คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัย หรือผาสุกแห่งสาธารณชน พ.ศ.2471 ม. 7

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สมาคมจัดเก็บค่าธรรมเนียมลักษณะประกันชีวิต เข้าข่ายประกอบธุรกิจประกันชีวิตตามกฎหมาย
วิธีดำเนินการของสมาคมซึ่งถือว่าเป็นการประกอบธุรกิจประกันชีวิตแล้ว (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2516)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 637/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกอบกิจการคล้ายประกันภัยโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการค้าขาย
การกระทำตามฟ้องและจำเลยรับเป็นการกระทำอันมีลักษณะคล้ายคลึงกับการประกันชีวิตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 861,889 เพราะจำเลยตกลงจะใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่ผู้รับประโยชน์ในเหตุการณ์อันเป็นมรณะของผู้เป็นสมาชิกในอนาคต และจำเลยจะใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่ผู้รับประโยชน์หรือไม่ ย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของผู้เป็นสมาชิกดังนี้ ต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงเศรษฐการ การกระทำที่ไม่ได้รับอนุญาตจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชนฯ และการที่บริษัทจำกัดจำเลยที่ 1 ได้ดำเนินการดังกล่าวตามวัตถุประสงค์ที่ว่าดำเนินการอันเป็นกุศลหรือสงเคราะห์ผู้ถือหุ้นและลูกค้านั้นโดยมิได้รับอนุญาต จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตามกฎหมายดังกล่าวจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ร่วมกระทำด้วยต้องมีความผิดด้วยและเมื่อการกระทำของจำเลยที่ 2 ในตอนต้นและตอนหลังเป็นกิจการคล้ายคลึงกับการประกันชีวิตอันเดียวกันและยังไม่สิ้นระยะเวลาตามระเบียบข้อตกลงในกิจการที่จำเลยกระทำจึงไม่ขาดอายุความฟ้องร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ประกอบการประกันภัยต้องเป็นผู้กระทำผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการค้า การฟ้องนายหน้าประกันภัยจึงไม่ชอบ
ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน พ.ศ.2471 (แก้ไขโดยพระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าอันกระทบถึงความปลอดภัยฯ(ฉบับที่ 3)พ.ศ.2499 มาตรา 3) นั้น ผู้กระทำผิดจะต้องเป็นผู้ประกอบกิจการประกันภัยเอง หาใช่เป็นแต่เพียงตัวแทนหรือนายหน้าเท่านั้นไม่ โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยซึ่งเป็นเพียงนายหน้า ตามบทกฎหมายดังกล่าวนั้นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1050/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการบริษัทโฆษณาชักชวนลงทุนคล้ายประกันชีวิต บริษัทไม่ต้องรับผิดชอบหากเกินวัตถุประสงค์
จำเลยอื่นซึ่งเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 กระทำการโฆษณาชักชวนประชาชนให้เข้าเป็นสมาชิกถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งรับโอนหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิม โดยบริษัทสัญญาจะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์ เมื่อผู้ถือหุ้นถึงแก่กรรม อันเป็นกิจการค้าคล้ายคลึงกับการประกันชีวิตโดยมิได้รับอนุญาต แม้จำเลยอื่นนั้นกระทำในนามของบริษัทจำเลยที่ 1 ก็เป็นกิจการซึ่งกระทำโดยจำเลยอื่นนั้นเอง บริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลจะกระทำกิจการอันเป็นการนอกวัตถุประสงค์มิได้ จึงลงโทษบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1201-1203/2498 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงโดยหลอกลวงให้ลงทุนหวังผลตอบแทนสูงเกินจริง และการเพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบ
จำเลยตั้งสำนักงานขึ้นให้ชื่อว่าบริษัทชัยวัฒนา มีวัตถุประสงค์ทำการค้าและชักชวนให้ประชาชนำเงินมาฝากเป็นการเข้าหุ้น แต่การเข้าหุ้นนี้จำเลยคิดผลประโยชน์ให้ร้อยละ 50 ต่อเดือนเป็นรายเดือน มีประชาชนหลายจังหวัดนำเงินมามอบให้จำเลยเป็นจำนวนมากมายหลายสิบล้านบาทเพราะหวังประโยชน์ตอบแทนอันสูง ดังนี้เมื่อคำนวนอัตราผลประโยชน์ร้อยละ 50 ต่อเดือนที่จำเลยคิดให้แล้วในต้นเดือนที่จำเลยคิดให้แล้วในต้นเงินเพียง 100 บาท ถ้าฝากจำเลยสมทบทั้งต้นและผลประโยชน์ ในปีหนึ่งจำเลยจะต้องจ่ายเป็นเงินหนึ่งหมื่นเศษ ถ้าถึงปีที่ 2 ก็เป็นจำนวนเกินล้านบาท ซึ่งเป็นที่เห็นได้ชัดว่าจำเลยจะไปหาผลกำไรจากที่ไหนมาจ่ายให้ได้ แม้จำเลยเองก็ว่าหุ้นส่วนมีกำไรเท่าใดไม่อาจรู้ได้ แต่กระนั้นจำเลยก็ยังคงจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ฝากไปได้ เหตุที่จำเลยจ่ายเงินปันผลทั้ง ๆที่ไม่รู้ว่ามีกำไรเท่าใดนั้น ย่อมประกอบให้เห็นเจตนาจำเลยในการลวงให้เข้าหลงเชื่อโดยแท้การกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้อุบายเป็นทำนองว่าตนทำการค้าใหญ่โตให้เขานำเงินมาฝากเข้าเป็นหุ้นส่วน โดยสัญญาจะจ่ายเงินปันผลให้ร้อยละ 50 ต่อเดือน ทั้ง ๆ ที่ตนเองก็รู้ดีว่าไม่สามารถจะจ่ายให้เขาได้จึงนับว่าเป็นความเท็จและคนหลงเชื่อนำเงินมาฝากมากมายเช่นนี้ย่อมเข้าเกณฑ์ความผิดฐานฉ้อโกงตาม ก.ม. อาญา ม.304 และการกระทำดังกล่าวไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ธนาคารพานิชย์เพราะไม่ใช่ทำการเป็นธนาคารพานิชย์และไม่มีสภาพคล้ายคลึงกับกิจการธนาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการค้าอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุขแห่งสาธารณะชน พ.ศ. 2471 ม.7
โจทก์กล่าวฟ้องว่าก่อนคดีนี้จำเลยที่ 1 เคยต้องโทษฐานไม่ทำบัญชีแสดงรายการรับและจำหน่ายน้ำตาลมาครั้งหนึ่ง ศาลพิพากษาปรับ 50 บาท ดังปรากฎในคดีแดงที่ 178/2489 พ้นโทษยังไม่เกิน 5 ปี จำเลยแถลงรับว่าเคยต้องโทษจริงตามฟ้อง แล้วโจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องว่า ความผิดฐานไม่ทำบัญชีซึ่งจำเลยเคยต้องโทษนั้นเป็นความผิดซึ่งไม่ใช่เป็นส่วนลหุโทษและมิใช่ความผิดที่เกิดขึ้นด้วยประมาทศาลสองจำเลย จำเลยไม่คัดค้านศาลอนุญาตและปรากฎว่าในสำนวนเลขแดงที่ 178/2489 ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ตาม พ.ร.บ.ภาษีอากรซื้อน้ำตาล ม.26 ที่บัญญัติให้มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาทหรือจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งมิใช่ความผิดฐานลหุโทษ ดังนี้แม้ในฟ้องจะมิได้ระบุว่าโทษครั้งก่อนเนื่องจากความผิดต่อ ก.ม. ใดเลยก็เพิ่มโทษจำเลยฐานไม่เข็ดหลาบตาม ก.ม. อาญา ม.72 ตามฟ้องของโจทก์ได้
ถ้าคดีมีปัญหาแต่เฉพาะข้อ ก.ม. ในการวินิจฉัยปัญหาข้อ ก.ม. นั้น ศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1201-1203/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงจากการระดมทุนลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงเกินจริง และการเพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบ
จำเลยตั้งสำนักงานขึ้นให้ชื่อว่าบริษัทชัยวัฒนา มีวัตถุประสงค์ทำการค้าและชักชวนให้ประชาชนนำเงินมาฝากเป็นการเข้าหุ้น แต่การเข้าหุ้นนี้จำเลยคิดผลประโยชน์ให้ร้อยละ 50 ต่อเดือนเป็นรายเดือน มีประชาชนหลายจังหวัดนำเงินมามอบให้จำเลยเป็นจำนวนมากมายหลายสิบล้านบาทเพราะหวังประโยชน์ตอบแทนอันสูง ดังนี้เมื่อคำนวณอัตราผลประโยชน์ร้อยละ 50 ต่อเดือนที่จำเลยคิดให้แล้วในต้นเงินเพียง100 บาท ถ้าฝากจำเลยสมทบทั้งต้นและผลประโยชน์ ในปีหนึ่งจำเลยจะต้องจ่ายเป็นเงินหนึ่งหมื่นเศษ ถ้าถึงปีที่ 2 ก็เป็นจำนวนเกินล้านบาท ซึ่งเป็นที่เห็นได้ชัดว่าจำเลยจะไปหาผลกำไรจากที่ไหนมาจ่ายให้ได้ แม้จำเลยเองก็ว่าหุ้นส่วนมีกำไรเท่าใดไม่อาจรู้ได้ แต่กระนั้นจำเลยก็ยังคงจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ฝากไปได้ เหตุที่จำเลยจ่ายเงินปันผลทั้งๆ ที่ไม่รู้ว่ามีกำไรเท่าใดนั้น ย่อมประกอบให้เห็นเจตนาจำเลยในการลวงให้เขาหลงเชื่อโดยแท้การกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้อุบายเป็นทำนองว่าตนทำการค้าใหญ่โตให้เขานำเงินมาฝากเข้าเป็นหุ้นส่วน โดยสัญญาจะจ่ายเงินปันผลให้ร้อยละ 50 ต่อเดือนทั้งๆ ที่ตนเองก็รู้ดีว่าไม่สามารถจะจ่ายให้เขาได้จึงนับว่าเป็นความเท็จและคนหลงเชื่อนำเงินมาฝากมากมายเช่นนี้ย่อมเข้าเกณฑ์ความผิดฐานฉ้อโกงตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 304 และการกระทำดังกล่าวไม่เป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติธนาคารพานิชย์ เพราะไม่ใช่ทำการเป็นธนาคารพานิชย์ และไม่มีสภาพคล้ายคลึงกับกิจการธนาคารตาม พระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุขแห่งสาธารณะชน พ.ศ.2471 มาตรา 7
โจทก์กล่าวฟ้องว่าก่อนคดีนี้จำเลยที่ 1 เคยต้องโทษฐานไม่ทำบัญชีแสดงรายการรับและจำหน่ายน้ำตาลมาครั้งหนึ่ง ศาลพิพากษาปรับ 50 บาท ดังปรากฏในคดีแดงที่ 178/2489 พ้นโทษยังไม่เกิน 5 ปีจำเลยแถลงรับว่าเคยต้องโทษจริงตามฟ้อง แล้วโจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องว่าความผิดฐานไม่ทำบัญชีซึ่งจำเลยเคยต้องโทษนั้นเป็นความผิด ซึ่งไม่ใช่เป็นส่วนลหุโทษ และมิใช่ความผิดที่เกิดขึ้นด้วยประมาท ศาลสอบจำเลย จำเลยไม่คัดค้านศาลอนุญาตและปรากฏว่าในสำนวนเลขแดงที่ 178/2489 ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พระราชบัญญัติภาษีการซื้อน้ำตาล มาตรา 26 ที่บัญญัติให้มีโทษปรับไม่เกิน 2000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน2 ปีหรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งมิใช่ความผิดฐานลหุโทษดังนี้แม้ในฟ้องจะมิได้ระบุว่าโทษครั้งก่อนเนื่องจากความผิดต่อ กฎหมาย ใดเลยก็เพิ่มโทษจำเลยฐานไม่เข็ดหลาบตามกฎหมายอาญา มาตรา 72 ตามฟ้องของโจทก์ได้
ถ้าคดีมีปัญหาแต่เฉพาะข้อกฎหมาย ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย นั้นศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1201-1203/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงลงทุน-ผลตอบแทนสูงเกินจริง-เพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบ
จำเลยตั้งสำนักงานขึ้นให้ชื่อว่าบริษัทชัยวัฒนา มีวัตถุประสงค์ทำการค้าและชักชวนให้ประชาชนนำเงินมาฝากเป็นการเข้าหุ้น แต่การเข้าหุ้นนี้จำเลยคิดผลประโยชน์ให้ร้อยละ 50 ต่อเดือนเป็นรายเดือน มีประชาชนหลายจังหวัดนำเงินมามอบให้จำเลยเป็นจำนวนมากมายหลายสิบล้านบาทเพราะหวังประโยชน์ตอบแทนอันสูง ดังนี้เมื่อคำนวณอัตราผลประโยชน์ร้อยละ 50 ต่อเดือนที่จำเลยคิดให้แล้วในต้นเงินเพียง100 บาท ถ้าฝากจำเลยสมทบทั้งต้นและผลประโยชน์ ในปีหนึ่งจำเลยจะต้องจ่ายเป็นเงินหนึ่งหมื่นเศษ ถ้าถึงปีที่ 2 ก็เป็นจำนวนเกินล้านบาท ซึ่งเป็นที่เห็นได้ชัดว่าจำเลยจะไปหาผลกำไรจากที่ไหนมาจ่ายให้ได้ แม้จำเลยเองก็ว่าหุ้นส่วนมีกำไรเท่าใดไม่อาจรู้ได้ แต่กระนั้นจำเลยก็ยังคงจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ฝากไปได้ เหตุที่จำเลยจ่ายเงินปันผลทั้งๆ ที่ไม่รู้ว่ามีกำไรเท่าใดนั้น ย่อมประกอบให้เห็นเจตนาจำเลยในการลวงให้เขาหลงเชื่อโดยแท้การกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้อุบายเป็นทำนองว่าตนทำการค้าใหญ่โตให้เขานำเงินมาฝากเข้าเป็นหุ้นส่วน โดยสัญญาจะจ่ายเงินปันผลให้ร้อยละ 50 ต่อเดือนทั้งๆ ที่ตนเองก็รู้ดีว่าไม่สามารถจะจ่ายให้เขาได้จึงนับว่าเป็นความเท็จและคนหลงเชื่อนำเงินมาฝากมากมายเช่นนี้ย่อมเข้าเกณฑ์ความผิดฐานฉ้อโกงตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 304 และการกระทำดังกล่าวไม่เป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติธนาคารพานิชย์ เพราะไม่ใช่ทำการเป็นธนาคารพานิชย์ และไม่มีสภาพคล้ายคลึงกับกิจการธนาคารตาม พระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุขแห่งสาธารณะชน พ.ศ.2471 มาตรา 7
โจทก์กล่าวฟ้องว่าก่อนคดีนี้จำเลยที่ 1 เคยต้องโทษฐานไม่ทำบัญชีแสดงรายการรับและจำหน่ายน้ำตาลมาครั้งหนึ่ง ศาลพิพากษาปรับ 50 บาท ดังปรากฏในคดีแดงที่ 178/2489 พ้นโทษยังไม่เกิน 5 ปีจำเลยแถลงรับว่าเคยต้องโทษจริงตามฟ้อง แล้วโจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องว่าความผิดฐานไม่ทำบัญชีซึ่งจำเลยเคยต้องโทษนั้นเป็นความผิด ซึ่งไม่ใช่เป็นส่วนลหุโทษ และมิใช่ความผิดที่เกิดขึ้นด้วยประมาท ศาลสอบจำเลย จำเลยไม่คัดค้านศาลอนุญาตและปรากฏว่าในสำนวนเลขแดงที่ 178/2489 ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พระราชบัญญัติภาษีการซื้อน้ำตาล มาตรา 26 ที่บัญญัติให้มีโทษปรับไม่เกิน 2000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน2 ปีหรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งมิใช่ความผิดฐานลหุโทษดังนี้แม้ในฟ้องจะมิได้ระบุว่าโทษครั้งก่อนเนื่องจากความผิดต่อ กฎหมาย ใดเลยก็เพิ่มโทษจำเลยฐานไม่เข็ดหลาบตามกฎหมายอาญา มาตรา 72 ตามฟ้องของโจทก์ได้
ถ้าคดีมีปัญหาแต่เฉพาะข้อกฎหมาย ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย นั้นศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 863/2481

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครดิตฟองซิเอร์และการรับจำนอง: บริษัทต้องขออนุญาตประกอบกิจการตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการค้า
การวินิจฉัยคดีตามหลักกฎหมายทั่วไปเครดิตฟ้องซิเอเป็นกิจการที่เกิดขึ้นและรับรองโดยกฎหมายภาคพื้นยุโรบ จึงต้องพิจารณาตามหลักกฎหมายเช่นนั้น เครติดฟ้องซิเอร์เป็นวิธีการอย่างหนึ่ง ซึ่งให้เครดิตการกู้ยืมเิงนหรือประโยชน์อื่นในทำนองเดียวกันโดยทั่วไปแก่บุคคลทุกชนิตไม่จำกัดฉะเพาะพวกกสิกรโดยมือสังหาริมทรัพย์เป็นประกันและไม่จำต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์นั้นเอง บริษัทจำกัดจดทะเบียนมีวัตถุประสงค์ในการรับจำนองอสังหาริมทรัพย์เป็นกิจการค้าการเช่นนี้เป็นเครดิตฟองซิเอร์จำต้องได้รับอนุญาต+รัฐบาลตามความในพ.ร.บ.ควบคุมกิจการค้า+ฯลฯ เครดิตฟองซิเอร์ซึ่งมิได้รับอนุญาตจากรัฐบาลนั้นไม่มีอำนาจทำการรับจำนองและโอนที่ดินใด ๆ ได้
of 2