คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 66

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 58 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1793/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการธนาคารออมสิน: ผู้อำนวยการเท่านั้นที่มีอำนาจดำเนินคดีแทนธนาคาร
ตามพระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ.2489 ซึ่งก่อตั้งธนาคารออมสินเป็นนิติบุคคลมีบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งในมาตรา16 ว่าให้ผู้อำนวยการเป็นผู้จัดการธนาคารออมสิน มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ และข้อบังคับของธนาคารออมสิน โดยไม่มีมาตราอื่นใดให้อำนาจแก่ประธานกรรมการที่จะเข้ามาดำเนินกิจการอย่างเดียวกับผู้อำนวยการได้ ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า พระราชบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจผู้อำนวยการแต่ผู้เดียวที่จะเป็นผู้จัดการทำการแทนธนาคารออมสินซึ่งเป็นนิติบุคคลรวมตลอดถึงการดำเนินคดี ประธานกรรมการหามีอำนาจไม่
เมื่อประธานกรรมการเข้ามาดำเนินการต่อสู้คดีแทนธนาคารออมสินซึ่งถูกฟ้องเป็นจำเลย โดยแต่งตั้งทนายดำเนินคดี มีการพิจารณาสืบพยานโจทก์จำเลยจนเสร็จสิ้นแล้ว และในตอนหลังธนาคารออมสินโดยผู้อำนวยการซึ่งเป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินกิจการตามกฎหมายก็ได้แต่งทนายเป็นการถูกต้อง โดยแต่งตั้งทนายคนเดียวกันกับประธานกรรมการและมิได้โต้แย้งคัดค้านกระบวนพิจารณาที่ได้กระทำมาแล้วแต่ประการใด ย่อมมีเหตุสมควรที่ศาลจะพิพากษาคดีไปตามกระบวนพิจารณาที่ได้ดำเนินมาแล้วโดยไม่จำต้องเพิกถอนกระบวนพิจารณาเดิม ทั้งนี้ อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 66 ซึ่งให้ศาลสอบสวนถึงอำนาจของผู้แทนนิติบุคคล ถึงแม้ผู้นั้นจะไม่มีอำนาจหรืออำนาจบกพร่อง ศาลจะยกฟ้องหรือมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งอย่างอื่นได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1793/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการธนาคารออมสิน: ผู้อำนวยการเท่านั้นที่ชอบโดยกฎหมาย ประธานกรรมการไม่มีอำนาจ
ตามพระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ.2489 ซึ่งก่อตั้งธนาคารออมสินเป็นนิติบุคคลมีบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งในมาตรา16 ว่าให้ผู้อำนวยการเป็นผู้จัดการธนาคารออมสิน มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ และข้อบังคับของธนาคารออมสิน โดยไม่มีมาตราอื่นใดให้อำนาจแก่ประธานกรรมการที่จะเข้ามาดำเนินกิจการอย่างเดียวกับผู้อำนวยการได้ ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า พระราชบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจผู้อำนวยการแต่ผู้เดียวที่จะเป็นผู้จัดการทำการแทนธนาคารออมสินซึ่งเป็นนิติบุคคลรวมตลอดถึงการดำเนินคดี ประธานกรรมการหามีอำนาจไม่
เมื่อประธานกรรมการเข้ามาดำเนินการต่อสู้คดีแทนธนาคารออมสินซึ่งถูกฟ้องเป็นจำเลย โดยแต่งตั้งทนายดำเนินคดี มีการพิจารณาสืบพยานโจทก์จำเลยจนเสร็จสิ้นแล้ว และในตอนหลังธนาคารออมสินโดยผู้อำนวยการซึ่งเป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินกิจการตามกฎหมายก็ได้แต่งทนายเป็นการถูกต้อง โดยแต่งตั้งทนายคนเดียวกันกับประธานกรรมการและมิได้โต้แย้งคัดค้านกระบวนพิจารณาที่ได้กระทำมาแล้วแต่ประการใด ย่อมมีเหตุสมควรที่ศาลจะพิพากษาคดีไปตามกระบวนพิจารณาที่ได้ดำเนินมาแล้วโดยไม่จำต้องเพิกถอนกระบวนพิจารณาเดิม ทั้งนี้ อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 66 ซึ่งให้ศาลสอบสวนถึงอำนาจของผู้แทนนิติบุคคล ถึงแม้ผู้นั้นจะไม่มีอำนาจหรืออำนาจบกพร่อง ศาลจะยกฟ้องหรือมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งอย่างอื่นได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1793/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการของผู้อำนวยการธนาคารออมสิน vs. ประธานกรรมการ และผลต่อกระบวนการพิจารณาคดี
ตามพระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ.2489 ซึ่งก่อตั้งธนาคารออมสินเป็นนิติบุคคลมีบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งในมาตรา16. ว่าให้ผู้อำนวยการเป็นผู้จัดการธนาคารออมสิน มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ และข้อบังคับของธนาคารออมสิน. โดยไม่มีมาตราอื่นใดให้อำนาจแก่ประธานกรรมการที่จะเข้ามาดำเนินกิจการอย่างเดียวกับผู้อำนวยการได้. ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า พระราชบัญญัติดังกล่าวให้อำนาจผู้อำนวยการแต่ผู้เดียวที่จะเป็นผู้จัดการทำการแทนธนาคารออมสินซึ่งเป็นนิติบุคคลรวมตลอดถึงการดำเนินคดี. ประธานกรรมการหามีอำนาจไม่.
เมื่อประธานกรรมการเข้ามาดำเนินการต่อสู้คดีแทนธนาคารออมสินซึ่งถูกฟ้องเป็นจำเลย. โดยแต่งตั้งทนายดำเนินคดี มีการพิจารณาสืบพยานโจทก์จำเลยจนเสร็จสิ้นแล้ว. และในตอนหลังธนาคารออมสินโดยผู้อำนวยการซึ่งเป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินกิจการตามกฎหมายก็ได้แต่งทนายเป็นการถูกต้อง. โดยแต่งตั้งทนายคนเดียวกันกับประธานกรรมการและมิได้โต้แย้งคัดค้านกระบวนพิจารณาที่ได้กระทำมาแล้วแต่ประการใด. ย่อมมีเหตุสมควรที่ศาลจะพิพากษาคดีไปตามกระบวนพิจารณาที่ได้ดำเนินมาแล้วโดยไม่จำต้องเพิกถอนกระบวนพิจารณาเดิม. ทั้งนี้ อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 66ซึ่งให้ศาลสอบสวนถึงอำนาจของผู้แทนนิติบุคคล. ถึงแม้ผู้นั้นจะไม่มีอำนาจหรืออำนาจบกพร่อง. ศาลจะยกฟ้องหรือมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งอย่างอื่นได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1638/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสามารถในการฟ้องคดีของผู้เยาว์ และอำนาจของผู้แทนโดยชอบธรรมในการฟ้องคดีแทน
ฟ้องซึ่งตั้งรูปว่าผู้เยาว์โดยบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นโจทก์นั้น เป็นเรื่องผู้เยาว์เป็นโจทก์ฟ้องคดีเองโดยอาศัยอำนาจของบุคคลซึ่งอ้างเป็นบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมถึงหากจะฟังว่าบุคคลนั้นมิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ และขณะฟ้องคดีโจทก์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ก็เป็นเรื่องความสามารถในการฟ้องคดีของโจทก์ผู้เยาว์บกพร่อง ซึ่งศาลมีอำนาจสอบสวนและสั่งแก้ไขความบกพร่องนั้นให้บริบูรณ์ได้ก่อนศาลพิพากษาคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 ส่วนอำนาจของบุคคลซึ่งอ้างเป็นบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมนั้น ถ้าไม่มีหรือไม่ใช่ผู้แทนโดยชอบธรรม ศาลจะยกฟ้องหรือจะสั่งอย่างอื่นใดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมโดยไม่ต้องยกฟ้องก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 66
เมื่อคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาปรากฏว่าโจทก์ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะแล้ว มีอำนาจเป็นคู่ความด้วยตนเองได้แล้ว ศาลฎีกาก็ไม่จำเป็นต้องสั่งให้โจทก์แก้ไขเรื่องความสามารถ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1638/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้เยาว์และการแก้ไขความบกพร่องด้านความสามารถในการฟ้องคดี
ฟ้องซึ่งตั้งรูปว่า ผู้เยาว์โดยบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นโจทก์นั้น เป็นเรื่องผู้เยาว์เป็นโจทก์ฟ้องคดีเองโดยอาศัยอำนาจของบุคคลซึ่งอ้างเป็นบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมถึงหากจะฟังว่าบุคคลนั้นมิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ และขณะฟ้องคดีโจทก์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ก็เป็นเรื่องความสามารถในการฟ้องคดีของโจทก์ผู้เยาว์บกพร่อง ซึ่งศาลมีอำนาจสอบสวนและสั่งแก้ไขความบกพร่องนั้นให้บริบูรณ์ได้ก่อนศาลพิพากษาคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา56 ส่วนอำนาจของบุคคลซึ่งอ้างเป็นบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมนั้น ถ้าไม่มีหรือไม่ใช่ผู้แทนโดยชอบธรรม ศาลจะยกฟ้องหรือจะสั่งอย่างอื่นใดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมโดยไม่ต้องยกฟ้องก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา66
เมื่อคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาปรากฏว่าโจทก์ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะแล้ว มีอำนาจเป็นคู่ความด้วยตนเองได้แล้ว ศาลฎีกาก็ไม่จำเป็นต้องสั่งให้โจทก์แก้ไขเรื่องความสามารถ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1638/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้เยาว์และการแก้ไขความบกพร่องในความสามารถของคู่ความ
ฟ้องซึ่งตั้งรูปว่าผู้เยาว์โดยบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นโจทก์นั้น. เป็นเรื่องผู้เยาว์เป็นโจทก์ฟ้องคดีเอง.โดยอาศัยอำนาจของบุคคลซึ่งอ้างเป็นบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมถึงหากจะฟังว่าบุคคลนั้นมิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์. และขณะฟ้องคดีโจทก์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ. ก็เป็นเรื่องความสามารถในการฟ้องคดีของโจทก์ผู้เยาว์บกพร่อง. ซึ่งศาลมีอำนาจสอบสวนและสั่งแก้ไขความบกพร่องนั้นให้บริบูรณ์ได้ก่อนศาลพิพากษาคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา56. ส่วนอำนาจของบุคคลซึ่งอ้างเป็นบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมนั้น. ถ้าไม่มีหรือไม่ใช่ผู้แทนโดยชอบธรรม. ศาลจะยกฟ้องหรือจะสั่งอย่างอื่นใดเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมโดยไม่ต้องยกฟ้องก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา66.
เมื่อคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา.ปรากฏว่าโจทก์ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะแล้ว. มีอำนาจเป็นคู่ความด้วยตนเองได้แล้ว. ศาลฎีกาก็ไม่จำเป็นต้องสั่งให้โจทก์แก้ไขเรื่องความสามารถ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 164/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกหนี้หลังชำระบัญชีเลิกบริษัท และอำนาจทนายความในการดำเนินคดี
แม้การชำระบัญชีสิ้นสุดไปแล้ว กฎหมายยังให้เจ้าหนี้ฟ้องเรียกหนี้สินที่บริษัทหรือผู้ถือหุ้นเป็นหนี้อยู่ได้ กรณีเรื่องนี้ว่ากล่าวกันให้บริษัทผู้ร้องต้องรับผิดเป็นเงินวางศาลเมื่อบริษัทผู้ร้องรับไม้ของกลางไปและได้ว่ากล่าวกันก่อนเลิกบริษัท ฉะนั้น ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249 ประกอบมาตรา 1272 คู่กรณีจึงคงว่ากล่าวคดีกันต่อมาได้และทนายของบริษัทผู้ร้องคงมีอำนาจดำเนินดคีต่อมาตามที่ได้รับแต่งตั้งไว้ได้
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้บริษัทผู้ร้องนำเงินราคาไม้ของกลางที่ยังขาด 1,398,000 บาท มาวางศาลภายใน 15 วัน บริษัทผู้ร้องฎีกาต่อมาได้ไม่ต้องห้าม ไม่อยู่ภายในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
บริษัทผู้ร้องขอให้คิดราคาไม้ของกลาง 4 เท่าของอัตราค่าภาคหลวง ราคานี้กรมป่าไม้ขายให้เฉพาะองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ซึ่งเป็นองค์การรัฐบาลเท่านั้น การตีราคาในคดีนี้ต้องถือราคาในท้องตลาดเป็นเกณฑ์ คือ ลูกบาศก์เมตรละ 2,050 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 164/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกหนี้หลังเลิกบริษัท, อำนาจทนาย, และการตีราคาไม้ของกลาง
แม้การชำระบัญชีสิ้นสุดไปแล้ว กฎหมายยังให้เจ้าหนี้ฟ้องเรียกหนี้สินที่บริษัทหรือผู้ถือหุ้นเป็นหนี้อยู่ได้
กรณีเรื่องนี้ว่ากล่าวกันให้บริษัทผู้ร้องต้องรับผิดเป็นเงินวางศาลเมื่อบริษัทผู้ร้องรับไม้ของกลางไปและได้ว่ากล่าวกันก่อนเลิกบริษัท ฉะนั้น ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249 ประกอบมาตรา 1272 คู่กรณีจึงคงว่ากล่าวคดีกันต่อมาได้และทนายของบริษัทผู้ร้องคงมีอำนาจดำเนินคดีต่อมาตามที่ได้รับแต่งตั้งไว้ได้
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้บริษัทผู้ร้องนำเงินราคาไม้ของกลางที่ยังขาด 1,398,000 บาท มาวางศาลภายใน 15 วันบริษัทผู้ร้องฎีกาต่อมาได้ไม่ต้องห้ามไม่อยู่ภายในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
บริษัทผู้ร้องขอให้คิดราคาไม้ของกลาง 4 เท่าของอัตราค่าภาคหลวงราคานี้กรมป่าไม้ขายให้เฉพาะองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ซึ่งเป็นองค์การรัฐบาลเท่านั้นการตีราคาในคดีนี้ต้องถือราคาในท้องตลาดเป็นเกณฑ์ คือลูกบาศก์เมตรละ 2,050 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีและการแต่งทนายที่ไม่ถูกต้องตามข้อบังคับบริษัท ทำให้การดำเนินคดีเป็นโมฆะ
เมื่อข้อบังคับของบริษัทระบุว่า ในการลงชื่อทำการแทนบริษัทต้องมีกรรมการ 2 คนลงชื่อ แต่บริษัทโจทก์ฟ้องโดยมีกรรมการคนเดียวลงชื่อแต่งทนาย เมื่อจำเลยตัดฟ้องว่ากรรมการผู้เดียวไม่มีอำนาจ กรรมการสองคนของบริษัทโจทก์ยื่นคำร้องขอให้สัตยาบันการกระทำของทนายโจทก์และเพียงแต่ขอให้ศาลทราบไว้เท่านั้น ไม่แต่งทนายเข้ามาใหม่ให้ถูกต้อง อำนาจดำเนินคดีของทนายโจทก์ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยกรรมการผู้เดียวยังคงบกพร่องไม่สมบูรณ์อยู่เช่นเดิม ศาลจึงต้องพิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องและแต่งทนายต้องเป็นไปตามข้อบังคับบริษัท หากไม่ถูกต้อง แม้จะยื่นคำร้องรับรองก็ไม่สมบูรณ์
เมื่อข้อบังคับของบริษัทระบุว่าในการลงชื่อทำการแทนบริษัทต้องมีกรรมการ 2 คนลงชื่อแต่บริษัทโจทก์ฟ้องโดยมีกรรมการคนเดียวลงชื่อแต่งทนายเมื่อจำเลยตัดฟ้องว่ากรรมการผู้เดียวไม่มีอำนาจกรรมการสองคนของบริษัทโจทก์ยื่นคำร้องขอให้สัตยาบันการกระทำของทนายโจทก์และเพียงแต่ขอให้ศาลทราบไว้เท่านั้นไม่แต่งทนายเข้ามาใหม่ให้ถูกต้องอำนาจดำเนินคดีของทนายโจทก์ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยกรรมการผู้เดียวยังคงบกพร่องไม่สมบูรณ์อยู่เช่นเดิมศาลจึงต้องพิพากษายกฟ้อง
of 6