พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 459/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต และการแปรรูปไม้หวงห้าม ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยฐานกระทำผิดกฎหมายโรงงานและป่าไม้
ความผิดฐานแปรรูปไม้ประดู่โดยไม่ได้รับอนุญาต ฐานมีไม้ประดู่แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ฐานแปรรูปไม้ประดู่และไม้สะเดาโดยไม่ได้รับอนุญาต และฐานมีไม้ประดู่และไม้สะเดาแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น โจทก์บรรยายฟ้องแยกออกเป็นข้อ ๆ ว่าจำเลยได้กระทำการอันเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระแยกออกจากกัน ลักษณะของความผิดในแต่ละข้อหาเป็นความผิดคนละประเภทกัน ทั้งอาศัยเจตนาในการกระทำความผิดแตกต่างแยกจากกันได้ การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน หาใช่การกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทดังที่จำเลยฎีกาไม่ ส่วนความผิดฐานตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 โดยไม่ได้รับใบอนุญาต และฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องแยกความผิดของจำเลยฐานตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 โดยไม่ได้รับใบอนุญาต กับฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตมาคนละข้อต่างหากจากกัน แต่การที่จำเลยตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงานเกี่ยวกับไม้อันเป็นโรงงานจำพวกที่ 3 โดยไม่ได้รับใบอนุญาตและตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต ก็เพื่อที่จะแปรรูปไม้ซึ่งเป็นเจตนาเดียวกัน การกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3647/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีป่าไม้ จำเลยกระทำความผิดฐานแปรรูปและมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครอง แต่ไม้ดังกล่าวไม่ใช่ไม้หวงห้าม จึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 2 ก. และ ข. ว่าจำเลยมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองจำนวน 2,488 ท่อน ปริมาตรรวม 24.58 ลูกบาศก์เมตร เป็นสองกระทงความผิด โดยตามฟ้องข้อ 2 ก. ยังบรรยายอีกว่า นอกจากจำเลยทำการแปรรูปไม้แล้วยังมีไม้แปรรูปจำนวนเดียวกันตามคำฟ้องข้อ 2 ข. อยู่อีกจำนวน 2,488 ท่อน ปริมาตรรวม 24.58 ลูกบาศก์เมตร เพื่อต้องการแยกการกระทำความผิดของจำเลยให้ชัดแจ้ง และบรรยายองค์ประกอบความผิดของแต่ละฐานความผิดให้ครบถ้วน คือ ฐานแปรรูปไม้ และมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้น แม้ไม้ดังกล่าวจะเป็นจำนวนเดียวกันก็ตาม โจทก์ก็จะต้องบรรยายฟ้องให้มีรายละเอียดต่าง ๆ ของจำนวนไม้ท่อน และปริมาตรของไม้แปรรูป เพื่อให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) มิใช่เป็นการบรรยายฟ้องซ้ำซ้อนแต่อย่างใด ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 50 บัญญัติว่า "บทบัญญัติแห่งมาตรา 48 มิให้ใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้ (1)...(2)...(3)...(4) การแปรรูปไม้หรือมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองที่มิใช่ไม้หวงห้าม" การแปรรูปไม้และการมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองอันจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 48 วรรคหนึ่ง จึงต้องเป็นการกระทำต่อไม้หวงห้ามตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง ซึ่งในกรณีที่เป็นไม้ที่ขึ้นในป่านั้น ไม้ชนิดใดจะเป็นไม้หวงห้ามประเภทใดจะต้องกำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา คดีนี้โจทก์บรรยายมาในฟ้องว่าภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ จำเลยทำการแปรรูปไม้และมีไม้แปรรูปชนิดอื่น ซึ่งมิใช่ไม้หวงห้ามประเภท ก. และประเภท ข. ตาม พ.ร.ฎ.กำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2530 จำนวน 2,488 ท่อน รวมคำนวณปริมาตรไม้ได้ 24.58 ลูกบาศก์เมตร และไม้แปรรูปที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ บานประตู 5 บาน วงกบหน้าต่าง 10 วง และบานหน้าต่าง 6 บาน ซึ่งเป็นไม้แปรรูปชนิดอื่นเป็นจำนวนเกินสองลูกบาศก์เมตรไว้ในความครอบครองของจำเลย ตามฟ้องโจทก์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าไม้ที่จำเลยแปรรูปและมีไว้ในครอบครองนั้นมิใช่ไม้หวงห้าม การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 48 วรรคหนึ่ง, 73 วรรคสอง (2)
พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 50 บัญญัติว่า "บทบัญญัติแห่งมาตรา 48 มิให้ใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้ (1)...(2)...(3)...(4) การแปรรูปไม้หรือมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองที่มิใช่ไม้หวงห้าม" การแปรรูปไม้และการมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองอันจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 48 วรรคหนึ่ง จึงต้องเป็นการกระทำต่อไม้หวงห้ามตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง ซึ่งในกรณีที่เป็นไม้ที่ขึ้นในป่านั้น ไม้ชนิดใดจะเป็นไม้หวงห้ามประเภทใดจะต้องกำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา คดีนี้โจทก์บรรยายมาในฟ้องว่าภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ จำเลยทำการแปรรูปไม้และมีไม้แปรรูปชนิดอื่น ซึ่งมิใช่ไม้หวงห้ามประเภท ก. และประเภท ข. ตาม พ.ร.ฎ.กำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2530 จำนวน 2,488 ท่อน รวมคำนวณปริมาตรไม้ได้ 24.58 ลูกบาศก์เมตร และไม้แปรรูปที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ บานประตู 5 บาน วงกบหน้าต่าง 10 วง และบานหน้าต่าง 6 บาน ซึ่งเป็นไม้แปรรูปชนิดอื่นเป็นจำนวนเกินสองลูกบาศก์เมตรไว้ในความครอบครองของจำเลย ตามฟ้องโจทก์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าไม้ที่จำเลยแปรรูปและมีไว้ในครอบครองนั้นมิใช่ไม้หวงห้าม การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 48 วรรคหนึ่ง, 73 วรรคสอง (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1132/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้แปรรูปหวงห้าม การพิสูจน์ไม้เก่าที่เคยเป็นสิ่งปลูกสร้าง และการรอการลงโทษ
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง เป็นเรื่องที่กฎหมายกําหนดให้เป็นดุลพินิจของศาลที่จะพิพากษาไปโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไป มิได้หมายความว่าเมื่อจําเลยให้การรับสารภาพแล้วจะต้องพิพากษาลงโทษจําเลยเสมอไป คดีอาญาไม่ว่าจําเลยจะให้การเช่นใด ก็เป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาเสมอว่าจําเลยได้กระทำความผิดจริงหรือไม่ ถ้าศาลเห็นว่าจําเลยมิได้กระทำความผิดหรือการกระทำของจําเลยไม่เป็นความผิด ศาลย่อมพิพากษายกฟ้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง หรือหากศาลเห็นว่าสมควรให้มีการสืบพยานหลักฐานก่อนมีคําพิพากษาก็เป็นอำนาจของศาลที่จะมีคำสั่งเช่นนั้นได้ ประกอบขณะคดีนี้ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2562 มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 106/2557 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน ซึ่งตามบทบัญญัติมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 (ที่แก้ไขใหม่) มีผลต่อการวินิจฉัยของศาลว่า ไม้ของกลางยังคงเป็นไม้หวงห้ามหรือไม่ ซึ่งหากไม่เป็นไม้หวงห้าม การกระทำของจําเลยก็ย่อมไม่เป็นความผิดอีกต่อไป ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงมีอำนาจที่สั่งให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนพยานโจทก์และพยานจําเลยในประเด็นว่าไม้ของกลางเป็นไม้หวงห้ามหรือไม่ ได้ตาม ป.วิ.อ มาตรา 208 (1) ทั้ง พ.ร.บ.คุมประพฤติ พ.ศ. 2559 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้อำนาจศาลที่จะนําข้อเท็จจริงที่ปรากฏในรายงานการสืบเสาะและพินิจจำเลยที่พนักงานคุมประพฤติส่งศาลมาประกอบการพิจารณาพิพากษาหรือเพื่อประกอบดุลพินิจในการกำหนดโทษที่จะลงแก่จําเลย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 สั่งให้ศาลชั้นต้นทำการสืบเสาะและพินิจจําเลยก่อนมีคําพิพากษา และพิจารณารายงานการสืบเสาะและพินิจแล้วเห็นว่าข้อเท็จจริงไม่แน่ชัดว่าไม้ของกลางยังเป็นไม้หวงห้ามต่อไปหรือไม่ จึงมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานเพิ่มเติมในประเด็นถึงแหล่งที่มาของไม้ของกลาง แล้วนําข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากการสืบพยานหลักฐานของโจทก์และจําเลยมาเป็นพยานหลักฐานในการวินิจฉัยคดี จึงไม่ขัดต่อ ป.วิ.อ. และ พ.ร.บ.คุมประพฤติ พ.ศ. 2559 ดังกล่าว
คดีนี้ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยฐานมีไม้จําปา ไม้ตาเสือและไม้หยีแปรรูปอันเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. เกินกว่า 0.20 ลูกบาศก์เมตร ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีคําขอให้ลงโทษจําเลยตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 48, 73 จําเลยต่อสู้ว่าไม้แปรรูปของกลางส่วนที่เป็นไม้ใหม่เป็นไม้ที่ตัดมาจากที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ข ส่วนที่เป็นไม้เก่าได้มาจากการรื้อบ้านหลังเก่าที่ปลูกสร้างมาประมาณ 30 ปี เมื่อจําเลยให้การต่อสู้ดังกล่าว จําเลยจึงต้องนําสืบให้เห็นว่าไม้แปรรูปของกลางที่เป็นไม้ใหม่ ไม่ใช่ไม้หวงห้ามจึงจะเข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 50 (4) ส่วนไม้ของกลางที่เป็นไม้เก่าไม่ใช่ไม้แปรรูปตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4 (4) ซึ่งในประเด็นไม้แปรรูปที่เป็นไม้ใหม่นั้น จําเลยและ อ. ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้ขายไม้แปรรูปของกลางให้แก่จําเลยเบิกความแต่เพียงลอย ๆ ว่า ไม้แปรรูปของกลางตัดมาจากที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินซึ่งมีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินแบบ ส.ป.ก. 4-01 ข โดยไม่มีข้อเท็จจริงใดมานําสืบสนับสนุนให้เห็นเช่นนั้น ทั้งภาพถ่ายที่จําเลยอ้างไม่ปรากฏตอไม้ที่จะบ่งชี้ถึงที่มาของไม้แปรรูปของกลาง และบางภาพปรากฏว่าเป็นต้นไม้ที่ถูกโค่นใหม่ ยังไม่มีการแปรรูปใด ๆ ทำให้เชื่อได้ว่ามีการโค่นต้นไม้ดังกล่าวภายหลังจากจําเลยถูกดำเนินคดีนี้แล้ว จึงยังฟังไม่ได้ว่าไม้แปรรูปของกลางที่เป็นไม้ใหม่ได้มาจากไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ข ดังนั้น จึงต้องฟังว่าจําเลยมีไม้แปรรูปหวงห้ามไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต สำหรับไม้ของกลางที่เป็นไม้เก่าเป็นไม้ที่รื้อมาจากบ้านหลังเก่าของจําเลย ซึ่งตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4 (4) วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 31/2559 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ บัญญัติว่า "ไม้ที่อยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรืออยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้ ทั้งนี้ ตลอดเวลาที่อยู่ในสภาพเช่นนั้น รวมทั้งไม้ที่เคยอยู่ในสภาพดังกล่าว และผู้ครอบครองพิสูจน์ได้ว่าได้เคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีสำหรับไม้อื่นที่มิใช่ไม้สัก และไม่น้อยกว่าสิบปีสำหรับไม้สัก มิให้ถือว่าเป็นไม้แปรรูป" ความในวรรคนี้มีความหมายว่า ไม้ที่มิให้ถือว่าเป็นไม้แปรรูปนั้นแยกได้เป็นสองอย่าง คือ ไม้ที่อยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรืออยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้ ทั้งนี้ ตลอดเวลาที่อยู่ในสภาพเช่นนั้นอย่างหนึ่ง กับไม้ที่เคยอยู่ในสภาพดังกล่าว คือเคยเป็นสิ่งปลูกสร้างหรือเคยเป็นเครื่องใช้มาแล้วและผู้ครอบครองพิสูจน์ได้ว่าเคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีสำหรับไม้อื่นที่ไม่ใช้ไม้สัก และสิบปีสำหรับไม้สักอีกอย่างหนึ่ง ตามความในกฎหมายดังกล่าว ผู้ครอบครองจะต้องพิสูจน์แต่เฉพาะกรณีที่ไม้นั้นมิได้อยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรือมิได้อยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้แต่กล่าวอ้างว่าเคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้วเท่านั้น ข้อความที่ว่า "รวมทั้งไม้ที่เคยอยู่ในสภาพดังกล่าว และผู้ครอบครองพิสูจน์ได้ว่าเคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้ว" ย่อมแสดงชัดว่าในปัจจุบันไม้มิได้อยู่ในสภาพเช่นนั้นแล้ว โดยมีระยะเวลาไม่น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด คือ ห้าปีสำหรับไม้อื่นที่ไม่ใช่ไม้สัก และสิบปีสำหรับไม้สัก ดังนั้นไม้ของกลางที่เป็นไม้เก่านี้เป็นไม้ที่เคยอยู่ในสภาพสิ่งปลูกสร้างมาก่อน จึงมิใช่ไม้แปรรูปตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4 (4) การที่จําเลยมีไม้ของกลางในส่วนที่เป็นไม้เก่าไว้ในครอบครองจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 48, 73 เมื่อไม้ของกลางที่อยู่ในความครอบครองของจําเลยมีทั้งไม้แปรรูปที่เป็นไม้หวงห้าม กับไม้ที่มีไว้ในครอบครองได้โดยไม่เป็นความผิด ซึ่งในส่วนของไม้แปรรูปของกลางที่เป็นไม้หวงห้ามนั้น เมื่อพิจารณาจากภาพถ่ายที่โจทก์นําสืบมีจำนวนค่อนข้างมาก จําเลยเองก็ให้การไว้ในรายงานการสืบเสาะและพินิจจําเลยว่า ร. ไม่ทราบชื่อสกุล นําไม้จําปาแปรรูปจำนวน 50 แผ่น ไม้ตาเสือแปรรูปจำนวน 20 แผ่น และไม้หยีแปรรูปจำนวน 20 แผ่น มาขายให้แก่จําเลย ไม้แปรรูปของกลางที่เป็นไม้ใหม่จึงย่อมต้องมีปริมาตรเกินกว่า 0.20 ลูกบาศก์เมตร แต่เมื่อไม่ได้ความชัดว่าปริมาตรเกิน 2 ลูกบาศก์เมตร หรือไม่ ก็ต้องฟังในทางที่เป็นคุณแก่จําเลยว่า จําเลยมีไม้หวงห้ามแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตไม่เกิน 2 ลูกบาศก์เมตร
คดีนี้ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยฐานมีไม้จําปา ไม้ตาเสือและไม้หยีแปรรูปอันเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. เกินกว่า 0.20 ลูกบาศก์เมตร ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และมีคําขอให้ลงโทษจําเลยตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 48, 73 จําเลยต่อสู้ว่าไม้แปรรูปของกลางส่วนที่เป็นไม้ใหม่เป็นไม้ที่ตัดมาจากที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ข ส่วนที่เป็นไม้เก่าได้มาจากการรื้อบ้านหลังเก่าที่ปลูกสร้างมาประมาณ 30 ปี เมื่อจําเลยให้การต่อสู้ดังกล่าว จําเลยจึงต้องนําสืบให้เห็นว่าไม้แปรรูปของกลางที่เป็นไม้ใหม่ ไม่ใช่ไม้หวงห้ามจึงจะเข้าข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 50 (4) ส่วนไม้ของกลางที่เป็นไม้เก่าไม่ใช่ไม้แปรรูปตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4 (4) ซึ่งในประเด็นไม้แปรรูปที่เป็นไม้ใหม่นั้น จําเลยและ อ. ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้ขายไม้แปรรูปของกลางให้แก่จําเลยเบิกความแต่เพียงลอย ๆ ว่า ไม้แปรรูปของกลางตัดมาจากที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินซึ่งมีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินแบบ ส.ป.ก. 4-01 ข โดยไม่มีข้อเท็จจริงใดมานําสืบสนับสนุนให้เห็นเช่นนั้น ทั้งภาพถ่ายที่จําเลยอ้างไม่ปรากฏตอไม้ที่จะบ่งชี้ถึงที่มาของไม้แปรรูปของกลาง และบางภาพปรากฏว่าเป็นต้นไม้ที่ถูกโค่นใหม่ ยังไม่มีการแปรรูปใด ๆ ทำให้เชื่อได้ว่ามีการโค่นต้นไม้ดังกล่าวภายหลังจากจําเลยถูกดำเนินคดีนี้แล้ว จึงยังฟังไม่ได้ว่าไม้แปรรูปของกลางที่เป็นไม้ใหม่ได้มาจากไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ข ดังนั้น จึงต้องฟังว่าจําเลยมีไม้แปรรูปหวงห้ามไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต สำหรับไม้ของกลางที่เป็นไม้เก่าเป็นไม้ที่รื้อมาจากบ้านหลังเก่าของจําเลย ซึ่งตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4 (4) วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 31/2559 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ บัญญัติว่า "ไม้ที่อยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรืออยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้ ทั้งนี้ ตลอดเวลาที่อยู่ในสภาพเช่นนั้น รวมทั้งไม้ที่เคยอยู่ในสภาพดังกล่าว และผู้ครอบครองพิสูจน์ได้ว่าได้เคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีสำหรับไม้อื่นที่มิใช่ไม้สัก และไม่น้อยกว่าสิบปีสำหรับไม้สัก มิให้ถือว่าเป็นไม้แปรรูป" ความในวรรคนี้มีความหมายว่า ไม้ที่มิให้ถือว่าเป็นไม้แปรรูปนั้นแยกได้เป็นสองอย่าง คือ ไม้ที่อยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรืออยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้ ทั้งนี้ ตลอดเวลาที่อยู่ในสภาพเช่นนั้นอย่างหนึ่ง กับไม้ที่เคยอยู่ในสภาพดังกล่าว คือเคยเป็นสิ่งปลูกสร้างหรือเคยเป็นเครื่องใช้มาแล้วและผู้ครอบครองพิสูจน์ได้ว่าเคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีสำหรับไม้อื่นที่ไม่ใช้ไม้สัก และสิบปีสำหรับไม้สักอีกอย่างหนึ่ง ตามความในกฎหมายดังกล่าว ผู้ครอบครองจะต้องพิสูจน์แต่เฉพาะกรณีที่ไม้นั้นมิได้อยู่ในสภาพเป็นสิ่งปลูกสร้างหรือมิได้อยู่ในสภาพเป็นเครื่องใช้แต่กล่าวอ้างว่าเคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้วเท่านั้น ข้อความที่ว่า "รวมทั้งไม้ที่เคยอยู่ในสภาพดังกล่าว และผู้ครอบครองพิสูจน์ได้ว่าเคยมีสภาพเช่นนั้นมาแล้ว" ย่อมแสดงชัดว่าในปัจจุบันไม้มิได้อยู่ในสภาพเช่นนั้นแล้ว โดยมีระยะเวลาไม่น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด คือ ห้าปีสำหรับไม้อื่นที่ไม่ใช่ไม้สัก และสิบปีสำหรับไม้สัก ดังนั้นไม้ของกลางที่เป็นไม้เก่านี้เป็นไม้ที่เคยอยู่ในสภาพสิ่งปลูกสร้างมาก่อน จึงมิใช่ไม้แปรรูปตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4 (4) การที่จําเลยมีไม้ของกลางในส่วนที่เป็นไม้เก่าไว้ในครอบครองจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 48, 73 เมื่อไม้ของกลางที่อยู่ในความครอบครองของจําเลยมีทั้งไม้แปรรูปที่เป็นไม้หวงห้าม กับไม้ที่มีไว้ในครอบครองได้โดยไม่เป็นความผิด ซึ่งในส่วนของไม้แปรรูปของกลางที่เป็นไม้หวงห้ามนั้น เมื่อพิจารณาจากภาพถ่ายที่โจทก์นําสืบมีจำนวนค่อนข้างมาก จําเลยเองก็ให้การไว้ในรายงานการสืบเสาะและพินิจจําเลยว่า ร. ไม่ทราบชื่อสกุล นําไม้จําปาแปรรูปจำนวน 50 แผ่น ไม้ตาเสือแปรรูปจำนวน 20 แผ่น และไม้หยีแปรรูปจำนวน 20 แผ่น มาขายให้แก่จําเลย ไม้แปรรูปของกลางที่เป็นไม้ใหม่จึงย่อมต้องมีปริมาตรเกินกว่า 0.20 ลูกบาศก์เมตร แต่เมื่อไม่ได้ความชัดว่าปริมาตรเกิน 2 ลูกบาศก์เมตร หรือไม่ ก็ต้องฟังในทางที่เป็นคุณแก่จําเลยว่า จําเลยมีไม้หวงห้ามแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตไม่เกิน 2 ลูกบาศก์เมตร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1907/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระการพิสูจน์ของจำเลยเมื่ออ้างว่าไม้ประดู่แปรรูปได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่พยานหลักฐานไม่น่าเชื่อถือ
จำเลยฎีกาว่า ไม้ประดู่แปรรูปของกลางจำเลยซื้อมาจากร้อยตำรวจโท ร. เป็นไม้ประดู่แปรรูปมาจากต้นไม้ประดู่ที่ขึ้นอยู่ในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายที่ดินจึงไม่เป็นไม้หวงห้ามนั้น เห็นว่า ข้ออ้างตามที่จำเลยยกขึ้นฎีกามาดังกล่าวเป็นการยกข้อกล่าวอ้างที่อยู่ในความรู้เห็นของจำเลยโดยเฉพาะ จำเลยจึงมีภาระการพิสูจน์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9103/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต และแปรรูปไม้หวงห้าม การลงโทษตามกฎหมายป่าไม้
โจทก์บรรยายฟ้องในข้อ 2.2 ว่า จำเลยกับพวกร่วมกันตั้งโรงงานแปรรูปไม้ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ โดยใช้เลื่อยโซ่ยนต์ตามฟ้องข้อ 2.1 ตัดทอนไม้ให้เปลี่ยนรูปไปจากเดิมและบรรยายฟ้องในข้อ 2.3 ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันแปรรูปไม้สักและไม้ประดู่ อันเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ให้เป็นแผ่น ได้ไม้สักแปรรูป 49 แผ่น/เหลี่ยม ปริมาตร 0.72 ลูกบาศก์เมตร และได้ไม้ประดู่แปรรูป 19 แผ่น/เหลี่ยม ปริมาตร 0.16 ลูกบาศก์เมตร ตามคำฟ้องดังกล่าวมีความหมายในตัวว่า โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้สักและไม้ประดู่โดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 73 วรรคสอง (1) เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพและไม้ที่จำเลยที่ 1 กับพวกตั้งโรงงานเป็นไม้สัก การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 48 วรรคหนึ่ง ซึ่งต้องลงโทษตามมาตรา 73 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15073/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาแก้โทษในคดีป่าไม้: ศาลอุทธรณ์แก้โทษเล็กน้อย ไม่ถือเป็นการแก้บทความผิด ฎีกาขอรอการลงโทษต้องห้าม
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 48 วรรคหนึ่ง, 73 วรรคหนึ่ง, วรรคสอง (1) การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงไป ฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 3 เดือน ฐานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 3 เดือน ฐานมีไม้สักและไม้เหียงแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานมีไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุก 1 ปี รวมจำคุก 1 ปี 6 เดือน ลดโทษให้กระทงละกึ่งหนึ่ง คงจำคุก 9 เดือน บวกโทษจำคุก 18 เดือน ที่รอการลงโทษไว้แล้ว เป็นจำคุก 27 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้เป็นว่า ฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้เหียงและไม้สักโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้สักโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 1 ปี ฐานแปรรูปไม้เหียงและไม้สักโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานแปรรูปไม้สักโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 1 ปี อันเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ลงโทษจำเลยฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตและฐานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 48 วรรคหนึ่ง และ 73 วรรคหนึ่ง ทั้งสองฐานความผิด เป็นลงโทษจำเลยฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้สักโดยไม่ได้รับอนุญาตและฐานแปรรูปไม้สักโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 48 วรรคหนึ่ง และ 73 วรรคสอง (1) ทั้งสองฐานความผิด จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้วรรคของความผิดในบทมาตราเดียวกัน ไม่ถือเป็นการแก้บทความผิด แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 แก้ไขโทษด้วยก็เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และคงให้ลงโทษจำคุกกระทงละไม่เกินห้าปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 5 เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14628/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การโต้แย้งดุลพินิจศาลชั้นต้น/อุทธรณ์เกี่ยวกับพยานหลักฐานเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 48 วรรคหนึ่ง, 69 วรรคหนึ่ง, 73 วรรคสอง (2) ประกอบ ป.อ. มาตรา 83 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91 ฐานร่วมกันมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 3 ปี ฐานร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูป จำคุก 3 เดือน รวมจำคุก 3 ปี 3 เดือน และศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนตามศาลล่างให้ลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยฎีกาโต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 353/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองไม้หวงห้ามรวมถึงการควบคุมการขนย้าย แม้ไม่ใช่เจ้าของโดยตรง ก็ถือเป็นความผิดร่วมกันได้
คำว่า "ครอบครอง" ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 หมายความรวมถึงครอบครองเพื่อตนเองและครอบครองแทนผู้อื่นด้วย ทั้งนี้ เพราะไม่มีบทกฎหมายใดจำกัดว่าต้องเป็นการครอบครองเพื่อตนเองเท่านั้นจึงจะเป็นความผิด ทั้งในทางอาญาการร่วมกันครอบครองไม้หวงห้ามก็เป็นความผิดเช่นเดียวกัน เมื่อได้ความจากการพิจารณาว่าจำเลยทั้งสองมาควบคุมการขนไม้หวงห้ามของกลางให้แม่เลี้ยง ต. อันเป็นการกระทำผิดร่วมกันจึงถือว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 กับพวกครอบครองไม้ของกลางแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 233/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำไม้แปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลลดโทษและรอการลงโทษเนื่องจากพฤติการณ์ไม่ร้ายแรง
แม้จำเลยทั้งสามใช้เครื่องเลื่อยโซ่ยนต์ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงในการทำไม้และแปรรูปไม้ แต่ปรากฏตามรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติว่า ไม้ยางที่จำเลยทั้งสามร่วมกันแปรรูปนั้นอยู่ในเขตที่ดินของนาย ส. ญาติจำเลยที่ 1 มิได้ขึ้นอยู่ในป่า ทั้งนาย ส. ก็อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ตัดไม้ได้ เพียงแต่จำเลยที่ 1 มิได้ดำเนินการขออนุญาตทำไม้และแปรรูปไม้ให้ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น พฤติการณ์แห่งคดีจึงไม่ร้ายแรงนัก และไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสามเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน เห็นสมควรให้โอกาสแก่จำเลยทั้งสามกลับตัวประพฤติตนเป็นพลเมืองดีต่อไป โดยให้รอการลงโทษจำคุกจำเลยไว้ ตาม ป.อ. มาตรา 56 แต่เพื่อให้จำเลยทั้งสามหลาบจำไม่หวนกลับไปกระทำความผิดซ้ำอีก เห็นสมควรลงโทษปรับอีกสถานหนึ่ง
ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ ฯ มาตรา 69 ด้วย ซึ่งความผิดดังกล่าวเป็นกรณีการมีไม้ยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครอง จึงเป็นการปรับบทไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ ฯ มาตรา 69 ด้วย ซึ่งความผิดดังกล่าวเป็นกรณีการมีไม้ยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครอง จึงเป็นการปรับบทไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3788/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งโรงงานแปรรูปไม้ในเขตควบคุม ต้องได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ แม้มีใบอนุญาตโรงงานจากกระทรวงอุตสาหกรรม
การที่จำเลยใช้กบไฟฟ้าและเลื่อยวงเดือนของกลางซึ่งติดตั้งบนแท่นไม้ไสและเลื่อยไม้ของกลางอันเป็นการแปรรูปไม้ที่สถานที่เกิดเหตุ สถานที่เกิดเหตุจึงเป็นที่ซึ่งจัดไว้เป็นที่ทำการแปรรูปไม้อันเป็นโรงงานแปรรูปไม้ตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 4(13) แม้จำเลยได้รับใบอนุญาตตั้งโรงงานที่กระทรวงอุตสาหกรรมออกให้ตามพระราชบัญญัติ โรงงานฯ แล้วก็ตาม แต่โรงงานของจำเลยตั้งอยู่ในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ จำเลยก็ต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 48 วรรคหนึ่ง ด้วยเมื่อจำเลยไม่ได้รับอนุญาตตามบทบัญญัติดังกล่าว จำเลยจึงมีความผิดฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นความผิดสำเร็จเมื่อมีการตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต แม้จะยังมิได้แปรรูปไม้ก็ตาม ความผิดฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตจึงเป็นความผิดคนละกรรมกับความผิดฐานแปรรูปไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต