คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สัญญา ธรรมศักดิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 742 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 936/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องอุทธรณ์ไม่สมบูรณ์เพราะขาดลายมือชื่อผู้ฟ้อง ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพื่อให้แก้ไขฟ้องก่อนพิจารณาใหม่
ฟ้องอุทธรณ์ที่มิได้ลงชื่อผู้อุทธรณ์ ย่อมเป็นฟ้องที่ไม่บริบูรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67(5) และศาลอุทธรณ์ก็ชี้ขาดตัดสินฟ้องอุทธรณ์ไปโดยมิได้แก้ไขข้อบกพร่องให้บริบูรณ์ตามกฎหมายเสียก่อน นั้น ศาลฎีกาชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 18 วรรค 2 โดยให้โจทก์ลงชื่อในฐานะผู้อุทธรณ์ในฟ้องอุทธรณ์เสียให้บริบูรณ์ตามกฎหมาย แล้วส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่.
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2508).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 936/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องอุทธรณ์ต้องมีลายมือชื่อผู้อุทธรณ์ หากไม่มีถือเป็นฟ้องไม่บริบูรณ์ ศาลต้องแก้ไขก่อนพิจารณา
ฟ้องอุทธรณ์ที่มิได้ลงชื่อผู้อุทธรณ์ ย่อมเป็นฟ้องที่ไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67(5) และศาลอุทธรณ์ก็ชี้ขาดตัดสินฟ้องอุทธรณ์ไปโดยมิได้แก้ไขข้อบกพร่องให้บริบูรณ์ตามกฎหมายเสียก่อนนั้น ศาลฎีกาควรยกคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เสีย แล้วให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 วรรคสองโดยให้โจทก์ลงชื่อในฐานะผู้อุทธรณ์ในฟ้องอุทธรณ์เสียให้บริบูรณ์ตามกฎหมาย แล้วส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 13/2508)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 40/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานี้เกี่ยวกับการฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้และการพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ยืนตามศาลชั้นต้นในประเด็นฉ้อโกงและจำกัดขอบเขตการชดใช้ค่าเสียหาย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 นั้นเมื่อกรณีเป็นการฉ้อโกงเอาหนังสือสัญญากู้ไป ทรัพย์สินที่ผู้เสียหายสูญเสียไปก็คือหนังสือกู้ พนักงานอัยการคงเรียกคืนได้แต่ตัวหนังสือสัญญาเท่านั้น จะขอมาด้วยว่า ถ้าหากจำเลยส่งสัญญาไม่ได้ให้ใช้เงินอันเป็นหนี้ตามสัญญาแทนนั้น หาได้ไม่ เพราะไม่อาจกล่าวได้ว่าผู้เสียหายได้สูญเสียทรัพย์สินที่มีราคาตามหนี้ในสัญญากู้ แม้หนังสือสัญญากู้สูญหายไปก็ยังฟ้องร้องเรียกหนี้กันได้มิใช่ว่าหนี้นั้นจะพลอยสูญไปด้วย หนี้ตามสัญญากู้มีอย่างไร ผู้เสียหายชอบที่จะฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งอีกต่างหาก
เมื่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มีผลเป็นการพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นในส่วนอาญาที่ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้คงพิพากษาแก้แต่เพียงว่า โจทก์จะขอเข้ามาในคดีนี้ว่า ถ้าจำเลยคืนสัญญากู้ไม่ได้ ให้จำเลยใช้เงินแทนไม่ได้เพราะเป็นเรื่องที่ผู้เสียหายจะต้องดำเนินเป็นคดีแพ่งขึ้นใหม่อีกสำนวนหนึ่ง เช่นนี้ จำเลยจะฎีกาข้อเท็จจริงในปัญหาเรื่องฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้เงินหาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 เพราะศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้กู้เงินผู้เสียหาย ฯลฯ เอาโฉนดที่ดิน 5 โฉนดมอบให้ผู้เสียหายยึดถือไว้เป็นประกันฯลฯ ต่อมาวันที่ 30 กันยายน 2498 จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าจะโอนโฉนดให้ผู้เสียหาย ฯลฯ แล้วเพทุบายขอรับโฉนดไปจากผู้เสียหายว่าจะเอาไปทำการโอนให้ตามข้อตกลงแต่จำเลยโอนให้เพียง 2 โฉนด ฯลฯ กับต่อมาวันที่3-4 ตุลาคม 2498 จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่า จำเลยได้โอนโฉนดให้เรียบร้อยแล้วรอแต่วันรับโฉนดเท่านั้นผู้เสียหายไม่จำเป็นต้องยึดหนังสือสัญญากู้ไว้ ผู้เสียหายหลงเชื่อได้มอบหนังสือสัญญากู้ให้จำเลยไป ทั้งนี้ ตามวันเวลาดังกล่าว จำเลยมีเจตนาทุจริตหลอกลวงให้ส่งโฉนดและรับไปแล้วได้ฉ้อโกงเอาไว้ และมีเจตนาทุจริตคิดหลอกลวงให้ผู้เสียหายส่งหนังสือสัญญากู้ ฯลฯดังนี้ แม้ศาลอุทธรณ์ฟังว่าโฉนดที่โจทก์หาว่าจำเลยฉ้อโกงนั้นไม่ได้อยู่กับผู้เสียหาย ก็ยังอาจฟังว่าจำเลยหลอกลวงให้ผู้เสียหายหลงเชื่อว่าจำเลยได้ขอให้หอทะเบียนโอนโฉนดเหล่านั้นให้แล้ว ผู้เสียหายจึงคืนสัญญากู้ให้จำเลยไป เพราะเป็นคนละเหตุทั้งข้อหาว่าจำเลยฉ้อโกงโฉนดและข้อหาฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้ต่างกรรมต่างวาระกัน แยกได้เป็น 2 กระทง(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 27/2507)
(หมายเหตุ (1) จำเลยขอให้รับรองฎีกาข้อเท็จจริง แต่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นสั่งว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมาก ไม่ต้องห้ามจึงไม่รับรองให้และสั่งรับฎีกาจำเลยแต่ศาลฎีกาเห็นว่าเฉพาะฎีกาข้อเท็จจริงข้อหาฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้และข้อหาปลอมหนังสือต้องห้าม จึงไม่วินิจฉัยให้
(2) ที่ประชุมใหญ่ได้วินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นผิดฐานปลอมหนังสือไว้ด้วยแต่ปรากฏว่าฎีกาจำเลยข้อนี้เป็นฎีกาข้อเท็จจริง ต้องห้ามจึงไม่ปรากฏข้อวินิจฉัยตามมติดังกล่าวในคำพิพากษา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 40/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาเกี่ยวกับการฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้และโฉนดที่ดิน ศาลฎีกาวินิจฉัยเรื่องทรัพย์สินที่ผู้เสียหายเสียไป และอำนาจการบังคับคดี
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 43 นั้น เมื่อกรณีเป็นการฉ้อโกงเอาหนังสือสัญญากู้ไปทรัพย์สินที่ผู้เสียหารศูนย์เสียไปก็คือหนังสือกู้ พนักงานอัยการคงเรียกคืนได้แต่ตัวหนังสือสัญญาเท่านั้น จะขอมาด้วยว่า ถ้าหากจำเลยส่งสัญญาไม่ได้ ให้ใช้เงินอันเป็นหนี้ตามสัญญาแทนนั้น หาได้ไม่ เพราะไม่อาจกล่าวได้ว่าผู้เสียหายได้ศูนย์เสียทรัพย์สินที่มีราคาตามหนี้ในสัญญากู้ แม้หนังสือสัญญากู้ศูนย์หายไปก็ยังฟ้องร้องเรียกหนี้กันได้ มิใช่ว่าหนี้นั้นจะพลอยศูนย์ไปด้วย หนี้ตามสัญญากู้มีอย่างไร ผู้เสียหายชอบที่จะฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งอีกต่างหาก
เมื่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มีผลเป็นการพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นในส่วนอาญาที่ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้ คงพิพากษาแก้แต่เพียงว่า โจทก์จะขอเข้ามาในคดีนี้ว่า ถ้าจำเลยคืนสัญญากู้ไม่ได้ ใช้จำเลยใช้เงินแทนไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องที่ผู้เสียหายจะต้องดำเนินเป็นคดีแพ่งขึ้นใหม่อีกสำนวนหนึ่ง เช่นนี้ จำเลยจะฎีกาข้อเท็จจริงในปัญหาเรื่องฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้เงินหาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 เพราะศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้กู้เงินผู้เสียหาย ฯลฯ เอาโฉนดที่ดิน 5 โฉนด มอบให้ผู้เสียหายยึดถือไว้เป็นประกัน ฯลฯ ต่อมาวันที่ 30 กันยายน 2489 จำเลยหลอกลวงผู้เสียว่าจะโอนโฉนดให้ผู้เสียหาย ฯลฯ แล้วเพทุบายขอรับโฉนดไปจากผู้เสียหายว่าจะเอาไปทำการโอนให้ตามข้อตกลง แต่จำเลยโอนให้เพียง 2 โฉนด ฯลฯ กับต่อมาวันที่ 3 - 4 ตุลาคม 2498 จำเลยหลอกลวงผู้เสียว่า จำเลยได้โอนโฉนดให้เรียบร้อยแล้ว รอแต่วันรับโฉนดเท่านั้น ผู้เสียหายไม่จำเป็นต้องยึดหนังสือสัญญากู้ไว้ ผู้เสียหายหลงเชื่อ ได้มอบหนังสือสัญญากู้ให้จำเลยไป ทั้งนี้ ตามวันเวลาดังกล่าว จำเลยมีเจตนาทุจริตหลอกลวงให้ส่งโฉนดและรับไปแล้วได้ฉ้อโกงเอาไว้ และมีเจตนาทุจริตคิดหลอกลวงให้ผู้เสียหายส่งหนังสือสัญญากู้ ฯลฯ ดังนี้ แม้ศาลอุทธรณ์จะฟังว่า โฉนดที่โจทก์หาว่าจำเลยฉ้อโกงนั้นไม่ได้อยู่กับผู้เสียหาย ก็ยังอาจฟังว่าจำเลยหลอกลวงให้ผู้เสียหายหลงเชื่อว่าจำเลยได้ขอให้จำเลยไป เพราะเป็นคนละเหตุ ทั้งข้อหาว่าจำเลยฉ้อโกงโฉนดและข้อหาฉ้อโกงหนังสือสัญญากู้ ต่างกรรมต่างวาระกัน แยกกันได้เป็น 2 กระทง (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 27/2507)
(หมายเหตุ :- (1) จำเลยขอให้รับรองฎีกาข้อเท็จจริง แต่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นสั่งว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมาก ไม่ต้องห้ามจึงไม่รับรองให้ และสั่งรับฎีกาจำเลย แต่ศาลฎีกาเห็นว่า เฉพาะฎีกาข้อเท็จจริงต้องห้าม จึงไม่วินิจฉัยให้
(2) ที่ประชุมใหญ่ได้วินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยเป็นผิดฐานปลอมหนังสือไว้ด้วย แต่ปรากฏว่าฎีกาจำเลยข้อนี้เป็นฎีกาข้อเท็จจริง ต้องห้าม จึงไม่ปรากฏข้อวินิจฉัย ตามมติดังกล่าวในคำพิพากษา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1150/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปรรูปและครอบครองไม้แปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ ถือเป็นความผิด 2 กระทง ศาลลงโทษกระทงเดียวได้
ไม้ซึ่งแต่แรกจำเลยได้รับอนุญาตให้ทำ และมีไว้โดยชอบนั้นถ้าจำเลยจะมีไม้นั้นซึ่งได้แปรรูปแล้วไว้ในครอบครองต่อไป จำเลยก็ต้องได้รับอนุญาตอีกชั้นหนึ่ง มิฉะนั้นเป็นผิดตามมาตรา 48 การถากซ้อมไม้นั้นเป็นเสาโดยไม่ได้ขออนุญาต ไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 50(1)จำเลยจึงมีความผิดฐานแปรรูปไม้ตามมาตรา 48 ด้วย และไม้นั้นเป็นไม้ที่มีไว้เนื่องจากการกระทำผิดพระราชบัญญัติป่าไม้ฯต้องริบตามมาตรา 74(อ้างฎีกาที่ 1551/2497)
จำเลยกระทำผิด 2 กระทง คือ ฐานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตและฐานมีไม้แปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลล่างลงโทษจำคุก 6 เดือน ปรับ 2,000 บาท แล้วลดรับสารภาพ ก็เห็นได้ว่า ลงโทษมาเฉพาะกระทงเดียว ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 73(2) แก้ไขโดย (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2503 จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 แล้ว เพราะความผิดแต่ละกระทง โทษหนักเท่ากัน ศาลจะลงโทษกระทงใดกระทงหนึ่งแต่กระทงเดียวก็ได้ (อ้างฎีกาที่ 167/2507)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1150/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปรรูปและครอบครองไม้แปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ แม้ได้รับอนุญาตทำไม้แล้ว ก็ต้องขออนุญาตแปรรูปอีก
ไม้ซึ่งแต่แรกจำเลยได้รับอนุญาตให้ทำ และมีไว้โดยชอบนั้น ถ้าจำเลยจะมีไม้นั้นซึ่งได้แปรรูปแล้วไว้ในครอบครองต่อไป จำเลยก็ต้องได้รับอนุญาตอีกชั้นหนึ่ง ฉะนั้นเป็นผิดตามาตรา 48 การถากซ้อมไม้นั้นเป็น+ โดยไม่ได้ขออนุญาตไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 50(1) จำเลยจึงมีความผิดฐานแปรรูปไม้ตามมาตรา 48 ด้วย และไม้นั้นเป็นไม้ที่มีไว้เนื่องจากการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ ต้องริบตามมาตรา 74(อ้างฎีกาที่ 1551/2497)
จำเลยกระทำผิด 2 กระทง คือ ฐานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต และฐานมีไม้แปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลล่างลงโทษจำคุก 6 เดือน ปรับ 2,000 บาท แล้วลดรับสารภาพ ก็เห็นได้ว่าลงโทษมาเฉพาะกระทงเดียว ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา73(2) แก้ไขโดย(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2503 จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 แล้ว เพราะความผิดแต่ละกระทงโทษหนักเท่ากัน ศาลจะลงโทษกระทงใดกระทงหนึ่งแต่กระทงเดียวก็ได้ (อ้างฎีกาที่ 167/2507)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินบริคณห์: การบังคับยึดทรัพย์สินเดิมของภริยาเพื่อชำระหนี้สามีที่มิใช่หนี้ร่วม
แม้ผู้ร้องขัดทรัพย์เป็นภริยาของจำเลยมาตั้งแต่ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 หนี้ที่จำเลยหรือผู้ร้องก่อขึ้นเป็นส่วนตัวฝ่ายเดียวก็ไม่อาจเอาใช้จากสินบริคณห์ที่เป็นส่วนของอีกฝ่ายหนึ่งได้(ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1479) จะเอาใช้จากสินบริคณห์ของทั้งสองฝ่ายได้ก็ต่อเมื่อเป็นหนี้ที่ต้องรับผิดร่วมกัน (มาตรา 1480)
จะถือว่าเป็นสินบริคณห์แล้ว เจ้าหนี้ของจำเลยจะนำยึดเพื่อขายทอดตลาดใช้หนี้ได้เสมอไปหาได้ไม่ ถ้าเป็นสินเดิมของผู้ร้องแล้วโจทก์จะนำยึดมาขายทอดตลาดได้ต่อเมื่อหนี้ตามคำพิพากษานั้นเป็นหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1482
จำเลยกับผู้ร้องขัดทรัพย์เกิดแตกร้าวกันอย่างรุนแรงจนแยกกันต่างคนต่างอยู่กันมาหลายปีแล้ว แยกกันแล้วผู้ร้องได้สามีใหม่โดยจดทะเบียนสมรส จำเลยได้ฟ้องเพิกถอนการสมรสนั้นและในระหว่างนั้นผู้ร้องได้โอนขายที่พิพาทซึ่งเป็นสินเดิมของผู้ร้องให้แก่ผู้อื่นจำเลยก็จ้างโจทก์เป็นทนายฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์แก่จำเลยแต่ฝ่ายเดียว เพราะจำเลยพยายามอ้างและหวังอยู่ว่าที่พิพาทนี้เป็นสินสมรสซึ่งจำเลยอาจมีส่วนแบ่งด้วย นอกจากนี้จำเลยกับผู้ร้องยังเป็นความฟ้องร้องกันเรื่องอื่นอีก ดังนี้ ค่าจ้างโจทก์ว่าความคดีขอเพิกถอนการโอนนั้น กับเงินที่จำเลยกู้โจทก์มาใช้จ่ายในการเป็นความกับผู้ร้องย่อมไม่มีลักษณะเป็นหนี้ร่วมตามมาตรา 1482
หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินบริคณห์ตามความหมายในมาตรา 1482(2) หมายถึงหนี้ที่เกี่ยวพันอยู่กับตัวทรัพย์ที่เป็นสินบริคณห์นั้นเอง เช่น ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาตัวทรัพย์นั้นเป็นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 449/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง: เมื่อจำเลยรื้อถอนตามคำบังคับแล้ว โจทก์ไม่ติดใจฟ้องร้อง ศาลยกคำร้อง
ศาลพิพากษาให้จำเลยรื้อสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินโจทก์ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องว่า จำเลยปฏิบัติคำบังคับเพียงบางส่วน ยังไม่ได้รื้อสิ่งปลูกสร้างบางอย่างออกไปขอให้เรียกจำเลยมาสอบถามเพื่อบังคับคดีต่อไป จำเลยแก้ว่าสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวนั้นจำเลยปลูกขึ้นใหม่โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าอาวาสวัดโจทก์ และต่อมาได้สอบเขตแล้วปรากฏว่าวัดโจทก์รุกล้ำที่ดินของผู้อื่นในส่วนที่จำเลยเช่ามา ศาลชั้นต้นไต่สวนพยานบางส่วนแล้วสั่งงดสืบพยานและเห็นว่าสิ่งปลูกสร้างของจำเลยยังอยู่ในที่ดินโจทก์ให้เรียกจำเลยมาสอบถามในการที่ไม่ปฏิบัติตามคำบังคับศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาต่อไปแล้วสั่งใหม่ โจทก์ฎีกาว่า (ในระหว่างอุทธรณ์) จำเลยได้ปฏิบัติตามคำบังคับแล้ว ไม่มีประโยชน์ในการที่จะไต่สวนต่อไปดังนี้ศาลฎีกาย่อมพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และให้ยกคำร้องโจทก์เสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1257/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ จำเป็นต้องพิสูจน์เจตนาลูกหนี้ขณะทำนิติกรรม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 237 มีข้อความระบุว่าจะต้องเป็นนิติกรรมที่ลูกหนี้ได้กระทำลงโดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ การรู้ดังกล่าวนี้จะต้องรู้อยู่ขณะที่ทำนิติกรรมการโอน และฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างถึงเหตุดังกล่าวนี้ ฝ่ายจำเลยให้การปฏิเสธจึงเป็นหน้าที่โจทก์ต้องนำสืบให้รับฟังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 628/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องและฟ้องใหม่ไม่ทำให้สิทธิในการฟ้องเดิมเสื่อมเสีย ไม่ถือว่าขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 เข้าแย่งการครอบครองแล้วแต่ในระหว่างพิจารณาโจทก์ถูกจำเลยที่ 3 ที่ 4 ฟ้องเป็นจำเลย โดยจำเลยที่ 3 ที่ 4 หาว่าโจทก์นำชี้ทำแผนที่พิพาทรุกล้ำที่ของจำเลยที่ 3 ที่ 4 คู่ความทุกสำนวนจึงได้ตกลงกันต่างถอนฟ้องคดีของตนไปและให้โจทก์เป็นผู้ฟ้องจำเลยที่ 1,2,3,4 เป็นคดีใหม่เพื่อสะดวกในการดำเนินคดีของคู่ความทั้งสองฝ่ายดังนี้แม้โจทก์จะฟ้องคดีใหม่นั้นเกิน 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 เข้าแย่งการครอบครอง ก็ไม่ทำให้คดีใหม่ของโจทก์ขาดอายุความการถอนฟ้องและฟ้องใหม่ในกรณีเช่นนี้ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องไว้เดิมเสื่อมเสียแต่ประการใดและกรณีไม่เข้ามาตรา 174 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย
of 75