คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 243 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 288 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2169/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, ค้ำประกัน, และรับชำระหนี้: ข้อพิพาทเรื่องหนี้และภาระการพิสูจน์
แม้ศาลชั้นต้นกำหนดภาระในการพิสูจน์ผิดพลาดโดยให้ตกอยู่แก่จำเลยทั้งสามทั้งที่ตามกฎหมายต้องตกแก่โจทก์ แต่เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นข้อพิพาทเหล่านั้นโดยมิได้ยกเอาหน้าที่นำสืบหรือภาระการพิสูจน์มาเป็นเหตุพิพากษาให้จำเลยทั้งสามแพ้คดี จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะพิจารณาคดีนี้ใหม่ทั้งหมด เพราะไม่มีผลให้คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เปลี่ยนแปลงไป
ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ จำเลยที่ 1 มีสิทธิเบิกเงินเกินบัญชีได้ถึง 5,000,000 บาท และต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี แม้เมื่อรวมดอกเบี้ยเข้ากับเงินต้นแล้วจำนวนเงินจะเกิน 5,000,000 บาท เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้และการปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ตลอดจนดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทนซึ่งจำเลยที่ 1 ค้างชำระและค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องรับผิดตามสัญญาโดยร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 แม้เมื่อรวมดอกเบี้ยแล้วจะเกิน 5,000,000 บาท
จำเลยที่ 1 นำตั๋วสัญญาใช้เงินไปขายให้แก่โจทก์และทำสัญญารับชำระหนี้อันเนื่องมาจากการขายตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวให้ไว้แก่โจทก์ แม้เมื่อรวมค่าส่วนลด ดอกเบี้ยและค่าปรับที่โจทก์คิดจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาดังกล่าวเข้าด้วยกันแล้วจะเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ข้อตกลงเรื่องค่าส่วนลดดอกเบี้ยและค่าปรับดังกล่าวก็ใช้บังคับได้หาตกเป็นโมฆะไม่ เพราะไม่ใช่เรื่องกู้ยืมเงินจึงไม่อยู่ในบังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 654 และ พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ
ตามสัญญารับชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ จำเลยที่ 1 สัญญาว่าจะนำเงินที่ได้รับจากการขายตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ไปใช้เตรียมการส่งสินค้าออกไปขายต่างประเทศ หากจำเลยที่ 1 ไม่ส่งสินค้าออกหรือส่งออกไม่ได้ถึงจำนวนตามที่จำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้ไว้แก่โจทก์โดยเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 ยอมเสียค่าปรับให้โจทก์ในอัตราร้อยละ 11 ต่อปีเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ส่งสินค้าออกตามจำนวนที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้ไว้แก่โจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์ถูกธนาคารแห่งประเทศไทยปรับตามระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 จึงต้องชำระค่าปรับให้แก่โจทก์ตามสัญญาจำเลยที่ 2 ที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ในค่าปรับดังกล่าวด้วย
สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ทำไว้กับโจทก์มีข้อตกลงว่าในการที่โจทก์ยอมปล่อยสินเชื่อให้แก่จำเลยที่ 1 ในวงเงิน 50,000,000 บาทนั้น หากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาหรือผิดเงื่อนไขแห่งสินเชื่อดังกล่าว จำเลยที่ 2 ที่ 3ยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นจำนวนไม่เกิน 50,000,000 บาท ตลอดถึงดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน ค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ ซึ่งจะพึงมีขึ้นต่อไปนั้นอีกด้วย เมื่อโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินต้น 48,580,800บาท ซึ่งอยู่ในวงเงินที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิได้รับสินเชื่อจากโจทก์ จำเลยทั้งสามจึงต้องร่วมกันรับผิดในต้นเงินดังกล่าวต่อโจทก์ พร้อมดอกเบี้ยและค่าปรับตามจำนวนที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระให้โจทก์ แม้เมื่อรวมเงินต้น ดอกเบี้ย และค่าปรับเข้าด้วยกันแล้วจะเกิน 50,000,000 บาท ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7250/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกายกประเด็นพิพากษานอกประเด็นและส่งสำนวนกลับศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาประเด็นเจ้าของที่ดิน
โจทก์ฟ้องว่าบิดาโจทก์ขายทีดินพิพาทให้ ค.ต่อมาค.ขายที่ดินนั้นให้จำเลย โดยที่ดินพิพาทโจทก์คงมีส่วนอยู่กึ่งหนึ่งขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทส่วนนี้ จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทมาทั้งแปลงและครอบครองตลอดมา ขอให้พิพากษาว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทส่วนที่โจทก์ฟ้อง ดังนี้ จำเลยมิได้ให้การยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ และมิได้โต้แย้งการครอบครองโดยอ้างว่ามีการเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ จึงไม่ประเด็นเรื่องแย่งการครอบครองและการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่าโจทก์มิได้ฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปีนับแต่ถูกแย่งการครอบครองแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงเป็นการไม่ชอบเพราะเป็นการพิพากษานอกประเด็นที่่พิพาทกัน และเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะมิได้ฎีกาปัญหานี้ขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนายที่จะยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แต่คดีนี้ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง จึงเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาใหม่ในประเด็นว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7250/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นการฟ้องแย้งสิทธิในที่ดินพิพาทและการพิพากษานอกประเด็นที่โจทก์ฟ้อง ย้อนสำนวนเพื่อวินิจฉัยสิทธิในที่ดิน
โจทก์ฟ้องว่าบิดาโจทก์ขายที่ดินพิพาทให้ ค. ต่อมา ค.ขายที่ดินนั้นให้จำเลย โดยที่ดินพิพาทโจทก์คงมีส่วนอยู่กึ่งหนึ่ง ขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทส่วนนี้ จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าจำเลยซื้อที่ดินพิพาทมาทั้งแปลงและครอบครองตลอดมา ขอให้พิพากษาว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทส่วนที่โจทก์ฟ้อง ดังนี้ จำเลยมิได้ให้การยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ และมิได้โต้แย้งการครอบครองโดยอ้างว่ามีการเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ จึงไม่มีประเด็นเรื่องแย่งการครอบครองและการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่าโจทก์มิได้ฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปีนับแต่ถูกแย่งการครอบครองแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงเป็นการไม่ชอบเพราะเป็นการพิพากษานอกประเด็นที่พิพาทกัน และเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะมิได้ฎีกาปัญหานี้ขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจที่จะยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) แต่คดีนี้ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง จึงเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาใหม่ในประเด็นว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6159/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ที่ดินร่วม: ศาลต้องฟังข้อเท็จจริงจากการสืบพยานก่อนตัดสิน
ฟ้องโจทก์อ้างว่า ที่ดินพิพาท ส.บิดาโจทก์ จำเลย และบุคคลอื่นมีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน จำเลยครอบครองโฉนดที่ดินไว้ โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ต้องการโฉนดที่ดินเพื่อแบ่งแยกที่ดินให้แก่ทายาท จำเลยให้การต่อสู้ว่า ส.ได้ยกที่ดินส่วนของตนให้จำเลย จำเลยได้ครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบปีจึงได้กรรมสิทธิ์ และคดีโจทก์ขาดอายุความมรดกแล้ว ประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัยก่อนจึงมีว่าที่ดินส่วนของ ส.ตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่จำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์แล้วหรือไม่ หากตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยดังจำเลยให้การต่อสู้โจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกโฉนดที่ดินดังกล่าวคืนจากจำเลย ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การจำเลยจึงยังไม่พอวินิจฉัยคดีได้ สมควรที่ศาลจะต้องฟังข้อเท็จจริงจากการนำสืบของคู่ความให้สิ้นกระแสความเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5509/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยข้อเท็จจริงเกินเลยจากสำนวนคดี: ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงที่ไม่ได้มีการนำสืบ
โจทก์มิได้มาเบิกความเป็นพยาน ฉะนั้นที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์เบิกความยืนยันว่าลายมือชื่อให้ความยินยอมที่ปรากฏเป็นชื่อโจทก์เป็นลายมือปลอม และไม่มีส่วนคล้ายกับลายมือชื่อโจทก์ที่แท้จริง จึงเป็นการฟังข้อเท็จจริงซึ่งไม่มีอยู่ในสำนวน เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5509/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกสำนวน: ศาลอุทธรณ์พิจารณาจากคำเบิกความที่ไม่มีในสำนวนเป็นเหตุให้ต้องพิจารณาใหม่
โจทก์มิได้มาเบิกความเป็นพยาน ฉะนั้นที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์เบิกความยืนยันว่าลายมือชื่อให้ความยินยอมที่ปรากฏเป็นชื่อโจทก์เป็นลายมือปลอม และไม่มีส่วนคล้ายกับลายมือชื่อโจทก์ที่แท้จริง จึงเป็นการฟ้องข้อเท็จจริงซึ่งไม่มีอยู่ในสำนวน เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5290/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกาชี้ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกประเด็นสัญญาประนีประนอมยอมความ มิชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องเรียกเงินโดยอ้างว่าจำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความชำระเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ จำเลยให้การแต่เพียงว่าเงินที่โจทก์เรียกมานั้นสูงเกินความเป็นจริง จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่ และถือว่าจำเลยรับว่าได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1หยิบยกข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยว่า สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือ แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์นั้น จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือประเด็นที่จำเลยยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4947/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าเป็นคู่ความแทนที่หลังจำเลยเสียชีวิต: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจสั่ง และศาลชั้นต้นต้องไต่สวนก่อนส่งสำนวน
จำเลยที่ 4 ถึงแก่ความตายขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ย่อมเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะมีคำสั่งเกี่ยวกับการเข้าเป็นคู่ความแทนที่ ศาลชั้นต้นจะต้องเลื่อนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไปก่อน และทำการไต่สวนให้ได้ความว่าผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 4 จริงหรือไม่ แล้วส่งคำร้องดังกล่าวพร้อมสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาสั่ง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่แล้วอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลล่างทั้งสองดำเนินกระบวนพิจารณาให้ถูกต้องก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4774/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลมิได้พิจารณาคำร้องขอเลื่อนคดีก่อนสั่งขาดนัด ถือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ในวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 23 พฤศจิกายน 2533 ผู้รับมอบฉันทะทนายจำเลยที่ 1 มาศาลและยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าติดว่าความที่ศาลอื่นซึ่งได้นัดไว้ก่อนแล้ว ส่วนโจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่มาการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องขอเลื่อนคดีว่า "สั่งในรายงาน"แล้วมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาว่า ทนายจำเลยที่ 1 มอบฉันทะให้เสมียนทนายยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีแสดงว่าตั้งใจที่จะให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201จึงมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ให้นัดสืบพยานจำเลยที่ 1 ต่อไปในวันที่ 20 ธันวาคม 2533 เวลา 13.30 นาฬิกา และให้จำหน่ายคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ออกจากสารบบความจึงไม่ถูกต้อง เนื่องจากศาลชั้นต้นยังมิได้พิจารณาคำร้อง ขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยที่ 1เลยว่าทนายจำเลยที่ 1 มาศาลไม่ได้เพราะติดว่าความที่ศาลอื่นจริงหรือไม่ หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำร้องก็ถือได้ว่ามีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ชอบที่จะสั่งอนุญาตให้เลื่อนคดีไว้ และวันที่23 พฤศจิกายน 2533 ก็มิใช่วันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยานอีกต่อไปแม้โจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่มาศาลในวันดังกล่าว กรณีก็ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณาโดยขาดนัด การที่ศาลชั้นต้นมิได้พิจารณาสั่งคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40แต่กลับก้าวล่วงไปสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและให้จำหน่ายคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ออกจากสารบบความ เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณา ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2),247 ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานแล้วพิพากษาใหม่โดยไม่ถูกต้อง เนื่องจากศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำพิพากษา ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4774/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีและการขาดนัด: ศาลต้องพิจารณาคำร้องขอเลื่อนคดีก่อนสั่งขาดนัด
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินแก่โจทก์ในวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่มาศาล ส่วนจำเลยที่ 1ทนายจำเลยที่ 1 มอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีโดยอ้างว่าติดว่าความที่ศาลอื่น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ทนายจำเลยที่ 1 มอบฉันทะให้เสมียนทนายยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีแสดงว่าตั้งใจที่จะให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 201 จึงมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ให้นัดสืบพยานจำเลยที่ 1 ต่อไป และให้จำหน่ายคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ออกจากสารบบความดังนี้ ศาลชั้นต้นยังมิได้พิจารณาคำร้องขอเลื่อนคดีของทนายจำเลยที่ 1 เลยว่าทนายจำเลยที่ 1 มาศาลไม่ได้เพราะติดว่าความที่ศาลอื่นจริงหรือไม่ หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำร้องก็ถือได้ว่ามีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ชอบที่จะสั่งอนุญาตให้เลื่อนคดีไป และวันดังกล่าวก็มิใช่วันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยานอีกต่อไป แม้โจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่มาศาลในวันนั้น กรณีก็ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณาโดยขาดนัดฉะนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณาและเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2),247
of 29