พบผลลัพธ์ทั้งหมด 58 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1352/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการรับทนายความโดยไม่ตรวจสอบความจริงก่อน เป็นการไม่ชอบ ศาลต้องแสวงหาความจริงก่อน
ในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ครั้งแรก ศาลแรงงานมีคำสั่งรับใบแต่งทนายความที่แต่งตั้งให้ ป. เป็นทนายความแก้ต่างให้จำเลย และรับคำให้การจำเลยที่ ป. เป็นผู้ลงลายมือชื่อไว้ ตลอดจนได้ให้ ป. ดำเนินกระบวนพิจารณาในฐานะเป็นทนายความจำเลยมาแล้ว ต่อมาศาลแรงงานมีคำสั่งในภายหลังไม่เชื่อถือใบแต่งทนายความ และถือว่าไม่มีจำเลยในคดีนี้ อันเป็นการเพิกถอนกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการรับ ป. เป็นทนายความจำเลยและกระบวนพิจารณาที่ ป. ได้กระทำแทนจำเลย ซึ่งแม้ศาลแรงงานมีอำนาจกระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ก็ตาม แต่ศาลแรงงานต้องได้ความแน่ชัดเสียก่อนว่ากระบวนพิจารณานั้นเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบจริง
ศาลแรงงานสั่งให้ ป. ทนายความจำเลยนำกรรมการบริษัทจำเลยซึ่งถูกระบุว่าเป็นเจ้าของลายมือชื่อในช่องผู้แต่งทนายความมารับรองลายมือชื่อแสดงว่า ศาลแรงงานเพียงแต่สงสัยว่าอาจไม่ใช่ลายมือชื่อของกรรมการบริษัทจำเลยและการที่กรรมการบริษัทจำเลยไม่มาศาลเพื่อรับรองลายมือชื่อ ก็ยังไม่ทำให้ได้ความแน่ชัดว่าไม่ใช่ลายมือชื่อของกรรมการบริษัทจำเลย จึงไม่ชอบที่ศาลแรงงานจะนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาใช้กำหนดเป็นเงื่อนไขไม่เชื่อถือใบแต่งทนายความดังกล่าว อันเป็นการผลักภาระซึ่งเป็นผลร้ายให้แก่ฝ่ายจำเลย ทั้ง ๆ ที่จำเลยมิได้เป็นผู้ยกข้อสงสัยนั้นขึ้นกล่าวอ้าง นอกจากนี้ก็ยังมี ป. ทนายจำเลยซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องในการแต่งทนายจำเลย และเป็นผู้รับรองลายมือชื่อในช่องผู้แต่งทนายความไว้ในใบแต่งทนายความ ป. จึงเป็นผู้ที่สามารถให้ความจริงได้ ศาลแรงงานชอบที่จะค้นหาความจริงจาก ป. หรือดำเนินการทางอื่นเพื่อให้ได้ความแน่ชัดเสียก่อน การที่ศาลแรงงานด่วนมีคำสั่งว่า กรรมการบริษัทจำเลยไม่มารับรองลายมือชื่อในใบแต่งทนายความของจำเลย จึงไม่เชื่อถือใบแต่งทนายความดังกล่าวและถือว่าไม่มีจำเลยเข้ามาในคดี แล้วมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและขาดนัดพิจารณาแล้วชี้ขาดตัดสินคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียวจึงเป็นการไม่ชอบ
ศาลแรงงานสั่งให้ ป. ทนายความจำเลยนำกรรมการบริษัทจำเลยซึ่งถูกระบุว่าเป็นเจ้าของลายมือชื่อในช่องผู้แต่งทนายความมารับรองลายมือชื่อแสดงว่า ศาลแรงงานเพียงแต่สงสัยว่าอาจไม่ใช่ลายมือชื่อของกรรมการบริษัทจำเลยและการที่กรรมการบริษัทจำเลยไม่มาศาลเพื่อรับรองลายมือชื่อ ก็ยังไม่ทำให้ได้ความแน่ชัดว่าไม่ใช่ลายมือชื่อของกรรมการบริษัทจำเลย จึงไม่ชอบที่ศาลแรงงานจะนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาใช้กำหนดเป็นเงื่อนไขไม่เชื่อถือใบแต่งทนายความดังกล่าว อันเป็นการผลักภาระซึ่งเป็นผลร้ายให้แก่ฝ่ายจำเลย ทั้ง ๆ ที่จำเลยมิได้เป็นผู้ยกข้อสงสัยนั้นขึ้นกล่าวอ้าง นอกจากนี้ก็ยังมี ป. ทนายจำเลยซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องในการแต่งทนายจำเลย และเป็นผู้รับรองลายมือชื่อในช่องผู้แต่งทนายความไว้ในใบแต่งทนายความ ป. จึงเป็นผู้ที่สามารถให้ความจริงได้ ศาลแรงงานชอบที่จะค้นหาความจริงจาก ป. หรือดำเนินการทางอื่นเพื่อให้ได้ความแน่ชัดเสียก่อน การที่ศาลแรงงานด่วนมีคำสั่งว่า กรรมการบริษัทจำเลยไม่มารับรองลายมือชื่อในใบแต่งทนายความของจำเลย จึงไม่เชื่อถือใบแต่งทนายความดังกล่าวและถือว่าไม่มีจำเลยเข้ามาในคดี แล้วมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและขาดนัดพิจารณาแล้วชี้ขาดตัดสินคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียวจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1352/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการแต่งทนายความและการรับรองลายมือชื่อ: ศาลต้องตรวจสอบความแน่ชัดก่อน
ในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ครั้งแรก ศาลแรงงานมีคำสั่งรับใบแต่งทนายความที่แต่งตั้งให้ ป.เป็นทนายความแก้ต่างให้จำเลย และรับคำให้การจำเลยที่ ป.เป็นผู้ลงลายมือชื่อไว้ ตลอดจนได้ให้ ป.ดำเนินกระบวนพิจารณาในฐานะเป็นทนายจำเลยมาแล้ว ต่อมาศาลแรงงานมีคำสั่งในภายหลังไม่เชื่อถือใบแต่งทนายความ และถือว่าไม่มีจำเลยในคดีนี้ อันเป็นการเพิกถอนกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการรับ ป.เป็นทนายจำเลยและกระบวนพิจารณาที่ ป.ได้กระทำแทนจำเลย ซึ่งแม้ศาลแรงงานมีอำนาจกระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามป.วิ.พ.มาตรา 27 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ก็ตาม แต่ศาลแรงงานต้องได้ความแน่ชัดเสียก่อนว่ากระบวนพิจารณานั้นเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบจริง
ศาลแรงงานสั่งให้ ป.ทนายจำเลยนำกรรมการบริษัทจำเลยซึ่งถูกระบุว่าเป็นเจ้าของลายมือชื่อในช่องผู้แต่งทนายความมารับรองลายมือชื่อแสดงว่า ศาลแรงงานเพียงแต่สงสัยว่าอาจไม่ใช่ลายมือชื่อของกรรมการบริษัทจำเลยและการที่กรรมการบริษัทจำเลยไม่มาศาลเพื่อรับรองลายมือชื่อ ก็ยังไม่ทำให้ได้ความแน่ชัดว่าไม่ใช่ลายมือชื่อของกรรมการบริษัทจำเลย จึงไม่ชอบที่ศาลแรงงานจะนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาใช้กำหนดเป็นเงื่อนไขไม่เชื่อถือใบแต่งทนายความดังกล่าวอันเป็นการผลักภาระซึ่งเป็นผลร้ายให้แก่ฝ่ายจำเลย ทั้ง ๆ ที่จำเลยมิได้เป็นผู้ยกข้อสงสัยนั้นขึ้นกล่าวอ้าง นอกจากนี้ก็ยังมี ป.ทนายจำเลยซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องในการแต่งทนายจำเลย และเป็นผู้รับรองลายมือชื่อในช่องผู้แต่งทนายความไว้ในใบแต่งทนายความ ป.จึงเป็นผู้ที่สามารถให้ความจริงได้ ศาลแรงงานชอบที่จะค้นหาความจริงจาก ป.หรือดำเนินการทางอื่นเพื่อให้ได้ความแน่ชัดเสียก่อน การที่ศาลแรงงานด่วนมีคำสั่งว่า กรรมการบริษัทจำเลยไม่มารับรองลายมือชื่อในใบแต่งทนายความของจำเลย จึงไม่เชื่อถือใบแต่งทนายความดังกล่าวและถือว่าไม่มีจำเลยเข้ามาในคดี แล้วมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและขาดนัดพิจารณาแล้วชี้ขาดตัดสินคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียวจึงเป็นการไม่ชอบ
ศาลแรงงานสั่งให้ ป.ทนายจำเลยนำกรรมการบริษัทจำเลยซึ่งถูกระบุว่าเป็นเจ้าของลายมือชื่อในช่องผู้แต่งทนายความมารับรองลายมือชื่อแสดงว่า ศาลแรงงานเพียงแต่สงสัยว่าอาจไม่ใช่ลายมือชื่อของกรรมการบริษัทจำเลยและการที่กรรมการบริษัทจำเลยไม่มาศาลเพื่อรับรองลายมือชื่อ ก็ยังไม่ทำให้ได้ความแน่ชัดว่าไม่ใช่ลายมือชื่อของกรรมการบริษัทจำเลย จึงไม่ชอบที่ศาลแรงงานจะนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาใช้กำหนดเป็นเงื่อนไขไม่เชื่อถือใบแต่งทนายความดังกล่าวอันเป็นการผลักภาระซึ่งเป็นผลร้ายให้แก่ฝ่ายจำเลย ทั้ง ๆ ที่จำเลยมิได้เป็นผู้ยกข้อสงสัยนั้นขึ้นกล่าวอ้าง นอกจากนี้ก็ยังมี ป.ทนายจำเลยซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องในการแต่งทนายจำเลย และเป็นผู้รับรองลายมือชื่อในช่องผู้แต่งทนายความไว้ในใบแต่งทนายความ ป.จึงเป็นผู้ที่สามารถให้ความจริงได้ ศาลแรงงานชอบที่จะค้นหาความจริงจาก ป.หรือดำเนินการทางอื่นเพื่อให้ได้ความแน่ชัดเสียก่อน การที่ศาลแรงงานด่วนมีคำสั่งว่า กรรมการบริษัทจำเลยไม่มารับรองลายมือชื่อในใบแต่งทนายความของจำเลย จึงไม่เชื่อถือใบแต่งทนายความดังกล่าวและถือว่าไม่มีจำเลยเข้ามาในคดี แล้วมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและขาดนัดพิจารณาแล้วชี้ขาดตัดสินคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียวจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7272/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแทนบุคคลไร้ความสามารถ: การระบุสถานะผู้แทนโดยชอบธรรมในคำฟ้อง
ข้อความในคำฟ้องที่โจทก์พิมพ์ในช่องสำหรับระบุชื่อโจทก์ระบุว่า โจทก์โดย อ.บิดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องและเข้าใจได้ว่า อ.เป็นบิดาของโจทก์เป็นผู้ดำเนินคดีแทนและขณะฟ้องนั้นโจทก์เป็นบุคคลผู้ไร้ความสามารถ ส่วน อ. จะเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์มีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์ได้จริงหรือไม่ซึ่งโจทก์ไม่ได้กล่าวไว้นั้นเป็นเรื่องที่หากจำเลยมีข้อโต้แย้งก็ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ทำการสอบสวนถึงอำนาจของ อ.ซึ่งเป็นข้อที่สามารถจะนำมาแสดงต่อศาลในชั้นพิจารณาต่อไปได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 66 ไม่ใช่เหตุที่ทำให้คำฟ้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยมาตรา 172 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7030/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแย้งและการแก้ไขข้อบกพร่องเอกสารแต่งตั้งทนายความที่ศาลมีอำนาจแก้ไขเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
แม้ใบแต่งทนายความของจำเลยจะลงชื่อส. หุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยเพียงคนเดียวไม่เป็นไปตามข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการที่ระบุให้ส. ลงลายมือชื่อร่วมกับค. และประทับตราห้างจำเลยตามหนังสือรับรองนิติบุคคลซึ่งทำให้อำนาจของผู้แทนนิติบุคคลในการดำเนินคดีของจำเลยบกพร่องก็ตามแต่ต่อมาศาลอุทธรณ์ได้ใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา66ให้ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องโดยการร้องขอต่อศาลตั้งผู้แทนชั่วคราวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา73และให้จัดทำใบแต่งทนายความขึ้นมาใหม่ซึ่งเป็นอำนาจที่ศาลอุทธรณ์กระทำได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจให้แก้ไขข้อบกพร่องนี้ได้เมื่อพบเห็นเองส่วนการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งส. เป็นผู้แทนชั่วคราวของจำเลยตามที่จำเลยยื่นคำร้องขอมาโดยค.ยังเป็นหุ้นส่วนของจำเลยผู้มีอำนาจลงชื่อร่วมกับส.ในการทำนิติกรรมต่างๆของห้างอยู่แต่ปรากฎว่าค.แสดงตนเป็นปฏิปักษ์กับจำเลยไม่ยอมลงชื่อในใบแต่งทนายความร่วมกับส.ตามข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการพฤติการณ์เช่นนี้ย่อมเกิดความเสียหายแก่จำเลยได้และไม่มีทางใดที่จะบังคับค. ได้เพื่อรักษาผลประโยชน์ของจำเลยการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งส. เป็นผู้แทนชั่วคราวของจำเลยและจำเลยได้เสนอใบแต่งทนายความฉบับใหม่ตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์แล้วย่อมทำให้อำนาจฟ้องที่บกพร่องนั้นเป็นอำนาจฟ้องที่สมบูรณ์ตามกฎหมายมาตั้งแต่เริ่มแรกจำเลยจึงมีอำนาจให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7030/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคล: การแก้ไขข้อบกพร่องของใบแต่งทนายความและการตั้งผู้แทนชั่วคราวเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
แม้ใบแต่งทนายความของจำเลยจะลงชื่อ ส.หุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยเพียงคนเดียว ไม่เป็นไปตามข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการที่ระบุให้ ส.ลงลายมือชื่อร่วมกับ ค. และประทับตราห้างจำเลยตามหนังสือรับรองนิติบุคคลซึ่งทำให้อำนาจของผู้แทนนิติบุคคลในการดำเนินคดีของจำเลยบกพร่องก็ตาม แต่ต่อมาศาลอุทธรณ์ได้ใช้อำนาจตาม ป.วิ.พ.มาตรา 66 ให้ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องโดยการร้องขอต่อศาลตั้งผู้แทนชั่วคราวตาม ป.พ.พ.มาตรา 73 และให้จัดทำใบแต่งทนายความขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็นอำนาจที่ศาลอุทธรณ์กระทำได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจให้แก้ไขข้อบกพร่องนี้ได้เมื่อพบเห็นเอง ส่วนการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้ง ส.เป็นผู้แทนชั่วคราวของจำเลยตามที่จำเลยยื่นคำร้องขอมา โดย ค.ยังเป็นหุ้นส่วนของจำเลยผู้มีอำนาจลงชื่อร่วมกับ ส.ในการทำนิติกรรมต่าง ๆ ของห้างอยู่ แต่ปรากฏว่า ค.แสดงตนเป็นปฏิปักษ์กับจำเลย ไม่ยอมลงชื่อในใบแต่งทนายความร่วมกับ ส.ตามข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการ พฤติการณ์เช่นนี้ย่อมเกิดความเสียหายแก่จำเลยได้ และไม่มีทางใดที่จะบังคับ ค.ได้ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของจำเลย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้ง ส.เป็นผู้แทนชั่วคราวของจำเลยและจำเลยได้เสนอใบแต่งทนายความฉบับใหม่ตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์แล้วย่อมทำให้อำนาจฟ้องที่บกพร่องนั้นเป็นอำนาจฟ้องที่สมบูรณ์ตามกฎหมายมาตั้งแต่เริ่มแรก จำเลยจึงมีอำนาจให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2431/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีล้มละลาย: การมอบอำนาจตัวแทนโจทก์ต้องชัดเจนและแจ้งต่อศาล
คำฟ้องโจทก์ในช่องคู่ความโจทก์ระบุว่า"กรมสรรพากรโดยว.รองอธิบดีกรมสรรพากรผู้รับมอบอำนาจโจทก์"โดยไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้มอบอำนาจให้ว.ฟ้องคดีนี้และในชั้นพิจารณาโจทก์ก็ไม่ได้นำสืบถึงการมอบอำนาจแต่ประการใดการที่โจทก์จะได้มอบอำนาจให้ว.ฟ้องคดีหรือไม่เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวอ้างไม่ใช่เป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา84(1)ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153เมื่อโจทก์ไม่นำสืบถึงการมอบอำนาจเท่ากับว.ไม่ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153 การที่โจทก์เพิ่งแนบคำสั่งกรมสรรพากรเรื่องมอบอำนาจให้รองอธิบดีกรมสรรพากรสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีมาท้ายอุทธรณ์ภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องไปแล้วย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา66ไม่ได้บังคับให้ศาลต้องทำการสอบสวนในอำนาจของผู้แทนโจทก์ว่าบกพร่องหรือไม่ก่อนเป็นแต่ให้อำนาจศาลเมื่อเห็นสมควรในการที่จะใช้ดุลพินิจทำการสอบสวนหรือไม่เท่านั้นเมื่อในเบื้องต้นไม่ปรากฏเหตุที่ศาลชั้นต้นสงสัยการที่ศาลชั้นต้นไม่ทำการสอบสวนถึงอำนาจของผู้แทนโจทก์จึงไม่ใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ชอบ เมื่อฎีกาโจทก์ในข้อที่ว่าพนักงานอัยการดำเนินคดีตามอำนาจและหน้าที่ตามที่พระราชบัญญัติพนักงานอัยการพ.ศ.2498มาตรา11(2)กำหนดไว้ไม่ใช่ในฐานะเป็นตัวแทนหรือทนายความของโจทก์เป็นฎีกาที่ขัดแย้งกับข้อความที่ปรากฏตามคำฟ้องซึ่งระบุชัดว่าโจทก์คือกรมสรรพากรโดยว.รองอธิบดีกรมสรรพากรผู้รับมอบอำนาจศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2431/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของตัวแทนโจทก์: การมอบอำนาจต้องชัดเจนและแจ้งต่อศาลตั้งแต่แรก
คำฟ้องโจทก์ในช่องคู่ความโจทก์ระบุว่า "กรมสรรพากร โดยว.รองอธิบดีกรมสรรพากรผู้รับมอบอำนาจโจทก์" โดยไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้มอบอำนาจให้ ว.ฟ้องคดีนี้และในชั้นพิจารณาโจทก์ก็ไม่ได้นำสืบถึงการมอบอำนาจแต่ประการใด การที่โจทก์จะได้มอบอำนาจให้ ว. ฟ้องคดีหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวอ้าง ไม่ใช่เป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84(1) ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 เมื่อโจทก์ไม่นำสืบถึงการมอบอำนาจเท่ากับ ว.ไม่ได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้ยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 153
การที่โจทก์เพิ่งแนบคำสั่งกรมสรรพากรเรื่องมอบอำนาจให้รองอธิบดีกรมสรรพากรสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีมาท้ายอุทธรณ์ ภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องไปแล้ว ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
ป.วิ.พ. มาตรา 66 ไม่ได้บังคับให้ศาลต้องทำการสอบสวนในอำนาจของผู้แทนโจทก์ว่าบกพร่องหรือไม่ก่อน เป็นแต่ให้อำนาจศาลเมื่อเห็นสมควรในการที่จะใช้ดุลพินิจทำการสอบสวนหรือไม่เท่านั้น เมื่อในเบื้องต้นไม่ปรากฏเหตุที่ศาลชั้นต้นสงสัย การที่ศาลชั้นต้นไม่ทำการสอบสวนถึงอำนาจของผู้แทนโจทก์จึงไม่ใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ชอบ
เมื่อฎีกาโจทก์ในข้อที่ว่า พนักงานอัยการดำเนินคดีตามอำนาจและหน้าที่ตามที่ พ.ร.บ. พนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11 (2) กำหนดไว้ ไม่ใช่ในฐานะเป็นตัวแทนหรือทนายความของโจทก์ เป็นฎีกาที่ขัดแย้งกับข้อความที่ปรากฏตามคำฟ้องซึ่งระบุชัดว่าโจทก์คือกรมสรรพากร โดย ว. รองอธิบดีกรมสรรพากรผู้รับมอบอำนาจ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
การที่โจทก์เพิ่งแนบคำสั่งกรมสรรพากรเรื่องมอบอำนาจให้รองอธิบดีกรมสรรพากรสั่งและปฏิบัติราชการแทนอธิบดีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีมาท้ายอุทธรณ์ ภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องไปแล้ว ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
ป.วิ.พ. มาตรา 66 ไม่ได้บังคับให้ศาลต้องทำการสอบสวนในอำนาจของผู้แทนโจทก์ว่าบกพร่องหรือไม่ก่อน เป็นแต่ให้อำนาจศาลเมื่อเห็นสมควรในการที่จะใช้ดุลพินิจทำการสอบสวนหรือไม่เท่านั้น เมื่อในเบื้องต้นไม่ปรากฏเหตุที่ศาลชั้นต้นสงสัย การที่ศาลชั้นต้นไม่ทำการสอบสวนถึงอำนาจของผู้แทนโจทก์จึงไม่ใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ชอบ
เมื่อฎีกาโจทก์ในข้อที่ว่า พนักงานอัยการดำเนินคดีตามอำนาจและหน้าที่ตามที่ พ.ร.บ. พนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11 (2) กำหนดไว้ ไม่ใช่ในฐานะเป็นตัวแทนหรือทนายความของโจทก์ เป็นฎีกาที่ขัดแย้งกับข้อความที่ปรากฏตามคำฟ้องซึ่งระบุชัดว่าโจทก์คือกรมสรรพากร โดย ว. รองอธิบดีกรมสรรพากรผู้รับมอบอำนาจ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจไวยาวัจกรจัดการทรัพย์สินวัด: หนังสือมอบหมายและการแต่งตั้งทนายความ
กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 18 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2536ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ระบุว่า "ไวยาวัจกร"หมายถึงคฤหัสถ์ผู้ได้รับแต่งตั้ง..และจะมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัดได้ตามที่เจ้าอาวาสมอบหมายเป็นหนังสือ ไวยาวัจกร ผู้ได้รับแต่งตั้งก่อนวันใช้กฎมหาเถรสมาคมนี้ ให้ถือว่าเป็นไวยาวัจกรตามกฎมหาเถรสมาคมต่อไปเมื่อนาย ป. ได้รับแต่งตั้งจากเจ้าอาวาสวัดผู้คัดค้านให้เป็นไวยาวัจกรเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2536 โดยอาศัยอำนาจตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 8 จึงถือว่าเป็นไวยาวัจกรอยู่ย่อมมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัดได้ตามที่เจ้าอาวาสมอบหมายเป็นหนังสือ
ตามคำร้องคัดค้านระบุยืนยันว่า นาย ป. มีอำนาจเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของผู้คัดค้านโดยมิได้แนบหนังสือมอบหมายของเจ้าอาวาสก็ตามแต่ก่อนสืบพยานผู้คัดค้านก็ได้แถลงขอส่งหนังสือมอบอำนาจลงวันที่ก่อนวันยื่นคำร้องคัดค้านซึ่งมีเจ้าอาวาสวัดผู้คัดค้านลงนาม และในชั้นสืบพยานเจ้าอาวาสก็มาเบิกความยืนยันรับรองหนังสือมอบอำนาจ จึงฟังได้ว่าเจ้าอาวาสได้มอบหมายเป็นหนังสือให้นาย ป.ไวยาวัจกรมีอำนาจจัดการทรัพย์สินของผู้คัดค้านก่อนยื่นคำร้องคดีนี้
ที่ดินเป็นมรดกของพระครู ส. ตกได้แก่ผู้คัดค้าน จึงเป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้าน การดำเนินคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของวัดเป็นการจัดการทรัพย์สินอย่างหนึ่ง นาย ป. ย่อมมีอำนาจจัดการจึงมีสิทธิแต่งตั้งทนายความเพื่อดำเนินคดีนี้ได้ คำร้องที่ทนายความซึ่งนาย ป. แต่งตั้งและได้ยื่นต่อศาลจึงสมบูรณ์
ตามคำร้องคัดค้านระบุยืนยันว่า นาย ป. มีอำนาจเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของผู้คัดค้านโดยมิได้แนบหนังสือมอบหมายของเจ้าอาวาสก็ตามแต่ก่อนสืบพยานผู้คัดค้านก็ได้แถลงขอส่งหนังสือมอบอำนาจลงวันที่ก่อนวันยื่นคำร้องคัดค้านซึ่งมีเจ้าอาวาสวัดผู้คัดค้านลงนาม และในชั้นสืบพยานเจ้าอาวาสก็มาเบิกความยืนยันรับรองหนังสือมอบอำนาจ จึงฟังได้ว่าเจ้าอาวาสได้มอบหมายเป็นหนังสือให้นาย ป.ไวยาวัจกรมีอำนาจจัดการทรัพย์สินของผู้คัดค้านก่อนยื่นคำร้องคดีนี้
ที่ดินเป็นมรดกของพระครู ส. ตกได้แก่ผู้คัดค้าน จึงเป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้าน การดำเนินคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของวัดเป็นการจัดการทรัพย์สินอย่างหนึ่ง นาย ป. ย่อมมีอำนาจจัดการจึงมีสิทธิแต่งตั้งทนายความเพื่อดำเนินคดีนี้ได้ คำร้องที่ทนายความซึ่งนาย ป. แต่งตั้งและได้ยื่นต่อศาลจึงสมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจไวยาวัจกรในการจัดการทรัพย์สินมรดกของวัด: การมอบอำนาจและการแต่งตั้งทนายความ
กฎมหาเถรสมาคมฉบับที่18ลงวันที่30มีนาคม2536ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์พ.ศ.2505ระบุว่า"ไวยาวัจกร"หมายถึงคฤหัสถ์ผู้ได้รับแต่งตั้งและจะมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัดได้ตามที่เจ้าอาวาสมอบหมายเป็นหนังสือ ไวยาวัจกร ผู้ได้รับแต่งตั้งก่อนวันใช้กฎมหาเถรสมาคมนี้ให้ถือว่าเป็นไวยาวัจกรตามกฎมหาเถรสมาคมต่อไปเมื่อนาย ป.ได้รับแต่งตั้งจากเจ้าอาวาสวัดผู้คัดค้านให้เป็นไวยาวัจกรเมื่อวันที่1มีนาคม2536โดยอาศัยอำนาจตามกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่8จึงถือว่าเป็นไวยาวัจกรอยู่ย่อมมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัดได้ตามที่เจ้าอาวาสมอบหมายเป็นหนังสือ แม้ตามคำร้องคัดค้านระบุยืนยันว่านาย ป. มีอำนาจเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของผู้คัดค้านโดยมิได้แนบหนังสือมอบหมายของเจ้าอาวาสก็ตามแต่ก่อนสืบพยานผู้คัดค้านก็ได้แถลงขอส่งหนังสือมอบอำนาจลงวันที่ก่อนวันยื่นคำร้องคัดค้านซึ่งมีเจ้าอาวาสวัดผู้คัดค้านลงนามและในชั้นสืบพยานเจ้าอาวาสก็มาเบิกความยืนยันรับรองหนังสือมอบอำนาจจึงฟังได้ว่าเจ้าอาวาสได้มอบหมายเป็นหนังสือให้นาย ป.ไวยาวัจกรมีอำนาจจัดการทรัพย์สินของผู้คัดค้านก่อนยื่นคำร้องคดีนี้ ที่ดินเป็นมรดกของพระครู ส. ตกได้แก่ผู้คัดค้านจึงเป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้านการดำเนินคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของวัดเป็นการจัดการทรัพย์สินอย่างหนึ่งนาย ป. ย่อมมีอำนาจจัดการจึงมีสิทธิแต่งตั้งทนายความเพื่อดำเนินคดีนี้ได้คำร้องที่ทนายความซึ่งนาย ป. แต่งตั้งและได้ยื่นต่อศาลจึงสมบูรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7065/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจฟ้องคดีไม่สมบูรณ์เนื่องจากไม่มีตราบริษัท ศาลสั่งให้แก้ไขเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
สำเนาหนังสือมอบอำนาจโจทก์เอกสารท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง มิได้ประทับตราสำคัญของบริษัทโจทก์ซึ่งไม่ถูกต้องตามที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองการจดทะเบียนของโจทก์ แสดงว่าการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนโจทก์ไม่สมบูรณ์ โจทก์ได้กล่าวอ้างมาในอุทธรณ์และฎีกาว่า ต้นฉบับหนังสือมอบอำนาจมีการประทับตราสำคัญของโจทก์ถูกต้องแสดงถึงเจตนาจะทำการแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องอำนาจของผู้รับมอบอำนาจโจทก์ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลฎีกาอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 66สั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องอำนาจของผู้รับมอบอำนาจเสียให้สมบูรณ์ โดยให้ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องเสียให้สมบูรณ์