คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1447

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมั้นและการสมรส: เหตุผลสำคัญในการไม่จดทะเบียนสมรสและการคืนของหมั้น
โจทก์เป็นโรคจิตประสาทอย่างอ่อน มีอาการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ สามารถรักษาให้หายได้ และผู้ที่เป็นโรคนี้สามารถแต่งงานได้ จำเลยเคยพาโจทก์ออกไปเที่ยวนอกบ้านทั้งในเวลาก่อนและหลังหมั้นและกว่าโจทก์จำเลยจะแต่งงานกันก็เป็นเวลาภายหลังหมั้นถึง 5 เดือนเศษ เมื่อจำเลยแต่งงานและอยู่กินกับโจทก์เป็นเวลา 3 เดือนเศษแล้วจำเลยปฏิเสธไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าเหตุที่ไม่มีการสมรสนั้นมีเหตุผลสำคัญอันเกิดแต่โจทก์ โจทก์จึงไม่ต้องคืนของหมั้น
โจทก์ฟ้องเรียกของหมั้นที่จำเลยเก็บไว้จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องเพราะคดีขาดอายุความตามกฎหมาย โดยมิได้แสดงเหตุแห่งการขาดอายุความมาด้วยนั้นเป็นคำให้การที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง จึงไม่มีประเด็นในเรื่องฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2357/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสอด: สัญญาผูกพันแม้ฝ่ายหญิงบรรลุนิติภาวะแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกได้
สินสอดเป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายชายให้แก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิงเพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1436 วรรคสาม โดยไม่จำกัดว่าหญิงซึ่งยอมสมรสนั้นบรรลุนิติภาวะแล้วหรือยังดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองตกลงจะให้สินสอดแก่โจทก์ซึ่งเป็นมารดาของนางสาว ต.เพื่อตอบแทนในการที่นางสาวต.ยอมสมรสกับบุตรของจำเลยทั้งสอง และต่อมานางสาว ต.กับบุตรโจทก์ได้จดทะเบียนสมรสกันแล้ว แม้นางสาว ต.จะบรรลุนิติภาวะก่อนสมรส จำเลยทั้งสองก็จะต้องรับผิดชำระเงินสินสอดให้โจทก์ตามที่สัญญาไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1320/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสัมพันธ์พี่น้องเป็นผัวเมีย, การเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย, และผลกระทบต่อการฟ้องร้องเรียกทรัพย์
พี่น้องร่วมบิดามารดาได้เสียเป็นผัวเมียกัน เมื่อพ.ศ.2477 นั้น ตามกฎหมายลักษณะผัวเมียจะต้องถูกลงโทษลอยแพ ฉะนั้น พี่น้องดังกล่าวจึงมิใช่ผัวเมียที่ชอบด้วยกฎหมายแม้ต่อมา พ.ศ.2483 จะมีบุตรด้วยกันก็เป็นบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา เว้นแต่บิดาจะจดทะเบียนหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร
บุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ฟ้องบิดาเรียกทรัพย์ที่ยืมไปคืนได้ไม่เป็นอุทลุม
แม้ชายอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์ และหญิงอายุสิบห้าปีบริบูรณ์จะจดทะเบียนสมรสกัน โดยมิได้รับความยินยอมของบิดามารดาหรือผู้ปกครองก็ตาม ก็หาถือว่าการสมรสนั้นเป็นโมฆะหรือไม่สมบูรณ์แต่อย่างใดไม่ กฎหมายเพียงแต่ให้อำนาจบิดามารดาหรือผู้ปกครองร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการสมรสเสียได้เท่านั้น หากไม่มีการร้องขอให้เพิกถอนชายหญิงนั้นก็ย่อมบรรลุนิติภาวะแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 720/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งกระทรวงที่ขัดกฎหมาย ไม่อาจใช้บังคับกับบุคคลทั่วไป นายทะเบียนต้องปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
คำสั่งกระทรวงที่มิได้อาศัยอำนาจตามบทกฎหมายนั้น ย่อมเป็นเพียงระเบียบภายในระหว่างเจ้าหน้าที่ของกระทรวงด้วยกันเท่านั้น จะใช้บังคับแก่บุคคลทั่วไปไม่ได้ ฉะนั้น เมื่อจำเลยมีหน้าที่ตามกฎหมาย ให้รับจดทะเบียนสมรส ก็ย่อมจะอ้างคำสั่งที่ขัดต่อกฎหมายมาเป็นเหตุไม่ยอมปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมั้นและการจดทะเบียนสมรส: สิทธิและหน้าที่ของคู่สมรสและบิดามารดา
การจะจดทะเบียนสมรสหรือไม่นั้น เป็นหน้าที่ของชายหญิงคู่สมรสเอง บิดามารดาของหญิงมีแต่จะให้ความยินยอมในกรณีจำเป็น ฉะนั้นเมื่อไม่ปรากฎว่าบิดามารดาของหญิงได้ขัดขวางไม่ให้บุตรสาวไปจดทะเบียนกับชาย หรือไม่ให้ความยินยอมอนุญาตแต่ประการใดแล้ว ชายจะฟ้องขอให้บิดามารดาหญิง ใช้ค่าเสียหายแก่ตนในการที่ตนไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับหญิง ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการจดทะเบียนสมรสเป็นสิทธิส่วนบุคคลของคู่สมรส บิดามารดาให้ความยินยอมเฉพาะกรณีจำเป็น
การจะจดทะเบียนสมรสหรือไม่นั้น เป็นหน้าที่ของชายหญิงคู่สมรสเองบิดามารดาของหญิงมีแต่จะให้ความยินยอมในกรณีจำเป็นฉะนั้นเมื่อไม่ปรากฏว่าบิดามารดาของหญิงได้ขัดขวางไม่ให้บุตรสาวไปจดทะเบียนกับชายหรือไม่ให้ความยินยอมอนุญาตแต่ประการใดแล้วชายจะฟ้องขอให้บิดามารดาหญิง ใช้ค่าเสียหายแก่ตนในการที่ตนไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับหญิง ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1022/2482

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในความผิดฉุดคร่า: ศาลต้องพิจารณาความเข้าใจโดยสุจริตว่าเป็นสามี แม้ไม่ได้จดทะเบียน
ชายลักพาหญิงอายุ 18 ปีซึ่งมีผู้ปกครองไปอยู่กินด้วยกันอย่างสามีภรรยา มิได้มีการไป+มาและมิได้จดทะเบียนสมรสดังนี้ ไม่เป็นสามีภรรยากันได้ตามกฎหมายแพ่ง จำเลยต้องหาเป็นความอาญาว่าฉุดคร่าอนาจารหญิง จำเลยต่อสู้ว่าหญิงเป็นภรรยาตน การวินิจฉัยว่าเป็นภรรยาจำเลยหรือไม่นี้ต้องถือหลักตามกฎหมายแพ่งฯเพราะในทางอาญาไม่มีบัญญัติไว้
ในความผิดฐานฉุดคร่าอนาจารตามกฎหมายอาญามาตรา 276 นั้น แม้หญิงผู้เสียหายจะมิได้เป็นภรรยาจำเลยตามกำหมาย แต่ถ้าจำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าเป็นสามีหญิงและได้ฉุดคร่าไปเพื่ออยู่กินด้วยกันตามเดิม ดังนี้ เรียกว่าจำเลยไม่มีเจตนาในทางอาญา หรืออีกนัยหนึ่งคือการบังอาจตามมาตรา 276 จำเลยยังไม่มีผิดตามมาตรานี้ ความผิดฐานฉุดคร่าอนาจารตามกฎหมายอาญามาตรา 276 ปัญหาว่าจำเลยมีเจตนาในทางอาญาหรือได้บังอาจหรือไม่นั้น ตกหน้าที่โจทก์นำสืบ
ฎีกาว่าศาลล่างไม่ตีความตามข้อเท็จจริง ปรับรูปกฎหมายโดยเคร่งครัดและว่าศาลล่างไม่เพ่งเล็งการกระทำของจำเลยว่ามีเจตนาหรือไม่นั้นเป็นฎีกาในข้อกฎหมาย