พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 459/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต และการแปรรูปไม้หวงห้าม ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยฐานกระทำผิดกฎหมายโรงงานและป่าไม้
ความผิดฐานแปรรูปไม้ประดู่โดยไม่ได้รับอนุญาต ฐานมีไม้ประดู่แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ฐานแปรรูปไม้ประดู่และไม้สะเดาโดยไม่ได้รับอนุญาต และฐานมีไม้ประดู่และไม้สะเดาแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น โจทก์บรรยายฟ้องแยกออกเป็นข้อ ๆ ว่าจำเลยได้กระทำการอันเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระแยกออกจากกัน ลักษณะของความผิดในแต่ละข้อหาเป็นความผิดคนละประเภทกัน ทั้งอาศัยเจตนาในการกระทำความผิดแตกต่างแยกจากกันได้ การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน หาใช่การกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทดังที่จำเลยฎีกาไม่ ส่วนความผิดฐานตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 โดยไม่ได้รับใบอนุญาต และฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องแยกความผิดของจำเลยฐานตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 โดยไม่ได้รับใบอนุญาต กับฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตมาคนละข้อต่างหากจากกัน แต่การที่จำเลยตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงานเกี่ยวกับไม้อันเป็นโรงงานจำพวกที่ 3 โดยไม่ได้รับใบอนุญาตและตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต ก็เพื่อที่จะแปรรูปไม้ซึ่งเป็นเจตนาเดียวกัน การกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4655/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ การครอบครองพื้นที่ และความรับผิดทางแพ่ง
ความผิดฐานร่วมกันทำไม้หวงห้ามในเขตป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต และฐานร่วมกันยึดถือครอบครองทำประโยชน์ แผ้วถาง หรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ตามพฤติการณ์การกระทำความผิดในคดีนี้ สามารถแยกการกระทำและเจตนาในการกระทำออกจากกันได้ จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานร่วมกันทำไม้หวงห้ามในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ฯ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 นั้น ไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ซึ่งกระทำความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวเพิ่มขึ้น จึงไม่อาจแก้ไขโทษที่จะลงแก่จำเลยที่ 1 ได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3376/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัย: การยกข้อเท็จจริงใหม่ขัดกับคำรับสารภาพ และการลงโทษที่ไม่สมเหตุผล
โจทก์บรรยายในคำฟ้องอย่างแจ้งชัดว่า จำเลยทำไม้ปอเลียง ในบริเวณป่าบางไต เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงต้องรับฟังตามคำฟ้องว่าจำเลยทำไม้ในป่าอันเป็นการทำไม้หวงห้ามและมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูป ที่จำเลยอ้างว่าเป็นการทำไม้ในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองไม่เป็นไม้หวงห้ามในชั้นฎีกา จึงขัดกับคำรับสารภาพของจำเลยและเป็นการยกข้อเท็จจริงเพิ่มเติมขึ้นใหม่โดยข้อเท็จจริงดังกล่าวมิได้กล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง, 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5517/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้หวงห้ามในที่ดินมีกรรมสิทธิ์: ผลกระทบจาก พ.ร.บ.ป่าไม้ฉบับใหม่ และสิทธิครอบครองที่ดิน
ขณะเกิดเหตุและขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง ตอนท้าย กำหนดให้ไม้หวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกาที่ขึ้นอยู่ในป่าเป็นไม้หวงห้าม ซึ่ง พ.ร.ฎ.กำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ.2530 กำหนดให้ไม้ประดู่และไม้แดงเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกา อันดับที่ 58 และ 87 การทำไม้หวงห้ามดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาตและมีไม้หวงห้ามดังกล่าวอันยังมิได้แปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 11 วรรคหนึ่ง, 69 วรรคสอง (2) (เดิม), 73 วรรคสอง (2) (เดิม) ตามที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัย แต่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2562 มีผลใช้บังคับวันที่ 17 เมษายน 2562 ให้ยกเลิกมาตรา 7 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 และกำหนดให้ "ไม้ที่ขึ้นในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน ไม่เป็นไม้หวงห้าม" โดย พ.ร.บ.ป่าไม้ (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2562 ตราขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ให้การทำไม้และการเคลื่อนย้ายไม้นั้น เป็นไปได้โดยสะดวกไม่เกิดภาระแก่ประชาชน ทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมไม้และการบริหารจัดการด้านการป่าไม้ให้มีประสิทธิภาพ
ที่ดินตามหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค.3) ซึ่งเป็นที่ดินที่รัฐจัดสรรให้แก่ราษฎร ตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 ซึ่งอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการเป็นผู้ออกให้แก่บุคคลที่เป็นสมาชิกนิคมที่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินที่ได้รับอนุญาตเกินกว่า 5 ปี ชำระเงินช่วยทุนที่รัฐได้ลงทุนไป และชำระหนี้เกี่ยวกับกิจการของนิคมให้แก่ทางราชการแล้ว ผู้ที่ได้รับหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค.3) ดังกล่าวสามารถขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามประมวลกฎหมายที่ดินได้ ตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 มาตรา 11 วรรคสอง ซึ่งประมวลกฎหมายที่ดินกำหนดเกี่ยวกับการออกโฉนดที่ดินว่าต้องออกให้แก่ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดิน ทั้งนี้ ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 58 ประกอบมาตรา 58 ทวิ หรือมาตรา 59 แล้วแต่กรณี ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ 43 (พ.ศ.2537) ออกตามความใน พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 การครองครองที่ดินตามหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค.3) ของ ส. จึงเป็นการครอบครองที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินแล้ว ไม้ประดู่และไม้แดงที่ขึ้นในที่ดินดังกล่าว จึงไม่เป็นไม้หวงห้ามตามความใน พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) อันเป็นกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง การที่จำเลยทำไม้ประดู่และไม้แดงของกลางกับมีไม้ประดู่และไม้แดงของกลางไว้ในครอบครอง จึงไม่เป็นความผิดอาญาฐานทำไม้หวงห้ามและมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 อีกต่อไป ตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง
ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ที่ดินตามหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค.3) ซึ่งเป็นที่ดินที่รัฐจัดสรรให้แก่ราษฎร ตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 ซึ่งอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการเป็นผู้ออกให้แก่บุคคลที่เป็นสมาชิกนิคมที่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินที่ได้รับอนุญาตเกินกว่า 5 ปี ชำระเงินช่วยทุนที่รัฐได้ลงทุนไป และชำระหนี้เกี่ยวกับกิจการของนิคมให้แก่ทางราชการแล้ว ผู้ที่ได้รับหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค.3) ดังกล่าวสามารถขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามประมวลกฎหมายที่ดินได้ ตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 มาตรา 11 วรรคสอง ซึ่งประมวลกฎหมายที่ดินกำหนดเกี่ยวกับการออกโฉนดที่ดินว่าต้องออกให้แก่ผู้มีสิทธิครอบครองที่ดิน ทั้งนี้ ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 58 ประกอบมาตรา 58 ทวิ หรือมาตรา 59 แล้วแต่กรณี ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ 43 (พ.ศ.2537) ออกตามความใน พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 การครองครองที่ดินตามหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค.3) ของ ส. จึงเป็นการครอบครองที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินแล้ว ไม้ประดู่และไม้แดงที่ขึ้นในที่ดินดังกล่าว จึงไม่เป็นไม้หวงห้ามตามความใน พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) อันเป็นกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง การที่จำเลยทำไม้ประดู่และไม้แดงของกลางกับมีไม้ประดู่และไม้แดงของกลางไว้ในครอบครอง จึงไม่เป็นความผิดอาญาฐานทำไม้หวงห้ามและมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 อีกต่อไป ตาม ป.อ. มาตรา 2 วรรคสอง
ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14743/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานบุกรุกทำลายป่าสงวน, ทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต, และมีไม้หวงห้ามไว้ในครอบครอง ศาลพิพากษาลงโทษตามกฎหมาย
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้พิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง" ซึ่งมีความสัมพันธ์กับหลักเกณฑ์การบรรยายฟ้องของโจทก์ ตามกฎหมายดังกล่าวมาตรา 158 (5) ว่า "การกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด..." เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองได้บังอาจร่วมกัน ก่นสร้าง แผ้วถาง และเข้ายึดถือหรือครอบครองบริเวณป่าสงวนแห่งชาติ...โดยจำเลยทั้งสองได้ใช้มีดพร้าเป็นอุปกรณ์ในการก่นสร้าง โค่นไม้จำนวนหลายต้น อันเป็นการทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ และข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองใช้มีดพร้าตัดกิ่งไม้โยนเข้ากองไฟในที่เกิดเหตุ ประกอบกับภาพถ่ายสภาพที่เกิดเหตุลักษณะเป็นการแผ้วถางทำป่าให้เตียนเพื่อเข้ายึดถือครอบครองป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งอยู่ในกรอบของข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้อง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองฐานร่วมกันก่นสร้าง แผ้วถาง อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติชอบแล้ว
การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันยึดถือครอบครอง ทำประโยชน์ แผ้วถางที่เกิดเหตุ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ และในขณะเดียวกันยังร่วมกันทำไม้โดยตัดไม้ในที่เกิดเหตุโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียว จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท เพราะเป็นความผิดสำเร็จในตัวเองทันทีที่ได้กระทำ แต่ลักษณะความผิดฐานร่วมกันทำไม้และยึดถือครอบครอง ทำประโยชน์ แผ้วถางอันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ กับความผิดฐานร่วมกันมีไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น เป็นการกระทำคนละคราวโดยอาศัยเจตนาในการกระทำความผิดให้เกิดผลแตกต่างแยกต่างหากจากกัน โดยหลังจากที่ตัดไม้แล้วจำเลยทั้งสองมีเจตนามีไม้ที่ตัดไว้ในครอบครองย่อมเป็นการกระทำอีกกรรมหนึ่งแยกต่างหากจากการตัดไม้ แม้ว่าไม้ที่จำเลยทั้งสองร่วมกันตัดและมีไว้ในครอบครองจะเป็นจำนวนเดียวกันก็ตาม จึงเป็นการกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน
การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันยึดถือครอบครอง ทำประโยชน์ แผ้วถางที่เกิดเหตุ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ และในขณะเดียวกันยังร่วมกันทำไม้โดยตัดไม้ในที่เกิดเหตุโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียว จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท เพราะเป็นความผิดสำเร็จในตัวเองทันทีที่ได้กระทำ แต่ลักษณะความผิดฐานร่วมกันทำไม้และยึดถือครอบครอง ทำประโยชน์ แผ้วถางอันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ กับความผิดฐานร่วมกันมีไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น เป็นการกระทำคนละคราวโดยอาศัยเจตนาในการกระทำความผิดให้เกิดผลแตกต่างแยกต่างหากจากกัน โดยหลังจากที่ตัดไม้แล้วจำเลยทั้งสองมีเจตนามีไม้ที่ตัดไว้ในครอบครองย่อมเป็นการกระทำอีกกรรมหนึ่งแยกต่างหากจากการตัดไม้ แม้ว่าไม้ที่จำเลยทั้งสองร่วมกันตัดและมีไว้ในครอบครองจะเป็นจำนวนเดียวกันก็ตาม จึงเป็นการกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14628/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การโต้แย้งดุลพินิจศาลชั้นต้น/อุทธรณ์เกี่ยวกับพยานหลักฐานเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 48 วรรคหนึ่ง, 69 วรรคหนึ่ง, 73 วรรคสอง (2) ประกอบ ป.อ. มาตรา 83 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91 ฐานร่วมกันมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 3 ปี ฐานร่วมกันมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูป จำคุก 3 เดือน รวมจำคุก 3 ปี 3 เดือน และศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนตามศาลล่างให้ลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยฎีกาโต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5952/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานทำไม้หวงห้ามและมีไม้หวงห้ามไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต การพิจารณาองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 69 วรรคสอง และมาตรา 73 วรรคสอง หมายความว่า ผู้กระทำความผิดฐานทำไม้หวงห้ามโดยมิชอบและความผิดฐานมีไว้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปไว้ในความครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตนั้นหากเป็นไม้สัก ไม้ยาง หรือไม้หวงห้ามประเภท ข. ไม่ว่าจำนวนมากน้อยเพียงใดก็มีความผิด หากเป็นไม้ประเภทอื่นจะมีความผิดต่อเมื่อทำไม้หรือมีไม้เป็นต้นหรือเป็นท่อนอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างรวมกันเกินยี่สิบต้นหรือท่อน หรือรวมปริมาตรไม้เกินสี่ลูกบาศก์เมตร
จำเลยมีไม้แดง ไม้รัง และไม้ประดู่ รวมไม้ทั้งหมด 284 ท่อน ซึ่งเกิน 20 ท่อน และรวมปริมาตรไม้ทั้งสิ้น 6.47 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเกิน 4 ลูกบาศก์เมตร เป็นการกระทำที่ครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ ฯ มาตรา 69 วรรคสอง (2) และมาตรา 73 วรรคสอง (2) แล้ว
จำเลยมีไม้แดง ไม้รัง และไม้ประดู่ รวมไม้ทั้งหมด 284 ท่อน ซึ่งเกิน 20 ท่อน และรวมปริมาตรไม้ทั้งสิ้น 6.47 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเกิน 4 ลูกบาศก์เมตร เป็นการกระทำที่ครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ ฯ มาตรา 69 วรรคสอง (2) และมาตรา 73 วรรคสอง (2) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3420/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงโดยผู้พิพากษาที่รับประเด็น และการพิจารณาว่าการกระทำหลายอย่างเป็นกรรมเดียว
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 11, 69 วรรคสอง (2), 73 วรรคสอง (2) รวม2 กระทง จำคุกกระทงละ 3 ปี รวมจำคุก 6 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำคุกกระทงละ 2 ปี รวมจำคุก 4 ปี เป็นเพียงแก้ไขเล็กน้อยซึ่งโทษจำคุกแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี คู่ความจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157, 160, 162 (1) (4) ตามฟ้องข้อ 2 (ก) (ข) และ (ค) ให้ลงโทษตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดรวม 3 กระทง จำคุกกระทงละ2 ปี รวมจำคุก 6 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามป.อ. มาตรา 157, 162 (1) (4) ตามฟ้องข้อ 2 (ข) และมาตรา 157, 160ตามฟ้องข้อ 2 (ค) เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 157อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุก 2 ปี ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ในข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 157, 162 (1) (4) ตามฟ้องข้อ 2 (ก) ดังนั้นเฉพาะความผิดตามฟ้องข้อ 2 (ข) และ (ค) เป็นเพียงแก้ไขเล็กน้อย คู่ความจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 230 ที่ให้อำนาจศาลที่พิจารณาคดีส่งประเด็นให้ศาลอื่นสืบพยานหลักฐานแทนนั้น แม้ตามบทบัญญัติดังกล่าวจะมีข้อความระบุให้ศาลที่รับประเด็นมีอำนาจและหน้าที่ดั่งศาลเดิม และศาลที่รับประเด็นมีอำนาจส่งประเด็นไปยังศาลอื่นอีกต่อหนึ่งได้ก็ตาม ความหมายก็คงจำกัดอยู่ในขอบอำนาจของการสืบพยานหลักฐานแทนตามที่ได้รับมอบหมายให้ลุล่วงไปเท่านั้น และตามป.วิ.อ. มาตรา 221 ที่ให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้นั้น ก็โดยมุ่งหมายให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาในศาลที่พิจารณาคดีนั้นเอง เพราะเป็นผู้ทราบดีว่าควรจะอนุญาตหรือไม่อนุญาต ส่วนผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลที่รับประเด็นนั้นเป็นเพียงสืบแทนเฉพาะพยานหลักฐานที่ศาลที่พิจารณาคดีส่งมา หาได้ทราบถึงข้อเท็จจริงทั้งสำนวนไม่ ตลอดทั้งการวินิจฉัยคดีก็มิได้เกี่ยวข้องด้วย การที่จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยมีผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลที่รับประเด็นอนุญาตให้ฎีกานั้น จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามระเบียบปฏิบัติของกรมป่าไม้ การตรวจสอบการทำไม้ซึ่งรวมทั้งการใช้ตราประจำตัวประทับที่ตอไม้และหน้าตัดไม้เป็นขั้นตอนต่อเนื่องกับการนำไม้เคลื่อนที่ออกจากป่า ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ใช้ตราประจำตัวประทับที่หน้าตัดไม้ซุงหน้าที่ว่าการอำเภอท้องที่โดยละเว้นการตรวจสอบไม้ของกลางตามระเบียบปฏิบัติดังกล่าวกับการที่จำเลยที่ 2 กรอกข้อความอันเป็นเท็จลงในใบเบิกทางนำไม้เคลื่อนที่ซึ่งทำขึ้นในวันเดียวกันก็เพื่ออำพรางให้ถูกต้องตามขั้นตอนของระเบียบปฏิบัติที่ทางราชการวางไว้และเพื่อให้มีการนำไม้เคลื่อนที่ไปยังจุดหมายปลายทางได้สำเร็จลุล่วงไป การกระทำของจำเลยที่ 2 ตามฟ้องข้อ 2 (ข)และ (ค) จึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท หาใช่เป็นสองกรรมต่างกันไม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157, 160, 162 (1) (4) ตามฟ้องข้อ 2 (ก) (ข) และ (ค) ให้ลงโทษตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดรวม 3 กระทง จำคุกกระทงละ2 ปี รวมจำคุก 6 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามป.อ. มาตรา 157, 162 (1) (4) ตามฟ้องข้อ 2 (ข) และมาตรา 157, 160ตามฟ้องข้อ 2 (ค) เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 157อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุก 2 ปี ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ในข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 157, 162 (1) (4) ตามฟ้องข้อ 2 (ก) ดังนั้นเฉพาะความผิดตามฟ้องข้อ 2 (ข) และ (ค) เป็นเพียงแก้ไขเล็กน้อย คู่ความจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 230 ที่ให้อำนาจศาลที่พิจารณาคดีส่งประเด็นให้ศาลอื่นสืบพยานหลักฐานแทนนั้น แม้ตามบทบัญญัติดังกล่าวจะมีข้อความระบุให้ศาลที่รับประเด็นมีอำนาจและหน้าที่ดั่งศาลเดิม และศาลที่รับประเด็นมีอำนาจส่งประเด็นไปยังศาลอื่นอีกต่อหนึ่งได้ก็ตาม ความหมายก็คงจำกัดอยู่ในขอบอำนาจของการสืบพยานหลักฐานแทนตามที่ได้รับมอบหมายให้ลุล่วงไปเท่านั้น และตามป.วิ.อ. มาตรา 221 ที่ให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้นั้น ก็โดยมุ่งหมายให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาในศาลที่พิจารณาคดีนั้นเอง เพราะเป็นผู้ทราบดีว่าควรจะอนุญาตหรือไม่อนุญาต ส่วนผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลที่รับประเด็นนั้นเป็นเพียงสืบแทนเฉพาะพยานหลักฐานที่ศาลที่พิจารณาคดีส่งมา หาได้ทราบถึงข้อเท็จจริงทั้งสำนวนไม่ ตลอดทั้งการวินิจฉัยคดีก็มิได้เกี่ยวข้องด้วย การที่จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยมีผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลที่รับประเด็นอนุญาตให้ฎีกานั้น จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามระเบียบปฏิบัติของกรมป่าไม้ การตรวจสอบการทำไม้ซึ่งรวมทั้งการใช้ตราประจำตัวประทับที่ตอไม้และหน้าตัดไม้เป็นขั้นตอนต่อเนื่องกับการนำไม้เคลื่อนที่ออกจากป่า ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ใช้ตราประจำตัวประทับที่หน้าตัดไม้ซุงหน้าที่ว่าการอำเภอท้องที่โดยละเว้นการตรวจสอบไม้ของกลางตามระเบียบปฏิบัติดังกล่าวกับการที่จำเลยที่ 2 กรอกข้อความอันเป็นเท็จลงในใบเบิกทางนำไม้เคลื่อนที่ซึ่งทำขึ้นในวันเดียวกันก็เพื่ออำพรางให้ถูกต้องตามขั้นตอนของระเบียบปฏิบัติที่ทางราชการวางไว้และเพื่อให้มีการนำไม้เคลื่อนที่ไปยังจุดหมายปลายทางได้สำเร็จลุล่วงไป การกระทำของจำเลยที่ 2 ตามฟ้องข้อ 2 (ข)และ (ค) จึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท หาใช่เป็นสองกรรมต่างกันไม่