พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4382/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดนัดจากการไม่คืนเงินสนับสนุนพรรคการเมือง และการแก้ไขอัตราดอกเบี้ยตาม พ.ร.ก. 2564
แม้ก่อนหน้านี้โจทก์มีหนังสือให้พรรค ป. ส่งคืนเงินสนับสนุนตามโครงการและแผนงานประจำปี 2543 ที่เหลือจากการใช้จ่าย แต่มิได้รวมถึงเงินสนับสนุนประจำปี 2542 ที่โจทก์ฟ้องด้วย ทั้งมิได้ระบุจำนวนเงินที่ต้องคืนแต่อย่างใด และหลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรค ป. แล้วก็ยังอยู่ระหว่างตรวจสอบเพื่อสรุปจำนวนเงิน จึงยังไม่มีหนี้เป็นจำนวนแน่นอนที่พรรค ป. ต้องชำระ แต่เมื่อคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองและโจทก์มีหนังสือแจ้งจำเลยที่ 1 ในฐานะหัวหน้าพรรค ป. และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 และ นาย ค. ในฐานะกรรมการบริหารพรรค ป. คืนเงินสนับสนุนจากกองทุนเพื่อพัฒนาพรรคการเมืองประจำปี 2542 และ 2543 โดยกำหนดจำนวนเงินที่ต้องส่งคืนพร้อมดอกเบี้ยและกำหนดเวลาให้ชำระแล้ว จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 และ นาย ค. ไม่คืนภายในกำหนด จึงตกเป็นผู้ผิดนัด และต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยนับแต่วันพ้นกำหนดตามหนังสือบอกกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3965/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดชำระหนี้สัญญาเช่าซื้อ และผลของการส่งมอบรถคืนแก่ผู้ให้เช่าซื้อ
จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ ตั้งแต่งวดที่ 14 เป็นต้นมา 3 งวดติดกัน เมื่อโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รับหนังสือ แม้ปรากฏว่าการส่งหนังสือบอกกล่าวทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับส่งให้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ เพราะจำเลยที่ 1 ไม่มารับภายในกำหนด แต่กรณีนี้ในข้อสัญญาเช่าซื้อถือว่าได้มีการส่งคำบอกกล่าวชอบแล้ว เมื่อเนื้อความในหนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญาของโจทก์เป็นเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 10 (ก) ที่ข้อสัญญามีข้อความครบถ้วนที่กำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ.2555 ข้อ 4 (4) ที่ประกาศนี้กำหนดให้สัญญาเช่าซื้อที่ผู้ประกอบธุรกิจทำกับผู้บริโภคต้องมีข้อสัญญานี้จึงส่งผลให้โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อไม่อาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเพราะเหตุผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อก่อนกำหนดเวลา 30 วันได้ และในทางกลับกันจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อยังมีสิทธิชำระค่าเช่าซื้อตามหนังสือบอกกล่าวได้ภายใน 30 วัน ตามหนังสือบอกกล่าวเพื่อมิให้โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเพราะเหตุจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อไม่รอเวลาให้ครบ 30 วัน ตามหนังสือบอกกล่าว จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถที่เช่าซื้อคืนโจทก์ โดยไม่มีข้อพิพาทหรือโต้แย้งมีผลเท่ากับจำเลยที่ 1 ยอมรับว่าจะไม่ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระภายในกำหนดแน่นอน และไม่ประสงค์จะชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ เพื่อให้สัญญาเช่าซื้อมีผลผูกพันต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาเพราะเหตุที่โจทก์บอกกล่าวเลิกสัญญาให้จำเลยที่ 1 ทราบโดยชอบแล้ว ทั้งถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 12 ที่กำหนดให้ผู้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อในเวลาใด ๆ ก็ได้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อกันโดยปริยาย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระค่าขาดราคา ตามข้อสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3965/2564 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดสัญญาเช่าซื้อ การส่งมอบรถคืน และสิทธิของผู้นำเข้าในการขายทอดตลาด
ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า การที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 14 เป็นต้นมา 3 งวด ติดกัน เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558 โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ 6 งวด ภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่รับหนังสือ หากพันกำหนดแล้วไม่ชำระให้ถือเอาหนังสือฉบับนี้เป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อทันที ซึ่งแม้พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาปรากฏเหตุขัดข้องที่ส่งหนังสือบอกกล่าวทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับให้แก่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ เพราะเหตุว่าจำเลยที่ 1 ไม่มารับภายในกำหนด แต่กรณีดังกล่าวสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 17 วรรคสาม ให้ถือว่าได้มีการส่งหนังสือบอกกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 โดยชอบแล้ว โดยเนื้อความในหนังสือบอกกล่าวเป็นเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 10 (ก) ที่ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2555 ซึ่งกำหนดให้สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ที่ผู้ประกอบธุรกิจทำกับผู้บริโภคต้องมีข้อสัญญานี้ด้วย ด้วยข้อสัญญาดังกล่าวมีผลให้โจทก์ไม่อาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเพราะเหตุผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อก่อนครบกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือบอกกล่าวได้ แต่จำเลยที่ 1 ยังมีสิทธิชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระตามที่บอกกล่าวภายใน 30 วัน เพื่อมิให้โจทก์ใช้สิทธิเลิกสัญญาเช่าซื้อเพราะเหตุจำเลยที่ 1 ผิดนัดผิดสัญญา แต่เมื่อปรากฏว่าเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2558 จำเลยที่ 1 นำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปส่งมอบคืนให้แก่โจทก์ โดยไม่รอให้ล่วงพ้นกำหนดเวลา 30 วัน โดยไม่มีข้อโต้แย้ง พฤติการณ์เท่ากับจำเลยที่ 1 ยอมรับว่า อย่างไรเสียก็จะไม่ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระให้แก่โจทก์ภายในกำหนดเป็นแน่ และไม่ประสงค์ที่จะชำระเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระเพื่อให้สัญญาเช่าซื้อมีผลผูกพันต่อไป ซึ่งจำเลยที่ 1 สามารถดำเนินการได้เนื่องจากไม่มีข้อสัญญาห้ามมิให้ผู้เช่าซื้อกระทำเช่นนั้น พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาเพราะเหตุที่ใจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อโดยมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อทราบโดยชอบแล้ว โดยโจทก์หาจำต้องโต้แย้งคัดค้านการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแต่อย่างใดไม่ ทั้งการส่งมอบรถยนต์คืนเช่นนี้มิใช่เป็นกรณีจำเลยที่ 1 ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 12 ที่กำหนดให้สิทธิจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อในเวลาใด ๆ เสียก็ได้ด้วยการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดีให้แก่โจทก์เนื่องจากสัญญาข้อ 12 ดังกล่าวกำหนดให้จำเลยที่ 1 ต้องชำระเงินทั้งปวงที่ถึงกำหนดชำระหรือเป็นหนี้ตามสัญญาอยู่ในเวลานั้นทันที และไม่ได้เป็นการสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อกันโดยปริยายดังที่จำเลยที่ 1 ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3781/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมกันทำร้ายร่างกาย, พาอาวุธ, พยานหลักฐาน, การบรรเทาโทษ, รอการลงโทษ
ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องว่าทำความตกลงกับผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ร้องคดีนี้ได้ และจำเลยทั้งสองยื่นคำให้การใหม่ขอแก้ไขคำให้การเดิมที่ให้การปฏิเสธเป็นรับสารภาพตามฟ้องทุกข้อกล่าวหา ซึ่งไม่อาจกระทำได้เพราะการแก้ไขคำให้การต้องกระทำก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคสอง แต่การยื่นคำร้องและคำให้การใหม่ดังกล่าวถือเป็นการรับข้อเท็จจริงว่ากระทำความผิดโดยไม่โต้แย้งคำพิพากษาลงโทษของศาลชั้นต้น แต่เมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วเห็นว่า พยานโจทก์ที่นำสืบมามีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ จึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง แม้จำเลยที่ 1 จะแถลงขอถอนคำให้การเดิมเป็นให้การรับสารภาพ แต่เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำความผิด ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 215 ดังนั้น โจทก์ย่อมสามารถฎีกาได้ว่า จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 กระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3502/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินพิพาทหลังสัญญาประนีประนอมความ & คำสั่งคืนค่าขึ้นศาล
คดีก่อน น. ฟ้องจำเลยที่ 20 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่าจำเลยที่ 20 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความตกลงขายที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นสินสมรสของ น. โดยไม่ได้รับความยินยอมหรือให้สัตยาบันจาก น. เป็นการจัดการมรดกโดยมิชอบ สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมไม่มีผลผูกพัน น. จนศาลฎีกามีคำพิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสซึ่งเป็นของ น. สองในสามส่วนอันเป็นส่วนหนึ่งของสินบริคณห์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1462 วรรคสอง (เดิม) ส. ผู้เป็นสามีมีอำนาจจำหน่ายสินบริคณห์ได้แต่ผู้เดียวโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจาก น. ภริยาก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1468 (เดิม) และมาตรา 1473 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะนั้น ส. ย่อมมีอำนาจทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินบริคณห์รวมทั้งในส่วนที่เป็นสินสมรสของ น. ให้แก่ผู้อื่นได้โดยลำพัง โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจาก น. ก่อน จำเลยที่ 1 มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 20 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. คู่สัญญาให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่ ส. ทำไว้ก่อนตายได้ การที่จำเลยที่ 20 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกในการจัดการทรัพย์สินของ ส. เพื่อชำระหนี้ที่ ส. มีความรับผิดอยู่ก่อนตาย และเพื่อนำทรัพย์สินที่เหลือมาจัดการแบ่งปันให้แก่ทายาทของ ส. ตามกฎหมาย อันเป็นการจัดการทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. ตามหน้าที่ที่จำเป็นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 หาใช่เป็นการกระทำนอกเหนือหน้าที่ของผู้จัดการมรดกไม่ คำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวย่อมมีผลผูกพัน น. รวมทั้งโจทก์ซึ่งเป็นผู้สืบสิทธิในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของ น. จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 20 ซึ่งเป็นคู่ความในคดีก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง โจทก์จะโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ยุติไปแล้วและผูกพันโจทก์เพื่อให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงในคดีนี้เป็นอย่างอื่นว่า ส. ไม่ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 20 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความโอนขายที่ดินพิพาทส่วนของ น. โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1028/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์มรดกจากการเพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดิน กรณีผู้รับโอนได้มาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน
คดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ ซ. ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ จ. ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งเก้าแปลงที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 โอนให้แก่จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ถึงที่ 11 เป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก มีอายุความห้าปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 11 มิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตามที่ต่อสู้ในคำให้การ ประเด็นที่ว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คดีไม่มีประเด็นเรื่องอายุความในชั้นอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสี่ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นในอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ฎีกาเรื่องอายุความ และจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 11 แก้ฎีกาเรื่องอายุความเช่นกัน จึงเป็นฎีกาและคำแก้ฎีกาที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 252
ซ. กับ ฟ. เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย ซึ่งมิได้บัญญัติให้ใช้บังคับเฉพาะแก่บุคคลผู้มีสัญชาติไทย กฎหมายลักษณะผัวเมียมีผลใช้บังคับแก่บุคคลทั่วไปโดยไม่จำกัดสัญชาติ และตาม พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 มาตรา 4 (1) บัญญัติว่า "บทบัญญัติแห่งบรรพนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการสมรสซึ่งได้มีอยู่ก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายบรรพนี้ และทั้งสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิดแต่การสมรสนั้น ๆ" ซึ่งมีความหมายว่าการสมรสที่สมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายลักษณะผัวเมียอยู่อย่างไร ก็ยังคงสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายอยู่อย่างนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 พุทธศักราช 2479 ไม่กระทบกระเทือนถึงการสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมียซึ่งคู่สมรสไม่จำต้องจดทะเบียนสมรส
ซ. เป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายของ จ. เมื่อ จ. ถึงแก่ความตาย ทรัพย์มรดกของ จ. ส่วนหนึ่งย่อมตกได้แก่ ซ. ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรม แม้ ซ. ไม่ได้เรียกร้องก็ไม่มีผลทำให้เสียสิทธิในมรดกส่วนของตนแต่อย่างใด เพราะไม่ปรากฏว่า ซ. แสดงเจตนาสละมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612 แต่ในระหว่างที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังมิได้จัดการทรัพย์มรดกของ จ. ซ. ถึงแก่ความตายเสียก่อน โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่งของ ซ. ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกของ จ. ที่ตกได้แก่ ซ. ส่วนหนึ่ง
เมื่อ จ. ถึงแก่ความตาย การสมรสระหว่าง จ. กับ ค. ย่อมสิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1501 การคิดส่วนแบ่งทรัพย์สินระหว่าง จ. กับ. ค. มีผลตั้งแต่การสมรสสิ้นไปด้วยเหตุความตาย และการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาให้อยู่ในบังคับของบทบัญญัติว่าด้วยการหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1625 ที่ดินพิพาททั้งเก้าแปลงจึงต้องแบ่งเป็นมรดกของ จ. และแบ่งให้ ค. คนละส่วนเท่ากันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1533 ที่ดินพิพาททั้งเก้าแปลงกึ่งหนึ่งส่วนที่เป็นมรดกตกทอดแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 11 ผู้สืบสันดานของ จ. ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1 ซ. บิดาของ จ. ทายาทโดยธรรมลำดับที่ 2 มีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร และ ค. คู่สมรสซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตรตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง, 1629 (1) (2), 1630 วรรคสอง และ 1635 (1) แต่ ซ. ถึงแก่ความตายก่อนที่จะมีการจัดการมรดกของ จ. มรดกในส่วนของ ซ. จึงตกได้แก่ผู้สืบสันดานของ ซ. ทั้งเก้าคน เมื่อ จ. ถึงแก่ความตายไปก่อน ผู้สืบสันดานของ จ. คือ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 11 มีสิทธิรับมรดกแทนที่ จ. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1639 ส่วน ย. ผู้สืบสันดานคนหนึ่งของ ซ. ที่ถึงแก่ความตายไปแล้วนั้นแม้ไม่ปรากฏว่า ย. ถึงแก่ความตายก่อนหรือหลัง ซ. ผู้สืบสันดานของ ย. ทั้งหกคนย่อมมีสิทธิรับมรดกแทนที่หรือสืบมรดกของ ย. แล้วแต่กรณี
ซ. กับ ฟ. เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย ซึ่งมิได้บัญญัติให้ใช้บังคับเฉพาะแก่บุคคลผู้มีสัญชาติไทย กฎหมายลักษณะผัวเมียมีผลใช้บังคับแก่บุคคลทั่วไปโดยไม่จำกัดสัญชาติ และตาม พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 มาตรา 4 (1) บัญญัติว่า "บทบัญญัติแห่งบรรพนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการสมรสซึ่งได้มีอยู่ก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายบรรพนี้ และทั้งสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิดแต่การสมรสนั้น ๆ" ซึ่งมีความหมายว่าการสมรสที่สมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายลักษณะผัวเมียอยู่อย่างไร ก็ยังคงสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายอยู่อย่างนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 พุทธศักราช 2479 ไม่กระทบกระเทือนถึงการสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมียซึ่งคู่สมรสไม่จำต้องจดทะเบียนสมรส
ซ. เป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายของ จ. เมื่อ จ. ถึงแก่ความตาย ทรัพย์มรดกของ จ. ส่วนหนึ่งย่อมตกได้แก่ ซ. ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรม แม้ ซ. ไม่ได้เรียกร้องก็ไม่มีผลทำให้เสียสิทธิในมรดกส่วนของตนแต่อย่างใด เพราะไม่ปรากฏว่า ซ. แสดงเจตนาสละมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612 แต่ในระหว่างที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังมิได้จัดการทรัพย์มรดกของ จ. ซ. ถึงแก่ความตายเสียก่อน โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่งของ ซ. ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกของ จ. ที่ตกได้แก่ ซ. ส่วนหนึ่ง
เมื่อ จ. ถึงแก่ความตาย การสมรสระหว่าง จ. กับ ค. ย่อมสิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1501 การคิดส่วนแบ่งทรัพย์สินระหว่าง จ. กับ. ค. มีผลตั้งแต่การสมรสสิ้นไปด้วยเหตุความตาย และการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาให้อยู่ในบังคับของบทบัญญัติว่าด้วยการหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1625 ที่ดินพิพาททั้งเก้าแปลงจึงต้องแบ่งเป็นมรดกของ จ. และแบ่งให้ ค. คนละส่วนเท่ากันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1533 ที่ดินพิพาททั้งเก้าแปลงกึ่งหนึ่งส่วนที่เป็นมรดกตกทอดแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 11 ผู้สืบสันดานของ จ. ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1 ซ. บิดาของ จ. ทายาทโดยธรรมลำดับที่ 2 มีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร และ ค. คู่สมรสซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตรตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง, 1629 (1) (2), 1630 วรรคสอง และ 1635 (1) แต่ ซ. ถึงแก่ความตายก่อนที่จะมีการจัดการมรดกของ จ. มรดกในส่วนของ ซ. จึงตกได้แก่ผู้สืบสันดานของ ซ. ทั้งเก้าคน เมื่อ จ. ถึงแก่ความตายไปก่อน ผู้สืบสันดานของ จ. คือ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 11 มีสิทธิรับมรดกแทนที่ จ. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1639 ส่วน ย. ผู้สืบสันดานคนหนึ่งของ ซ. ที่ถึงแก่ความตายไปแล้วนั้นแม้ไม่ปรากฏว่า ย. ถึงแก่ความตายก่อนหรือหลัง ซ. ผู้สืบสันดานของ ย. ทั้งหกคนย่อมมีสิทธิรับมรดกแทนที่หรือสืบมรดกของ ย. แล้วแต่กรณี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 686/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของตัวแทนและผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดต่อความเสียหายจากการทุจริตของลูกจ้าง
แม้โจทก์จะกล่าวมาในฟ้องไม่ชัดเจนว่าจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดหรือผิดสัญญาแต่เมื่อโจทก์บรรยายข้อเท็จจริงมาให้เป็นที่เข้าใจตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไรแล้ว เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องปรับข้อเท็จจริงตามคำฟ้องว่าจะต้องด้วยบทกฎหมายใด ข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายฟ้องจึงเป็นการแสดงให้เห็นว่าเป็นกรณีที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ทั้งสองทาง โดยให้จำเลยที่ 2 รับผิดทั้งในมูลผิดสัญญาตัวแทนและในมูลละเมิด ดังนั้น แม้ว่าโจทก์จะรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนอย่างช้าในวันที่ 12 กันยายน 2555 และจำเลยที่ 2 ชำระเงินให้โจทก์ครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนกรกฎาคม 2557 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2560 อันทำให้สิทธิเรียกร้องในมูลละเมิดของโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่สิทธิเรียกร้องในมูลผิดสัญญาตัวแทนนั้น ไม่มีกฎหมายกำหนดเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถืออายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดในความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินของโจทก์ในระหว่างที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการของโจทก์เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2554 ถึงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2555 แต่คดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และ ฝ. นั้น เป็นการฟ้องให้จำเลยที่ 1 และ ฝ. รับผิดในความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินของโจทก์ในระหว่างที่ ฝ. เป็นผู้จัดการของโจทก์เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2555 ถึงวันที่ 7 กันยายน 2555 ซึ่งความรับผิดของจำเลยที่ 2 และ ฝ. มิใช่การรับผิดร่วมกัน แต่เป็นความรับผิดของแต่ละคนที่จะต้องรับผิดเฉพาะในช่วงเวลาที่ตนเป็นผู้จัดการของโจทก์เท่านั้น และจำเลยที่ 2 มิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซํ้าและการดำเนินกระบวนพิจารณาซํ้าจำเลยที่ 2 ประมาทเลินเล่อไม่ปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจสอบใบเสร็จรับเงินที่มีการยกเลิกให้ถูกต้อง เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 เบียดบังเอาเงินของโจทก์ไปโดยทุจริต จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 812 เมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับชำระหนี้ไม่เกินไปกว่าความเสียหายที่โจทก์ได้รับ ดังนั้น หากโจทก์ได้รับชำระหนี้ไว้จากจำเลยที่ 1 เพียงใด ก็ต้องนำมาหักชำระหนี้ในส่วนที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดด้วย
คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดในความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินของโจทก์ในระหว่างที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการของโจทก์เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2554 ถึงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2555 แต่คดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และ ฝ. นั้น เป็นการฟ้องให้จำเลยที่ 1 และ ฝ. รับผิดในความเสียหายที่จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินของโจทก์ในระหว่างที่ ฝ. เป็นผู้จัดการของโจทก์เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2555 ถึงวันที่ 7 กันยายน 2555 ซึ่งความรับผิดของจำเลยที่ 2 และ ฝ. มิใช่การรับผิดร่วมกัน แต่เป็นความรับผิดของแต่ละคนที่จะต้องรับผิดเฉพาะในช่วงเวลาที่ตนเป็นผู้จัดการของโจทก์เท่านั้น และจำเลยที่ 2 มิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซํ้าและการดำเนินกระบวนพิจารณาซํ้าจำเลยที่ 2 ประมาทเลินเล่อไม่ปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจสอบใบเสร็จรับเงินที่มีการยกเลิกให้ถูกต้อง เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 เบียดบังเอาเงินของโจทก์ไปโดยทุจริต จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 812 เมื่อโจทก์มีสิทธิได้รับชำระหนี้ไม่เกินไปกว่าความเสียหายที่โจทก์ได้รับ ดังนั้น หากโจทก์ได้รับชำระหนี้ไว้จากจำเลยที่ 1 เพียงใด ก็ต้องนำมาหักชำระหนี้ในส่วนที่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3607/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค้างจ่ายในศาล ผู้รับต้องเรียกรับภายใน 5 ปี มิฉะนั้นตกเป็นของแผ่นดิน
เงินค้างจ่ายที่อยู่ในศาล ผู้มีสิทธิรับเงินต้องเรียกเอาเงินหรือขอรับเงินที่ตนมีสิทธิจะได้รับจากศาลและต้องมารับเงินตามที่เรียกหรือขอด้วย หรือในกรณีที่ศาลออกเช็คให้ผู้มีสิทธิรับเงินแทนการจ่ายเป็นเงินสด ผู้มีสิทธิรับเงินก็ต้องนำเช็คไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร หากผู้มีสิทธิรับเงินเพียงแต่แถลงขอรับเงินจากศาล แต่ไม่มารับเงินตามที่ขอหรือมิได้นำเช็คไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร ภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่ศาลอนุญาต เงินค้างจ่ายดังกล่าวจึงตกเป็นของแผ่นดินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 (เดิม) จำเลยจะขอให้ศาลออกเช็คฉบับใหม่แทนเช็คฉบับเดิมเพื่อสั่งจ่ายเงินที่ตกเป็นของแผ่นดินแล้วมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3522/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกฟ้องคดีอาญาเมื่อโจทก์ไม่มาตามนัดไกล่เกลี่ย ศาลต้องพิจารณาว่าเป็นนัดตรวจพยานหลักฐานหรือพิจารณาคดีหรือไม่
ป.วิ.อ. มาตรา 166 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ถ้าโจทก์ไม่มาตามกำหนดนัดให้ศาลยกฟ้องเสีย คำว่า "กำหนดนัด" ตามบทบัญญัติดังกล่าว หมายถึงกำหนดนัดไต่สวนมูลฟ้องหรือกำหนดนัดตรวจพยานหลักฐาน หรือกำหนดนัดพิจารณาซึ่งเป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องมาดำเนินกระบวนพิจารณาต่อศาลตามที่กฎหมายกำหนด การที่จำเลยแถลงขอนำคดีเข้าศูนย์ไกล่เกลี่ย และศาลชั้นต้นอนุญาตและมีหนังสือแจ้งผู้เสียหายมาศาลเพื่อไกล่เกลี่ย วันที่ 15 กรกฎาคม 2562 เวลา 9 นาฬิกา เป็นการนัดผู้เสียหายและจำเลยมาไกล่เกลี่ยมิได้เกี่ยวข้องกับโจทก์ แม้จะเป็นวันเดียวกับที่ศาลกำหนดนัดพร้อมเพื่อสอบคำให้การ/คุ้มครองสิทธิ/ตรวจพยานหลักฐาน/ไกล่เกลี่ย แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอีกว่าหากจำเลยให้การปฏิเสธให้ผู้พิพากษาประจำศูนย์กำหนดวันนัดตรวจพยานหลักฐานและประชุมคดี และแจ้งคู่ความ แสดงว่าในการนัดตรวจพยานหลักฐานนั้น ศาลชั้นต้นจะต้องกำหนดวันนัดและแจ้งให้คู่ความทราบอีกชั้นหนึ่ง ดังนั้นการที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดพร้อมเพื่อไกล่เกลี่ย ซึ่งมิใช่วันนัดตรวจพยานหลักฐานและวันนัดพิจารณา จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 166 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 181 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งวันที่ 15 กรกฎาคม 2562 ให้ยกฟ้องโจทก์ เพราะโจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 166 วรรคหนึ่ง แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมา จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3322/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานก่อการร้าย-ใช้วัตถุระเบิด ศาลฎีกาแก้ไขโทษ ปรับบทความผิดให้ถูกต้อง
แม้โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานยืนยันการกระทำความผิดของจำเลย แต่ ป. และ ฮ. ผู้ร่วมขบวนการ ได้ให้การจากการซักถามของเจ้าพนักงานว่า จำเลยเป็นผู้ร่วมขบวนการด้วย โดย ป. ยังให้ถ้อยคำถึงรายละเอียดในการกระทำความผิดของจำเลยในคดีนี้ และในครั้งอื่น ๆ ที่จำเลยมีส่วนร่วมก่อการด้วย โดยมีรายละเอียดของขั้นตอนในการกระทำความผิดอย่างครบถ้วน ส่วน ฮ. ก็ให้ถ้อยคำในรายละเอียดของการกระทำความผิดในคดีนี้ การให้ถ้อยคำของ ป. และ ฮ. มิใช่เป็นการซัดทอดจำเลยเพื่อให้ตนเองพ้นผิด แต่เป็นการให้ถ้อยคำเกี่ยวกับข้อมูลของผู้ร่วมขบวนการด้วยกันว่ามีบุคคลใดบ้าง ตลอดจนรายละเอียดของการกระทำความผิดในแต่ละครั้ง ซึ่งรวมถึงคดีนี้ว่ามีขั้นตอนอย่างไร และมีบุคคลใดบ้างที่เกี่ยวข้อง สอดคล้องต้องกัน จึงมีเหตุผลให้รับฟัง ส่วนจำเลยให้การในชั้นสอบสวนด้วยความสมัครใจมีรายละเอียดตั้งแต่แรกว่าได้เข้าร่วมขบวนการแบ่งแยกดินแดนเมื่อใด โดยคดีนี้มี ป. เป็นผู้สั่งการและได้มอบหมายให้จำเลยมีหน้าที่กดรีโมทคอนโทรลจุดชนวนระเบิด บันทึกคำให้การของผู้ต้องหาและบันทึกผลการซักถามเบื้องต้นดังกล่าว แม้เป็นพยานบอกเล่า แต่น่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้ ศาลย่อมสามารถรับฟังพยานบอกเล่านั้น ประกอบพยานหลักฐานอื่นเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยได้
ความผิดฐานร่วมกันเป็นซ่องโจรเป็นความผิดสำเร็จเมื่อมีการสมคบกัน ต่อมาการที่ผู้กระทำความผิดได้ร่วมกันสะสมกำลังพลหรืออาวุธ จัดหาหรือรวบรวมทรัพย์สิน ให้หรือรับการฝึกการก่อการร้าย ตระเตรียมการอื่นใด หรือสมคบกัน เพื่อก่อการร้าย หรือกระทำการอื่นใดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 135/2 (2) จำเลยกับพวกมีเจตนาเดียวในการกระทำความผิดทั้งสองฐานนี้ จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
ปัญหาว่าความผิดตามฟ้องทั้งหมดของโจทก์เป็นกรรมเดียวกันหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ โดยมิได้เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย
ความผิดฐานร่วมกันเป็นซ่องโจรเป็นความผิดสำเร็จเมื่อมีการสมคบกัน ต่อมาการที่ผู้กระทำความผิดได้ร่วมกันสะสมกำลังพลหรืออาวุธ จัดหาหรือรวบรวมทรัพย์สิน ให้หรือรับการฝึกการก่อการร้าย ตระเตรียมการอื่นใด หรือสมคบกัน เพื่อก่อการร้าย หรือกระทำการอื่นใดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 135/2 (2) จำเลยกับพวกมีเจตนาเดียวในการกระทำความผิดทั้งสองฐานนี้ จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
ปัญหาว่าความผิดตามฟ้องทั้งหมดของโจทก์เป็นกรรมเดียวกันหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ โดยมิได้เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย