พบผลลัพธ์ทั้งหมด 58 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1135/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของกรรมการบริษัท: การมอบอำนาจที่ถูกต้องตามหนังสือรับรองและตราสำคัญบริษัท
หนังสือรับรองการจดทะเบียนท้ายฟ้องมิได้มีข้อจำกัดอำนาจของกรรมการไว้ ผู้ลงชื่อแทนโจทก์ในหนังสือมอบอำนาจก็เป็นกรรมการของบริษัท และประทับตราสำคัญของบริษัท แม้โจทก์ไม่มีหนังสือรับรองของสำนักทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทมาแสดงว่ากรรมการกี่คนมีอำนาจทำการแทนบริษัทได้ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ได้ระบุในฟ้องและนำสืบแล้วว่า กรรมการที่จะลงชื่อผูกพันบริษัทได้คือกรรมการสองคนลงชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัท ซึ่งไม่ขัดกับหนังสือรับรองการจดทะเบียนท้ายฟ้อง ทั้งฝ่ายจำเลยก็มิได้โต้แย้งว่าไม่ถูกต้องอย่างใด หากศาลสงสัยว่าใบมอบอำนาจกระทำโดยผู้ไม่มีอำนาจ ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้โจทก์ส่งหนังสือรับรองอำนาจจัดการของโจทก์ของสำนักทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 66 ถือได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1135/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของกรรมการบริษัท: หนังสือมอบอำนาจ & ข้อจำกัดในหนังสือรับรอง
หนังสือรับรองการจดทะเบียนท้ายฟ้องมิได้มีข้อจำกัดอำนาจของกรรมการไว้ ผู้ลงชื่อแทนโจทก์ในหนังสือมอบอำนาจก็เป็นกรรมการของบริษัท และประทับตราสำคัญของบริษัท แม้โจทก์ไม่มีหนังสือรับรองของสำนักทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทมาแสดงว่ากรรมการกี่คนมีอำนาจทำการแทนบริษัทได้ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ได้ระบุในฟ้องและนำสืบแล้วว่า กรรมการที่จะลงชื่อผูกพันบริษัทได้คือกรรมการสองคนลงชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัท ซึ่งไม่ขัดกับหนังสือรับรองการจดทะเบียนท้ายฟ้อง ทั้งฝ่ายจำเลยก็มิได้โต้แย้งว่าไม่ถูกต้องอย่างใด หากศาลสงสัยว่าใบมอบอำนาจกระทำโดยผู้ไม่มีอำนาจ ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้โจทก์ส่งหนังสือรับรองอำนาจจัดการของโจทก์ของสำนักทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 66 ถือได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 264/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องหลังรับฟ้อง & ความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดในสัญญาเช่าซื้อ
ในชั้นยื่นคำฟ้อง แม้ทนายความ ซึ่ง อ. เป็นผู้แต่ง ตั้งให้เป็นทนายความของโจทก์จะได้ลงชื่อในคำฟ้องในฐานะโจทก์ โดยโจทก์มิได้มอบอำนาจให้ อ. ฟ้องจำเลยและดำเนินคดีแทนโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้ตรวจและมีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์ไว้ และจำเลยได้ยื่นคำให้การแล้ว ซึ่งเป็นกรณีล่วงเลยชั้นตรวจรับฟ้อง จึงนำป.วิ.พ. มาตรา 18 มาใช้บังคับไม่ได้ เมื่อไม่มีการชี้ สองสถานโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันสืบพยานโจทก์เป็นว่ามอบอำนาจให้ อ. เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์ ศาลย่อมมีอำนาจอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้ ซึ่งมีผลทำให้ฟ้องที่ไม่สมบูรณ์กลับเป็นฟ้องที่สมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก ทั้งนี้อาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 66ซึ่งให้อำนาจศาลไว้ว่า ถ้า มีผู้อ้างว่าเป็นผู้แทนของนิติบุคคลเมื่อศาลเห็นสมควรก็สอบสวนได้เป็นอำนาจที่กฎหมายให้ไว้แก่ศาลโดยกว้างขวาง เมื่อใดศาลเห็นว่าผู้นั้นไม่มีอำนาจดัง ที่อ้างหรืออำนาจบกพร่อง ศาลย่อมมีอำนาจยกฟ้อง หรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างอื่นได้ตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดได้เข้าทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ในนามของห้างจำเลยที่ 1 โดยลงชื่อตนเองและประทับตราของห้างจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าเป็นการสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของจำเลยที่ 1 แล้ว ส่วนห้างจำเลยที่ 1 นั้นได้ยอมชำระเงินค่าเช่าซื้อให้โจทก์ถึง 4 งวด โดยมิได้ท้วงติงแต่ประการใด จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อต่อโจทก์เมื่อห้างจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ จำเลยที่ 2จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์เป็นการส่วนตัวตามป.พ.พ. มาตรา 1088.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 264/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องหลังรับฟ้อง และความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดในสัญญาเช่าซื้อ
ในชั้นยื่นคำฟ้อง แม้ทนายความ ซึ่ง อ.เป็นผู้แต่งตั้งให้เป็นทนายความของโจทก์จะได้ลงชื่อในคำฟ้องในฐานะโจทก์ โดยโจทก์มิได้มอบอำนาจให้ อ.ฟ้องจำเลยและดำเนินคดีแทนโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้ตรวจและมีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์ไว้ และจำเลยได้ยื่นคำให้การแล้ว ซึ่งเป็นกรณีล่วงเลยชั้นตรวจรับฟ้อง จึงนำ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 มาใช้บังคับไม่ได้ เมื่อไม่มีการชี้สองสถาน โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนสืบวันพยานโจทก์เป็นว่ามอบอำนาจให้ อ.เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์ ศาลย่อมมีอำนาจอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้ ซึ่งมีผลทำให้ฟ้องที่ไม่สมบูรณ์กลับเป็นฟ้องที่สมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก ทั้งนี้อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 66 ซึ่งให้อำนาจศาลไว้ว่าถ้ามีผู้อ้างว่าเป็นผู้แทนของนิติบุคคลเมื่อศาลเห็นสมควรก็สอบสวนได้เป็นอำนาจที่กฎหมายให้ไว้แก่ศาลโดยกว้างขวางเมื่อใดศาลเห็นว่าผู้นั้นไม่มีอำนาจดังที่อ้างหรืออำนาจบกพร่อง ศาลย่อมมีอำนาจยกฟ้อง หรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างอื่นได้ตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดได้เข้าทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ในนามของห้างจำเลยที่ 1 โดยลงชื่อตนเองและประทับตราของห้างจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าเป็นการสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของจำเลยที่ 1 แล้ว ส่วนห้างจำเลยที่ 1 นั้น ได้ยอมชำระเงินค่าเช่าซื้อให้โจทก์ถึง 4 งวดโดยมิได้ท้วงติงแต่ประการใด จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อต่อโจทก์ เมื่อห้างจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์เป็นการส่วนตัวตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1088.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดได้เข้าทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ในนามของห้างจำเลยที่ 1 โดยลงชื่อตนเองและประทับตราของห้างจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าเป็นการสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของจำเลยที่ 1 แล้ว ส่วนห้างจำเลยที่ 1 นั้น ได้ยอมชำระเงินค่าเช่าซื้อให้โจทก์ถึง 4 งวดโดยมิได้ท้วงติงแต่ประการใด จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อต่อโจทก์ เมื่อห้างจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์เป็นการส่วนตัวตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1088.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 95/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของโจทก์ที่ 2 ที่ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาตั้งแต่แรก แม้แก้ไขภายหลังก็ไม่อาจใช้ได้
เมื่อโจทก์ที่ 2 ไม่ได้มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 1 ฟ้องคดีแทนดังที่กล่าวในฟ้อง ฟ้องของโจทก์ที่ 2 จึงไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณามาแต่แรก แม้ต่อมาโจทก์ที่ 2 จะได้ยื่นใบมอบอำนาจที่แท้จริงต่อศาล ก็หาทำให้ฟ้องที่เสียใช้ไม่ได้มาแต่ต้นกลับคืนดีขึ้นมาในภายหลังไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 95/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องที่ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาตั้งแต่แรก แม้แก้ไขภายหลังก็ไม่สมบูรณ์
เมื่อโจทก์ที่ 2 ไม่ได้มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 1 ฟ้องคดีแทนดังที่กล่าวในฟ้อง ฟ้องของโจทก์ที่ 2 จึงไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณามาแต่แรก แม้ต่อมาโจทก์ที่ 2 จะได้ยื่นใบมอบอำนาจที่แท้จริงต่อศาล ก็หาทำให้ฟ้องที่เสียใช้ไม่ได้มาแต่ต้นกลับคืนดีขึ้นมาในภายหลังไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันคำให้การและการใช้ดุลพินิจรับพยานนอกกรอบกฎหมายในคดีแรงงาน
แม้ อ. ประธานกรรมการบริษัทจำเลยแต่ผู้เดียวทำหนังสือมอบอำนาจให้ ว. กรรมการบริหารมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยอันเป็นการไม่ถูกต้องตามข้อบังคับของบริษัทจำเลยก็ตาม แต่หลังจาก ว. ได้ยื่นคำให้การต่อศาลแล้ว จำเลยก็ทำหนังสือมอบอำนาจใหม่ให้ ฉ.เป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีแทนโดยอ.และว. ลงชื่อถูกต้องตามข้อบังคับของจำเลยเช่นนี้ การที่ ฉ. ดำเนินคดีต่อมาโดยนำสืบพยานไปตามคำให้การที่ ว. ต่อสู้คดีไว้ ถือได้ว่าจำเลยได้ให้สัตยาบันยอมรับคำให้การดังกล่าวจึงมีสิทธินำสืบพยานไปตามคำให้การนั้นได้
ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งเกี่ยวกับบัญชีระบุพยานของจำเลยว่า'รับ 5 อันดับ' แสดงว่าได้ใช้ดุลพินิจสั่งรับบัญชีระบุพยานของจำเลยที่ยื่นฝ่าฝืนต่อกฎหมายเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมแล้ว.(ที่มา-ส่งเสริม)
ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งเกี่ยวกับบัญชีระบุพยานของจำเลยว่า'รับ 5 อันดับ' แสดงว่าได้ใช้ดุลพินิจสั่งรับบัญชีระบุพยานของจำเลยที่ยื่นฝ่าฝืนต่อกฎหมายเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมแล้ว.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2916/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและอำนาจการมอบอำนาจในคดีแรงงาน ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
แม้ผู้ที่จะกระทำการแทนบริษัทจำเลยได้ต้องมีกรรมการ 2 คนลงชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลย แต่วันเดียวกับที่ ว. กรรมการของจำเลยลงชื่อในคำให้การ แต่ผู้เดียวโดยมิได้มีตราสำคัญประทับนั้น จำเลยได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ พ. เป็นผู้มาชี้แจงให้ถ้อยคำและต่อสู้คดีแทนจำเลยด้วยเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลฎีกาสั่งให้จำเลยแก้ไขข้อบกพร่องเรื่องอำนาจผู้ยื่นคำให้การได้
การสืบพยานในศาลแรงงานนั้น ศาลแรงงานจะเป็นผู้ซักถามพยานเองตัวความหรือทนายความจะซักถามพยานได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน ดังนั้น เมื่อคดีนี้ศาลแรงงานกลางได้ดำเนินการซักถามพยานโจทก์จำเลยโดยตลอด และไม่ปรากฏตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่าศาลแรงงานกลางได้ยกเอาคำซักถามพยานของ พ. ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยซึ่งมิได้เป็นทนายความตอนใดขึ้นมาเป็นเหตุผลประกอบคำวินิจฉัย อุทธรณ์โจทก์จึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นอย่างอื่น
ศาลแรงงานกลางมีอำนาจสั่งอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมได้หลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว โดยเป็นดุลพินิจของศาลแรงงานกลางที่จะสั่งตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ดังนั้น การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าทำให้โจทก์เสียเปรียบนั้นจึงเป็นการอุทธรณ์ดุลพินิจของศาลอันเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
เมื่อโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง ของจำเลยทั้งละเลยการปฏิบัติหน้าที่ทำให้จำเลยเสียหายอย่างร้ายแรงจำเลยย่อมเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยให้โจทก์
การสืบพยานในศาลแรงงานนั้น ศาลแรงงานจะเป็นผู้ซักถามพยานเองตัวความหรือทนายความจะซักถามพยานได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน ดังนั้น เมื่อคดีนี้ศาลแรงงานกลางได้ดำเนินการซักถามพยานโจทก์จำเลยโดยตลอด และไม่ปรากฏตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่าศาลแรงงานกลางได้ยกเอาคำซักถามพยานของ พ. ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยซึ่งมิได้เป็นทนายความตอนใดขึ้นมาเป็นเหตุผลประกอบคำวินิจฉัย อุทธรณ์โจทก์จึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นอย่างอื่น
ศาลแรงงานกลางมีอำนาจสั่งอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมได้หลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว โดยเป็นดุลพินิจของศาลแรงงานกลางที่จะสั่งตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ดังนั้น การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าทำให้โจทก์เสียเปรียบนั้นจึงเป็นการอุทธรณ์ดุลพินิจของศาลอันเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
เมื่อโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง ของจำเลยทั้งละเลยการปฏิบัติหน้าที่ทำให้จำเลยเสียหายอย่างร้ายแรงจำเลยย่อมเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2916/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า กรณีลูกจ้างฝ่าฝืนระเบียบและละเลยหน้าที่
แม้ผู้ที่จะกระทำการแทนบริษัทจำเลยได้ต้องมีกรรมการ 2คนลงชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลย แต่วันเดียวกับที่ว. กรรมการของจำเลยลงชื่อในคำให้การ แต่ผู้เดียวโดยมิได้มีตราสำคัญประทับนั้น จำเลยได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้พ. เป็นผู้มาชี้แจงให้ถ้อยคำและต่อสู้คดีแทนจำเลยด้วยเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลฎีกาสั่งให้จำเลยแก้ไขข้อบกพร่องเรื่องอำนาจผู้ยื่นคำให้การได้
การสืบพยานในศาลแรงงานนั้น ศาลแรงงานจะเป็นผู้ซักถามพยานเองตัวความหรือทนายความจะซักถามพยานได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน ดังนั้น เมื่อคดีนี้ศาลแรงงานกลางได้ดำเนินการซักถามพยานโจทก์จำเลยโดยตลอด และไม่ปรากฏตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่าศาลแรงงานกลางได้ยกเอาคำซักถามพยานของพ. ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยซึ่งมิได้เป็นทนายความตอนใดขึ้นมาเป็นเหตุผลประกอบคำวินิจฉัย อุทธรณ์โจทก์จึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นอย่างอื่น
ศาลแรงงานกลางมีอำนาจสั่งอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมได้หลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว โดยเป็นดุลพินิจของศาลแรงงานกลางที่จะสั่งตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ดังนั้น การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าทำให้โจทก์เสียเปรียบนั้นจึงเป็นการอุทธรณ์ดุลพินิจของศาลอันเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
เมื่อโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง ของจำเลยทั้งละเลยการปฏิบัติหน้าที่ทำให้จำเลยเสียหายอย่างร้ายแรงจำเลยย่อมเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยให้โจทก์
การสืบพยานในศาลแรงงานนั้น ศาลแรงงานจะเป็นผู้ซักถามพยานเองตัวความหรือทนายความจะซักถามพยานได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน ดังนั้น เมื่อคดีนี้ศาลแรงงานกลางได้ดำเนินการซักถามพยานโจทก์จำเลยโดยตลอด และไม่ปรากฏตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่าศาลแรงงานกลางได้ยกเอาคำซักถามพยานของพ. ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยซึ่งมิได้เป็นทนายความตอนใดขึ้นมาเป็นเหตุผลประกอบคำวินิจฉัย อุทธรณ์โจทก์จึงไม่มีผลเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นอย่างอื่น
ศาลแรงงานกลางมีอำนาจสั่งอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมได้หลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว โดยเป็นดุลพินิจของศาลแรงงานกลางที่จะสั่งตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ดังนั้น การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าทำให้โจทก์เสียเปรียบนั้นจึงเป็นการอุทธรณ์ดุลพินิจของศาลอันเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
เมื่อโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง ของจำเลยทั้งละเลยการปฏิบัติหน้าที่ทำให้จำเลยเสียหายอย่างร้ายแรงจำเลยย่อมเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2886/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่มีพฤติกรรมบกพร่อง และการมอบอำนาจในการดำเนินคดีที่ไม่สมบูรณ์แต่แก้ไขแล้ว
ผู้บังคับบัญชามีหนังสือแจ้งให้ลูกจ้างปรับปรุงการทำงานที่บกพร่องถึงสองครั้งหนังสือนั้นมีความด้วยว่า หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะได้รับผลตอบแทนที่เฉียบขาด แสดงว่าลูกจ้างบกพร่องในการทำงาน หนังสือนี้จึงถือได้ว่าเป็นหนังสือเตือนตามระเบียบข้อบังคับการทำงาน ต่อมาผู้บังคับบัญชามีหนังสือเตือนครั้งสุดท้ายโดยให้ถือเป็นการพักงาน แต่เนื่องจากลูกจ้างมีตำแหน่งสำคัญจึงไม่สามารถให้พักงานได้ และว่าถ้าลูกจ้างยังไม่มีการปรับปรุงแก้ไขตนเอง และกระทำความผิดแบบเดียวกันอีก ลูกจ้างจะได้รับการทำโทษถึงขั้นปลดออกจากงานดังนี้ เมื่อลูกจ้างกระทำผิดอีก นายจ้างจึงมีเหตุผลที่จะเลิกจ้างลูกจ้างผู้นั้นได้
แม้ใบมอบอำนาจให้ดำเนินคดีของบริษัทนายจ้างจะไม่ได้ประทับตราของบริษัทโดยสมบูรณ์ แต่ต่อมาก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งคดีนี้ บริษัทนายจ้างได้ทำใบมอบอำนาจที่สมบูรณ์ถูกต้องขึ้นใหม่ ให้ดำเนินคดีและให้สัตยาบันของการที่ได้ทำไปแล้วในคดีนี้ ดังนี้ ถ้ามีผู้อ้างว่าเป็นผู้แทนของนิติบุคคล เมื่อศาลเห็นสมควรจะทำการสอบสวนถึงอำนาจของผู้นั้นก็ได้ เป็นอำนาจที่กฎหมายให้ไว้แก่ศาลโดยกว้าง หากศาลเห็นว่าผู้มอบอำนาจไม่มีอำนาจดังที่อ้างหรือ อำนาจบกพร่อง ศาลมีอำนาจยกฟ้องคดีนั้นเสียหรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างอื่นได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ฉะนั้น เมื่อบริษัทนายจ้างได้มีหนังสือมอบอำนาจใหม่ถูกต้อง ศาลก็มีอำนาจให้แก้ไขข้อบกพร่องได้ตามอำนาจที่กฎหมายให้ไว้(อ้างคำพิพากษาฎีกา (ประชุมใหญ่) ที่ 1184/2506)
แม้ใบมอบอำนาจให้ดำเนินคดีของบริษัทนายจ้างจะไม่ได้ประทับตราของบริษัทโดยสมบูรณ์ แต่ต่อมาก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งคดีนี้ บริษัทนายจ้างได้ทำใบมอบอำนาจที่สมบูรณ์ถูกต้องขึ้นใหม่ ให้ดำเนินคดีและให้สัตยาบันของการที่ได้ทำไปแล้วในคดีนี้ ดังนี้ ถ้ามีผู้อ้างว่าเป็นผู้แทนของนิติบุคคล เมื่อศาลเห็นสมควรจะทำการสอบสวนถึงอำนาจของผู้นั้นก็ได้ เป็นอำนาจที่กฎหมายให้ไว้แก่ศาลโดยกว้าง หากศาลเห็นว่าผู้มอบอำนาจไม่มีอำนาจดังที่อ้างหรือ อำนาจบกพร่อง ศาลมีอำนาจยกฟ้องคดีนั้นเสียหรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างอื่นได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ฉะนั้น เมื่อบริษัทนายจ้างได้มีหนังสือมอบอำนาจใหม่ถูกต้อง ศาลก็มีอำนาจให้แก้ไขข้อบกพร่องได้ตามอำนาจที่กฎหมายให้ไว้(อ้างคำพิพากษาฎีกา (ประชุมใหญ่) ที่ 1184/2506)