พบผลลัพธ์ทั้งหมด 742 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 301-302/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำที่เป็นเหตุให้น้ำท่วม การสร้างคันดินขวางทางน้ำ และความรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น
โจทก์ฟ้องว่าเมื่อเดือนกรกฎาคม 2500 จำเลยทำคันดินปิดคลองบางเทพเป็นเหตุให้น้ำท่วมนาโจทก์ จำเลยให้การปฏิเสธ ในวันนัดสืบพยานโจทก์ คู่ความตกลงกันว่า ขอสืบพยานร่วมกัน 3 ปากว่า คันดินตามแผนที่กลางนั้น จำเลยทำขึ้นเมื่อใดถ้าได้ความว่าทำขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2500 ตามฟ้องแล้ว ถือว่าจำเลยแพ้ในข้อนี้ ถ้าได้ความว่าจำเลยได้ทำมาก่อนแล้ว ถือว่าโจทก์แพ้คดี ปรากฏว่าพยานร่วมเบิกความว่าชั้นเดิมจำเลยทำเป็นคันนาธรรมดาและไม่ติดต่อเป็นแนวเดียวกันถึงหน้าน้ำๆ ไหลผ่านพ้นไปได้ครั้นเดือนกรกฎาคม 2500 จำเลยได้ทำคันดินเสริมคันนาเดิมสูงเพิ่มขึ้นเป็น 60 เซ็นติเมตรและกั้นตลอดเป็นแนวเดียวกัน น้ำไหลผ่านไม่ได้จึงท่วมนาโจทก์ ดังนี้ ย่อมได้ชื่อว่าจำเลยทำคันดินในเดือนกรกฎาคม 2500 ตามที่โจทก์ฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 268/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การและการจงใจขาดนัด ความรับผิดชอบของผู้ถูกฟ้อง
จำเลยยื่นคำให้การพ้นกำหนดไป 1 วัน โดยอ้างเหตุหลงลืมนั้น ถือว่าเป็นการขาดนัดยื่นคำให้การโดยจงใจ เพราะเมื่อจำเลยถูกฟ้อง จำเลยก็มีหน้าที่จดจำและปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด หากยอมให้จำเลยอ้างเป็นข้อแก้ตัวได้ ก็ย่อมทำให้กฎหมายที่กำหนดระยะเวลาให้จำเลยต้องปฏิบัติเป็นอันไร้ผล และการที่จำเลยยื่นคำให้การเมื่อพ้นกำหนดแล้วแสดงว่าจำเลยไม่จงใจขาดนัดยื่นคำให้การก็ไม่ได้อีกเพราะถ้าถือเช่นนั้น ก็จะบังเกิดผลว่าจำเลยยื่นคำให้การเมื่อพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 268/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำให้การเกินกำหนด: ความรับผิดชอบของจำเลยและผลกระทบต่อการปฏิบัติตามกฎหมาย
จำเลยยื่นคำให้การพ้นกำหนดไป 1 วัน โดยอ้างเหตุหลงลืมนั้น ถือว่าเป็นการขาดนัดยื่นคำให้การโดยจงใจ เพราะเมื่อจำเลยถูกฟ้อง จำเลยก็มีหน้าที่จดจำและปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด หากยอมให้จำเลยอ้างเป็นข้อแก้ตัวได้ก็ย่อมทำให้กฎหมายที่กำหนดระยะเวลาให้จำเลยต้องปฏิบัติตามเป็นอันไร้ผล และการที่จำเลยยื่นคำให้การเมื่อพ้นกำหนดแล้ว แสดงว่าจำเลยไม่จงใจขาดนัดยื่นคำให้การก็ไม่ได้อีก เพราะถ้าถือเช่นนั้น ก็จะบังเกิดผลว่าจำเลยยื่นคำให้การเมื่อพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นฎีกาไม่ถูกต้องตามกำหนดเวลา หากไม่วางค่าธรรมเนียมภายใน 15 วันหลังคำสั่งไม่อนุญาตให้ฎีกาอย่างคนอนาถา ศาลไม่รับพิจารณา
จำเลยยื่นฎีกาพร้อมกับยื่นคำร้องขอฎีกาอย่างคนอนาถาศาลชั้นต้นสั่งไม่อนุญาต และให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมที่จะต้องวางและชำระต่อศาลมาวางภายใน 15 วัน จำเลยฎีกาคำสั่งศาลฎีกาสั่งให้ยกคำร้อง จำเลยจึงได้นำค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกามาชำระ เมื่อจำเลยไม่วางเงินค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ย่อมถือว่าจำเลยมิได้ยื่นฎีกาให้ถูกต้องตามกฎหมายภายในกำหนดเวลาจึงไม่เป็นฎีกาที่จะรับไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นฎีกาไม่ถูกต้องตามกฎหมายเนื่องจากไม่วางค่าธรรมเนียมภายในกำหนด ทำให้ศาลไม่รับฎีกา
จำเลยยื่นฎีกาพร้อมกับยื่นคำร้องขอฎีกาอย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นสั่งไม่อนุญาต และให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมที่จะต้องวางและชำระต่อศาลมาวางภายใน 15 วัน จำเลยฎีกาคำสั่ง ศาลฎีกาสั่งให้ยกคำร้อง จำเลยจึงได้นำค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกามาชำระ เมื่อจำเลยไม่วางเงินค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ย่อมถือว่าจำเลยมิได้ยื่นฎีกาให้ถูกต้องตามกฎหมายภายในกำหนดเวลา จึงไม่เป็นฎีกาที่จะรับไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 262/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คโดยตกลงเงื่อนไขเวลาการเบิกจ่าย การเบิกก่อนกำหนดไม่ถือเป็นความผิด
จำเลยออกเช็คเงินสดให้แก่ ส. โดยส. ก็ทราบว่าขณะนั้นจำเลยไม่มีเงินในธนาคารเลย และมีข้อตกลงกันว่าภายในกำหนดเวลา 1 เดือน นั้น จำเลยจะต้องนำเงินไปเข้าบัญชีธนาคารเพื่อให้ ส. ไปเบิกเงิน แต่ ส. กลับนำเช็คไปขึ้นเงินที่ธนาคารเสียก่อนพ้นกำหนดเวลา 1 เดือน ดังนี้ เป็นการว่ากล่าวเอากับเช็คซึ่งยังอยู่ในระยะเวลาที่คู่กรณีไม่มีเจตนาจะให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น (แม้ธนาคารจะไม่จ่ายเงินเพราะจำเลยไม่มีเงินในธนาคาร หรือมีไม่พอจ่าย) จำเลยก็ยังไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 262/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาใช้เช็ค - เช็คยังไม่ถึงกำหนด - ไม่เป็นความผิด พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยออกเช็คเงินสดให้แก่ ส.โดย ส. ก็ทราบว่าขณะนั้นจำเลยไม่มีเงินในธนาคารเลย และมีข้อตกลงกันว่าภายในกำหนด 1 เดือน นั้น จำเลยจะต้องนำเงินไปเข้าบัญชีธนาคารเพื่อให้ ส.ไปเบิกเงิน แต่ ส. กลับนำเช็คไปขึ้นเงินที่ธนาคารเสียก่อนพ้นกำหนดเวลา 1 เดือนดังนี้เป็นการว่ากล่าวเอากับเช็ค ซึ่งยังอยู่ในระยะเวลาที่คู่กรณีไม่มีเจตนาจะให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น แม้ธนาคารจะไม่จ่ายเงินเพราะจำเลยไม่มีเงินในธนาคารหรือมีไม่พอจ่าย จำเลยก็ยังไม่มีความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 253/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความหลังเลิกบริษัท: ทนายความยังคงมีอำนาจดำเนินคดีได้จนกว่าผู้ชำระบัญชีจะถอนอำนาจ
ป.พ.พ. มาตรา 1249 มีความหมายว่าแม้บริษัทได้เลิกแล้ว แต่กฎหมายก็ให้ถือว่ายังคงตั้งอยู่ระหว่างเวลาที่จำเป็นแก่การชำระบัญชี ฉะนั้น ทนายความที่ได้รับแต่งตั้งจากบริษัทก็ยังคงถือว่าเป็นทนายของบริษัทอยู่ในขณะชำระบัญชี และยังคงมีสิทธิดำเนินคดีได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1259 (1) เป็นบทให้อำนาจแก่ผู้ชำระบัญชีที่จะว่าต่างแก้ต่างในนามของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท มิใช่เป็นบทระงับสิทธิของทนายความที่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทได้แต่งตั้งไว้แล้ว ทนายที่แต่งตั้งไว้จะหมดอำนาจดำเนินคดีก็ต่อเมื่อผู้ชำระบัญชีถอนการมอบอำนาจ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1259 (1) เป็นบทให้อำนาจแก่ผู้ชำระบัญชีที่จะว่าต่างแก้ต่างในนามของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท มิใช่เป็นบทระงับสิทธิของทนายความที่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทได้แต่งตั้งไว้แล้ว ทนายที่แต่งตั้งไว้จะหมดอำนาจดำเนินคดีก็ต่อเมื่อผู้ชำระบัญชีถอนการมอบอำนาจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 253/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความหลังเลิกบริษัท: ยังมีสิทธิดำเนินคดีได้จนกว่าผู้ชำระบัญชีจะถอนมอบอำนาจ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249 มีความหมายว่า แม้บริษัทได้เลิกแล้ว แต่กฎหมายก็ให้ถือว่ายังคงตั้งอยู่ในระหว่างเวลาที่จำเป็นแก่การชำระบัญชี. ฉะนั้น ทนายความที่ได้รับแต่งตั้งจากบริษัทก็ยังคงถือว่าเป็นบริษัทอยู่ในขณะชำระบัญชี และยังคงมีสิทธิดำเนินคดีได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1259(1) เป็นบทให้อำนาจแก่ผู้ชำระบัญชีที่จะว่าต่างแก้ต่างในนามของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท มิใช่เป็นบทระงับสิทธิของทนายความที่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทได้แต่งตั้งไว้แล้ว ทนายที่แต่งตั้งไว้จะหมดอำนาจดำเนินคดีก็ต่อเมื่อผู้ชำระบัญชีถอนการมอบอำนาจ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1259(1) เป็นบทให้อำนาจแก่ผู้ชำระบัญชีที่จะว่าต่างแก้ต่างในนามของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท มิใช่เป็นบทระงับสิทธิของทนายความที่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทได้แต่งตั้งไว้แล้ว ทนายที่แต่งตั้งไว้จะหมดอำนาจดำเนินคดีก็ต่อเมื่อผู้ชำระบัญชีถอนการมอบอำนาจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 245/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดินเพื่อปลูกทุเรียน: การปฏิบัติตามสัญญาและสิทธิบอกเลิกสัญญา
จำเลยทำสัญญาเช่าสวนส้มของโจทก์มีกำหนด 12 ปี ค่าเช่าปีละ 10 บาท โดยมีข้อสัญญาว่าจำเลยจะต้องปลูกทุเรียนจนเต็มเนื้อที่โดยออกค่าใช้จ่ายเอง และในระหว่างอายุสัญญาเช่า ดอกผลที่ได้จากทุเรียนจะต้องแบ่งกันคนละครึ่งระหว่างโจทก์กับจำเลย โจทก์สงวนสิทธิเก็บดอกผลของต้นไม้บางต้น นอกนั้นยอมให้จำเลยเก็บได้ทั้งสิ้น แม้ตามสัญญาจะมิได้กำหนดว่าจะต้องเริ่มปลูกทุเรียนเมื่อใดแต่เมื่อพิเคราะห์ถึงความประสงค์ของคู่สัญญาประกอบกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 368 แล้ว จำเลยจะต้องปลูกทุเรียนโดยเร็วในระยะแรกที่พอปลูกได้