คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
กฎหมายลักษณะอาญา ม. 306

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงโดยสมคบกันหลอกลวงผู้เสียหายให้จำนองทรัพย์สินที่จำนองไปแล้ว ศาลฎีกาให้รอการลงอาญาผู้ต้องหาที่เป็นหญิงมีบุตรเล็ก
ผู้ที่รับจำนองร้านค้าไว้จนหลุดเป็นสิทธิของตน แล้วได้ร่วมคิดกับผู้จำนอง เอาร้านค้านั้นไปจำนองผู้เสียหายอีกและพูกรับรองว่า ร้านค้านั้นไม่ได้จำนองหรือขายฝากไว้กับผู้ใด ผู้เสียหายหลงเชื่อจึงรับจำนองไว้ และชำระเงินให้ผู้รับจำนองเดิม ดังนี้ ถือว่าผู้รับจำนองเดิมสมคบกับผู้จำนองฉ้อโกงผู้เสียหาย
ดุลยพินิจในการรอการลงอาญาจำเลยที่เป็นหญิงมีบุตรอ่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 41/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่เป็นผู้เสียหายในคดีฉ้อโกง หากไม่ได้ถูกหลอกลวงโดยตรง
องค์สำคัญแห่งความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 306คือการฉ้อโกงซึ่งตามมาตรา 304 ว่าต้องมีการหลอกลวง ฯลฯผู้ที่ถูกหลอกลวงตามมาตรา 306(4) ก็คือ ผู้ซื้อ ผู้รับทรัพย์ไว้เป็นประกันผู้รับจำนำผู้รับจำหน่าย เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ หาได้ถูกหลอกลวงไม่ ฉะนั้นเจ้าของกรรมสิทธิ์จึงไม่เป็นผู้เสียหายและไม่มีสิทธิฟ้องผู้ฉ้อโกงเป็นคดีอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 259-260/2488

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกง vs ลักทรัพย์: การสละการครอบครองทรัพย์สิน
จำเลยใช้อุบายหลอกลวงให้เจ้าทุกข์มอบทรัพย์ให้แล้วจำเลยพาทรัพย์หนีไปในขณะที่เจ้าทุกข์ไม่ได้ควบคุมยึดถือ และไม่อาจติดตามได้ดังนี้ ถือได้ว่าเจ้าทุกข์ได้สละการครอบครองแล้ว จำเลยต้องมีผิดฐานฉ้อโกงไม่ใช่ลักทรัพย์
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงตามคำพยานโจทก์ แล้วชี้ขาดว่าข้อเท็จจริงที่ได้ความไม่ใช่ข้อที่โจทก์ประสงค์จะลงโทษดังนี้ หากศาลอุทธรณ์เห็นว่า ข้อเท็จจริงได้ความตามฟ้องก็มีอำนาจพิพากษาได้ ไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นฟังพยานจำเลยด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2482

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความความผิดต่อส่วนตัว: มาตรา 80 เป็นบทกำหนดอายุความส่วนตัวที่สั้นกว่ามาตรา 78
คดีความผิดต่อส่วนตัว ถ้าพ้นกำหนดอายุความตามมาตรา 78 แล้ว แม้ปรากฎว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าทุกข์นำคดีมาฟ้องภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้ทำก็ดี ก็ยังต้องถือว่าคดีขาดอายุความกฎหมายอาญา ม.80 เป็นบทอยู่ภายในบังคับของกฎหมายอาญา ม.78 โดยเป็นแต่บทกำหนดอายุความส่วนตัวให้สั้นเข้ามา
อ้างฎีกาที่ 596/2474
of 2