจ
ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15 ประกอบด้วยมาตรา 22 (3) บัญญัติให้ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินที่ฟ้องไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท นั้นจำนวนเงินที่ฟ้องนี้หมายถึง จำนวนเงินรวมกันในคำฟ้องที่โจทก์แต่ละคนฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยชำระไม่ว่าจำนวนเงินดังกล่าวจะเกิดจากมูลหนี้รายเดียวหรือมูลหนี้หลายรายรวมกันก็ตาม เมื่อรวมจำนวนเงินที่ฟ้องในมูลหนี้เหล่านั้นแล้วมีจำนวนไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทคดีก็อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาหากรวมกันแล้วเกินหนึ่งหมื่นบาทคดีก็ไม่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2483/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้และการผ่อนเวลาชำระหนี้ของผู้ค้ำประกัน รวมถึงอำนาจศาลในการรับฟ้องแย้ง
จำเลยเป็นผู้ค้ำประกันลูกหนี้ซึ่งกู้เงินโจทก์ ภายหลังจำเลยได้ทำสัญญารับสภาพหนี้ยอมใช้เงินให้โจทก์ โจทก์มาฟ้องเรียกเงินตามสัญญารับสภาพหนี้นั้น จำเลยจะอ้างแต่เพียงว่าโจทก์ผ่อนเวลาชำระหนี้ให้ลูกหนี้ หาเพียงพอที่จำเลยจะไม่ต้องรับผิดตามสัญญารับสภาพหนี้ไม่และที่จำเลยต่อสู้คดีว่า โจทก์ยอมผ่อนเวลาชำระหนี้ให้จำเลย ก็มิใช่เป็นเรื่องผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 ที่จำเลยจะหลุดพ้นจากความรับผิด
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวง จำเลยฟ้องแย้งเรียกเงินจากโจทก์ 3,850 บาท จำนวนทุนทรัพย์ตามฟ้องแย้งนั้นไม่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะรับไว้พิจารณาพิพากษาได้ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15, 22(4) เพราะทุนทรัพย์เกิน 2,000 บาท จำเลยจึงฟ้องแย้งมาในคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 ไม่ได้
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวง จำเลยฟ้องแย้งเรียกเงินจากโจทก์ 3,850 บาท จำนวนทุนทรัพย์ตามฟ้องแย้งนั้นไม่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะรับไว้พิจารณาพิพากษาได้ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15, 22(4) เพราะทุนทรัพย์เกิน 2,000 บาท จำเลยจึงฟ้องแย้งมาในคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2483/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันหนี้และการผ่อนเวลาชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดเมื่อเจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้ลูกหนี้ มิใช่ผู้ค้ำประกัน
จำเลยเป็นผู้ค้ำประกันลูกหนี้ซึ่งกู้เงินโจทก์ ภายหลังจำเลยได้ทำสัญญารับสภาพหนี้ยอมใช้เงินให้โจทก์ โจทก์มาฟ้องเรียกเงินตามสัญญารับสภาพหนี้นั้น จำเลยจะอ้างแต่เพียงว่าโจทก์ผ่อนเวลาชำระหนี้ให้ลูกหนี้หาเพียงพอที่จำเลยจะไม่ต้องรับผิดตามสัญญารับสภาพหนี้ไม่และที่จำเลยต่อสู้คดีว่า โจทก์ยอมผ่อนเวลาชำระหนี้ให้จำเลย ก็มิใช่เป็นเรื่องผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 ที่จำเลยจะหลุดพ้นจากความรับผิด
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวง จำเลยฟ้องแย้งเรียกเงินจากโจทก์3,850 บาท จำนวนทุนทรัพย์ตามฟ้องแย้งนั้นไม่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะรับไว้พิจารณาพิพากษาได้ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 15, 22 (4) เพราะทุนทรัพย์เกิน 2,000 บาท จำเลยจึงฟ้องแย้งมาในคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 ไม่ได้
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวง จำเลยฟ้องแย้งเรียกเงินจากโจทก์3,850 บาท จำนวนทุนทรัพย์ตามฟ้องแย้งนั้นไม่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะรับไว้พิจารณาพิพากษาได้ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 15, 22 (4) เพราะทุนทรัพย์เกิน 2,000 บาท จำเลยจึงฟ้องแย้งมาในคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1495/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวงสั่งระงับเหตุรำคาญในคดีอาญาตาม พ.ร.บ.สาธารณสุข
เมื่อศาลแขวงมีอำนาจรับฟ้องคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้จำเลยระงับเหตุรำคาญตามพระราชบัญญัติสาธารณสุข มาตรา 74 ไว้พิจารณาพิพากษาแล้วก็ย่อมมีอำนาจตาม มาตรา 74 วรรคสอง ที่จะสั่งให้จำเลยปฏิบัติตามมาตรา 23 คือ ระงับเหตุรำคาญตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นนั้นได้ด้วยเพราะเป็นคำสั่งส่วนหนึ่งในคดีอาญาที่ฟ้องจำเลยนั่นเองหาเป็นการเกินอำนาจศาลแขวงที่จะสั่งไม่