พบผลลัพธ์ทั้งหมด 742 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 388/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระเบียบภายในเทศบาลไม่อาจบังคับบุคคลให้รับผิดหากไม่ได้กระทำผิด อายุความฟ้องคดี
ระเบียบของกระทรวงมหาดไทยที่ให้นายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาล สมุห์บัญชี ต้องร่วมรับผิดชดใช้เงินคืนให้แก่เทศบาลในกรณีมีการทุจริตอันเกี่ยวกับการรักษาเงินขึ้นนั้น ไม่ใช่กฎหมาย จะยกเอาระเบียบดังกล่าวนี้ขึ้นวินิจฉัยว่า บุคคลดังกล่าวจะต้องเป็นผู้รับผิดชดใช้เงินแทนในทันทีขณะทราบว่ามีการทุจริตขึ้น โดยมิต้องสอบสวนว่าบุคคลดังกล่าวจะต้องรับผิดจริงหรือไม่เสียก่อนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 388/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากเจ้าหน้าที่รัฐ กรณีทุจริตเงินเทศบาล ต้องพิจารณาจากวันที่ทราบตัวผู้กระทำผิดจริง ไม่ใช่แค่วันที่รู้เรื่องการทุจริต
ระเบียบของกระทรวงมหาดไทยที่ให้นายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาลสมุหบัญชีต้องร่วมรับผิดชดใช้เงินคืนให้แก่เทศบาลในกรณีมีการทุจริตอันเกี่ยวกับการรักษาเงินขึ้นนั้นไม่ใช่กฎหมายจะยกเอาระเบียบดังกล่าวนี้ขึ้นวินิจฉัยว่าบุคคลดังกล่าวจะต้องเป็นผู้รับผิดชดใช้เงินแทนในทันทีขณะทราบว่ามีการทุจริตขึ้นโดยมิต้องสอบสวนว่าบุคคลดังกล่าวจะต้องรับผิดจริงหรือไม่เสียก่อนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 366/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายฝากไม่มีผลทางกฎหมาย สัญญาเดิมยังใช้บังคับได้
การขายฝาก มีบัญญัติไว้เป็นเอกเทศสัญญาโดยเฉพาะแต่นิติกรรมจะซื้อจะขายฝากมิได้มีบัญญัติไว้ในที่ใดให้มีได้ สัญญาจะซื้อจะขายฝากจึงมีขึ้นไม่ได้ตามกฎหมาย
จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไป แล้วโจทก์จำเลยตกลงกันว่าจำเลยจะขายฝากที่ดินและห้องแถวให้แก่โจทก์ ให้ถือเอาหนี้ตามสัญญากู้นั้นเป็นเงินชำระหนี้บางส่วนตามสัญญาขายฝาก แต่ครั้นเมื่อจำเลยยืนคำขอแบ่งแยกที่ดินเพื่อขายฝากให้โจทก์และเจ้าพนักงานได้บันทึกถ้อยคำโจทก์จำเลยไว้เท่านั้นโจทก์จำเลยก็เกี่ยงงอนกันเรื่องราคา จึงมิได้ทำสัญญาขายฝากกันเป็นหนังสือและจดทะเบียน ดังนี้ เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายฝากมีขึ้นไม่ได้ตามกฎหมายแล้วก็ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าการกระทำของโจทก์จำเลยดังกล่าวนั้นจะเข้าลักษณะเป็นสัญญาจะซื้อจะขายฝากแล้วหรือไม่และย่อมถือว่ายังไม่มีหนี้อันใดเกิดขึ้นใหม่อันจะเป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสารสำคัญแห่งหนี้เดิมซึ่งจะทำให้หนี้กู้ยืมเดิมต้องระงับสิ้นไปด้วยการแปลงหนี้ใหม่ โจทก์จึงคงมีสิทธินำสัญญากู้ยืมมาฟ้องบังคับจำเลยได้
จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไป แล้วโจทก์จำเลยตกลงกันว่าจำเลยจะขายฝากที่ดินและห้องแถวให้แก่โจทก์ ให้ถือเอาหนี้ตามสัญญากู้นั้นเป็นเงินชำระหนี้บางส่วนตามสัญญาขายฝาก แต่ครั้นเมื่อจำเลยยืนคำขอแบ่งแยกที่ดินเพื่อขายฝากให้โจทก์และเจ้าพนักงานได้บันทึกถ้อยคำโจทก์จำเลยไว้เท่านั้นโจทก์จำเลยก็เกี่ยงงอนกันเรื่องราคา จึงมิได้ทำสัญญาขายฝากกันเป็นหนังสือและจดทะเบียน ดังนี้ เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายฝากมีขึ้นไม่ได้ตามกฎหมายแล้วก็ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าการกระทำของโจทก์จำเลยดังกล่าวนั้นจะเข้าลักษณะเป็นสัญญาจะซื้อจะขายฝากแล้วหรือไม่และย่อมถือว่ายังไม่มีหนี้อันใดเกิดขึ้นใหม่อันจะเป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสารสำคัญแห่งหนี้เดิมซึ่งจะทำให้หนี้กู้ยืมเดิมต้องระงับสิ้นไปด้วยการแปลงหนี้ใหม่ โจทก์จึงคงมีสิทธินำสัญญากู้ยืมมาฟ้องบังคับจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 366/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายฝากไม่มีผลทางกฎหมาย หนี้กู้ยืมยังคงมีผลบังคับใช้
การขายฝาก มีบัญญัติไว้เป็นเอกเทศสัญญาโดยเฉพาะ แต่นิติกรรมจะซื้อจะขายฝากมิได้มีบัญญัติไว้ในที่ใดให้มีได้ สัญญาจะซื้อจะขายฝากจึงมีขึ้นไม่ได้ตามกฎหมาย
จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไป แล้วโจทก์จำเลยตกลงกันว่าจำเลยจะขายฝากที่ดินและห้องแถวให้แก่โจทก์ ให้ถือเอาหนี้ตามสัญญากู้เงินนั้นเป็นเงินชำระหนี้บางส่วนตามสัญญาขายฝาก แต่ครั้นเมื่อจำเลยยื่นคำขอแบ่งแยกที่ดินเพื่อขายฝากให้โจทก์ และเจ้าพนักงานได้บันทึกถ้อยคำโจทก์จำเลยไว้เท่านั้น โจทก์จำเลยก็เกี่ยงงอนกันเรื่องราคา จึงมิได้ทำสัญญาขายฝากกันเป็นหนังสือและจดทะเบียน ดังนี้ เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายฝากมีขึ้นไม่ได้ตามกฎหมายแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าการกระทำของโจทก์จำเลยดังกล่าวนั้นจะเข้าลักษณะเป็นสัญญาจะซื้อจะขายฝากแล้วหรือไม่ และย่อมถือว่ายังไม่มีหนี้อันใดเกิดขึ้นใหม่อันจะเป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสารสำคัญแห่งหนี้เดิม ซึ่งจะทำให้หนี้กู้ยืมเดิมต้องระงับสิ้นไปด้วยการแปลงหนี้ใหม่ โจทก์จึงคงมีสิทธินำสัญญากู้ยืมมาฟ้องบังคับจำเลยได้
จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไป แล้วโจทก์จำเลยตกลงกันว่าจำเลยจะขายฝากที่ดินและห้องแถวให้แก่โจทก์ ให้ถือเอาหนี้ตามสัญญากู้เงินนั้นเป็นเงินชำระหนี้บางส่วนตามสัญญาขายฝาก แต่ครั้นเมื่อจำเลยยื่นคำขอแบ่งแยกที่ดินเพื่อขายฝากให้โจทก์ และเจ้าพนักงานได้บันทึกถ้อยคำโจทก์จำเลยไว้เท่านั้น โจทก์จำเลยก็เกี่ยงงอนกันเรื่องราคา จึงมิได้ทำสัญญาขายฝากกันเป็นหนังสือและจดทะเบียน ดังนี้ เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายฝากมีขึ้นไม่ได้ตามกฎหมายแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่าการกระทำของโจทก์จำเลยดังกล่าวนั้นจะเข้าลักษณะเป็นสัญญาจะซื้อจะขายฝากแล้วหรือไม่ และย่อมถือว่ายังไม่มีหนี้อันใดเกิดขึ้นใหม่อันจะเป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสารสำคัญแห่งหนี้เดิม ซึ่งจะทำให้หนี้กู้ยืมเดิมต้องระงับสิ้นไปด้วยการแปลงหนี้ใหม่ โจทก์จึงคงมีสิทธินำสัญญากู้ยืมมาฟ้องบังคับจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326-330/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของอาคารกับการรื้อถอนโดยเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ผู้เช่าไม่มีสิทธิฟ้อง
เมื่อคณะเทศมนตรีเทศบาลนครกรุงเทพในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นได้ฟ้องเจ้าของอาคารให้รื้อถอนอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 มาตรา 12 ประกอบกับมาตรา11และศาลพิพากษาให้เจ้าของรื้อ ถ้าไม่รื้อก็ให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจรื้อแล้วเจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจรื้อได้ทีเดียวตามคำพิพากษานั้นโดยไม่ต้องฟ้องบุคคลซึ่งอยู่ในอาคารนั้นอีกเพราะกฎหมายให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นดำเนินการต่อเจ้าของอาคารและฟ้องเจ้าของอาคาร มิได้บัญญัติให้ดำเนินการหรือฟ้องผู้เช่าหรือบุคคลอื่นซึ่งมิได้อยู่ในฐานะเจ้าของอาคารให้รื้อถอนการกระทำของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น จึงไม่เป็นการละเมิดต่อผู้เช่าหรือบุคคลอื่นแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 316-320/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการมรดกต้องจัดการร่วมกัน การดำเนินคดีเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการมรดก การฎีกาโดยผู้จัดการคนเดียวเป็นฎีกาที่ไม่มีอำนาจ
ผู้จัดการทรัพยืมรดกต้องจัดการ่วมกัน ผู้จัดการแต่ละคนจะจัดการโดยลำพังไม่ได้ ฉะนั้น เมื่อศาลตั้งให้โจทก์ทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดก โจทก์ที่ 2 จะลงชื่อฎีกาแต่ผู้เดียวย่อมไม่ได้ เพราะการดำเนินคดีเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการมรดก
หนังสือมอบอำนาจยึดทรัพย์นั้น รูปลักษณะและความประสงค์มุ่งไปในทางมอบอำนาจจัดการทางธุระการ จึงไม่มีผลเป็นการมอบอำนาจให้ดำเนินที่เกิดข้อพิพาทขึ้นในศาลแต่อย่างใด
หนังสือมอบอำนาจยึดทรัพย์นั้น รูปลักษณะและความประสงค์มุ่งไปในทางมอบอำนาจจัดการทางธุระการ จึงไม่มีผลเป็นการมอบอำนาจให้ดำเนินที่เกิดข้อพิพาทขึ้นในศาลแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 316-320/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกต้องทำร่วมกัน ผู้จัดการมรดกคนเดียวไม่มีอำนาจดำเนินคดีแทนกองมรดก
ผู้จัดการทรัพย์มรดกต้องจัดการร่วมกัน ผู้จัดการแต่ละคนจะจัดการโดยลำพังไม่ได้ ฉะนั้น เมื่อศาลตั้งให้โจทก์ทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดก โจทก์ที่ 2 จะลงชื่อฎีกาแต่ผู้เดียวย่อมไม่ได้ เพราะการดำเนินคดีเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการมรดก
หนังสือมอบอำนาจยึดทรัพย์นั้น รูปลักษณะและความประสงค์มุ่งไปในทางมอบอำนาจจัดการทางธุระการจึงไม่มีผลเป็นการมอบอำนาจให้ดำเนินคดีที่เกิดข้อพิพาทขึ้นในศาลแต่อย่างใด
หนังสือมอบอำนาจยึดทรัพย์นั้น รูปลักษณะและความประสงค์มุ่งไปในทางมอบอำนาจจัดการทางธุระการจึงไม่มีผลเป็นการมอบอำนาจให้ดำเนินคดีที่เกิดข้อพิพาทขึ้นในศาลแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 305/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา ถือเป็นที่สุดตามมาตรา 236 ว.พ.พ.
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 236 บัญญัติไว้ชัดว่า ในกรณีที่การอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับอุทธรณ์นั้น เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามหรือมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ก็ดี ให้คำสั่งของศาลอุทธรณ์นั้นเป็นที่สุด
ฉะนั้นในคดีที่จำเลยขาดนัดพิจารณา และศาลชั้นต้นไต่สวนสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำสั่งและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ เพราะเห็นว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณานั้น จึงเป็นคำสั่งที่ถึงที่สุด โจทก์จะฎีกาอีกหาได้ไม่
ฉะนั้นในคดีที่จำเลยขาดนัดพิจารณา และศาลชั้นต้นไต่สวนสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำสั่งและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ เพราะเห็นว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณานั้น จึงเป็นคำสั่งที่ถึงที่สุด โจทก์จะฎีกาอีกหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 305/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา ถือเป็นคำสั่งถึงที่สุด ห้ามฎีกา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 236 บัญญัติไว้ชัดว่า ในกรณีที่มีการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งยืนตามหรือมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ก็ดี ให้คำสั่งของศาลอุทธรณ์นั้นเป็นที่สุด
ฉะนั้นในคดีที่จำเลยขาดนัดพิจารณาและศาลชั้นต้นไต่สวนสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำสั่งและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์เพราะเห็นว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณานั้น จึงเป็นคำสั่งที่ถึงที่สุด โจทก์จะฎีกาอีกหาได้ไม่
ฉะนั้นในคดีที่จำเลยขาดนัดพิจารณาและศาลชั้นต้นไต่สวนสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำสั่งและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์เพราะเห็นว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณานั้น จึงเป็นคำสั่งที่ถึงที่สุด โจทก์จะฎีกาอีกหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 301-302/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำละเมิดปิดกั้นทางน้ำ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน การพิสูจน์ช่วงเวลาการกระทำ
โจทก์ฟ้องว่าเมื่อเดือนกรกฎาคม 2500 จำเลยทำคันดินปิดคลองบางเทพ เป็นเหตุให้น้ำท่วมนาโจทก์ จำเลยให้การปฏิเสธ ในวันนัดสืบพยานโจทก์ คู่ความตกลงกันว่า ขอสืบพยานร่วมกัน 3 ปากว่า คันดินตามแผนที่กลางนั้น จำเลยทำขึ้นเมื่อใด ถ้าได้ความว่าทำขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2500 ่ตามฟ้องแล้ว ถือว่าจำเลยแพ้ในข้อนี้ ถ้าได้ความว่าจำเลยได้ทำมาก่อนแล้ว ถือว่าโจทก์แพ้ทั้งคดี ปรากฏว่าพยานร่วมเบิกความว่าชั้นเดิมจำเลยทำเป็นคันนาธรรมดาและไม่ติดต่อเป็นแนวเดียวกัน ถึงหน้าน้ำ ๆ ไหลผ่านพ้นไปได้ ครั้นเดือนกรกฎาคม 2500 จำเลยได้ทำคันดินเสริมคันนาเดิมสูงเพิ่มขึ้นเป็น 60 เซ็นติเมตร และกั้นตลอดเป็นแนวเดียวกัน น้ำไหลผ่านไม่ได้ จึงท่วมนาโจทก์ ดังนี้ย่อมได้ชื่อว่าจำเลยทำคันดินในเดือนกรกฎาคม 2500 ตามที่โจทก์ฟ้อง